หลักอายุสสธรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาพชีวิต

The Ayussa-Dhamma for Promoting Healthy Life

ผู้แต่ง

  • พระมหาวิชิต อคฺคชิโต
  • บุญร่วม คําเมืองแสน
  • พระมหาพจน์ สุวโจ

คำสำคัญ:

อายุสสธรรม, การส่งเสริม, สุขภาพชีวิต

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ศึกษาหลักอายุสสธรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาพชีวิต พบว่า อายุสสธรรม หมายถึงหลักธรรมที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพชีวิต ทำให้ผู้ปฏิบัติมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีอายุยืน มีสุขภาพแข็งแรง ประกอบด้วยหลัก 1) สัปปายการี ทำสิ่งที่สบายเอื้อต่อสุขภาพชีวิต 2) สัปปายมัตตัญญู รู้จักประมาณในสิ่งที่สบายหรือเอื้อต่อสุขภาพชีวิต 3) ปริณตโภชี การบริโภคสิ่งที่ย่อยง่าย 4) กาลจารี การจัดสรรหรือแบ่งเวลาให้เหมาะสมกับการทำกิจกรรมต่างๆ และ 5) พรหมจารี การถือพรหมจรรย์ การส่งเสริมสุขภาพชีวิต หมายถึงพฤติกรรมที่ส่งผลดีต่อการดำเนินชีวิต เช่น วิธีปฏิบัติให้เกิดสุขภาวะที่สมบูรณ์ทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณหรือปัญญา การปฏิบัติตามหลักอายุสสธรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาพชีวิต เป็นการสร้างรูปแบบการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันให้เอื้อต่อสุขภาพชีวิต คือรู้จักประมาณหรือความพอดีในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ การบริโภคอาหารให้เป็นไปตามหลักโภชนาการและเป็นสิ่งที่ย่อยง่าย การรู้จักจัดสรรหรือแบ่งเวลาและการรู้จักควบคุมเรื่องกามารมณ์ให้เป็นตามความเหมาะสม ด้วยการปฏิบัติตามหลักอายุสสธรรมผนวกกับแนวคิดทฤษฎีเรื่องการส่งเสริมสุขภาพ จะทำให้ผู้ปฏิบัติได้เห็นถึงความสำคัญของสุขภาพชีวิต และมีวิธีการดูแลสุขภาพที่ถูกต้องอันจะนำไปสู่การดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุขทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจต่อไป

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,เล่มที่ 12,13,20,22,24.

เกษม จันทร์แก้ว. (2540). วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2548). สุขภาพองค์รวมแนวพุทธ. พุทธจักร ปีที่ 59 ฉบับที่ 11. (พฤศจิกายน 2548).

พระมหาทวี มหาปญฺโ. (2556). “วิเคราะห์อายุสสธรรม 5: หลักธรรมที่ช่วยให้อายุยืนในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหานิพนธ์ มหาธมฺมรกฺขิโต และประยูร แสงใส. (2561). อายุสสธรรม: หลักธรรมเพื่อการดำเนินของผู้สูงอายุ. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2561.

พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส (นิธิบุณยากร). (2557). พระพุทธศาสนากับวิทยาการสมัยใหม่. พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2548). การสาธารณสุขทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชวนพิมพ์.

มานพ นักการเรียน, (2555). แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยโดยการใช้หลักพหุการธรรม. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2559). อายุยืนอย่างมีคุณค่า. พิมพ์ครั้งที่ 34. กรุงเทพมหานคร : บริษัท พิมพ์สวย จำกัด.

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2525). การจัดการสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ.

สุรพล ไกรสราวุฒิ. (2557). ชีวิตติดปัญญา (Wisdom of Living). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : ธรรมสถานจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรพล ไกรสราวุฒิ. (2560). ไตรสิกขา: ระบบการศึกษาของพระพุทธเจ้า. กรุงเทพมหานคร : ธรรมสถานจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-01-03 — Updated on 2022-01-27

Versions