พฤติกรรมการดื่มวิสกี้แบรนด์ต่างประเทศของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • สมชัย พูลนิติพร
  • อนิรุทธ์ ผ่องแผ้ว
  • ตะวัน วิกรัยพัฒน์
  • พัชชาพลอย สุขขอมปรางค์

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการดื่ม, วิสกี้แบรนด์ต่างประเทศ, จังหวัดขอนแก่น

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์การวิจัย  1) เพื่อศึกษาลักษณะของผู้บริโภค ปัจจัยจูงใจ และพฤติกรรมดื่มวิสกี้แบรนด์ต่างประเทศ 2) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมดื่มวิสกี้แบรนด์ต่างประเทศ จำแนกตามลักษณะของผู้บริโภค 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของ ปัจจัยจูงใจ กับพฤติกรรมดื่มวิสกี้แบรนด์ต่างประเทศ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 385 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ  ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และค่าสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน 

ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยจูงใจ ส่วนประสมทางการตลาด ด้านทัศนคติ ด้านค่านิยม และด้านผู้มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด 2) กลุ่มตัวอย่างที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส และรายได้ แตกต่างกัน มีพฤติกรรมดื่มวิสกี้แบรนด์ต่างประเทศ ไม่แตกต่างกัน 3) พฤติกรรมการดื่มวิสกี้แบรนด์ต่างประเทศ มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลาง กับปัจจัยจูงใจในภาพรวม (r=.702) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และพฤติกรรมดื่มวิสกี้แบรนด์ต่างประเทศมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับต่ำ กับส่วนประสมทางการลาด (r=.316) มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลาง กับทัศนคติ (r=.697) กับค่านิยม (r=.599) กับผู้มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ (r=.642) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

 

References

กัณตนิษฐ์ ผลแจ้ง (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดื่มแอลกอฮอลของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในเขตกรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

เณริศา ชัยศุภมงคลลาภ. (2555). รูปแบบของการสื่อสารและปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดื่มเหล้าปั่นของวัยรุ่น. กรุงเทพฯ : ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา.

ธีรภัทร ณุวงษ์ศรี และคณะ (2561). พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

นวรัฐ เทศพิทักษ์. (2562).เครื่องดื่มแอลกอฮอล์.สืบค้นจาก: http://www.dss.go.th/images/st-article (15 ธันวาคม 2562).

บ้านจอมยุทธ์.(2562).ค่านิยม.สืบค้นจาก: https://www.baanjomyut.coml (15 ธันวาคม 2562).

ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ. (2558). พิษของการดื่มแอลกอฮอล์. สืบค้นจาก: http://www.bangkokhealth.com/health/article. ( 11 กันยายน 2560).

สุทธิรักษ์ ไชยรักษ์ และคณะ. (2551). พฤติกรรมการดื่มสุราของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ปีการศึกษา 2551. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

เสรี วงษ์มณฑา. (2556). การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค.กรุงเทพฯ: ธีระฟิลม์ และไซเท็กซ์.

สำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มและยาสูบ กระทรวงสาธารณสุข. (2551)

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ. (2559).ข้อเท็จจริงและตัวเลขเครื่องดื่มในประเทศไทย มหาวิทยาลัยมหิดล

ณรงค์ ใจเที่ยง. (2562). ปัจจัยทีมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดื่ม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประชาชนใน จังหวัดพะเยา. มหาวิทยาลัยพะเยา.

Cynthia D. Scott, Dennis Jaffe & Glenn Tobe. (2000). Organization vision Values, and Mission: Build the Business of Tomorrow. Axzo Press.

Good, C.V. (1973). Dictionary of education. 3rd ed. New York : McGraw-Hill.

Zimbardo, P. G. and E. Ebbesen. (1970). Influence Attitude and Changing Behavior Massachusetts. Addison- Wesly Publishing.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-27 — Updated on 2022-01-27

Versions