TY - JOUR AU - ขานทอง, ศิริรัตน์ AU - เพชรวงษ์, พัดยศ AU - ศิลาน้อย, ละเอียด PY - 2021/11/23 Y2 - 2024/03/29 TI - เทคนิคการคำนวณย้อนกลับจากจำนวนตัวอย่างที่เก็บได้จริง เพื่อทราบระดับความเชื่อมั่นหรือความคลาดเคลื่อนที่แท้จริงในการศึกษาสัดส่วนประชากร ในการวิจัยเชิงปริมาณ JF - วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ JA - SAU. J. SSH. VL - 5 IS - 2 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://so05.tci-thaijo.org/index.php/saujournalssh/article/view/255204 SP - 84-98 AB - <p>&nbsp;</p><p><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ในการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) การศึกษาสัดส่วนประชากร (Population Proportion, <img title="\pi" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\pi">) เป็นการศึกษาประเภทหนึ่งที่มีการศึกษากันโดยจะทำการศึกษาจากตัวอย่าง (Sample) เป็นสำคัญ ซึ่งจำนวนตัวอย่างหรือขนาดของกลุ่มตัวอย่าง (Sample Size) ที่นำมาศึกษานั้นอาจจะใช้สูตรคำนวณจำนวนตัวอย่างทำการคำนวณขึ้นมาใช้งานเอง หรือไม่ก็นำเอาจำนวนตัวอย่างหรือขนาดของกลุ่มตัวอย่าง (Sample size) มาจากตารางสำเร็จรูปกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่มีการเสนอไว้ในตำราทางสถิติ โดยที่จะมีการระบุแจ้งให้ทราบถึงระดับความเชื่อมั่น (Level of Confidence) และค่าความคลาดเคลื่อน (Error, e) ในการใช้ตัวอย่างตามจำนวนที่ได้กำหนดไว้นั้นให้ผู้อ่านได้ทราบไว้ด้วย แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อถึงขั้นตอนในการดำเนินการเก็บข้อมูลจากตัวอย่างในทางปฏิบัติจริง กลับปรากฏว่าทำการเก็บข้อมูลจากตัวอย่างได้จำนวนที่แตกต่างออกไปจากจำนวนตัวอย่างที่ได้กำหนดไว้แต่เดิม ซึ่งอาจจะเป็นได้ทั้งเก็บตัวอย่างมาน้อยกว่าหรือมากกว่าจำนวนตัวอย่างที่ได้ จึงเห็นสมควรนำเสนอสูตรการคำนวณย้อนกลับจากจำนวนตัวอย่างที่เก็บได้จริง เพื่อทราบระดับความเชื่อมั่นและความคลาดเคลื่อนที่แท้จริงในการศึกษาสัดส่วนประชากร ในการวิจัยเชิงปริมาณในครั้งนั้นๆ มาเพื่อให้ผู้ศึกษา/วิจัยสามารถนำไปใช้ในงานวิจัยได้โดยสะดวก และช่วยให้ผู้อ่านงานวิจัยสามารถประเมินระดับความน่าเชื่อถือในผลของงานวิจัยที่ปรากฏออกมาได้อย่างถูกต้องต่อไป</strong></p> ER -