https://so05.tci-thaijo.org/index.php/saujournalssh/issue/feed วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ 2024-06-28T18:02:10+07:00 ดร.พุฒิธร จิรายุส saujournalssh@sau.ac.th Open Journal Systems <p>วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ เป็นวารสารที่เปิดรับบทความวิจัยและบทความวิชาการ ในสาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ จากนักวิจัย นักวิชาการ คณาจารย์ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ตลอดจนผู้ที่สนใจจะนำผลงานวิจัยหรือผลงานวิชาการนำมาเผยแพร่ ซึ่งวารสารดังกล่าว ได้ดำเนินการจัดทำมาตั้งแต่ปี 2560 ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน และได้รับรองจากสภามหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์เรียบร้อยแล้ว โดยรับตีพิมพ์บทความในสาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้แก่สาขาวิชารัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ นิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ การจัดการ บริหารธุรกิจ พัฒนาสังคมและการศึกษา</p> <p><strong>กำหนดออกวารสารทุก </strong><strong>2 เดือน (ปีละ 2 ฉบับ) </strong></p> <p>ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน ของทุกปี</p> <p>ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม ของทุกปี</p> <p><strong> </strong><strong>วัตถุประสงค์</strong></p> <p> เพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่ ส่งเสริมและสนับสนุนให้คณาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการและนิสิตนักศึกษา ตลอดจนผู้สนใจทั่วไป ได้มีโอกาสนำผลงานวิชาการและงานวิจัยในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ อีกทั้งแขนงวิชาที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ พระพุทธศาสนา รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ นิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ การจัดการ บริหารธุรกิจ พัฒนาสังคมและการศึกษา</p> <p><strong>อัตราค่าสมาชิก</strong></p> <p>สามัญรายปี (ปีละ 2 ฉบับ) 500 บาท</p> <p><strong>เจ้าของวารสาร</strong></p> <p>บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์</p> <p><strong> </strong><strong>รูปแบบการดำเนินการกลั่นกรองบทความ</strong></p> <p><strong> </strong>กองบรรณาธิการได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับกระบวนการจัดทำวารสาร ตั้งแต่การคัดเลือกบทความโดยกองบรรณาธิการตรวจสอบรูปแบบก่อนนำส่งผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อพิจารณากลั่นกรองบทความ โดยเชิญผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความละ 3 ท่านต่อบทความ และเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานทางวิชาการ และในการประเมินใช้รูปแบบผู้ประเมินไม่ทราบชื่อผู้แต่งและผู้แต่งไม่ทราบชื่อผู้ประเมิน</p> https://so05.tci-thaijo.org/index.php/saujournalssh/article/view/270042 การคุ้มครองผู้บริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร : มิติการกำกับดูแลด้านมาตรฐานความปลอดภัยและการโฆษณา 2024-01-06T13:45:10+07:00 ต้อย ศรีสมวงศ์ toi.sri@rmutr.ac.th เพ็ญศรี ฉิรินัง pensri.chi@rmutr.ac.th อุดมวิทย์ ไชยสกุลเกียรติ udomvit.k@rmutr.ac.th วรเดช จันทรศร voradej.cha@rmutr.ac.th <p>บทความนี้จะกล่าวถึงแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารภายใต้ พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 ในมิติการกำกับดูแลด้านมาตรฐานความปลอดภัยและการโฆษณา รวมถึงปัญหาในการกำกับดูแลและข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไข โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 : แนวคิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ความหมายของผู้บริโภคและการคุ้มครองผู้บริโภค สิทธิหน้าที่ของผู้บริโภค องค์กรที่เกี่ยวข้องในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหาร ความหมายและประเภทของผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ส่วนที่ 2 : การกำกับดูแลผลิตภัณฑ์เสริมอาหารด้านมาตรฐานความปลอดภัยและการโฆษณา และส่วนที่ 3 : ปัญหาและข้อเสนอแนะในการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์เสริมอาหารด้านมาตรฐานความปลอดภัยและการโฆษณา</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/saujournalssh/article/view/270044 การมีส่วนร่วมและความร่วมมือในการจัดการสิ่งแวดล้อม 2024-01-20T10:02:18+07:00 มณีรัตน์ ชัยยะ maneerat2738@gmail.com วรเดช จันทรศร Vchandarasorn@yahoo.com เพ็ญศรี ฉิรินัง Pensri.chi@rmutr.ac.th วิพัฒน์ หมั่นการ Wiphat1961@gmail.com <p>บทความเรื่อง การมีส่วนร่วมและความร่วมมือในการจัดการสิ่งแวดล้อม เป็นการอภิปรายประเด็นการมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อม บทความนี้ได้ทบทวนแนวคิดทฤษฎีต่าง ๆ มาร่วมวิเคราะห์ประกอบด้วย แนวคิดการจัดการสิ่งแวดล้อม แนวคิดการมีส่วนร่วม โดยนำแนวคิดต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้กับการจัดการสิ่งแวดล้อมให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปตามการพัฒนาบ้านเมืองและเทคโนโลยีที่ทันสมัยไม่สามารถจะหยุดนิ่งกับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นได้ จึงส่งผลให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอันดับต้น ๆ ทั้งร่างกายที่ได้รับมลพิษและทางจิตใจ ดังนั้น การมีส่วนร่วมและความร่วมมือในการจัดการสิ่งแวดล้อม จึงเป็นพื้นฐานที่สำคัญอันดับแรก ในการเสริมสร้างจิตสำนึกรักและหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน จึงต้องประสานความร่วมมือกันเพื่อช่วยขับเคลื่อนการปฏิบัติงานในการจัดการสิ่งแวดล้อมให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/saujournalssh/article/view/271674 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารเพื่อสุขภาพของผู้สูงอายุ ในกรุงเทพมหานคร 2024-03-21T13:35:02+07:00 ธานี เสนสร thaneesansone@gmail.com โอภาส เพี้ยนสูงเนิน opas.piansoongnern@stamford.edu <p>จุดมุ่งหมายของการวิจัยเพื่อศึกษา1) ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารเพื่อสุขภาพของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร2) ปัจจัยทางสังคมที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารเพื่อสุขภาพของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร3) ปัจจัยพฤติกรรมผู้บริโภคที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารเพื่อสุขภาพของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานครและ 4) แนวทางการพัฒนากลยุทธ์การตลาดเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานครเป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงปริมาณคือผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปจำนวน400 คน และกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงคุณภาพคือผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 10 คน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า1) ปัจจัยผลิตภัณฑ์ ด้านประโยชน์ของผลิตภัณฑ์มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารเพื่อสุขภาพของผู้สูงอายุ2) ปัจจัยทางสังคม ด้านครอบครัว ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารเพื่อสุขภาพของผู้สูงอายุ3) ปัจจัยพฤติกรรมผู้บริโภค ไม่มีผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารเพื่อสุขภาพของผู้สูงอายุ และ 4) แนวทางการพัฒนากลยุทธ์การตลาดอาหารเพื่อสุขภาพของผู้สูงอายุคือ ผู้ประกอบการควรพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพให้มีคุณค่าทางโภชนการหลากหลายให้ผู้สูงอายุได้เลือกรับประทานและปรุงแต่งรสชาติให้ถูกปากง่ายต่อการรับประทาน และควรแนบรายละเอียดผลิตภัณฑ์เพื่อให้ผู้สูงอายุและสมาชิกในครอบครัวได้อ่านทำความเข้าใจและเป็นการเพิ่มความมั่นใจในตัวผลิตภัณฑ์ และควรตั้งราคาให้เหมาะสมกับคุณภาพ</p> <p>ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ผู้ประกอบการสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อกำหนดกลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ให้สามารถตอบสนองความต้องการให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย และกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดให้สามารถสร้างแรงจูงใจให้เกิดการตัดสินใจซื้อและเพิ่มยอดขายได้</p> <p> </p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/saujournalssh/article/view/272056 ค่าสินไหมทดแทนในทางกฎหมายสำหรับการฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า 2024-04-08T18:22:35+07:00 อวยพร โสมล auysomon@gmail.com สุมาลี วงษ์วิฑิต wonsu32@gmail.com ปัญญา สุทธิบดี psutthibodee@gmail.com <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัญหาการกำหนดมูลค่าเพื่อการฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า ปัญหาการกำหนดหลักเกณฑ์ในการคำนวณมูลค่าเพื่อการฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า ปัญหาวิธีการในการประเมินค่าสินไหมทดแทนที่เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า ปัญหาการกำหนดค่าสินไหมทดแทนที่เป็นค่าใช้จ่ายของรัฐอย่างอื่นเพื่อการฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า และปัญหาวัตถุประสงค์ของกองทุนสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับการอุดหนุนเพื่อการฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าที่เสียหายโดยละเมิด ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการวิจัยเอกสารและการวิจัยภาคสนาม จากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานภาคเอกชน ผู้ทรงคุณวุฒิและนักวิชาการด้านกฎหมายสิ่งแวดล้อม ผลการวิจัย พบว่า มีปัญหาการบังคับใช้หลายประการ จึงควรเพิ่มเติมการกำหนดมูลค่าทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าเพื่อการฟื้นฟูรวมถึงหลักเกณฑ์ในการคำนวณมูลค่าตามหลักการทางเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อมหรือจากแหล่งข้อมูลอื่นๆ ที่น่าเชื่อถือ และการกำหนดให้ต้องรับผิดชดใช้ความเสียหายได้ทันทีปราศจากเงื่อนไขโดยไม่ต้องมีการฟื้นฟูก่อน ทั้งให้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ในการประเมินค่าความเสียหายและค่าสินไหมทดแทนเพื่อการฟื้นฟูทรัพยากรที่เสียหายโดยละเมิด รวมถึงการกำหนดค่าใช้จ่ายในการประเมิน ค่าใช้จ่ายในการเรียกร้องค่าเสียหายให้เป็นค่าใช้จ่ายอย่างอื่นของรัฐ ตลอดจนการกำหนดให้กองทุนสิ่งแวดล้อมใช้เงินอุดหนุนสำหรับการแก้ไขรักษาสภาพภูมิอากาศหรือลดมลภาวะฝุ่นละอองอันเกิดจากทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าเสียหายโดยละเมิด นอกจากนี้ ควรปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการ เก็บรักษา และใช้เงินค่าสินไหมทดแทนเพื่อการฟื้นฟูนี้เป็นเงินนอกงบประมาณแผ่นดินและให้หน่วยงานของรัฐเป็นผู้เสียหายในการฟ้องคดีแพ่ง</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/saujournalssh/article/view/271760 การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน กรณีศึกษาเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 2024-04-08T18:11:18+07:00 กัณภร ธนะวิกสิท yee.patarasuda@gmail.com อรนันท์ กลันทปุระ fsocong@ku.ac.th <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืนของเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี และเพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืนของเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล</p> <p>กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชน จำนวน 400 คน ที่อาศัยในเขตพื้นที่เทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี โดยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สำหรับค่าสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทำการทดสอบโดยใช้ค่าสถิติทดสอบ t-test ในการเปรียบเทียบความแตกต่าง ของค่าเฉลี่ย 2 กลุ่มตัวอย่าง และใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) สำหรับความแตกต่างค่าเฉลี่ยมากกว่า 2 กลุ่มขึ้นไป หากพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จะทำการทดสอบด้วยวิธี Fisher's least significant difference (LSD) ในการทดสอบความแตกต่างรายคู่ โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในเขตเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรีในการพัฒนาเมืองให้น่าอยู่อย่างยั่งยืน ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านการรับผลประโยชน์ มากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการดำเนินการ ด้านการตัดสินใจ และน้อยที่สุด คือ ด้านการติดตามประเมินผล ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มี ระดับการศึกษา อาชีพ และระยะเวลาที่อาศัยในพื้นที่ที่ต่างกัน มีส่วนร่วมในพัฒนาเมืองให้น่าอยู่อย่างยั่งยืนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/saujournalssh/article/view/270690 ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตทางจิตใจด้านบวกและระดับการศึกษาของเจ้าหน้าที่ในศูนย์สงเคราะห์กลุ่มคนเปราะบางที่เป็นผู้อยู่ร่วมกับเชื้อ HIV/AIDS และกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทางสังคมที่ยากจน ในเขตอำเภอเมืองหนองคาย 2024-03-29T14:38:27+07:00 พิพัฒน์ อุรเคนทร์ mendo.saga@gmail.com สุภาวี ศิรินคราภรณ์ supavee.s@gmail.com <p>การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์องค์รวมระหว่างความพึงพอใจจากการเห็นอกเห็นใจ พลังอำนาจในตนเองทางวิชาชีพด้านสงเคราะห์ และปัจจัยทางด้านระดับการศึกษาของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเจ้าหน้าที่งานบริการด้านสงเคราะห์ในเขตอำเภอเมือง จังหวัด หนองคาย ด้วยการตอบคำถามเกี่ยวกับระดับการศึกษาและใช้เครื่องมือแบบวัด 2 ชุดได้แก่ แบบวัดคุณภาพชีวิตในวิชาชีพและแบบวัดพลังอำนาจในตนของผู้ทำงานด้านสังคมสงเคราะห์ ที่เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยมีอาสาสมัครในสถานสงเคราะห์เอกชนจำนวน 2 แห่งในเขตอำเภอเมืองหนองคายได้แก่ บ้านสวนมิตรภาพ และบ้านซารนิลลี่ เฮาส์ โดยจำนวนอาสาสมัครเข้าร่วมการศึกษานี้รวมกันจำนวน 20 คน</p> <p>ผลการวิจัยได้แบ่งเป็น 3 กลุ่มด้วยระดับคะแนนของพลังอำนาจในตนเป็นเกณฑ์หลักและเปรียบเทียบด้วยระดับคะแนนความพึงพอใจจากการเห็นอกเห็นใจพร้อมกับวิเคราะห์ร่วมปัจจัยด้านระดับการศึกษาที่สัมพันธ์กัน ผลที่ได้พบว่ากลุ่ม “1” มีคะแนนเฉลี่ยของสภาพจิตใจด้านบวกสูงกว่ากลุ่มอื่นๆ กลุ่ม “2” จะมีคะแนนเฉลี่ยในระดับกลาง ส่วนกลุ่ม “3” จะตรงกันข้ามกับกลุ่ม “1” อย่างชัดเจน อีกทั้งปัจจัยทางด้านการศึกษาพบว่าการศึกษาระดับที่สูงกว่าและตรงกับวิชาชีพนั้นมีประโยชน์ส่งเสริมการมีพลังอำนาจในตนเองฯที่สะท้อนไปยังการรับรู้ถึงความพึงพอใจจากการเห็นอกเห็นใจให้แก่อาสาสมัคร และการค้นพบเพิ่มเติมพบว่าการสนับสนุนทางสังคมขององค์กรในด้านการอบรมพัฒนาศักยภาพให้แก่เจ้าหน้าที่มีบทบาทในการสนับสนุนคุณภาพชีวิตทางจิตใจด้านบวกอย่างสำคัญ</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/saujournalssh/article/view/271809 กลยุทธ์ที่ส่งผลต่อการพัฒนาเพื่อความอยู่รอดและเติบโตของวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในกรุงเทพมหานคร 2024-04-19T16:50:41+07:00 พงษ์พิพัฒน์ มัลลิกะมาลย์ pongpipat.mal@bkkthon.ac.th ชูชิต ชายทวีป Pongpipat.mal@bkkthon.ac.th ธนพันธุ์ พูลชอบ Pongpipat.mal@bkkthon.ac.th ชัยรัตน์ จันทนดิษฐ Pongpipat.mal@bkkthon.ac.th ณัฐพล พรมวิชา Pongpipat.mal@bkkthon.ac.th <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในกรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาระดับปัจจัยและตัวชีวัดความอยู่รอดและเติบโตของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาเพื่อความอยู่รอดและเติบโตของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือผู้ประกอบธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน โดยการสุ่มตัวอย่างที่ไม่ใช้ความน่าจะเป็น เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชาย มีอายุ 31 – 40 ปีมีระดับการศึกษาปริญญาตรี เป็นธุรกิจน้ำดื่ม อาหาร และเครื่องปรุง เป็นกิจการห้างหุ้นส่วนสามัญ มีระยะเวลาประกอบธุรกิจ 5 – 10 ปี มีทุนจดทะเบียน 5,000,001 – 10,000,000 บาท มีจำนวนพนักงาน 21 – 40 คน 2) ระดับความคิดเห็นของปัจจัยคุณลักษณะภาวะผู้นำของผู้ประกอบการ ปัจจัยแวดล้อมภายนอกทางธุรกิจ และตัวชีวัดความอยู่รอดและเติบโตของธุรกิจ (SMEs) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) ปัจจัยคุณลักษณะภาวะผู้นำของผู้ประกอบการ ด้านความมั่นใจ ด้านความสำเร็จ ด้านความใฝ่ใจในการเรียนรู้ ด้านการบริหารจัดการ ด้านการยอมรับความเสี่ยง ด้านความคิดริเริ่ม และปัจจัยแวดล้อมภายนอกทางธุรกิจ ด้านการเมือง ด้านสังคม ด้านเทคโนโลยี ด้านเศรษฐกิจ มีอิทธิพลเชิงบวกต่อการพัฒนาเพื่อความอยู่รอดและเติบโตของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/saujournalssh/article/view/272328 ความต้องการและความพึงพอใจต่อสวัสดิการของบุคลากร กรมชลประทาน (สามเสน) 2024-05-07T13:49:08+07:00 ไกรวิท เจริญชีพ kraivit.c@ku.th เกวลิน ศีลพิพัฒน์ kevalin.s@ku.th <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของบุคลากรกรมชลประทาน (สามเสน) ที่มีต่อสวัสดิการในปัจจุบัน 2) เพื่อศึกษาความต้องการสวัสดิการของบุคลากรกรมชลประทาน (สามเสน) 3) เพื่อเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของบุคลากรกรมชลประทาน (สามเสน) ที่มีต่อสวัสดิการในปัจจุบัน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 4) เพื่อเปรียบเทียบความต้องการสวัสดิการของบุคลากรกรมชลประทาน (สามเสน) จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล เก็บข้อมูลด้วยการใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรกรมชลประทาน (สามเสน) จำนวน 285 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า บุคลากรกรมชลประทาน (สามเสน) มีความพึงพอใจต่อสวัสดิการในปัจจุบันในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และมีความต้องการสวัสดิการภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง การทดสอบสมมติฐาน พบว่า บุคลากรที่มี เพศ ช่วงอายุ และอายุงานแตกต่างกัน มีความพึงพอใจที่มีต่อสวัสดิการในปัจจุบันแตกต่างกัน อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ บุคลากรที่มีการศึกษา ประเภทตำแหน่ง และลักษณะงานที่ปฏิบัติแตกต่างกัน มีความพึงพอใจที่มีต่อสวัสดิการในปัจจุบันไม่แตกต่างกัน และบุคลากรที่มี เพศ ช่วงอายุ ประเภทตำแหน่ง อายุการทำงาน และลักษณะงานที่ปฏิบัติแตกต่างกัน มีความต้องการสวัสดิการของบุคลากรแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ บุคลากรที่มีการศึกษาแตกต่างกัน มีความต้องการสวัสดิการของบุคลากรไม่แตกต่างกัน</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/saujournalssh/article/view/271668 การบริหารจัดการขยะ (Zero Waste): กรณีศึกษาชุมชนต้นแบบ จังหวัดกำแพงเพชร 2024-04-05T21:57:37+07:00 รัษฎากร วินิจกุล russadagon@yahoo.com ปรียานุช พรหมภาสิต preeyanuch.pps@hotmail.com พิษณุ บุญนิยม b_phitsanu@outlook.com ณัฐนันท์ ทองทรัพย์ nattananthongsub@gmail.com <p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) กระบวนการบริหารจัดการขยะของชุมชนต้นแบบในพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร (2) องค์ประกอบความสำเร็จในการบริหารจัดการขยะของชุมชนต้นแบบในพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ในกรณีศึกษาการจัดการขยะชุมชนในพื้นที่ของจังหวัดกำแพงเพชรที่ได้รับรางวัลระดับประเทศจำนวน 3 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนบ้านคุยมะม่วง ชุมชนบ้านบ่อถ้ำ และชุมชนบ้านดงเย็น โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลคนสำคัญ แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้บริหาร จำนวน 3 คน กลุ่มเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ จำนวน 6 คน และกลุ่มที่ 3 ผู้นำชุมชน จำนวน 6 คน รวมเป็นจำนวนทั้งหมด 15 คน และทำการวิเคราะห์ข้อมูลและสังเคราะห์ข้อมูล โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและการนำเสนอเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า (1) ด้านกระบวนการบริหารจัดการขยะของชุมชน มีการวางแผนการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในแต่ละชุมชน การมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น วัด ทุกภาคส่วนบูรณาการทำงานร่วมกัน การนำหลักการ 3Rs มาใช้ในการบริหารจัดการขยะมูลฝอย การประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน และ (2) ด้านองค์ประกอบความสำเร็จในการบริหารจัดการขยะของชุมชน ประกอบด้วย การมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในชุมชนแบบบูรณาการที่ได้พัฒนาการบริหารจัดการขยะของชุมชนต้นแบบอย่างสม่ำเสมอ และการมีศูนย์เรียนรู้ชุมชนต้นแบบการจัดการขยะแบบครบวงจรที่สามารถขยายเครือข่ายความร่วมมือสู่ชุมชนอื่นต่อไปได้</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/saujournalssh/article/view/271610 ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภค ในเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร 2024-04-30T14:10:57+07:00 ศราวุธ เอี่ยมสอาด sarawoot_winpro@hotmail.com ฉัตร์รวี อภิวรางค์พงศ์ maythapornth@sau.ac.th อธิวัฒน์ อภิโชติ maythapornth@sau.ac.th อภิวิชญ์ ศรีรัตน์ maythapornth@sau.ac.th <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการเลือกซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตหนองแขมกรุงเทพมหานคร จำแนกตามด้านประชากรศาสตร์ และ เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคในเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคในเขตหนองแขมกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน โดยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวก (Convenience Sampling) ใช้แบบสอบถามเพื่อรวบรวมข้อมูลสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ t-test ค่าสถิติ One-way ANOVA และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ (Multiple regression analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกันมีผลต่อการซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร ไม่แตกต่างกัน และ 2) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านการให้บริการส่วนบุคคล ด้านลักษณะกายภาพ และด้านกระบวนการ ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์