วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/saujournalssh <p>วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ เป็นวารสารที่เปิดรับบทความวิจัยและบทความวิชาการ ในสาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ จากนักวิจัย นักวิชาการ คณาจารย์ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ตลอดจนผู้ที่สนใจจะนำผลงานวิจัยหรือผลงานวิชาการนำมาเผยแพร่ ซึ่งวารสารดังกล่าว ได้ดำเนินการจัดทำมาตั้งแต่ปี 2560 ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน และได้รับรองจากสภามหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์เรียบร้อยแล้ว โดยรับตีพิมพ์บทความในสาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้แก่สาขาวิชารัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ นิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ การจัดการ บริหารธุรกิจ พัฒนาสังคมและการศึกษา</p> <p><strong>กำหนดออกวารสารทุก </strong><strong>2 เดือน (ปีละ 2 ฉบับ) </strong></p> <p>ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน ของทุกปี</p> <p>ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม ของทุกปี</p> <p><strong> </strong><strong>วัตถุประสงค์</strong></p> <p> เพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่ ส่งเสริมและสนับสนุนให้คณาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการและนิสิตนักศึกษา ตลอดจนผู้สนใจทั่วไป ได้มีโอกาสนำผลงานวิชาการและงานวิจัยในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ อีกทั้งแขนงวิชาที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ พระพุทธศาสนา รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ นิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ การจัดการ บริหารธุรกิจ พัฒนาสังคมและการศึกษา</p> <p><strong>อัตราค่าสมาชิก</strong></p> <p>สามัญรายปี (ปีละ 2 ฉบับ) 500 บาท</p> <p><strong>เจ้าของวารสาร</strong></p> <p>บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์</p> <p><strong> </strong><strong>รูปแบบการดำเนินการกลั่นกรองบทความ</strong></p> <p><strong> </strong>กองบรรณาธิการได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับกระบวนการจัดทำวารสาร ตั้งแต่การคัดเลือกบทความโดยกองบรรณาธิการตรวจสอบรูปแบบก่อนนำส่งผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อพิจารณากลั่นกรองบทความ โดยเชิญผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความละ 3 ท่านต่อบทความ และเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานทางวิชาการ และในการประเมินใช้รูปแบบผู้ประเมินไม่ทราบชื่อผู้แต่งและผู้แต่งไม่ทราบชื่อผู้ประเมิน</p> สำนักวิจัย มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ th-TH วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ 2465-549X แนวทางการประยุกต์หลักการดูแลตนเอง 6 มิติสู่การออกแบบโครงสร้างโดยสังเขปของกิจกรรมศิลปะจากแนวคิดศิลปะบำบัดเพื่อส่งเสริมการสะท้อนตนเองสำหรับเจ้าหน้าที่งานบริการด้านสงเคราะห์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/saujournalssh/article/view/271228 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>บทความวิชาการนี้มีจุดประสงค์เพื่อนำเสนอการออกแบบโครงสร้างโดยสังเขปของกิจกรรมศิลปะด้วยแนวทางศิลปะบำบัดที่มาจากการประยุกต์หลักการดูแลตนเอง 6 มิติในการส่งเสริมการสะท้อนตนเองเพื่อสร้างการตระหนักและพัฒนาการดูแลตนเองโดยมีเป้าหมายในการสร้างความเป็นอยู่ดีทางร่างกายและจิตใจแก่เจ้าหน้าที่งานบริการด้านสงเคราะห์ที่ช่วยเหลือผู้รับบริการจนละเลยการดูแลตนเองโดยเป็นปัจจัยสำคัญในการเสริมความพร้อมการปฏิบัติงาน</p> <p>ซึ่งผลการศึกษาพบว่า โครงสร้างโดยสังเขปแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ การค้นหา การขยายความ และการประยุกต์ใช้ การสร้างขั้นตอนได้บูรณาการจากหลักการสะท้อนตนเองและศิลปะบำบัด ขั้นตอนการค้นหาวางพื้นฐานความคิดการดูแลตัวเองซึ่งใช้แนวคิดการเปลี่ยนแปลงและการสะท้อนตนเอง เพื่อสร้างการตระหนักถึงทัศนคติเชิงบวกต่อการมองเห็นตนเอง ขั้นตอนการขยายความมุ่งความคิดไปยังการดูแลตนเอง 6 มิติที่สัมพันธ์กับความเป็นอยู่ของเจ้าหน้าที่ฯ ที่อาจเกิดความเครียดขึ้นได้ โดยผสานแนวทางความเห็นอกเห็นใจตนเองและการตั้งเป้าหมายส่วนบุคคลเข้าด้วยกันเพื่อสร้างแนวทางการพัฒนาตนเชิงรูปธรรม และขั้นตอนการประยุกต์ใช้นำความคิดและมุมมองใหม่ที่ได้ไปปฏิบัติในชีวิตจริง ผ่านแนวคิดการรับรู้ความสามารถของตนเอง</p> <p>แนวทางศิลปะบำบัดถูกประยุกต์ร่วมในโครงสร้างโดยสังเขปเนื่องจากเป็นแนวคิดที่สร้างสรรค์ ผ่อนคลาย และส่งเสริมการเติบโตเชิงความคิด แนวคิดต่างๆในโครงสร้างโดยสังเขปสามารถทำงานร่วมกับศิลปะบำบัดได้ โครงสร้างโดยสังเขปนี้ได้ถูกตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาการ 2 ท่าน และผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาชีพจิตวิทยา 2 ท่าน ด้วยเทคนิคเดลฟายและผ่านการพิจารณาเห็นชอบในการเผยแพร่และไม่พบความน่าจะมีผลกระทบเชิงลบ กระบวนกร นักบำบัด หรือผู้ให้คำปรึกษาสามารถบูรณาการความรู้และทักษะในการสร้างกิจกรรมภายในโครงสร้างโดยสังเขปนี้ได้</p> พิพัฒน์ อุรเคนทร์ สุภาวี ศิรินคราภรณ์ Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ 2024-12-13 2024-12-13 8 2 1 30 Logistics and marketing packagin ต้นแบบบรรจุภัณฑ์ด้านโลจิสติกส์และการตลาด ผ้าทอมือย้อมคราม กลุ่มบ้านดงอิด่อย ตำบลแพดอำเภอคำตากล้า จังหวัดสกลนคร https://so05.tci-thaijo.org/index.php/saujournalssh/article/view/272891 <h2>วัตถุประสงค์ของการวิจัย1.เพื่อพัฒนาต้นแบบบรรจุภัณฑ์ด้านโลจิสติกส์และการตลาด และ2.เพื่อประเมินความพึงพอใจในบรรจุภัณฑ์ด้านโลจิสติกส์และการตลาดของผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือกลุ่มบ้านดงอิด่อย ตำบลแพด อำเภอคำตากล้า จังหวัดสกลนคร งานวิจัยผสมผสานระหว่างเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมายของการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยสมาชิกกลุ่มผ้าทอมือย้อมคราม ผู้ประกอบการ ประชาชนทั่วไปและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังตุการณ์แบบมีส่วนร่วม นำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</h2> <p>ผลการวิจัยพบว่า การออกแบบต้นแบบบรรจุภัณฑ์ด้านโลจิสติกส์และการตลาดเพื่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดี มีความทันสมัย และสร้างมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ผ้าย้อมคราม โดยการนำลวดลายผ้าของชุมชนบ้านดงอิด่อยมาออกแบบทั้งหมด 3 โครงสร้าง 2 กราฟฟิก ได้แก่ ลายดงอิด่อยและลายดอกทองกวาว และ 3 โครงสร้างประกอบด้วย 1.ด้านความเป็นเอกลักษณ์ 2.ด้านการปกป้องผลิตภัณฑ์และการบรรจุ และ 3.ด้านอำนวยความสะดวกและส่งเสริมการจัดจำหน่าย ด้านอำนวยความสะดวกและส่งเสริมการจัดจำหน่ายมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด (=4.36) ส่วนค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.= 0.68) ด้านการปกป้องผลิตภัณฑ์และการบรรจุมีความพึงพอใจระดับน้อยที่สุดคือระดับมาก (=4.26) ส่วนค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.= 0.75)</p> ชฎาพร แนบชิด กาญจนาภรณ์ นิลจินดา สุพิชญา นิลจินดา จินตนา จันทนนท์ Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ 2024-12-13 2024-12-13 8 2 31 48 Factors Affecting Teaching Quality: Students' Perception, Xi'an Kedagaoxin University, Xi'an City, China https://so05.tci-thaijo.org/index.php/saujournalssh/article/view/275900 <p>This research aimed to study factors affecting teaching quality: students' perception, Xi'an Kedagaoxin University, Xi'an, China. The study was quantitative research by using a questionnaire as the instrument for collecting data. The sample consists of 200 students from Xi'an Kedagaoxin University, selected using simple random and stratified sampling. Data were analyzed by descriptive statistics in the forms of frequency distribution, percentage, and standard deviation. Moreover, to verify the relationship between independent variables and dependent variables Pearson's correlation analysis, and the hypothesis testing by multiple regression analysis.</p> <p>The research results found that, the relationship between Motivation, Teaching Methods, Teaching Environment, and Learning Resources impact teaching quality at Xi’an Kedagaoxin University with statistical significance at the 0.05 level. The recommendations from the research are as follows: in terms of motivation, positive strategies and policies, and rewards should be used to increase motivation; in terms of teaching methods, a variety of teaching strategies should be used to stimulate student interest and participation; in terms of teaching environment, classroom infrastructure facilities and the psychological environment should be improved; and in terms of learning resources, learning media and various digital media should be improved.</p> YAN LU Kingkaew Suwankhiri Phanthida Laophuangsak Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ 2024-12-13 2024-12-13 8 2 49 63 ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันองค์กรของข้าราชการที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานราชการแห่งหนึ่ง https://so05.tci-thaijo.org/index.php/saujournalssh/article/view/274970 <p> การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความผูกพันองค์กร เปรียบเทียบระดับความผูกพันองค์กรของข้าราชการที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานราชการแห่งหนึ่ง จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันองค์กรของข้าราชการที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานราชการแห่งหนึ่ง กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานราชการแห่งหนึ่ง จำนวน 180 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า ระดับความผูกพันองค์กรของข้าราชการที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานราชการแห่งหนึ่ง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบระดับความผูกพันองค์กรที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานราชการแห่งหนึ่ง ตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ข้าราชการที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานราชการแห่งหนึ่ง ที่มีเพศ อายุ สถานภาพ และระยะเวลาที่ปฏิบัติงานแตกต่างกัน มีระดับความผูกพันองค์กรแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ข้าราชการที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานราชการแห่งหนึ่ง ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือนและตำแหน่งงานแตกต่างกัน มีระดับความผูกพันองค์กรแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 และปัจจัยด้านลักษณะงาน มีความสัมพันธ์ต่อความผูกพันองค์กรของข้าราชการที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานราชการแห่งหนึ่งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ได้ร้อยละ 51.3 (<strong>R</strong><sup>2</sup> = 0.513) ซึ่งมีทั้งหมด 2 ปัจจัย ได้แก่ ด้านลักษณะการทำงานเป็นทีม และด้านความท้าทายในการทำงาน ส่วนด้านความพึงพอใจในการทำงานมีความสัมพันธ์ต่อความผูกพันองค์กรของข้าราชการที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานราชการแห่งหนึ่ง ได้ร้อยละ 63.6 (<strong>R</strong><sup>2</sup> = 0.636) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งมีทั้งหมด 1 ปัจจัย ได้แก่ ด้านความรู้สึกว่าตนมีความสำคัญต่อองค์กร</p> อุษา เทวารัตติกาล ศศิณา สุนทรพฤกษ์ ยุทธนา มหาวงศ์ อภิญญา จันทร์ดาแสง Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ 2024-12-13 2024-12-13 8 2 64 82