https://so05.tci-thaijo.org/index.php/scaj/issue/feed วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล 2024-01-01T07:28:43+07:00 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สถิตย์ กุลสอน [email protected] Open Journal Systems <p><strong>วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ได้ผ่านการรับรองคุณภาพรอบที่ 4 พ.ศ. 2563 – 2567 จัดอยู่ในฐานข้อมูลศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย TCI 2 กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์</strong> ได้จัดทำเป็น 2 รูปแบบ ทั้งรูปแบบตีพิมพ์ (Print) หมายเลข ISSN 2408-1728 (Print) และรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Online) ISSN 2586-9868 (Online) ที่พิมพ์เผยแพร่ บทความวิจัย (Research Article) และบทความวิชาการ (Academic Article)</p> <p>มีวัตถุประสงค์เพื่อตีพิมพ์บทความดังกล่าวในกลุ่มสาขาศึกษาศาสตร์ บริหารธุรกิจ การบัญชี การตลาด การจัดการทรัพยากรมนุษย์ เทคโนโลยีดิจิทัล นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐศาสนประสานศาสตร์ สหวิทยาการจัดการ การจัดการอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี เทคโนโลยีมัลติมีเดียและแอนิเมชัน นิเทศศาสตร์ ภาษาศาสตร์ ส่งเสริมการเกษตร ศิลปะ วัฒนธรรม และสาขาที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นสื่อกลางแหล่งรวบรวมองค์ความรู้ต่างๆ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้เกิดแนวคิด เทคนิค วิธีการนำไปพัฒนาทางวิชาการ ตลอดจนเป็นเวทีนำเสนอเผยแพร่ผลงานของบุคลากรในมหาวิทยาลัยและบุคคลทั่วไปทุกหน่วยงาน โดยมีกำหนดออกราย 6 เดือน หรือ 2 ฉบับต่อปี</p> <p>บทความทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญ 3 ท่าน แบบผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แต่งไม่ทราบชื่อกันและกัน (Double-Blind Review)</p> <p><strong>Published Rate (อัตราค่าตีพิมพ์)<br /></strong>1) บทความภาษาไทย ค่าธรรมเนียม แบบปกติ 4,500 บาท<br />2) บทความภาษาอังกฤษ ค่าธรรมเนียม แบบปกติ 5,500 บาท</p> https://so05.tci-thaijo.org/index.php/scaj/article/view/266985 14. รูปแบบแผนการตลาดฉบับย่อสำหรับผลิตภัณฑ์หรือบริการ 2023-07-25T22:44:19+07:00 ฉัตรชัย พิศพล [email protected] <p>รูปแบบแผนการตลาดฉบับย่อ (Marketing Model Canvas: MMC) คิดค้นขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือสำหรับนักการตลาดในการอธิบายภาพรวมแผนการตลาดของผลิตภัณฑ์ หรือบริการ ซึ่งสามารถแก้ปัญหาที่ผู้บริหารต้องใช้เวลาในการอ่านและทำความเข้าใจแผนการตลาดฉบับเต็ม โดยแผนการตลาดฉบับย่อเป็นการสรุปแผนการตลาดของผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ง่ายต่อการมองเห็นภาพรวมของแผนการตลาดบนหน้ากระดาษเพียงแผ่นเดียว โดยสามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วนสำคัญ ได้แก่ ส่วนที่ 1) เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลทั่วไปของผลิตภัณฑ์หรือบริการของบริษัท ส่วนที่ 2) เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับกลยุทธ์การตลาดและเทคโนโลยีการตลาด และส่วนที่ 3) เกี่ยวข้องกับงบประมาณและการประเมินผลทางการตลาด ซึ่งทีมการตลาดของบริษัทสามารถประยุกต์ใช้ในการนำเสนอแผนการตลาดให้กับผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้องได้อย่างเรียบง่าย รวดเร็ว และเข้าใจถูกต้องตรงกัน หากมีข้อแก้ไขปรับปรุงก็สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ MMC จะช่วยให้บริษัทสามารถปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การตลาดได้อย่างรวดเร็วและทันเวลาหากเจอสถานการณ์การแข่งขันที่ไม่คาดคิดได้อีกด้วย</p> 2024-01-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล https://so05.tci-thaijo.org/index.php/scaj/article/view/267290 15. มาตรการทางกฎหมายเพื่อนำไปสู่ความเท่าเทียมในการเข้าถึงความยุติธรรมตามเป้าหมายที่ 16 การพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์กรสหประชาชาติ 2023-08-16T11:52:13+07:00 พันธุ์ทิพย์ นวานุช [email protected] พวงผกา มุ่งดี [email protected] <p>การพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ เป้าหมายที่ 16 ว่าด้วยสังคมสงบสุข ยุติธรรม ไม่แบ่งแยก ซึ่งมุ่งพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมให้มีความเชื่อมโยงกัน โดยให้ความสำคัญ เพื่อนำไปสู่สังคมสงบสุข ยุติธรรม และสถาบันเข้มแข็ง ซึ่งครอบคลุมหลายประเด็นอย่างกว้างขวาง แต่บทความฉบับนี้มุ่งเน้นประเด็นมาตรการทางกฎหมายเพื่อนำไปสู่ความเท่าเทียมในการเข้าถึงความยุติธรรม โดยมีมาตรการทางกฎหมาย ดังนี้</p> <ol> <li>รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 โดยหลักนิติธรรม มีเกณฑ์การใช้อำนาจรัฐ การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมทางอาญาอย่างต่อเนื่องเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ลดความเหลื่อมล้ำให้แก่ประชาชน</li> <li>กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 8 มาตรา 37 และมาตรา 134/1 เพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมอย่างเท่าเทียม</li> <li>กฎหมายอาญามาตรา 2 เพื่อคุ้มครองบุคคลจะไม่ถูกลงโทษเมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นความผิดและกำหนดโทษไว้</li> <li>สนธิสัญญาที่เกี่ยวกับการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมที่ไทยมีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตาม</li> </ol> <p>มาตรการทางกฎหมายเพื่อนำไปสู่ความเท่าเทียมในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมตามเป้าหมายที่ 16 นั้น ตามบทบัญญัติของกฎหมายมีความสมบูรณ์ชัดเจนอยู่แล้ว แต่ต้องมีกฎหมายลำดับรองมารองรับให้ครบถ้วน พร้อมทั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างสมบูรณ์อันจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป</p> 2024-01-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล https://so05.tci-thaijo.org/index.php/scaj/article/view/267422 16. การป้องกันเด็กเสพติดเกมออนไลน์ 2023-12-01T21:24:35+07:00 ชวิน คำบุญเรือง [email protected] ณัฐวุฒิ ทิวัง [email protected] ปาณิษตรา บุญส่ง [email protected] <p>ในปัจจุบันนี้ ปัญหาการเสพติดเกมออนไลน์ ถือเป็นปัญหาที่สำคัญ โดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก เป็นเรื่องที่สังคมต้องหาทางแก้ไข เนื่องจากในปัจจุบันมีสิ่งเย้ายวนใจอย่างมากมาย อาทเช่น สื่อเกมออนไลน์หรืออินเทอร์เน็ต เพราะเด็กสามารถเข้าถึงได้จากทุกที่ทุกเวลา ทำให้ผู้ปกครองกังวลใจว่าเด็กจะเกิดอาการเสพติดเกมออนไลน์ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการต่างๆ ของเด็ก ไม่ว่าจะเป็นด้านการเจริญเติบโตของร่างกาย พัฒนาการด้านสมอง ด้านอารมณ์ และอื่นๆ แต่ก็มีวิธีการป้องกันและแก้ไขอาการเสพติดเกมของเด็กได้ โดยเริ่มต้นจากผู้ปกครองที่ต้องดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด ต้องสังเกตุอาการของเด็ก ว่า 1) มีการใช้เวลากับการเล่นเกมมากเกินไป 2) แสดงความก้าวร้าวเมื่อไม่พอใจ 3) ไม่มีสมาธิกับการเรียน และ 4) เริ่มตัดขาดจากโลกภายนอก ซึ่งเมื่อเริ่มต้นสังเกตุแล้ว พบว่ามีอาการดังกล่าว ให้แก้ปัญหาโดยการดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด สร้างวินัยในชีวิตประจำวันให้เด็กใหม่ จำกัดชั่วโมงการเล่นเกมหรือเล่นอินเทอร์เน็ต หากิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อใช้เวลาร่วมกันระหว่างผู้ปกครองกับเด็กมากขึ้น ให้รางวัลเมื่อพวกเขาทำกิจกรรมอื่นๆ สำเร็จ และปรึกษาพูดคุยกับจิตแพทย์ เพื่อให้เด็กๆ ใช้ชีวิตอย่างปกติสุข</p> 2024-01-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล https://so05.tci-thaijo.org/index.php/scaj/article/view/267651 17. การบริหารความปลอดภัยในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร 2023-09-03T11:41:54+07:00 ธนัทธวัฒน์ วรวัชรบวรชัย [email protected] สุภาภรณ์ ตั้งดำเนินสวัสดิ์ [email protected] ปาจรีย์ นาคะประทีป [email protected] จักษ์ จิตตธรรม [email protected] <p>การบริหารความปลอดภัยในโรงเรียนมีความสำคัญสำหรับทุกคนในโรงเรียนเนื่องจากเป็นสถาบันที่ให้ความรู้สู่ความประสบความสำเร็จในชีวิตการศึกษาของนักเรียน รวมถึงความสุขในการทำงานของบุคลากรที่เป็นส่วนในการขับเคลื่อนองค์กรให้สำเร็จจากสถานการณ์ความรุนแรง ภัยพิบัติ สิ่งที่เป็นอันตรายทั้งต่อจิตใจ ชีวิต ทรัพย์สินที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดหมายสามารถมีผลกระทบต่อบุคคลต่างๆภายในโรงเรียน ซึ่งผู้บริหาร บุคลากร ครูต้องร่วมกันดำเนินงาน สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อความปลอดภัย การมีแนวทางการปฏิบัติความปลอดภัยในโรงเรียนให้เกิดขึ้นเพื่อทำให้เด็กนักเรียนเกิดความปลอดภัยสูงสุดอย่างเป็นรูปธรรม บุคลากรในโรงเรียนสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงสามารถนำไปสู่ประสิทธิภาพและประสิทธิผลทางการบริหารความปลอดภัยในโรงเรียน ดังนั้น การบริหารความปลอดภัยในโรงเรียนจึงเป็นภารกิจหลักของโรงเรียนที่จะต้องมีนโยบายเพื่อรักษาความปลอดภัย ประกอบด้วย 1) หลักการบริหารความปลอดภัยในโรงเรียน ได้แก่ อาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก การจัดการภัยพิบัติในโรงเรียน และการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ 2) การจัดขอบข่ายความปลอดภัยในโรงเรียน ได้แก่ ภัยจากความรุนแรงของมนุษย์ ภัยจากอุบัติเหตุ ภัยจากการถูกละเมิดสิทธิ์ และภัยจากสุขภาวะทางกายและจิตใจ และ3) การป้องกัน การปลูกฝัง และการปราบปรามการบริหารความปลอดภัยในโรงเรียน ได้แก่ การป้องกัน การปลูกฝัง และการปราบปราม สิ่งเหล่านี้จึงเป็นกรอบแนวทางในการปฏิบัติงานเมื่อเกิดสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด และแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที</p> 2024-01-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล https://so05.tci-thaijo.org/index.php/scaj/article/view/268558 18. มาตรการทางกฎหมายภัยคุกคามทางไซเบอร์ 2023-10-19T12:27:32+07:00 พันธุ์ทิพย์ นวานุช [email protected] อำพล กองเขียว [email protected] ทองเลื่อน วิเชียรผลา [email protected] <p>ปัจจุบันการพัฒนาด้านเทคโนโลยี กลายเป็นช่องทางในการประกอบอาชญากรรมทางเทคโนโลยีในหลายรูปแบบถือเป็นภัยคุกคามทางไซเบอร์ ซึ่งจากข้อมูลสถิติการแจ้งความเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2565 ถึงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566 มีจำนวนผู้แจ้งความทั้งสิ้น 192,031 คดี รวมความเสียหายถึง 100 ล้านบาท ด้วยเหตุที่เป็นอาชญากรรมที่มีวิวัฒนาการอย่างรวดเร็ว และหลากหลายรูปแบบ จึงเกิดแนวทางที่จะพัฒนา ป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมเหล่านี้ โดยมีมาตรการทางกฎหมายหลายฉบับ เข้ามามีบทบาท เช่น กฎหมายมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี กฎหมายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และอื่น ๆ แต่อย่างไรก็ดี แม้จะมีมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันภัยคุกคามทางเทคโนโลยีหลายฉบับ แต่ก็ไม่สามารถป้องกันและปราบปรามได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีความจำเป็นต้องพัฒนากฎหมายดังกล่าว รวมทั้งพัฒนาบุคลากรภาครัฐและภาคเอกชนให้มีทักษะ ความรู้ ความสามารถ เท่าทันต่อสถานการณ์อาชญากรรมทางเทคโนโลยีอันเป็นภัยคุกคามทางไซเบอร์</p> 2024-01-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล https://so05.tci-thaijo.org/index.php/scaj/article/view/260757 1. การศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและอุปสรรคในการจัดทำบัญชีเพื่อนำไปสู่การพัฒนาระบบบัญชี ของวิสาหกิจชุมชน กลุ่มทอผ้าบ้านสามทอ ตำบลแสงสว่าง อำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี 2022-08-07T09:33:20+07:00 ยุทธนา จันทร์ปิตุ [email protected] ชลลดา นรินทร์ [email protected] นฤมล ชินวงศ์ [email protected] รติพร มีชัย [email protected] สำเริง นนศิริ [email protected] กิตติกรณ์ หนองหารพิทักษ์ [email protected] จักรพันธ์ จันทลา [email protected] <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)-ศึกษาสภาพการจัดทำบัญชี และระบบบัญชี 2)-ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการจัดทำ<br />บัญชี และ 3)-พัฒนาระบบบัญชี ของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าบ้านสามทอ ตำบลแสงสว่าง อำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ การพัฒนาระบบบัญชี และแบบประเมินผลความพึงพอใจ กับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 29 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ<br />ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการจัดทำบัญชีและระบบบัญชี มีสมุดเพียงเล่มเดียว สำหรับการบันทึกรายการค้า โดยทั้งหมดเป็นการจดบันทึกบัญชีด้วยมือ และเอกสารที่ใช้ประกอบการบันทึกบัญชี คือ ใบเสร็จรับเงิน มีการจัดทำรายงานทางการเงิน คือ <br />งบกำไรขาดทุน 2) ปัญหาและอุปสรรคในการจัดทำบัญชี โดยรวม คือ ขาดความรู้ความสามารถและทักษะในการปฏิบัติงาน และ<br />ขาดเครื่องใช้สำนักงานและอุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงานทำให้เกิดปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงาน และ 3) ระบบบัญชีได้รับการพัฒนาให้มีความเหมาะสม ข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ รายงานทางการเงินมีความชัดเจน และนำมาใช้ประโยชน์มากขึ้น โดยใช้สมุดบัญชี 4 เล่ม ประกอบด้วย สมุดเงินสด สมุดรายวันทั่วไป สมุดบัญชีแยกประเภท และสมุดบันทึกต้นทุน และระดับความเห็นต่อการพัฒนาระบบบัญชี พบว่า ระบบบัญชีมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 3.76)</p> 2024-01-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล https://so05.tci-thaijo.org/index.php/scaj/article/view/266478 2. กระบวนการสละสมณเพศเปรียบเทียบกับวิธีพิจารณาความอาญา 2023-06-29T20:49:51+07:00 วรรณไชย มะยงค์ [email protected] จิตรดารมย์ รัตนวุฒิ [email protected] <p>การศึกษาวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษา กระบวนการไต่สวนมูลฟ้องตามกฏนิคหกรรม เปรียบเทียบ วิธีไต่สวนมูลฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 2) เพื่อศึกษาสถานะ และ 3) สิทธิของ ความเป็นภิกษุที่ต้องหาว่ากระทำผิดทางอาญาและถูกบังคับให้สละสมณเพศ โดยการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) จากหนังสือ ตำรา บทความ กฎหมาย สื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ด้วยวิธีการเขียน แบบพรรณนาความ</p> <p>ผลจากการศึกษาพบว่า 1) กระบวนการสละสมณเพศของพระภิกษุสงฆ์มีลักษณะใกล้เคียงกับกระบวนพิจารณาคดีอาญา คือ 1) องค์ประกอบของการฟ้อง 2) ขั้นตอนการพิจารณา 3) ประเภทของพยานหลักฐาน 4) วิธีบังคับตามคําวินิจฉัย 2) สำหรับสถานะของ พระภิกษุที่ต้องหาว่ากระทำผิดทางอาญาและไม่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว ต้องสละสมณเพศ สถานะความเป็นพระสิ้นสุดลง ในกรณีที่พระภิกษุต้องหาว่ากระทำผิดวินัยต้องถูกลงนิคหกรรมให้สึก ภิกษุนั้นต้องสึกต้องภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่เวลาที่ได้ทราบคำวินิจฉัยนั้น 3) สิทธิของพระภิกษุที่ต้องสละสมเพศมีสิทธิในการต่อสู้คดี กรณีที่พระภิกษุถูกบังคับให้สละสมณเพศ และ ต้องสึกตามกฎนิคหกรรม สถานะพ้นจากความเป็นพระ แต่มีสิทธิบวชใหม่ได้ ผู้วิจัยจึงมี ข้อเสนอแนะว่า ควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 มาตรา 30/1 โดยมีข้อความดังนี้ “เมื่อคดีถึงที่สุดโดยพระภิกษุไม่มีความผิดหรือเป็นความผิดที่ไม่ต้องรับโทษทางจำคุก ให้คืนสถานะและสิทธิที่พึงมีก่อนถูกบังคับให้สละสมณเพศ”</p> 2024-01-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล https://so05.tci-thaijo.org/index.php/scaj/article/view/266873 3. ผลของการเต้นแอโรบิกดานซ์แบบหนักสลับเบาต่อรูปร่างและสัดส่วนของร่างกายในหญิงวัยผู้ใหญ่ 2023-07-19T08:48:36+07:00 ไพวัน เพลิดพราว [email protected] <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาผลของการเต้นแอโรบิกดานซ์แบบหนักสลับเบาต่อรูปร่างและสัดส่วนของร่างกายในหญิงวัยผู้ใหญ่ และ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลของการเต้นแอโรบิกดานซ์แบบหนักสลับเบาต่อรูปร่างและสัดส่วนของร่างกาย ในหญิงวัยผู้ใหญ่ การวิจัยเชิงทดลองในสมาชิกของชมรมแอโรบิกดานซ์มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติวิทยาเขตอุดรธานี โดยการเต้นแอโรบิกแบบหนักสลับเบา เป็นเพศหญิง จำนวน 40 คน อายุระหว่าง 30 – 50 ปี เลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 20 คน ฝึกเต้นแอโรบิกดานซ์แบบหนักสลับเบา กลุ่มทดลองฝึกตามโปรแกรมการเต้นแอโรบิกดานซ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และกลุ่มควบคุมฝึกเต้นแอโรบิกดานซ์ตามแบบที่นิยมทั่วไป ทำการฝึก 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ประเมินโดยการวัดสัดส่วนคือขนาดของแขนท่อนบนซ้ายและขวา รอบเอว สะโพก ต้นขาซ้ายและขวา น่องขาซ้ายและขวา วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยใช้สถิติที (t-test Independent) เปรียบเทียบความแตกต่างโดยใช้สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>1) กลุ่มฝึกเต้นแอโรบิกดานซ์ตามแบบที่นิยมทั่วไปและฝึกตามโปรแกรมการฝึกเต้นแอโรบิกดานซ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีสัดส่วนของร่างกายลดลงหลังจากการฝึก 8 สัปดาห์</p> <p>2) ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยสัดส่วนของร่างกายของกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองในการเต้นแอโรบิกดานซ์ พบว่า หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> 2024-01-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล https://so05.tci-thaijo.org/index.php/scaj/article/view/266905 4. ผลของการจัดกิจกรรมพลศึกษาด้วยการเต้นแอโรบิกที่มีต่อสุขภาพสมองของนักเรียน ชั้นประถมศึกษา 2023-07-20T16:11:29+07:00 สุชาดา อำพันขาว [email protected] นิรุตติ์ สุขดี [email protected] รจนา ป้องนู [email protected] <p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการจัดกิจกรรมพลศึกษาด้วยการเต้นแอโรบิกที่มีผลต่อสุขภาพสมองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาในด้านความจํา ความสามรถในการควบคุมและยับยั้ง ความยืดหยุ่นทางความคิด และความสามารถด้านมิติสัมพันธ์กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปี่ที่ 4-6 จํานวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนกิจกรรมพลศึกษาด้วยการเต้นแอโรบิก และแบบทดสอบความสามารถทางสมองด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (The Computerized test battery CNS Vital Signs) ประกอบด้วย แบบทดสอบTrail Making Test (TMT) ในการวัดภาพสมองด้านความจํา แบบทดสอบ Flanker Test (FKT) ในการวัดสุขภาพสมองด้านความสามรถในการควบคุมและยังยั้ง แบบทดสอบ Design Fluency Test (DFT)<br />ในการวัดสุขภาพสมองด้านความยืดหยุ่นทางความคิด และแบบทดสอบ Mental Rotation Test (MRT) ในการวัดสุขภาพสมองด้านความสามาถด้านมิติสัมพันธ์วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ (One-way ANOVA Repeated Measures) และทดสอบความแตกต่างคะแนนเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยการทดสอบ Bonferroni Test ที่นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า สุขภาพสมองของนักเรียนทุกด้านดีขึ้น เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่พบว่า ทุกการทดสอบมีความแตกต่างกันทุกช่วงการทดลองโดยหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 8 จะมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าสัปดาห์ที่ 4 และก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า การจัดกิจกรรมพลศึกษาด้วยการเต้นแอโรบิก ช่วยส่งเสริมสุขภาพสมองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถนําไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้พลศึกษา เพื่อให้เกิดการพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหว ระบบประสาทสัมผัสและศักยภาพในการเรียนรู้ </p> 2024-01-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล https://so05.tci-thaijo.org/index.php/scaj/article/view/267652 5. การพัฒนารูปแบบการบริหารความปลอดภัยในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร 2023-09-03T11:49:32+07:00 ธนัทธวัฒน์ วรวัชรบวรชัย [email protected] สุภาภรณ์ ตั้งดำเนินสวัสดิ์ [email protected] ปาจรีย์ นาคะประทีป [email protected] จักษ์ จิตตธรรม [email protected] <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นต่อการบริหารความปลอดภัยในโรงเรียน และ 2) การพัฒนารูปแบบการบริหารความปลอดภัยในโรงเรียน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mix Method Research) สุ่มตัวอย่างตามสัดส่วนประชากรได้กลุ่มตัวอย่าง 295 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยโดยการใช้แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .9839 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน ครู ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยโดยการใช้แบบสัมภาษณ์ และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดเห็นต่อการบริหารความปลอดภัยในโรงเรียน ได้แก่ 1.1) ความคิดเห็นต่อการปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารความปลอดภัยในโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก 1.2) ความคิดเห็นต่อการปฏิบัติเกี่ยวกับอาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกโดยรวมอยู่ในระดับมาก 1.3) ความคิดเห็นต่อการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการภัยพิบัติในโรงเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมาก 1.4) ความคิดเห็นต่อสภาพปัจจุบันของการปฏิบัติเกี่ยวกับการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติโดยรวมอยู่ในระดับมาก 1.5) ความคิดเห็นต่อการปฏิบัติเกี่ยวกับขอบข่ายความปลอดภัยในโรงเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมาก 1.6) ความคิดเห็นต่อการปฏิบัติเกี่ยวกับภัยที่เกิดจากการใช้ความรุนแรงของมนุษย์โดยรวมอยู่ในระดับมาก 1.7) ความคิดเห็นต่อการปฏิบัติเกี่ยวกับภัยที่เกิดจากอุบัติเหตุโดยรวมอยู่ในระดับมาก 1.8) ความคิดเห็นต่อการปฏิบัติเกี่ยวกับภัยที่เกิดจากการละเมิดสิทธิ์โดยรวมอยู่ในระดับมาก 1.9) ความคิดเห็นต่อการปฏิบัติเกี่ยวกับภัยที่เกิดจากผลกระทบทางสุขภาวะทางกายและจิตใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) รูปแบบการบริหารความปลอดภัยในโรงเรียน ประกอบด้วย การป้องกัน การปลูกฝัง และการปราบปราม ได้รับการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ นักวิชาการ พบว่ารูปแบบการบริหารความปลอดภัยในโรงเรียนทุกองค์ประกอบมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด และความสามารถนำไปปฏิบัติได้</p> 2024-01-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล https://so05.tci-thaijo.org/index.php/scaj/article/view/267903 6. องค์ประกอบการนิเทศที่ส่งผลต่อการปฏิบัติการสอนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู วิทยาลัยสันตพล จังหวัดอุดรธานี 2023-09-15T09:14:03+07:00 พูนสิน ประคำมินทร์ [email protected] ประหยัด ฤาชากูล [email protected] ทิพวรรณ แพงบุปผา [email protected] ภุชงค์ มัชฌิโม [email protected] เกศรี วิวัฒนปฐพี [email protected] <p>การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาองค์ประกอบการนิเทศที่ส่งผลต่อการปฏิบัติการสอนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูวิทยาลัยสันตพลจังหวัดอุดรธานี ประชากร จำนวน 370 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้จำนวน 226 คน ประกอบด้วย อาจารย์นิเทศ จำนวน 10 คน ครูพี่เลี้ยง จำนวน 108 คน และนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู จำนวน 108 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า ด้านการนิเทศ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ อยู่ระหว่าง 0.77 - 0.99 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.60 และด้านการปฏิบัติการสอนมีค่าอำนาจจำแนก ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูอยู่ระหว่าง 0.56 - 0.97 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับมีค่าเท่ากับ 0.94 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้รูปแบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>องค์ประกอบการนิเทศที่ส่งผลต่อการปฏิบัติการสอนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูวิทยาลัยสันตพลจังหวัดอุดรธานีประกอบด้วย 1) การศึกษาสภาพและความต้องการ 2) การวางแผนการนิเทศ 3) การปฏิบัติการนิเทศ 4) การประเมินและรายงานผลการนิเทศ และ 5) การสะท้อนผลและอภิปราย</li> <li>การนิเทศนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู วิทยาลัยสันตพล จังหวัดอุดรธานี อยู่ในระดับมาก</li> <li>การปฏิบัติการสอนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู วิทยาลัยสันตพล จังหวัดอุดรธานี อยู่ในระดับมาก</li> <li>การนิเทศนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูกับการปฏิบัติการสอนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูวิทยาลัย<br />สันตพล จังหวัดอุดรธานี มีความสัมพันธ์กันในเชิงบวก อยู่ในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01</li> <li>การนิเทศนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ด้านการวางแผนการนิเทศ ด้านการปฏิบัติการนิเทศ และด้านการสะท้อนผลและอภิปราย มีอำนาจพยากรณ์และประสิทธิผลการปฏิบัติการสอนกับนักการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู วิทยาลัยสันตพล จังหวัดอุดรธานี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำนวน 2 ด้าน และ .05 จำนวน 1 ด้าน โดยทั้ง 3 ด้านมีค่าอำนาจพยากรณ์ 56.90 และค่าความคลาดเคลื่อนของการพยากรณ์ .138</li> </ol> 2024-01-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล https://so05.tci-thaijo.org/index.php/scaj/article/view/267962 7. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสนามกีฬาของมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตชลบุรี 2023-09-18T20:46:37+07:00 ภานุวัฒน์ ศรีวรรณ [email protected] มนัสวี จ่าแก้ว [email protected] ธิติพงษ์ สุขดี [email protected] จิระเมศร์ ธนกุลอธิโรจน์ [email protected] <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา หาความสัมพันธ์และสร้างสมการพยากรณ์การตัดสินใจใช้บริการสนามกีฬาของมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตชลบุรี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้คือ ผู้ที่มาใช้บริการสนามกีฬาของมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตชลบุรี ปี 2566 จำนวน 560 คน โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบโควต้า เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม (IOC=0.87-1.00, α = 0.88) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ประกอบด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ วิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน และวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) ทุกปัจจัยมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2) ทุกปัจจัยมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจใช้บริการสนามกีฬาในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสนามกีฬาของมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตชลบุรีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มี 5 ปัจจัย โดยเรียงลำดับจากปัจจัยที่ส่งผลมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด ได้แก่ ปัจจัยด้านราคา (β=0.283) ด้านบุคคล (β=0.257) ด้านกายภาพและการนําเสนอ (β=0.166) ด้านกระบวนการ (β=0.150) ด้านช่องทางการจัดจําหน่าย (β=0.139) ซึ่งสามารถร่วมกันทำนายการตัดสินใจใช้บริการสนามกีฬาได้ร้อยละ 78.40</p> 2024-01-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล https://so05.tci-thaijo.org/index.php/scaj/article/view/268032 8. การพัฒนาตัวบ่งชี้การนิเทศภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2023-09-22T13:34:59+07:00 มีศักดิ์ แสงศิลา [email protected] รอง ปัญสังกา [email protected] วรพล คล่องเชิงศร [email protected] ปัญญารัฐฎน์ จันทร์กอง [email protected] ธีระเดช จิราธนทัต [email protected] ประหยัด ฤาชากูล [email protected] เกศรี วิวัฒนปฐพี [email protected] <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้การนิเทศภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2565 เลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย ได้กลุ่มตัวอย่าง 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ .976 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเบ้ ค่าความโด่ง ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Correlation co - efficiency) ค่าดัชนี KMO (Kaiser – meyer - olkin measure of sampling adequacy) ค่าสถิติของ Bartlett (Bartlett’s test of sphericity) และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory factor analysis)</p> <p>ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ </p> <p>1.1 ผลการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์และค่า KMO and Bartlett's Test องค์ประกอบหลักการนิเทศภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ทุกองค์ประกอบหลัก มีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สูงกว่าเกณฑ์ที่ยอมรับได้ (.30) และเมื่อทำการตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูลเบื้องต้นก่อนนำไปวิเคราะห์องค์ประกอบ ด้วยค่า Kaiser - meyer olkin measure of sampling adequacy (KMO) มีค่าเท่ากับ .886 ซึ่งมากกว่า .60 ค่า Bartlett's test of sphericity approx. นั่น หมายถึง ข้อมูลในส่วนนี้มีความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร และมีความเหมาะสมระดับดีมาก ซึ่งเป็นไปตามข้อตกลงเบื้องต้น</p> <p>1.2 ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน เพื่อสร้างสเกลองค์ประกอบ ในรูปแบบของโมเดลความสัมพันธ์โครงสร้าง เชิงเส้น เพื่อเป็นการทดสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างองค์ประกอบหลัก องค์ประกอบย่อย และตัวบ่งชี้การนิเทศภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์ อันเป็นขั้นตอนสำคัญของการพัฒนาตัวบ่งชี้ โดยได้จัดกลุ่มตัวบ่งชี้ออกภายใต้องค์ประกอบย่อย และองค์ประกอบหลักได้ 5 องค์ประกอบหลัก 15 องค์ประกอบย่อย และ 60 ตัวบ่งชี้ แล้วจัดองค์ประหลัก องค์ประกอบย่อย และตัวบ่งชี้เข้าทำการวิเคราะห์ตามกรอบทฤษฎี และเมื่อปรับความสอดคล้องของโมเดลแล้ว ทำให้มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาได้จาก ตัวบ่งชี้ทุกตัว มีค่าสถิติต่าง ๆ ที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูล อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้เป็นไปตามข้อตกลงเบื้องต้น แสดงว่า ตัวบ่งชี้ทุกตัวอยู่ภายใต้องค์ประกอบย่อย และองค์ประกอบย่อยทุกตัวอยู่ภายใต้องค์ประกอบหลัก สรุปว่า โมเดลตัวบ่งชี้การนิเทศภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความสอดคล้องและกลมกลืนดีกับข้อมูลเชิงประจักษ์</p> 2024-01-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล https://so05.tci-thaijo.org/index.php/scaj/article/view/268098 9. การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่ส่งผลต่อความภักดีของผู้บริโภคที่ซื้อวัสดุหลังคากันสาด ในเขตกรุงเทพมหานคร 2023-09-26T16:40:34+07:00 ฐิตารีย์ จาตุไชยสิทธิ์ [email protected] พรพิมล สัมพัทธ์พงศ์ [email protected] ฉัตยาพร เสมอใจ [email protected] <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ 2) ความภักดีของผู้บริโภคที่ซื้อวัสดุหลังคากันสาด 3) การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ ที่ส่งผลต่อความภักดีของผู้บริโภคที่ซื้อวัสดุหลังคากันสาด ในเขตกรุงเทพมหานคร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ ขนาดของกลุ่มตัวอย่างจำนวน 385 ตัวอย่าง โดยใช้สูตรของคอแรน (Cochran, 1977) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ประกอบด้วย สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple regressions Analysis</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการ ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก ความภักดีของผู้บริโภคที่ซื้อวัสดุหลังคากันสาด ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐาน ปัจจัยการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ ได้แก่ ด้านการขายโดยพนักงาน ด้านการส่งเสริมการขาย และด้านการตลาดทางตรง มีผลต่อความภักดีของผู้บริโภคที่ซื้อวัสดุหลังคากันสาดในกรุงเทพมหานคร สามารถร่วมกันพยากรณ์ความภักดีของผู้บริโภคที่ซื้อวัสดุหลังคากันสาด ได้ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 </p> 2024-01-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล https://so05.tci-thaijo.org/index.php/scaj/article/view/268501 10. การออกแบบโมเดล 3 มิติในรูปแบบพิกเซลอาร์ตด้วยพื้นผิวแบบ 8 บิท 2023-10-15T19:02:56+07:00 ธีร์วรา สุขสุเมฆ [email protected] กานต์พิชชา ทองบัวร่วง [email protected] กิตติพล เทียนทอง [email protected] <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อออกแบบโมเดล 3 มิติในรูปแบบพิเซลอาร์ตด้วยพื้นผิวแบบ 8 บิท 2) เพื่อนำผลลัพธ์ที่ได้จากการวิจัยนี้ไปใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงในการนำสร้างโมเดลสามมิติเพื่อใช้ ประกอบการสอนภายภาคหน้า โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงซึ่งเป็นรนักศึกษาสาขาวิชามัลติมีเดียอาร์ตและแอนิเมชันจำนวน 30 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ โมเดล 3 มิติในรูปแบบพิกเซลอาร์ตด้วยพื้นผิวแบบ 8 บิต, แบบประเมินคุณภาพและความสอดคล้องระหว่างโมเดลและวัตถุประสงค์, แบบประเมินความพึงพอใจและความสนใจของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อโมเดล 3 มิติในรูปแบบพิกเซลอาร์ตด้วยพื้นผิวแบบ 8 บิต สถิติทีใช้ในการวิจัยได้แก่ การหาค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) โมเดล 3 มิติในรูปแบบพิกเซลอาร์ตด้วยพื้นผิวแบบ 8 บิต ที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นนั้นมีกระบวนการสร้างและการทำงานที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนได้และเหมาะที่จะใช้เป็นตัวอย่างเพื่อให้นักศึกษาสาขาวิชามัลติมีเดียอาร์ตและแอนิเมชันได้เรียนรู้ 2) ผลวิเคราะห์การประเมินคุณภาพและความเหมาะสมของโมเดล 3 มิติในรูปแบบพิกเซลอาร์ตด้วยพื้นผิวแบบ 8 บิตโดยผู้เชี่ยวชาญนั้น พบว่ามีค่าเฉลี่ย = 4.23 อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมมาก 3) ผลประเมินความพึงพอใจและความสนใจของกลุ่มตัวอย่างต่อโมเดล 3 มิติในรูปแบบพิกเซลอาร์ตด้วยพื้นผิวแบบ 8 บิต พบว่ามีค่าเฉลี่ย = 4.41 อยู่ในเกณฑ์ที่พึงพอใจมาก</p> 2024-01-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล https://so05.tci-thaijo.org/index.php/scaj/article/view/268777 11. ผลของโปรแกรมการฝึกแบบสถานีที่มีต่อสมรรถภาพทางกายของนักกีฬาชักกะเย่อระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 2023-11-02T12:18:10+07:00 เสกสรรค์ ใจดี [email protected] ศักดรินทร์ ธรรมวงศ์ [email protected] <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการฝึกแบบสถานีที่มีต่อสมรรถภาพทางกายของนักกีฬาชักกะเย่อระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาชักกะเย่อหญิงของโรงเรียนบ้านดุงวิทยา อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี จำนวน 15 คน ทำการฝึกด้วยโปรแกรมการฝึกแบบสถานีที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้น โดยฝึกซ้อมตามโปรแกรมการฝึกเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน คือ วันจันทร์ วันพุธ และวันศุกร์ ใช้เวลาในการฝึกแต่ละครั้ง 60 นาที เครื่องมือที่ใช้ดำเนินการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมการฝึกแบบสถานีที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบสมรรถภาพทางกาย ประกอบด้วย 1) ความอ่อนตัว 2) ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ 3) พลังของกล้ามเนื้อ 4) พลังสูงสุดแบบแอนแอโรบิก และสมรรถนะในการยืนระยะแบบแอนแอโรบิก และ 5) สมรรถภาพการใช้พลังงานแบบใช้ออกชิเจนสูงสุด วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของสมรรถภาพทางกาย เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของสมรรถภาพทางกายของกลุ่มตัวอย่าง ก่อนการฝึก หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 โดยใช้สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวชนิดวัดซ้ำ (One-way repeated ANOVA) ทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า ก่อนการฝึก หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 ด้านความอ่อนตัว มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 6.00 (±8.25), 8.95 (±6.34) และ 12.74 (±5.30) เซนติเมตร ตามลำดับ ด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ มีค่าเฉลี่ยแรงบีบมือเท่ากับ 0.51± (0.13), 0.53 (±0.14) และ 0.59 (±0.12) กิโลกรัม/กิโลกรัมน้ำหนักตัว ตามลำดับ มีค่าเฉลี่ยแรงเหยียดขาเท่ากับ 1.08 (±0.47), 1.16 (±0.51) และ 1.54 (±0.54) กิโลกรัม/กิโลกรัมน้ำหนักตัว ตามลำดับ ด้านพลังของกล้ามเนื้อ มีค่าเฉลี่ยการทุ่มบอลเท่ากับ 3.74 (±0.54), 4.06 (±0.55) และ 4.44 (±0.73) เมตร ตามลำดับ มีค่าเฉลี่ยยืนกระโดดสูงเท่ากับ 37.86 (±8.39), 40.20 (±8.46) และ 43.60 (±6.45) เซนติเมตร ตามลำดับด้านพลังสูงสุดแบบแอนแอโรบิก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.96 (±0.92), 3.18± (0.96) และ 3.40 (±1.07) วัตต์/กิโลกรัม ตามลำดับ ด้านสมรรถนะในการยืนระยะแบบแอนแอโรบิก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.17 (±0.74), 2.47 (±0.70) และ 2.48 (±0.83) วัตต์/กิโลกรัม ตามลำดับ และสมรรถภาพการใช้พลังงานแบบใช้ออกซิเจนสูงสุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 24.34 (±1.73), 25.93 (±2.02) และ 28.20 (±2.10) มิลลิลิตร/กิโลกรัม/นาที ตามลำดับ การเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของสมรรถภาพทางกาย พบว่า หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 แตกต่างจากก่อนการฝึก และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 แตกต่างจากหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 <br />อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่าโปรแกรมการฝึกแบบสถานีที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นสามารถพัฒนาสมรรถภาพทางกายด้านความอ่อนตัว ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ พลังของกล้ามเนื้อ และสมรรถภาพในการใช้ออกซิเจนสูงสุดได้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโปรแกรม<br />การฝึกแบบสถานีที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นสามารถนำไปต่อยอดปรับเปลี่ยนรูปแบบโปรแกรมการฝึก เพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางกายของนักกีฬา<br />ชักกะเย่อได้</p> 2024-01-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล https://so05.tci-thaijo.org/index.php/scaj/article/view/268803 12. การสร้างแบบวัดทักษะการว่ายน้ำท่าวัดวาและท่ากรรเชียงสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัย การกีฬาแห่งชาติ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2023-11-03T22:31:44+07:00 ศักดา แก้วพิลา [email protected] นวลพรรณ ไชยมา [email protected] ปทุมพร ศรีอิสาณ [email protected] <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดทักษะการว่ายน้ำ ท่าวัดวาและท่ากรรเชียง และสร้างเกณฑ์ปกติของแบบวัดทักษะการว่ายน้ำท่าวัดวาและท่ากรรเชียงสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี จำนวน 30 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสร้างเกณฑ์ปกติ คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 226 คน โดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดทักษะว่ายน้ำท่าวัดวาและแบบวัดทักษะท่ากรรเชียง สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และคะแนนมาตรฐานที โดยนำข้อมูลที่ได้มาสร้างคู่มือในการใช้แบบวัด ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้</p> <p>ผลการสร้างแบบวัดทักษะการว่ายน้ำท่าวัดวาและท่ากรรเชียงแต่ละท่าแบ่งออกเป็น 4 ทักษะย่อย ได้แก่ ทักษะการใช้ขา ทักษะการใช้แขน ทักษะการหายใจ และทักษะความสัมพันธ์ในการว่าย โดยมีท่าทางการปฏิบัติทักษะละ 3 ข้อ เป็นแบบเกณฑ์การให้คะแนน จำนวน 4 ระดับ การตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดทักษะมีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาทุกทักษะอยู่ในระดับดีมาก มีค่าความเชื่อมั่นระหว่าง .734 - .877 อยู่ในระดับสูง–สูงมาก และมีค่าความเป็นปรนัยของเกณฑ์การให้คะแนนระหว่าง .748 - .850 อยู่ในระดับสูง–สูงมาก และผลการสร้างเกณฑ์ปกติของแบบวัดทักษะการว่ายน้ำท่าวัดวาและท่ากรรเชียงสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แบ่งเกณฑ์เป็น 5 ระดับ คือ ดีมาก ดี ปานกลาง อ่อน และอ่อนมาก เกณฑ์ปกติของทักษะการว่ายน้ำท่าวัดวาอยู่ในระดับดีมากมีคะแนนที เท่ากับ 68 และสูงกว่า ระดับดีมีคะแนนที เท่ากับ 57–67 คะแนน ระดับปานกลางมีคะแนนที เท่ากับ 46–56 คะแนน ระดับอ่อนมีคะแนนที เท่ากับ 36-45 คะแนน และระดับอ่อนมากมีคะแนนที เท่ากับ 35 คะแนนและต่ำกว่า และเกณฑ์ปกติของทักษะการว่ายน้ำท่ากรรเชียงอยู่ในระดับดีมากมีคะแนนที เท่ากับ 65 และสูงกว่า ระดับดีมีคะแนนที เท่ากับ 53-64 คะแนน ระดับปานกลางมีคะแนนที เท่ากับ 41-52 คะแนน ระดับอ่อนมีคะแนนที เท่ากับ 28-40 คะแนน และระดับอ่อนมากมีคะแนนทีเท่ากับ 27 คะแนนและต่ำกว่า </p> 2024-01-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล https://so05.tci-thaijo.org/index.php/scaj/article/view/268963 13. แนวทางการจัดกิจกรรมนันทนาการในโรงเรียนสว่างบริบูรณ์วิทยา เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี 2023-11-13T09:06:38+07:00 ศราวุธ ดิษฐ์สุข [email protected] ปทัญทิญา สิงห์คราม [email protected] <p>การวิจัยเรื่อง แนวทางการจัดกิจกรรมนันทนาการในโรงเรียนสว่างบริบูรณ์วิทยา เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความต้องการในกิจกรรมนันทนาการของนักเรียนโรงเรียนสว่างบริบูรณ์วิทยา ตามตัวแปรด้านเพศ และระดับชั้นเรียน 2) เพื่อเสนอแนวทางการจัดกิจกรรมนันทนาการในโรงเรียนสว่างบริบูรณ์วิทยา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ ได้แก่ กลุ่มนักเรียนประถมศึกษา และมัธยมศึกษาของโรงเรียนสว่างบริบูรณ์วิทยา 400 คน โดยสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น การสุ่มแบบหลายขั้นตอน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้บริหาร ผู้ช่วยผู้บริหาร หัวหน้าระดับชั้นประถมศึกษา หัวหน้าระดับชั้นมัธยมศึกษา จำนวน 15 คน โดยใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือในการวิจัย แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สถิติพื้นฐานที่ใช้ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ เบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการกิจกรรมนันทนาการของนักเรียนโรงเรียนสว่างบริบูรณ์วิทยา โดยรวมอยู่ในระดับมาก( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 3.84) 2) ทดสอบความแตกต่างความต้องการพบว่า ตัวแปรเพศมีความแตกต่างกันตามนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 กิจกรรมนันทนาการที่แตกต่าง ได้แก่ ศิลปหัตถกรรม เกมกีฬาและการละเล่นพื้นบ้าน เต้นรำ ท่องเที่ยวทัศนศึกษา ละคร งานอดิเรก และการกลางแจ้ง/นอกเมือง ทดสอบด้านระดับชั้นเรียนพบว่าไม่แตกต่างกัน 3) แนวทางการจัดกิจกรรมนันทนาการในโรงเรียนสว่างบริบูรณ์วิทยา พบว่าด้านปัจจัยนำเข้า ด้านบุคลากร ผู้บริหาร ครู มีความรู้ ความสามารถ ในด้านจัดกิจกรรมนันทนาการเป็นอย่างดี นักเรียนมีความต้องการกิจกรรมนันทนาการในระดับมาก จึงต้องกำหนดนโยบาย แผนงาน โครงการ กิจกรรมนันทนาการที่ตรงกับความต้องการและความถนัดของผู้เรียน ด้านกระบวนการ การจัดสรรงบประมาณในการจัดกิจกรรมนันทนาการมีเพียงพอต่อความต้องการ และด้านวัสดุอุปกรณ์สถานที่ ในการจัดกิจกรรมนันทนาการได้เพียงพอต่อความต้องการ และด้านผลผลิต การบริหารจัดการโครงการต้องตรงต่อความต้องการของนักเรียน</p> 2024-01-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล