วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล https://so05.tci-thaijo.org/index.php/scaj <p><strong>วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ได้ผ่านการรับรองคุณภาพรอบที่ 4 พ.ศ. 2563 – 2567 จัดอยู่ในฐานข้อมูลศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย TCI 2 กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์</strong> ได้จัดทำเป็น 2 รูปแบบ ทั้งรูปแบบตีพิมพ์ (Print) หมายเลข ISSN 2408-1728 (Print) และรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Online) ISSN 2586-9868 (Online) ที่พิมพ์เผยแพร่ บทความวิจัย (Research Article) และบทความวิชาการ (Academic Article)</p> <p>มีวัตถุประสงค์เพื่อตีพิมพ์บทความดังกล่าวในกลุ่มสาขาศึกษาศาสตร์ บริหารธุรกิจ การบัญชี การตลาด การจัดการทรัพยากรมนุษย์ เทคโนโลยีดิจิทัล นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐศาสนประสานศาสตร์ สหวิทยาการจัดการ การจัดการอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี เทคโนโลยีมัลติมีเดียและแอนิเมชัน นิเทศศาสตร์ ภาษาศาสตร์ ส่งเสริมการเกษตร ศิลปะ วัฒนธรรม และสาขาที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นสื่อกลางแหล่งรวบรวมองค์ความรู้ต่างๆ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้เกิดแนวคิด เทคนิค วิธีการนำไปพัฒนาทางวิชาการ ตลอดจนเป็นเวทีนำเสนอเผยแพร่ผลงานของบุคลากรในมหาวิทยาลัยและบุคคลทั่วไปทุกหน่วยงาน โดยมีกำหนดออกราย 6 เดือน หรือ 2 ฉบับต่อปี</p> <p>บทความทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญ 3 ท่าน แบบผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แต่งไม่ทราบชื่อกันและกัน (Double-Blind Review)</p> <p><strong>Published Rate (อัตราค่าตีพิมพ์)<br /></strong>1) บทความภาษาไทย ค่าธรรมเนียม แบบปกติ 4,500 บาท<br />2) บทความภาษาอังกฤษ ค่าธรรมเนียม แบบปกติ 5,500 บาท</p> วิทยาลัยสันตพล (Santapol College) th-TH วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล 2408-1728 <p>เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ถือว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ</p> โมเดลสมการโครงสร้างปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อทักษะการโค้ชของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 10 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/scaj/article/view/270904 <p>การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของทักษะการโค้ชของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ตรวจสอบรูปแบบความสอดคล้องเชิงโครงสร้างของปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อทักษะการโค้ชของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 600 คน โดยการสุ่มหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ 1) แบบสอบถามโมเดลสมการโครงสร้างปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อทักษะการโค้ชของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 10 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .972 การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การวิเคราะห์สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1. องค์ประกอบเชิงยืนยันปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อทักษะการโค้ชของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 10 พบว่ามีองค์ประกอบได้แก่ การฟังเชิงรุก (ALN) การถามคำถามทรงพลัง (PWQ) การวางแผนเพื่อกำหนดเป้าหมาย (PLG) และการให้ข้อมูลป้อนกลับ (FDB)</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. การตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลสมการโครงสร้างปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อทักษะการโค้ชของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 10 กับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์</span></p> <p>ซึ่งสามารถพิจารณาได้จากค่าสถิติที่ใช้ตรวจสอบความสอดคล้องระหว่าโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ได้แก่ ค่าไค-สแควร์ (<img title="\chi" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\chi" /><sup>2</sup>) ซึ่งมีค่าเท่ากับ 140 ที่ค่าองศาอิสระ (df) เท่ากับ 129 มีค่าใกล้เคียงกัน ค่าความน่าจะเป็น (P) เท่ากับ .232 ดัชนีค่ารากที่สองของส่วนที่เหลือ (RMR) เท่ากับ 0.014 ดัชนีวัดความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ .976 ค่าดัชนีวัดความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ .965 และรากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของความคลาดเคลื่อนโดยประมาณ (RMSEA) เท่ากับ .012 แสดงว่าโมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูล<br />เชิงประจักษ์</p> โกวิท ฮุยเสนา วรพล คล่องเชิงศร ทิพยวรรณ แพงบุปผา Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-01 2024-07-01 10 2 1 10 ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/scaj/article/view/270905 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 2) สร้างโมเดลความสัมพันธ์ปัจจัยเชิงเสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 474 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .959 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน(Pearson correlation coefficient) และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory factor Analysis: CFA)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก 20 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 1) องค์กรแห่งการเรียนรู้ มี 4 องค์ประกอบย่อย 2) การบริหารแบบมีส่วนร่วม มี 4 องค์ประกอบย่อย 3) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง มี 4 องค์ประกอบย่อย 4) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานมี 4 องค์ประกอบย่อย และ 5) ประสิทธิผลของสถานศึกษา มี 4 องค์ประกอบย่อย</li> <li>โมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 ที่ศึกษามีความสอดคล้องของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจาก χ2 = .916, degrees of freedom (df) = 2, χ<sup>2</sup>/df = .458, P-value = .632, GFI = .999, AGFI = .994, CFI = 1.000, TLI = 1.003, RMR = .001, และ RMSEA = .000.</li> </ol> อารยา ยิ่งยอด ปัญญารัฐฎน์ จันทร์กอง Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-01 2024-07-01 10 2 11 21 องค์ประกอบเชิงยืนยันภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดอุดรธานี https://so05.tci-thaijo.org/index.php/scaj/article/view/270922 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดอุดรธานีและ 2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนระหว่างโมเดลองค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดอุดรธานีกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน จำนวน 400 คน ได้มาจากวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ .97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเบ้ ค่าความโด่ง ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ค่าดัชนี KMO และค่าชี้วัดความเหมาะสมของโมเดล</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดอุดรธานี พบว่า มีองค์ประกอบจำนวน 4 องค์ประกอบหลัก 14 องค์ประกอบย่อย และ 95 ตัวบ่งชี้ และ 2) ผลการตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนระหว่างโมเดลองค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดอุดรธานีกับข้อมูลเชิงประจักษ์ เมื่อปรับความสอดคล้องของโมเดลแล้ว ทำให้โมเดลองค์ประกอบหลัก องค์ประกอบย่อย และตัวบ่งชี้มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยโมเดลองค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษามี ค่า Chi – square = 58.983 ค่า P – value = .439 ค่า GFI = .980 ค่า AGFI = .963 และค่า RMSEA = .007</p> กฤติกา บุรีเพีย รอง ปัญสังกา Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-01 2024-07-01 10 2 22 31 สมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของบุคลากรทางการศึกษาในสังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดอุดรธานี https://so05.tci-thaijo.org/index.php/scaj/article/view/270991 <p>การวิจัยครั้งนี้กำหนดวัตถุประสงค์ไว้เพื่อ 1) ศึกษาสมรรถนะหลักของผู้บริหาร 2) ศึกษาประสิทธิภาพของบุคลากร 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะหลักของผู้บริหารกับประสิทธิภาพของบุคลากร และ4) ศึกษาสมรรถนะหลักของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของบุคลากร กรณีกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหาร 38 คน ครูและบุคลากร 196 คน รวมทั้งสิ้น 234 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตรส่วนประมาณค่า และความเชื่อมั่นของเครื่องมือทั้งฉบับ ได้ 0.87 สถิติสำหรับการวิจัยประกอบด้วย ร้อยละ, <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />, S.D., สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน และการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน</p> <p>จากการวิจัยสรุปได้ว่า 1) ผู้บริหารมีสมรรถนะหลัก กรณีนี้ในภาพรวมอยู่ที่ระดับมากที่สุด สมรรถนะหลักที่สูงสุด คือ ประเด็นการบริการดี 2) ประสิทธิภาพของบุคลากร สำหรับในประเด็นนี้โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ในประเด็นที่มีประสิทธิภาพสูงสุด คือ ด้านคุณภาพของงาน 3) สมรรถนะหลักผู้บริหารมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับประสิทธิภาพของบุคลากรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 4) สมรรถนะหลักของผู้บริหาร 4 ประเด็น ได้แก่ ประเด็นการพัฒนาตนเอง ประเด็นการบริการดี รวมทั้งประเด็นการทำงานเป็นทีม และประเด็นการมุ่งผลสัมฤทธิ์ร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของประสิทธิภาพของบุคลาการทางการศึกษา ได้ร้อยละ 91.90 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01</p> วรรณภา อภิรมยานนท์ ปัญญารัฐฎน์ จันทร์กอง Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-01 2024-07-01 10 2 32 41 ผลของการฝึกความอ่อนตัวในรูปแบบโยคะควบคู่กับการฝึกความแข็งแรงที่มีต่อความสามารถ ในการปฏิบัติทักษะสปริงหลังของนักศึกษามหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/scaj/article/view/271155 <p class="Default" style="text-indent: 1.0cm;"><span lang="TH" style="font-size: 14.0pt; font-family: 'TH Sarabun New',sans-serif; color: windowtext;">การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ผลของการฝึกความอ่อนตัวในรูปแบบโยคะ ควบคู่กับการฝึกความแข็งแรง ที่มีต่อความสามารถในการปฏิบัติทักษะสปริงหลัง ของนักศึกษามหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ สาขาพลศึกษา ชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตอุดรธานี จำนวน 26 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบการฝึกความอ่อนตัวในรูปแบบโยคะ ควบคู่กับการฝึกความแข็งแรง สัปดาห์ละ 3 วัน จำนวน 8 สัปดาห์ ทดสอบความอ่อนตัวด้วยท่าสะพานโค้ง ทดสอบความแข็งแรงด้วยการลุกนั่ง 60 วินาที ทดสอบทักษะสปริงหลัง ทำการเปรียบเทียบผลการทดลองจากการทดสอบก่อนการทดลอง หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 4 และสัปดาห์ที่ 8 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ (</span><span style="font-size: 14.0pt; font-family: 'TH Sarabun New',sans-serif; color: windowtext;">One way analysis of variance with repeated measure) <span lang="TH">และทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีของ </span>Bonferroni <span lang="TH">ที่นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</span></span></p> <p class="Default" style="text-indent: 1.0cm;"><span lang="TH" style="font-size: 14.0pt; font-family: 'TH Sarabun New',sans-serif; color: windowtext;">ผลการวิจัย พบว่า การทดสอบความแตกต่างของคะแนนความอ่อนตัว และความแข็งแรงก่อนการทดลอง หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 4 และหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 8 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ความอ่อนตัวกับความสามารถทักษะสปริงหลัง มีค่าเท่ากับ .522 ซึ่งมีความสัมพันธ์กันในเชิงบวกอยู่ในระดับมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และความแข็งแรงกับความสามารถทักษะสปริงหลัง มีค่าเท่ากับ .291 ซึ่งมีความสัมพันธ์กันในเชิงบวกอยู่ในระดับน้อย อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ</span></p> พิสิทธิ์ สอนสมนึก ปทุมพร ศรีอิสาณ ธัญญาวัฒน์ หอมสมบัติ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-01 2024-07-01 10 2 42 51 การปฏิบัติงานผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิผล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร https://so05.tci-thaijo.org/index.php/scaj/article/view/269039 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการปฏิบัติงานผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิผล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร ทั้งหมดจำนวน 37 โรงเรียน โดยการกำหนดกลุ่มตัวอย่างใช้หน่วยการวิเคราะห์ (unit of analysis) <br />ให้เหมาะสมกับตัวแปรที่ศึกษา 19 ตัวแปรตามกรอบแนวคิดการวิจัย ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ตำแหน่งผู้อำนวยการ และรองผู้อำนวยการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร จากจำนวนประชากร 37 โรงเรียน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโรงเรียนละ 8 คน ดังนั้น ขนาดกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ จำนวน 296 คน เครื่องมือที่ใช้ในการการวิจัย คือ แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิผล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานครโดยนำแบบสอบถามหาค่าความสอดคล้อง IOC (index of Item Objective Consistency) <br />โดยผู้ทรงคุณวุฒิ และค่าความเชื่อมั่น ของเครื่องมือโดยนำแบบสอบถาม จำนวน 30 ชุดไปทดลองใช้กับกลุ่มที่มีลักษณะคล้ายกับกลุ่มตัวอย่าง และสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานเป็นการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจด้วยวิธีการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ในการวิเคราะห์ด้วยวิธีสกัดปัจจัย แบบการวิเคราะห์องค์ประกอบหลักเพื่อวิเคราะห์ตัวชี้วัดผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิผล และเพื่อวิเคราะห์ความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง (Construct Validity)</p> <p>ผลการวิจัย มีดังนี้ 1. ความคิดเห็นต่อผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิผลโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2. ความคิดเห็นต่อวิสัยทัศน์ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด 3. ความคิดเห็นต่อกำหนดเป้าหมาย อยู่ในระดับมากที่สุด 4.ความคิดเห็นต่อผู้นำด้านวิชาการ อยู่ในระดับมากที่สุด 5.ความคิดเห็นต่อความตั้งใจปฏิบัติงาน อยู่ในระดับมากที่สุด 6.ความคิดเห็นต่อการแก้ไขปัญหา อยู่ในระดับมากที่สุด 7. ความคิดเห็นต่อสร้างบรรยากาศเรียนรู้ร่วมกันในการทำงานร่วมกับผู้อื่น อยู่ในระดับมากที่สุด 8. ความคิดเห็นต่อการควบคุมอารมณ์ อยู่ในระดับมากที่สุด 9.ความคิดเห็นต่อบุคลิกภาพท่าทางความน่าเชื่อถือเป็นตัวอย่างที่ดี อยู่ในระดับมากที่สุด 10. ความคิดเห็นต่อครองตน ครองคน ครองงาน อยู่ในระดับมากที่สุด 11. ความคิดเห็นต่อแสวงหาความร่วมมือองค์กรภายนอก อยู่ในระดับมากที่สุด 12. ความคิดเห็นต่อความสามารถในการบริหารแบบมืออาชีพบริหารการเปลี่ยนแปลง อยู่ในระดับมากที่สุด 13. ความคิดเห็นต่อการใช้เทคโนโลยีและข้อมูลสารสนเทศ อยู่ในระดับมากที่สุด 14. ความคิดเห็นต่อการสื่อสารภายในและภายนอกองค์กร อยู่ในระดับมากที่สุด 15. ความคิดเห็นต่อทำงานเป็นทีม อยู่ในระดับมากที่สุด</p> กิตติศักดิ์ กาญจนครุฑ สุขุม เฉลยทรัพย์ ศิโรจน์ ผลพันธิน สุภาภรณ์ ตั้งดำเนินสวัสดิ์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-01 2024-07-01 10 2 52 59 การพัฒนารูปแบบผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิผล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร https://so05.tci-thaijo.org/index.php/scaj/article/view/269040 <p class="Default" style="text-indent: 1.0cm;"><span lang="TH" style="font-size: 14.0pt; font-family: 'TH Sarabun New',sans-serif; color: windowtext;">การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา การพัฒนารูปแบบผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิผล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร โดยกลุ่มตัวอย่างคือผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานครจำนวน 296 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานครที่ได้รับรางวัลในการบริหารสถานศึกษา เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิผล </span><span style="font-size: 14.0pt; font-family: 'TH Sarabun New',sans-serif; color: windowtext;"><br /><span lang="TH">สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย การประเมินความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นประโยชน์ และด้านความเป็นไปได้ของรูปแบบแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ คือ การหาค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนารูปแบบผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิผล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร มีองค์ประกอบหลักที่สำคัญ 6 องค์ประกอบ ดังนี้ (1) วิสัยทัศน์ ได้แก่ วิสัยทัศน์ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ กำหนดเป้าหมาย และผู้นำด้านวิชาการ (2) มนุษย์สัมพันธ์ ได้แก่ ความตั้งใจปฏิบัติงาน และการแก้ไขปัญหา </span><br /><span lang="TH">(3) การบริหารงานแบบมีส่วนร่วม ได้แก่ การสร้างบรรยากาศเรียนรู้ร่วมกันในการทำงานร่วมกับผู้อื่น (4) บุคลิกภาพ ได้แก่ การควบคุมอารมณ์ และบุคลิกภาพท่าทางความน่าเชื่อถือเป็นตัวอย่างที่ดี (5) คุณธรรมจริยธรรม ได้แก่ การครองตน ครองคน ครองงาน และ </span><br /><span lang="TH">(6) การบริหารการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ แสวงหาความร่วมมือองค์กรภายนอก ความสามารถในการบริหารแบบมืออาชีพบริหารการเปลี่ยนแปลง การใช้เทคโนโลยีและข้อมูลสารสนเทศ การสื่อสารภายในและภายนอกองค์กร และการทำงานเป็นทีม</span></span></p> กิตติศักดิ์ กาญจนครุฑ สุขุม เฉลยทรัพย์ ศิโรจน์ ผลพันธิน สุภาภรณ์ ตั้งดำเนินสวัสดิ์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-01 2024-07-01 10 2 60 68 ผลการใช้บอร์ดเกมในกระบวนการทางภูมิศาสตร์ที่มีต่อความสามารถทางภูมิศาสตร์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/scaj/article/view/272699 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลการใช้บอร์ดเกมในกระบวนการทางภูมิศาสตร์ที่มีต่อความสามารถทางภูมิศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กับนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการทางภูมิศาสตร์แบบปกติ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนหนึ่งในกลุ่มโรงเรียนชุมช้างบ้านผือ จำนวน 50 คน ซึ่งจัดเป็น 2 ห้องเรียน ห้องเรียนละ 25 คน สุ่มห้องเรียนเป็นกลุ่มทดลอง 1 ห้อง และกลุ่มควบคุม 1 ห้อง โดยใช้การสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) แบบแผนการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบกึ่งทดลองที่มีกลุ่มควบคุม ทดสอบก่อนและหลัง (Pre-test post-test Control Group design) เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบทดสอบความสามารถทางภูมิศาสตร์ที่มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.60 - 1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 ค่าอำนาจจำแนกเท่ากับ 0.46 - 0.69 และค่าความยากง่ายเท่ากับ 0.67 – 0.78 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบทีแบบไม่อิสระ t-test (Dependent Samples) และการทดสอบทีแบบอิสระ t-test (Independent Samples) ผลการวิจัยพบว่า คะแนนความสามารถทางภูมิศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้บอร์ดเกมในกระบวนการทางภูมิศาสตร์ และที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการทางภูมิศาสตร์แบบปกติ นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถทางภูมิศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และเมื่อเปรียบเทียบคะแนนพัฒนาการความสามารถทางภูมิศาสตร์พบว่า <br />กลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้บอร์ดเกมในกระบวนการทางภูมิศาสตร์ มีคะแนนพัฒนาการเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการทางภูมิศาสตร์แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> ตฤณญา อังกุรอัชฌา รุ่งทิวา จันทร์วัฒนวงษ์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-01 2024-07-01 10 2 69 78 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านและกีฬาไทยให้มีอัตลักษณ์เพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและประเพณี https://so05.tci-thaijo.org/index.php/scaj/article/view/272297 <p class="Default" style="text-indent: 1.0cm;"><span lang="TH" style="font-size: 14.0pt; font-family: 'TH Sarabun New',sans-serif; color: windowtext;">การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการสร้างพื้นที่เพื่อการแสดงที่ส่งผลต่อการสร้างกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านและกีฬาไทยให้มีอัตลักษณ์ และศึกษาปัจจัยด้านการสื่อสารวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อการสร้างกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านและกีฬาไทยให้มีอัตลักษณ์ ผู้วิจัยได้ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องและได้ออกแบบเครื่องมือเป็นแบบสอบถาม โดยมีนักท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน เก็บข้อมูลจากการสุ่มแบบง่ายและวิเคราะห์ผลการทดสอบสมมติฐานด้วยวิธีการทดสอบการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (</span><span style="font-size: 14.0pt; font-family: 'TH Sarabun New',sans-serif; color: windowtext;">Multiple Regression Analysis)</span></p> <p class="Default" style="text-indent: 1.0cm;"><span lang="TH" style="font-size: 14.0pt; font-family: 'TH Sarabun New',sans-serif; color: windowtext;">ผลการทดสอบสมติฐาน พบว่า ปัจจัยด้านการสร้างพื้นที่เพื่อการแสดงที่ส่งผลต่อการสร้างกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านและกีฬาไทยให้มีอัตลักษณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาผลการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (</span><span style="font-size: 14.0pt; font-family: 'TH Sarabun New',sans-serif; color: windowtext;">R) <span lang="TH">มีค่าเท่ากับร้อยละ 52.1 และมีค่า </span>Adjusted R Square <span lang="TH">เท่ากับร้อยละ 32.1 และปัจจัยด้านการสื่อสารวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อการสร้างกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านและกีฬาไทยให้มีอัตลักษณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 </span><br /><span lang="TH">เมื่อพิจารณาผลการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (</span>R) <span lang="TH">มีค่าเท่ากับร้อยละ 68.1 และมีค่า </span>Adjusted R Square <span lang="TH">เท่ากับร้อยละ 53.9</span></span></p> ปทัญทิญา สิงห์คราม นลินีวรรณ ประพันธา ภาณุวัฒน์ ยาวศิริ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-01 2024-07-01 10 2 79 87 การศึกษาสภาพปัจจุบัน ในการพัฒนาทักษะชีวิตนักเรียนให้ปลอดภัยจากสารเสพติด และการถูก ล่วงละเมิดทางเพศ กรณีศึกษาโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี https://so05.tci-thaijo.org/index.php/scaj/article/view/272079 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ในด้านนโยบาย แนวคิด หลักการในการดำเนินงานพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนให้ปลอดภัยจากสารเสพติด และการถูกล่วงละเมิดทางเพศของนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี 2) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วม ของเครือข่ายภายในและเครือข่ายภายนอกสถานศึกษา ในการพัฒนาทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาส 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการดำเนินงานพัฒนาทักษะชีวิตให้ปลอดภัยจากสารเสพติด และการถูกล่วงละเมิดทางเพศ กลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ บุคลากรที่ปฏิบัติงานในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จำนวน 16 คน และบุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงเรียน จำนวน 18 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพปัจจุบันสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและโรงเรียนมีการดำเนินงานพัฒนาทักษะชีวิตซึ่งเป็นไปตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน แต่มีความแตกต่างกันในรายละเอียดด้านความถี่ของการทำกิจกรรมในโรงเรียนและความต่อเนื่องของการดำเนินงาน 2) มีเครือข่ายภายในและเครือข่ายภายนอกเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานขึ้นกับความต้องการเฉพาะเรื่องที่สถานศึกษาต้องการพัฒนา 3) ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานคือ ขาดบุคลากรที่มีความรู้และความสามารถในการพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียน เช่น นักจิตวิทยา และครูแนะแนวที่มีความเข้าใจในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ระบบการรายงานข้อมูลการติดตามผล การทำงานที่ไม่ต่อเนื่องและไม่รายงานข้อมูลตามสภาพจริง ขาดเทคนิควิธีการช่วยเหลือนักเรียน ขาดแคลนงบประมาณเฉพาะที่จะนำมาพัฒนาทักษะชีวิตนักเรียน และปัญหาด้านเศรษฐกิจในชุมชน นอกจากนั้นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาควรเพิ่มจำนวนครูแนะแนวและพัฒนาครูให้มีความรู้ด้านจิตวิทยา รวมถึงการสนับสนุนสื่อ นวัตกรรม และงบประมาณในการทำกิจกรรมที่ต่อเนื่อง ในส่วนของโรงเรียนควรมีหลักสูตร คู่มือ แนวทางดำเนินงานและส่งเสริมให้ครูได้พัฒนาความรู้ในด้านการพัฒนาทักษะชีวิตนักเรียนและการดูแลช่วยเหลือนักเรียน</p> บุญเลี้ยง จอดนอก ปัญญารัฐฎน์ จันทร์กอง Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-01 2024-07-01 10 2 88 99 อิทธิพลของส่วนประสมทางการตลาดและทัศนคติต่อความจงรักภักดีของผู้ใช้บริการส่งอาหาร ผ่านแอปพลิเคชันแกร็บในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล https://so05.tci-thaijo.org/index.php/scaj/article/view/271631 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความจงรักภักดีของผู้ใช้บริการส่งอาหารต่อแอปพลิเคชันแกร็บ 2) ส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของผู้ใช้บริการส่งอาหารต่อแอปพลิเคชันแกร็บ และ 3) ทัศนคติของผู้ใช้บริการสั่งอาหารที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีต่อแอปพลิเคชันแกร็บ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ใช้บริการแอปพลิเคชันแกร็บในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 385 คน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล มีค่าความเที่ยงตรงอยู่ระหว่าง .60-1.00 และค่าความเชื่อมั่น .96 การสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ ที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยสถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย <br />ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) ส่วนประสมทางการตลาดแอปพลิเคชันแกร็บ อยู่ในระดับมากที่สุด อันดับแรก คือ ด้านกระบวนการด้านผลิตภัณฑ์ และด้านราคา 2) ทัศนคติต่อแอปพลิเคชันแกร็บ อยู่ในระดับมากที่สุด อันดับแรก คือ ด้านความเข้าใจการใช้งานแอปพลิเคชัน ด้านพฤติกรรมของผู้ใช้บริการแอปพลิเคชัน และ ด้านความรู้สึกต่อการใช้งานแอปพลิเคชัน 3) ความจงรักภักดีต่อแอปพลิเคชันแกร็บอยู่ในระดับมากที่สุด 4) ส่วนประสมทางการตลาด ด้านลักษณะทางกายภาพ ช่องทางการจัดจำหน่าย กระบวนการ ราคา ผลิตภัณฑ์ และบุคลากร ส่งผลต่อความจงรักภักดี และ 5) ทัศนคติ ด้านความเข้าใจ ด้านความรู้สึก และด้านพฤติกรรม ส่งผลต่อความจงรักภักดี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้ให้บริการแอปพลิเคชันแกร็บจึงควรให้ความสำคัญกับด้านลักษณะทางกายภาพที่เน้นความสวยงามน่าสนใจ เน้นช่องทางที่ใช้งานได้สะดวก กระบวนการที่ง่ายและรวดเร็ว และราคาต้องชัดเจนคุ้มค่า ส่วนการสร้างความสะดวก ทำให้เกิดความคุ้นเคย และความง่ายในการใช้งานจะสร้างทัศนคติที่ดีได้</p> ศิวกร สุขารมณ์ ฉัตยาพร เสมอใจ พรพิมล สัมพัทธ์พงศ์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-01 2024-07-01 10 2 100 109 สภาพปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษา สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง https://so05.tci-thaijo.org/index.php/scaj/article/view/272099 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพปัญหาในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง 2. นำเสนอแนวทางการแก้ปัญหาในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (หลักสูตร 4 ปี) ที่เรียนรายวิชาการฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาในสาขาวิชาเฉพาะ ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 31 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามสภาพปัญหาในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มีค่าความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง 0.80-1.00 และมีค่าความเที่ยงคำนวณโดยการหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) ได้เท่ากับ .85 และแบบสัมภาษณ์สภาพปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มีค่าความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง 0.80-1.00 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัย พบว่านักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง มีปัญหาเกี่ยวกับศูนย์พัฒนาวิชาชีพครูมากที่สุด (<img title="\mu" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\mu" /> = 3.29, <img title="\sigma" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\sigma" /> = 1.12) มีปัญหาเกี่ยวกับอาจารย์นิเทศก์น้อยที่สุด (<img title="\mu" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\mu" /> = 1.98, <img title="\sigma" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\sigma" /> = 1.46) สำหรับแนวทางการปัญหาในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในระดับสาขาวิชา ได้แก่ การสร้างช่องการสื่อสารเพิ่มเติมที่เป็นตัวกลางระหว่างศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพและนักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย การสื่อสารข้อมูลที่เป็นข้อค้นพบเพื่อหาทางแนวทางแก้ไขร่วมกับคณะครุศาสตร์ การจัดให้มีเวทีในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การสำรวจความต้องการจำเป็นเพื่อเป็นข้อมูลสำคัญในการออกแบบให้ความช่วยเหลือนักศึกษาได้อย่างเหมาะสม สำหรับแนวทางการปัญหาในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในระดับคณะ ได้แก่ การเน้นย้ำบทบาทหน้าที่ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในระดับสาขาวิชาและโรงเรียนฝึกประสบการณ์วิชาชีพ การออกแบบให้มีระบบที่ทันสมัยสอดคล้องกับยุคดิจิทัล เช่น การเพิ่มช่องทางการดาวน์โหลดเอกสาร และการรับ-ส่งเอกสารผ่านระบบออนไลน์</p> ไพบูลย์วรรณ จิตพัฒนกุล สมภัสสร บัวรอด Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-01 2024-07-01 10 2 110 121 การพัฒนาแอนิเมชัน 2 มิติ เพื่อส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล ในกลุ่่มเจเนอเรชันแอลฟา : กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านหนองบัวเรียน https://so05.tci-thaijo.org/index.php/scaj/article/view/271772 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อดิจิทัลในกลุ่มเจเนอเรชันแอลฟา 2) เพื่อพัฒนาแอนิเมชัน 2 มิติ การรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลสำหรับกลุ่มเจเนอเรชันแอลฟา 3) เพื่อศึกษาผลของการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลของกลุ่มเจเนอเรชันแอลฟาหลังจากรับชมสื่อแอนิเมชัน 2 มิติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย คือ 1) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญสำหรับเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 10 คน 2) กลุ่มเจเนอเรชันแอลฟาสำหรับการออกแบบแอนิเมชัน จำนวน 25 คน 3) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญสำหรับการประเมินประสิทธิภาพของสื่อ จำนวน 3 คน 4) กลุ่มประเมินการรับรู้หลังจากรับชมสื่อแอนิเมชัน 2 มิติ จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างสำหรับเก็บรวบรวมข้อมูล 2) แบบสอบถามความต้องการด้านการออกแบบแอนิเมชัน 3) แบบประเมินคุณภาพสื่อ 4) แบบประเมินการเรียนรู้</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญสำหรับเก็บรวบรวมข้อมูล มีความเห็นว่า ด้านเนื้อหาการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล ที่มีความเหมาะสมกับกลุ่มเจเนอเรชันแอลฟา คือหลักพื้นฐานการเข้าใจเรื่องความจริง 2) องค์ประกอบการออกแบบแอนิเมชันที่มีความเหมาะสมกับกลุ่มเจเนอเรชันแอลฟา คือ การ์ตูนเป็นภาพเวกเตอร์ สัดส่วนตัวการ์ตูนเป็นแบบย่อ (SD.) ลักษณะการแต่งกายของตัวละครจะเป็นแบบชุดแฟชันสมัยใหม่ ลักษณะฉากเป็นแบบคล้ายจริงเข้ากับสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน การเคลื่อนไหวมีลักษณะผสมผสานการทำโมชันกราฟิกและโทนของสีเป็นแบบพาสเทล 3) การประเมินคุณภาพสื่อแอนิเมชัน 2 มิติ จากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญมีคะแนนเฉลี่ย 4.02 ซึ่งอยู่ในระดับคุณภาพมาก การประเมินการรับรู้ของกลุ่มเจเนอเรชันแอลฟา ต่อการรับชมสื่อแอนิเมชัน 2 มิติ มีคะแนนเฉลี่ย 2.96 ซึ่งอยู่ในระดับมีการรับรู้มาก</p> ศิวดล ภาภิรมย์ นครินทร์ ปรีชา พงษ์พิพัฒน์ สายทอง Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-01 2024-07-01 10 2 122 130 ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อฉลากสินค้ารูปแบบสติกเกอร์ติดแก้วกาแฟของผู้ประกอบการร้านกาแฟรายย่อยในประเทศไทย https://so05.tci-thaijo.org/index.php/scaj/article/view/270569 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อฉลากสินค้ารูปแบบสติ๊กเกอร์ติดแก้วกาแฟของผู้ประกอบการร้านกาแฟรายย่อย ในประเทศไทย 2.) เพื่อศึกษาระดับส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อฉลากสินค้ารูปแบบสติ๊กเกอร์ติดแก้วกาแฟของผู้ประกอบการร้านกาแฟรายย่อย ในประเทศไทย 3.) เพื่อศึกษาระดับความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านประชากรศาสตร์และส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อฉลากสินค้ารูปแบบสติ๊กเกอร์ติดแก้วกาแฟของผู้ประกอบการร้านกาแฟรายย่อยในประเทศไทย ประชากรที่เป็นกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ประกอบการร้านกาแฟรายย่อยในประเทศไทย จำนวน 356 ร้าน (ข้อมูลรายงานตลาดอาหารในประเทศไทย ศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหารสถาบันอาหาร, 2562) เครื่องมือการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม (Questionnaire) เพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูล จากผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 400 คน ผลการวิจัย พบว่า ส่วนใหญ่มีอายุ 31-40 จำนวน 191 คน จากการศึกษาผลการวิเคราะห์ข้อมูลระดับความสำคัญเกี่ยวกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อฉลากสินค้ารูปแบบสติ๊กเกอร์ติดแก้วกาแฟของผู้ประกอบการร้านกาแฟรายย่อย ในประเทศไทย โดย พบว่า โดยรวม ส่วนประสมทางการตลาดด้านราคา ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อในระดับมาก ส่วนประสมทางการตลาด ด้านราคา พบว่า ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อฉลากสินค้ารูปแบบสติ๊กเกอร์ติดแก้วกาแฟของผู้ประกอบการร้านกาแฟรายย่อย ในประเทศไทย ในระดับมาก คือ ราคามีความเหมาะสม เมื่อเทียบกับคุณภาพของสินค้า ส่วนประสมทางการตลาด ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย พบว่า ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อฉลากสินค้ารูปแบบสติ๊กเกอร์ติดแก้วกาแฟของผู้ประกอบการร้านกาแฟรายย่อยในประเทศไทย ในระดับมาก ส่วนประสมทางการตลาด ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย พบว่า ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อฉลากสินค้ารูปแบบสติ๊กเกอร์ติดแก้วกาแฟของผู้ประกอบการร้านกาแฟรายย่อย ในประเทศไทย ในระดับมาก คือ มีสิทธิพิเศษให้แก่ลูกค้าประจำ</p> ปริตภา รุ่งเรืองกุล Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-01 2024-07-01 10 2 131 139 การออกแบบสื่อการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีเสมือน Web XR สำหรับฝึกทักษะการออกแบบ การเคลื่อนที่ของตัวละคร 3 มิติ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/scaj/article/view/272071 <p class="Default" style="text-indent: 1.0cm;"><span lang="TH" style="font-size: 14.0pt; font-family: 'TH Sarabun New',sans-serif; color: windowtext;">การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาการออกแบบทรัพยากรการเรียนรู้ดิจิทัลสำหรับฝึกทักษะการเคลื่อนที่ตัวละคร </span><span style="font-size: 14.0pt; font-family: 'TH Sarabun New',sans-serif; color: windowtext;"><span lang="TH">3 มิติ โดยใช้เทคโนโลยีขยายความเป็นจริง (</span>WebXR) <span lang="TH">2) เพื่อประเมินความรู้ด้านทักษะการออกแบบการเคลื่อนที่ตัวละคร 3 มิติ </span><span lang="TH">ผ่านสื่อเสมือนจริง ทรัพยากรการเรียนรู้ดิจิทัลสำหรับฝึกทักษะการเคลื่อนที่ตัวละคร 3 มิติ โดยใช้เทคโนโลยีขยายความเป็นจริง (</span>WebXR) <span lang="TH">กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ 1) นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย จำนวน 52 คน</span></span></p> <p class="Default" style="text-indent: 1.0cm;"><span style="color: windowtext; font-family: 'TH Sarabun New', sans-serif; font-size: 14pt; text-indent: 1cm;">ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาระบบดังกล่าวข้างต้นมีความเกี่ยวข้องในเชิงบวกกับการเรียนการสอนเกี่ยวกับการออกแบบการเคลื่อนที่ของตัวละครในรูปแบบ 3 มิติของนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย จากเดิมจะใช้เพียงแค่รูปภาพหรือวีดีโอในการเรียนการสอน ซึ่งในสื่อการเรียนรู้ดิจิทัลที่พัฒนาได้ใช้การสร้างภาพเคลื่อนไหว 3 มิติ ประกอบเสียงบรรยาย โดยส่วนการออกแบบโมเดล </span><span style="font-size: 14.0pt; font-family: 'TH Sarabun New',sans-serif; color: windowtext;"><span lang="TH">3 มิติ ได้ใช้รูปร่างโมเดลตัวละคร ซึ่งโมเดลได้มีการเคลื่อนไหวในท่าทางต่าง ๆของกระบวนการ </span>Walk Cycle <span lang="TH">ได้อย่างอิสระและสามารถจัดการเคลื่อนไหวของกระดูก ข้อต่อต่างๆ ให้เกิดควาทเข้าใจได้มากยิ่งขึ้น และการออกแบบและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ดิจิทัลที่สามารถโต้ตอบกับผู้เรียนให้มีเสียงบรรยายประกอบ ช่วยกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องของนักศึกษาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย</span><span lang="TH">ดึงดูดความสนใจในการเรียนรู้ ผลการประเมินความรู้ด้านทักษะการออกแบบการเคลื่อนที่ตัวละคร 3 มิติผ่านสื่อเสมือนจริง ทรัพยากรการเรียนรู้ดิจิทัลสำหรับฝึกทักษะการเคลื่อนที่ตัวละคร 3 มิติ โดยใช้เทคโนโลยีขยายความเป็นจริง (</span>WebXR) <span lang="TH">การทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนของนักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 12.15 คะแนน และเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 21.88 คะแนน ตามลำดับ </span><span lang="TH">และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนก่อนและหลังเรียน พบว่าคะแนนหลังเรียนของนักศึกษาสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าการทดสอบความแตกต่างของคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนเท่ากับ 20.06</span></span></p> จิรนัยน์ ยอดดี กฤดิกร วิชชาธรตระกูล Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-01 2024-07-01 10 2 140 147 การพัฒนาแอปพลิเคชันสื่อการเรียนรู้ เรื่องเครื่องดนตรีพื้นบ้าน ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริม https://so05.tci-thaijo.org/index.php/scaj/article/view/272089 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแอปพลิเคชันสื่อการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริม เรื่องเครื่องดนตรีพื้นบ้านสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) ประเมินประสิทธิภาพแอปพลิเคชัน เรื่องเครื่องดนตรีพื้นบ้านด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริม 3) ประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานแอปพลิเคชันเครื่องดนตรีพื้นบ้านด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) การประเมินประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันสื่อการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริม โดยผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีมัลติมีเดีย และผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อการสอน วิชาดนตรี-นาฎศิลป์ จำนวน 3 คน 2) การประเมินความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านบรบือ (บรบือราษฎร์ผดุง) จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 35 คน โดยมีวิธีเลือกแบบเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแอปพลิเคชันสื่อการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริม เรื่องเครื่องดนตรีพื้นบ้าน แบบประเมินประสิทธิภาพและแบบประเมินความพึงพอใจ สติถิที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลวิจัยพบว่า (1) แอปพลิเคชันสื่อการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริม เรื่องเครื่องดนตรีพื้นบ้าน สามารถนำไปใช้งานกับนักเรียนที่มีความสนใจได้จริง (2) ประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันสื่อการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริม ผลการประเมินโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 4.46) (3) การประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ ผลประเมินภาพรวมอยู่ในระดับมาก (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 4.35)</p> อานนท์ โพธิ์เอม ศรัณยู บุตรโคตร นครินทร์ ปรีชา Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-01 2024-07-01 10 2 148 155 การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้เรื่องการสร้างโมเดลสามมิติ รูปแบบ วอลต์ ดิสนีย์ สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยสันตพล https://so05.tci-thaijo.org/index.php/scaj/article/view/272293 <p>การวิจัยครั้งนี้มุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อพัฒนากระบวนการปั่นโมเด 3D โดยเรียนรู้จากคาแรคเตอร์ ของ วอล ดิสนีย์ 2) เพื่อศึกษาการออกแบบตัวละคร ที่ประยุกต์ใช้รูปแบบ วอล ดิสนีย์ 3) ประเมินผลของคุณภาพกระบวกการออกแบบและพัฒนาตัวละคร สำหรับงาน โมเดล 3 มิติ&nbsp; รูปแบบ วอล ดิสนีย์&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมาย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) พัฒนาตัวละคร สำหรับงาน โมเดล 3 มิติ&nbsp; รูปแบบ วอล ดิสนีย์ 2) แบบประเมินคุณภาพ โมเดล 3 มิติ&nbsp; รูปแบบ วอล ดิสนีย์ โดยผู้เชี่ยวชาญ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่สร้าง โมเดล 3 มิติ รูปแบบ วอล ดิสนีย์ กลุ่มตัวอย่างผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน และ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปี 2 สาขาวิชา มัลติมีเดียอาร์ตและแอนิเมชัน คณะ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาลัยสันตพล จำนวน 16 คน โดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลวิจัยพบว่า1) ผู้วิจัยต้องการค้นหาแนวการออกแบบตัวละครเพื่อใช้ในการสร้างผลงานในรูปแบบ โมเดล วอล ดิสนีย์ คำถามคือ องค์ประกอบใดบ้างที่ใช้เป็นแนวทางในการออกแบบตัวละคร และองค์ประกอบเหล่านั้นทำงานสัมพันธ์กันอย่างไร งานวิจัยนี้จะช่วยสร้างความเข้าใจวิธีคิดและการมองงานของการออกแบบตัวละคร วอล ดิสนีย์ และเรียนรู้แนวทางออกแบบตัวละครโมเดล 3 มิติ1) ผลการวิเคราะห์การประเมินคุณภาพสื่อโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่ามีค่าเฉลี่ย = 4.13 อยู่ในเกณฑ์คุณภาพดีมาก 2) ผลการประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่าง พบว่ามีค่าเฉลี่ย ค่าเฉลี่ย = 4.35 อยู่ในเกณฑ์ความพึงพอใจมาก</p> วีรภัทร จันทรจตุรภัทร จีรเดช เจริญชนม์ ไวพจน์ ดวงจันทร์ ธีร์วรา สุขสุเมฆ กิตติพล เทียนทอง Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-01 2024-07-01 10 2 156 167 อิทธิพลของความสุขในการทำงาน การนำเสนอคุณค่าของพนักงานและการรับรู้ความยุติธรรม ในองค์การต่อความผูกพันในองค์การของพนักงานบริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี https://so05.tci-thaijo.org/index.php/scaj/article/view/269480 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของความสุขในการทำงาน การนำเสนอคุณค่าของพนักงานและการรับรู้ความยุติธรรมในองค์การต่อความผูกพันในองค์การของพนักงานบริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ใน นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากพนักงานบริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในนิคม อุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี จำนวน 373 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์สมมติฐานด้วยการทดสอบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันในองค์การของพนักงานบริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี โดยการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า ความสุขในการทำงาน (β <em>=</em> 0.089, p &lt; 0.05) การนำเสนอคุณค่าของพนักงาน (β <em>=</em> 0.402, p &lt; 0.05) และการรับรู้ความยุติธรรมในองค์การ (β <em>=</em> 0.274, p &lt; 0.05) มีผลต่อความผูกพันในองค์การของพนักงานบริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ใน นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> วรัฏฐา อ้นถาวร ถิตรัตน์ พิมพาภรณ์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-01 2024-07-01 10 2 168 176 การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์กับการมูเตลูในประเทศไทย https://so05.tci-thaijo.org/index.php/scaj/article/view/270444 <p>การมูเตลูเป็นการท่องเที่ยวที่เกิดจากความเชื่อและความศรัทธาโดยเกิดขึ้นในช่วงหลังโดยเชื่อว่าหากไปกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือไปมูเตลูแล้วจะได้ในสิ่งที่ตนเองต้องการ ในขณะที่การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์เกิดขึ้นควบคู่กับความเป็นมาของชาติไทยเนื่องจากชาติไทยมีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนาน ด้านกลยุทธ์การตลาดมูลค่าการตลาดธุรกิจที่มีความเกี่ยวข้องกับการมูเตลูถือได้ว่าทำรายได้อย่างมากและรวดเร็วแต่ข้อเสียคือเมื่อหมดความเชื่อหรือความศรัทธาในสิ่งนั้นความต้องการของนักท่องเที่ยวหรือผู้บริโภคก็จะลดลงในทันที แต่การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เดินทางไปเพื่อศึกษาหาความรู้เยี่ยมชมความงามของสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรมลักษณะมูลค่าทางการตลาดในการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์อาจจะไม่มากแต่การท่องเที่ยวรูปแบบนี้มีความยั่งยืนมากกว่า ข้อแนะนำในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวด้านพื้นที่สามารถทำควบคู่กันได้เนื่องจากทั้งการท่องเที่ยวแบบมูเตลูและการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์อาจะมีวัดหรือเทวสถานเป็นสถานที่ในการเข้าไปทำบุญหรือเยี่ยมชมหากใส่ความเชื่อในท้องถิ่นเป็นจุดขายก็อาจะเป็นการส่งเสริมมูลค่าให้กับท้องถิ่น ทั้งนี้การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวแบบมูเตลูหน่วยงานภาครัฐควรส่งเสริมอย่างจริงจังควรมุ่งเน้นจุดขายด้านความเชื่อความศรัทธาที่สอดคล้องกับสถานที่เพื่อส่งเสริมตลาดทั้งในและต่างประเทศ ในขณะที่การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถพัฒนาจากสิ่งที่มีอยู่ให้ดีมากยิ่งขึ้นแก่ตลาดทั้งในและต่างประเทศ เช่น การจัดทำโฆษณาสถานที่ผ่านสื่อต่าง ๆ การพัฒนาการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวในลำดับต่อไป</p> พรรณปพร จันทร์ฉาย อนามัย ดำเนตร Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-01 2024-07-01 10 2 177 185