https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sikkha/issue/feed
สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์
2024-09-25T00:00:00+07:00
Assistant Professor Dr. Nathaya Boonkongsaen
nathaya_boo@vu.ac.th
Open Journal Systems
<p><strong>วัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร </strong></p> <p><strong> </strong>เป็นเวทีสำหรับนักวิจัย นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาชีพ นักศึกษาและบุคคลทั่วไปในการเผยแพร่ผลงานและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทางวิชาการที่เขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ที่เกี่ยวกับด้านการเรียนการสอน การบริหารการศึกษา หลักสูตรและการสอน วัดและประเมินผล จิตวิทยาการศึกษา การศึกษาปฐมวัย การสอนวิทยาศาสตร์ทั่วไป นวัตกรรม เทคโนโลยีการศึกษาและคอมพิวเตอร์ ภาษาศาสตร์ ภาษาศาสตร์ประยุกต์ การสอนภาษาไทยและภาษาต่างประเทศและด้านอื่น ๆที่เกี่ยวข้องกับศึกษาศาสตร์ในรูปแบบของบทความวิจัยและบทความวิชาการต้นฉบับ บทความวิจัยและบทความวิชาการที่นำเสนอในการประชุมวิชาการ หรือ ได้รับตีพิมพ์เผยแพร่ในหนังสือประมวลผลการประชุมทางวิชาการ (Proceedings) ที่นำมาเรียบเรียงใหม่ และกลั่นกรองใหม่ </p> <p><strong>กำหนดการเผยแพร่ ปีละ 2 ฉบับ</strong></p> <p>ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน (เผยแพร่ทางเว็บไซต์ภายใน 30 มิถุนายน)<br />ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม (เผยแพร่ทางเว็บไซต์ภายใน 31 ธันวาคม)</p> <p style="text-align: justify;">ก่อนการเผยแพร่ทุกบทความต้องได้รับการกลั่นกรองและประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง 3 ท่านหากเป็นบทความภายในจะต้องได้รับการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกเท่านั้น การประเมินบทความจะเป็นแบบ Double-blinded ผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้ประเมิน และผู้ประเมินไม่ทราบชื่อผู้นิพนธ์</p> <p style="text-align: justify;"><span style="text-decoration: underline;"><strong>บทความและข้อความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป ในกรณีที่มีการลอกเลียนหรือแอบอ้างโดยปราศจากการอ้างอิงหรือทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นผลงานของผู้เขียนกรุณาแจ้งให้กองบรรณาธิการทราบต่อไป</strong></span></p>
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sikkha/article/view/265608
ผลของการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนแบบพุทธวิธีที่มีต่อการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย โรงเรียนเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร
2023-05-18T11:47:07+07:00
กมลพรรณ แสนจันทร์
kamonpam26@gmail.com
ดารารัตน์ อุทัยพยัคฆ์
daratim54@hotmail.com
ประดิษฐา ภาษาประเทศ
parsapratet.praditha236@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยของกลุ่มทดลองก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนแบบพุทธวิธี และ 2) เปรียบเทียบการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยหลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม ประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนในเครือข่ายคุณภาพการศึกษาไตรมิตรสัมพันธ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1 กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เพื่อเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 10 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 10 คน เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนแบบพุทธวิธี จำนวน 32 แผน และ 2) แบบทดสอบการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยจำนวน 20 ข้อ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นที่ .92 สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (t-test) ประกอบด้วย การทดสอบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test Dependent Samples) และการทดสอบเป็นอิสระต่อกัน (t-test Independent Samples)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการเปรียบเทียบการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนแบบพุทธวิธี พบว่า กลุ่มทดลองมีการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ผลการเปรียบเทียบการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยหลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม พบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนแบบพุทธวิธีหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p>
2024-09-25T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sikkha/article/view/265331
การมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4
2023-05-23T08:04:49+07:00
จักรี ไชยะเวช
chakreelac2536@gmail.com
วานิช ประเสริฐพร
vanich.pra@neu.ac.th
<p>การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 จำแนกตามขนาดของสถานศึกษาและประสบการณ์การทำงาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 ในปีงบประมาณ 2565 จำนวน 316 คน จำแนกเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 36 คน และครูผู้สอน จำนวน 280 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรยามาเน่ (Yamane, 1973) ด้วยวิธีการแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) และวิธีการอย่างง่าย ด้วยการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามปลายปิด มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ (Checklist) ลักษณะประมาณค่า (Rating Scale) แบ่งเป็น 5 ระดับ โดยหาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามมีค่าระหว่าง 0.60–1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.88 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การทดสอบค่าเอฟ (F-Test) การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยสามารถเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการบริหารบุคคล ด้านการบริหารวิชาการ ด้านการบริหารงบประมาณ และด้านการบริหารทั่วไป ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 จำแนกตามขนาดของสถานศึกษาและประสบการณ์การทำงาน พบว่า ขนาดของสถานศึกษาแตกต่างกัน มีระดับการมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ประสบการณ์การทำงานแตกต่างกัน มีการมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษาไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p>
2024-09-25T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sikkha/article/view/268091
การพัฒนาความสามารถในการเขียนสะกดคำ หน่วยการเรียนรู้ที่ 15 เรื่อง ตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา วิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำ
2023-09-26T13:54:28+07:00
จารุเดช ศรีดำรงค์
jarudesh_sri@vu.ac.th
ศรีสุดา พัฒจันทร์
jarudesh_sri@vu.ac.th
ศิริพร พึ่งเพ็ชร์
jarudesh_sri@vu.ac.th
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการเขียนสะกดคำไม่ตรงมาตราตัวสะกดวิชาภาษาไทย ก่อนและหลังใช้แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 2) เปรียบเทียบความสามารถในการเขียนสะกดคำไม่ตรงมาตราตัวสะกดวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 หลังใช้แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำกับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 5 คน ได้จากวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ แผนการเรียนรู้ที่ 1 แม่กน มีค่าเฉลี่ยของความเหมาะสมเท่ากับ 4.35 และ (S.D.) เท่ากับ 0.27 แผนการเรียนรู้ที่ 2 แม่กด มีค่าเฉลี่ยของความเหมาะสมเท่ากับ 4.49 และ (S.D.) เท่ากับ 0.34 2) แบบฝึกในการเขียนสะกดคำ แม่กน ชุดที่ 1 มีค่าเฉลี่ยของความเหมาะสมเท่ากับ 4.81 และ (S.D.) เท่ากับ 0.32 ชุดที่ 2 มีค่าเฉลี่ยของความเหมาะสมเท่ากับ 4.74 และ (S.D.) เท่ากับ 0.45 และชุดที่ 3 มีค่าเฉลี่ยของความเหมาะสมเท่ากับ 4.74 และ (S.D.) เท่ากับ 0.45 แม่กด ชุดที่ 1 มีค่าเฉลี่ยของความเหมาะสมเท่ากับ 4.93 และ (S.D.) เท่ากับ 0.13 ชุดที่ มีค่าเฉลี่ยของความเหมาะสมเท่ากับ 4.81 และ(S.D.) เท่ากับ 0.32 และชุดที่ 3 มีค่าเฉลี่ยของความเหมาะสมเท่ากับ 4.70 และ (S.D.) เท่ากับ 0.45 และ 3) แบบทดสอบความสามารถในการเขียนสะกดคำ ชุดที่ 1 แม่กน พบว่า ค่า (p) ของแบบทดสอบ 0.56 – 0.78 ค่า (r) ของแบบทดสอบ 0.33 – 0.89 และค่า (Reliability) เท่ากับ 0.72 ชุดที่ 2 แม่กด พบว่า ค่า (p) ของแบบทดสอบ 0.61 – 0.78 ค่า (r) ของแบบทดสอบ 0.33 – 0.67 และค่า (Reliability) เท่ากับ 0.71 สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย เบี่ยงเบนมาตรฐานของตัวอย่าง และสถิติทดสอบค่าเฉลี่ยของประชากรโดยการทดสอบที t – test for Dependent และ t – test for One Sample</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนสะกดคำไม่ตรงมาตราตัวสะกดวิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 หลังใช้แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำ ชุดที่ 1 เรื่อง แม่กน และชุดที่ 2 เรื่อง แม่กด สูงกว่าก่อนใช้แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนสะกดคำไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด วิชา ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 หลังใช้แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำชุดที่ 1 เรื่อง แม่กน และชุดที่ 2 เรื่องแม่กด สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p>
2024-09-25T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sikkha/article/view/265116
องค์ประกอบและตัวบ่งชี้สถานศึกษาที่มีประสิทธิผลในยุคความปกติใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในเขตตรวจราชการที่ 13
2023-05-12T09:48:20+07:00
ชิติพัทธ์ ไกรโสดา
chitipath.edu@gmail.com
ชูเกียรติ วิเศษเสนา
Chitipath@gmail.com
วรสิทธิ์ รัตนวราหะ
Chitipath@gmail.com
<h4>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้สถานศึกษาที่มีประสิทธิผลในยุคความปกติใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในเขตตรวจราชการที่ 13 และ 2) ตรวจสอบความเที่ยงตรงตามสภาพขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้สถานศึกษาที่มีประสิทธิผลในยุคความปกติใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในเขตตรวจราชการที่ 13 ผู้วิจัยดำเนินการวิจัย โดยการสังเคราะห์เอกสาร และการสนทนากลุ่มร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิผลของสถานศึกษา เพื่อกำหนดเป็นองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ประสิทธิผลของสถานศึกษาในยุคความปกติใหม่ นำมาสร้างเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งผ่านการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ มีค่าความเชื่อมั่น 0.968 นำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง คือ สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในเขตตรวจราชการที่ 13 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 450 แห่ง ที่ได้จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิตามสัดส่วนจำนวนสถานศึกษาระดับประถมศึกษาของแต่ละเขตพื้นที่การศึกษาในเขตตรวจราชการที่ 13 มีผู้ให้ข้อมูลสถานศึกษาละ 1 คน คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษา หรือรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา จากนั้นนำมาวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ด้วยวิธีการสกัดปัจจัย เพื่อพิจารณาจัดกลุ่มตัวแปรด้วยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก และใช้วิธีการหมุนแกนแบบตั้งฉาก ด้วยวิธีหาองค์ประกอบเฉพาะ นำผลการวิเคราะห์ตัวบ่งชี้ที่ได้มาพัฒนาเป็นเครื่องมือใช้เก็บข้อมูลกับกลุ่มผู้รู้แจ้งชัด คือ ผู้บริหารสถานศึกษาจากสถานศึกษาที่ผ่านการประเมินโดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) รอบสี่ และ/หรือ ผู้บริหารสถานศึกษาจากสถานศึกษาที่เป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล และ/หรือ โรงเรียนคุณภาพประจำตำบล และ/หรือ เป็นผู้บริหารสถานศึกษาจากสถานศึกษาที่ได้รับรางวัลด้านการบริหาร ระหว่างปี พ.ศ. 2563 - ปัจจุบัน เช่น รางวัลพระราชทาน รางวัลอันทรงคุณค่า สพฐ. จำนวน 40 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยที่ได้ตามการแปรความหมายแบบอิงเกณฑ์ที่ระดับมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 3.51) โดยใช้สถิติ t-test เพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงตามสภาพ</h4> <h4>ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบและตัวบ่งชี้สถานศึกษาที่มีประสิทธิผลในยุคความปกติใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในเขตตรวจราชการที่ 13 ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ 33 ตัวบ่งชี้ และจากการนำตัวบ่งชี้ที่ค้นพบไปทดสอบกับกลุ่มผู้รู้แจ้งชัดพบว่ามีนัยสำคัญทางสถิติทุกตัวบ่งชี้ สามารถยืนยันได้ว่าทั้ง 33 ตัวบ่งชี้ มีความเที่ยงตรงตามสภาพ</h4>
2024-09-25T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sikkha/article/view/267413
แนวทางพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ระดับปฐมวัยในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1
2023-09-07T19:58:39+07:00
ทอภัค ด่านกระโทก
thophakchaibun@gmail.com
อำนาจ อยู่คำ
thophakchaibun@gmail.com
สงวนพงศ์ ชวนชม
thophakchaibun@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยและระดับประสิทธิผลของการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาระดับปฐมวัยในโรงเรียนขนาดเล็ก 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาระดับปฐมวัยในโรงเรียนขนาดเล็ก และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาระดับปฐมวัยในโรงเรียนขนาดเล็ก ดำเนินการวิจัยเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 ศึกษาระดับปัจจัย ระดับประสิทธิผล และปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาระดับปฐมวัยในโรงเรียนขนาดเล็ก กลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ซึ่งจัดการศึกษาระดับปฐมวัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 จำนวน 320 โรงเรียน เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง 0.80-1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนเดียว ตอนที่ 2 ศึกษาแนวทางพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาระดับปฐมวัยในโรงเรียนขนาดเล็ก กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ทรงคุณวุฒิในการตรวจสอบและประเมินความเหมาะสมของร่างแนวทางพัฒนา โดยจัดสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คน ได้มาด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ระดับความเหมาะสมของแนวทางการพัฒนาโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับปัจจัยการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาระดับปฐมวัยในโรงเรียนขนาดเล็ก ในภาพรวมและรายรายด้านอยู่ระดับมาก และระดับประสิทธิผลของการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาระดับปฐมวัยในโรงเรียนขนาดเล็ก ในภาพรวมอยู่ในระดับดีเลิศ 2) ปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์กร ด้านภาวะผู้นำ ด้านการบริหารจัดการ ด้านทรัพยากรทางการศึกษา และด้านการจัดประสบการณ์ ตัวแปรทั้ง 5 ตัวแปร สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลของการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาระดับปฐมวัยในโรงเรียนขนาดเล็ก ได้ร้อยละ 78.70 3) แนวทางการพัฒนาปัจจัยส่งผลต่อประสิทธิผลของการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาระดับปฐมวัยในโรงเรียนขนาดเล็ก ประกอบด้วย (1) หลักการและเหตุผล (2) วัตถุประสงค์ของแนวทาง (3) แนวทางการพัฒนา ประกอบด้วย ด้านวัฒนธรรมองค์กร มีแนวทางการพัฒนา 3 ขั้นตอน 8 แนวทาง ด้านภาวะผู้นำ มีแนวทางการพัฒนา 4 ขั้นตอน 11 แนวทาง ด้านการบริหารจัดการ มีแนวทางการพัฒนา 4 ขั้นตอน 9 แนวทาง มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด</p>
2024-09-25T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sikkha/article/view/265509
ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวที่เน้นการทำงานเป็นทีมเพื่อพัฒนาการปรับตัวทางสัมพันธภาพกับเพื่อนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนปัว จังหวัดน่าน
2023-05-12T11:53:47+07:00
ธีระ เทพจินดา
teera.jackmajor@gmail.com
วัลภา สบายยิ่ง
teera.jackmajor@gmail.com
นิรนาท แสนสา
teera.jackmajor@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบการปรับตัวทางสัมพันธภาพกับเพื่อนของนักเรียนกลุ่มทดลองก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวที่เน้นการทำงานเป็นทีม 2) เปรียบเทียบการปรับตัวทางสัมพันธภาพกับเพื่อนของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวที่เน้นการทำงานเป็นทีมและนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ใช้กิจกรรมแนะแนวปกติ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจและข้อเสนอแนะต่อการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวที่เน้นการทำงานเป็นทีม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนปัว จังหวัดน่าน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 2 ห้องเรียน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม แล้วแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม จำนวนกลุ่มละ 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมแนะแนวที่เน้นการทำงานเป็นทีมเพื่อพัฒนาการปรับตัวทางสัมพันธภาพกับเพื่อน จำนวน 12 กิจกรรม ที่มีคุณภาพอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด 2) แบบวัดการปรับตัวทางสัมพันธภาพกับเพื่อน ที่มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.60 -1.00 และมีค่าความเที่ยงทั้งฉบับ .81 และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจและข้อเสนอแนะต่อการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนว ที่มีค่าดัชนีความสอดคล้อง อยู่ระหว่าง 0.60 -1.00 และ มีค่าความเที่ยงทั้งฉบับ .91 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) หลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวที่เน้นการทำงานเป็นทีม นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนการปรับตัวทางสัมพันธภาพกับเพื่อนสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนกลุ่มทดลองที่ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวมีคะแนนการปรับตัวทางสัมพันธภาพกับเพื่อนสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) นักเรียนกลุ่มทดลองมีความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรมแนะแนวที่เน้นการทำงานเป็นทีมอยู่ในระดับมาก ข้อเสนอแนะต่อการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวที่เน้นการทำงานเป็นทีม คือ (1) เป็นกิจกรรมที่ดีสามารถนำมาใช้ได้จริงเพื่อพัฒนาความสัมพันธ์กับเพื่อน (2) บางกิจกรรมให้เวลาน้อยไม่เพียงพอต่อการทำกิจกรรม และ (3) ควรสำเนาเอกสารเป็นภาพสีเพื่อจะได้เห็นภาพชัดเจนขึ้น</p>
2024-09-25T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sikkha/article/view/268122
รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการในศตวรรษที่ 21 สำหรับผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1
2023-09-27T16:14:43+07:00
ธีรพันธุ์ มาแสง
teerapan0456@gmail.com
สุวิมล ตั้งประเสริฐ
teerapan0456@gmail.com
สงวนพงศ์ ชวนชม
teerapan0456@gmail.com
วรสิทธิ์ รัตนวราหะ
teerapan0456@gmail.com
<p>การวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำทางวิชาการในศตวรรษที่ 21 สำหรับผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก 2) สร้างรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการในศตวรรษที่ 21 สำหรับผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก และ 3) ประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ การวิจัยมี 3 ระยะคือ ระยะที่ 1 การศึกษาระดับภาวะผู้นำทางวิชาการในศตวรรษที่ 21 มี 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำทางวิชาการในศตวรรษที่ 21 โดยสังเคราะห์องค์ประกอบ และยืนยันองค์ประกอบโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาระดับภาวะผู้นำทางวิชาการในศตวรรษที่ 21 จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 320 คน โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน โดยใช้แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า ที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.98 ระยะที่ 2 การสร้างรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการในศตวรรษที่ 21 โดยนำผลการศึกษาระดับภาวะผู้นำทางวิชาการในศตวรรษที่ 21 มาเป็นประเด็นเป้าหมายในการจัดทำรูปแบบ แล้วจัดสนทนากลุ่มและประเมินความเหมาะสมของรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน โดยใช้แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ ระยะที่ 3 การประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก จำนวน 30 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง โดยใช้แบบประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำทางวิชาการในศตวรรษที่ 21 สำหรับผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยมีด้านการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาเป็นด้านการกำหนดวิสัยทัศน์ ด้านการส่งเสริมและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ด้านการพัฒนาการเรียนการสอน ด้านการส่งเสริมและพัฒนาครู และด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ตามลำดับ 2) รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการในศตวรรษที่ 21 สำหรับผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ (1) หลักการและเหตุผล (2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ (3) สาระสำคัญของการพัฒนา (4) การนำรูปแบบสู่การปฏิบัติ และ (5) เงื่อนไขสู่ความสำเร็จ การประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ผลการประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ พบว่า ความเป็นไปได้ โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนความเป็นประโยชน์ โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด</p>
2024-09-25T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sikkha/article/view/268163
การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด STEAM ร่วมกับบทเรียนมัลติมีเดีย รายวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ 4 (การออกแบบกราฟิก) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
2023-10-02T12:05:58+07:00
นงนุช อินทรกำแหง
prapassornkongtong.nm13@gmail.com
ประภัสสร กองทอง
prapassornkongtong.nm13@gmail.com
อัญชลีพร นันทัชพรพงศ์
prapassornkongtong.nm13@gmail.com
<h4 style="margin-bottom: 0cm; line-height: normal; tab-stops: 1.0cm;"><span lang="TH">บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด </span>STEAM <span lang="TH">ร่วมกับบทเรียนมัลติมีเดีย ให้เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วย</span><span lang="TH">การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด </span>STEAM <span lang="TH">ร่วมกับบทเรียนมัลติมีเดีย 3) ศึกษาความพึงพอใจในการเรียนของนักเรียน</span><span lang="TH">ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด </span>STEAM <span lang="TH">ร่วมกับบทเรียนมัลติมีเดีย รายวิชา วิทยาการคอมพิวเตอร์ 4 (การออกแบบกราฟิก) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนสะแกราชธวัชศึกษา อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ได้มาโดยใช้การสุ่มแบบกลุ่ม (</span>Cluster Random Sampling) <span lang="TH">ด้วยวิธีการจับฉลาก จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด </span>STEAM <span lang="TH">ร่วมกับบทเรียนมัลติมีเดีย มีค่าดัชนีความสอดคล้องของแผนการจัดการเรียนรู้ได้ค่าความสอดคล้อง 1.00 ทุกข้อ 2) บทเรียนมัลติมีเดีย มีค่าเฉลี่ย 4.38 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์คุณภาพระดับมาก และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจในการเรียนมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาประสิทธิภาพตามเกณฑ์ </span>E<span lang="TH">1/</span>E<span lang="TH">2 และ การทดสอบค่าที (</span>t–test <span lang="TH">แบบ </span>Dependent Sample)</h4> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด STEAM ร่วมกับบทเรียนมัลติมีเดีย รายวิชา วิทยาการคอมพิวเตอร์ 4 (การออกแบบกราฟิก) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มีประสิทธิภาพ</p> <p>เท่ากับ 84.40/82.62 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ประสิทธิภาพที่กำหนดไว้คือ 80/80 2) นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด STEAM ร่วมกับบทเรียนมัลติมีเดีย มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด STEAM ร่วมกับบทเรียนมัลติมีเดีย รายวิชา วิทยาการคอมพิวเตอร์ 4 (การออกแบบกราฟิก) มีความพึงพอใจในการเรียน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.45, S.D. = 0.30) </p>
2024-09-25T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sikkha/article/view/263977
ผลของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย โรงเรียนบ้านตีบใต้ จังหวัดเพชรบูรณ์
2023-02-28T12:49:32+07:00
บุณยาพร พลคร
ponlakornpp@gmail.com
ดารารัตน์ อุทัยพยัคฆ์
ponlakornpp@gmail.com
ปรีชา วิหคโต
ponlakornpp@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน ประชากร คือ เด็กปฐมวัยชายและหญิง อายุระหว่าง 5 – 6 ปี ศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านตีบใต้ ตำบลบ่อไทย อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 21 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ไดแก แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน จำนวน 32 แผน และแบบทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ทั้งหมด 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการเข้าใจปัญหา 10 ข้อ ด้านการนำเสนอวิธีการแก้ปัญหา 10 ข้อ และด้านการเลือกวิธีการแก้ปัญหา 10 ข้อ รวมทั้งสิ้น 30 ข้อ ระยะเวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 4 วัน วันละ 30 นาที ในช่วงกิจกรรมเสริมประสบการณ์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\mu" alt="equation" />) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\sigma" alt="equation" />) และการทดสอบสถิติไค-สแควร์</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสัมพันธ์ของความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน มีความสัมพันธ์กันทั้งโดยภาพรวม และแยกรายด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) เด็กปฐมวัยหลังจากที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ด้านการเข้าใจปัญหา ด้านการนำเสนอวิธีการแก้ปัญหา และด้านการเลือกวิธีการแก้ปัญหา สูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p>
2024-09-25T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sikkha/article/view/267904
รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1
2023-10-03T10:04:55+07:00
ปาจรีย์ เนรมิตพานิชย์
Pajaree1499@gmail.com
สุวิมล ตั้งประเสริฐ
Pajaree1499@gmail.com
สงวนพงศ์ ชวนชม
Pajaree1499@gmail.com
วรสิทธิ์ รัตนวราหะ
Pajaree1499@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 2) สร้างรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา และ 3) ประเมินรูปแบบในด้านความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ การดำเนินการวิจัย แบ่งออกเป็น 3 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 ศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา โดยการสังเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม ยืนยันองค์ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง แล้ววิเคราะห์เนื้อหาเพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 322 คน โดยการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง 0.60 – 1.00 มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม เท่ากับ 0.98 ตอนที่ 2 การสร้างรูปแบบการพัฒนาการภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ร่างรูปแบบและตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบด้วยการสนทนากลุ่มโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 7 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ และ ตอนที่ 3 การประเมินรูปแบบในด้านความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ ผู้ให้ข้อมูลจำนวน 30 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วยองค์ประกอบ 6 ด้าน ได้แก่ การมีวิสัยทัศน์ การคิดสร้างสรรค์ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การทำงานเป็นทีม การพัฒนาด้านกลยุทธ์ และการบริหารความเสี่ยง โดยระดับภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม ภาพรวมอยู่ในระดับมาก องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม ด้านการบริหารความเสี่ยง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 2) รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ของรูปแบบ สาระสำคัญของรูปแบบ การนำรูปแบบสู่การปฏิบัติ และเงื่อนไขสู่ความสำเร็จของรูปแบบ โดยมีความเหมาะสม ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด องค์ประกอบของรูปแบบ ด้านเงื่อนไขสู่ความสำเร็จของรูปแบบ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด และ 3) ผลการประเมินรูปแบบในด้านความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ พบว่า ด้านความเป็นไปได้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านความเป็นประโยชน์ โดยภาพอยู่ในระดับมากที่สุด</p>
2024-09-25T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sikkha/article/view/268492
กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กสู่ความเป็นเลิศ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1
2023-10-20T11:02:27+07:00
ปาณิสรา เปาวรางกูล
panisara4345@gmail.com
วรสิทธิ์ รัตนวราหะ
Panisara4345@gmail.com
ชูเกียรติ วิเศษเสนา
Panisara4345@gmail.com
ปานัฏสิริ จันทร์ศิริ
Panisara4345@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 2) เพื่อสร้างกลยุทธ์การบริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กสู่ความเป็นเลิศ และ 3) เพื่อประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของกลยุทธ์การบริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กสู่ความเป็นเลิศ ดำเนินการวิจัยเป็น 3 ตอน คือ ตอนที่ 1 ขั้นที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้อำนวยการโรงเรียนหรือรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 320 คน เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง 0.80-1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นที่ 2 ศึกษาแนวทางการบริหารโรงเรียนประถม ศึกษาขนาดเล็กสู่ความเป็นเลิศที่มีแนวปฏิบัติที่ดี ผู้ให้ข้อมูล จำนวน 4 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ตอนที่ 2 สร้างกลยุทธ์การบริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กสู่ความเป็นเลิศ โดยร่างกลยุทธ์จากการจัดประชุมกลุ่มสนทนา ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน เพื่อพิจารณาความเหมาะสมของร่างกลยุทธ์ ตอนที่ 3 ประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของกลยุทธ์ โดยผู้อำนวยการโรงเรียนและครูหัวหน้าวิชาการ จำนวน 60 คน เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาและแนวทางการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง และแนวทางในการพัฒนา คือ เน้นการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย 2) กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กสู่ความเป็นเลิศประกอบด้วย 3 กลยุทธ์ คือ กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาผู้บริหารและครูของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กให้เป็นมืออาชีพ กลยุทธ์ที่ 2 ปรับปรุงระบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมกับผู้ปกครองและชุมชนให้เข้มแข็ง และกลยุทธ์ที่ 3 ปรับปรุงระบบการจัดการเรียนรู้แบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญให้มีประสิทธิภาพ 3) ผลการประเมินความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของกลยุทธ์การบริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กสู่ความเป็นเลิศ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมาก</p>
2024-09-25T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sikkha/article/view/268571
การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับเด็กและครูประถมศึกษา โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้การวิจัยเป็นฐาน
2023-10-20T12:27:05+07:00
เพ็ญรดาพร กุลเพียราษฎร์
phenradaphon_kun@vu.ac.th
<h4>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักศึกษาที่เรียนโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน และ2) ศึกษาความพึงพอใจในการเรียนของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 สาขาวิชาการประถมศึกษามหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับเด็กและครูประถมศึกษา จำนวน 31 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน จำนวน 5 แผน มีค่าดัชนีความสอดคล้องของแผนการจัดการเรียนรู้ได้ค่าความสอดคล้อง 1.00 ทุกข้อ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบเลือกตอบ 5 ตัวเลือก จำนวน 50 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.96 และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ ในการเรียน โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t–test แบบ Dependent Sample)</h4> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) นักศึกษาที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐานมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 2) นักศึกษาที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐานมีความพึงพอใจในการเรียนภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\mu" alt="equation" /> = 4.60, <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\sigma" alt="equation" /> = 0.31) </p>
2024-09-25T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sikkha/article/view/263688
การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเชิงระบบสู่ความเป็นเลิศ ของโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
2023-02-24T10:41:16+07:00
เมตตา ศรีกัลยาณบุตร
mettasri2023@gmail.com
อำนาจ อยู่คำ
mettasri2023@gmail.com
สงวนพงศ์ ชวนชม
mettasri2023@gmail.com
ชูเกียรติ วิเศษเสนา
mettasri2023@gmail.com
<p>การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพบริหารงานวิชาการเชิงระบบสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัด 2) พัฒนาและประเมินความเหมาะสมของรูปแบบบริหารงานวิชาการเชิงระบบสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3) ประเมินความเป็นไปได้และเป็นประโยชน์ของรูปแบบบริหารงานวิชาการเชิงระบบสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดำเนินการ 3 ตอน คือ 1) ศึกษาสภาพบริหารงานวิชาการเชิงระบบสู่ความเป็นเลิศ โรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัดที่มีวิธีปฏิบัติที่ดี 3 โรงเรียน โดยเลือกแบบเจาะจง ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ หัวหน้างานวิชาการ หัวหน้าสายชั้น หัวหน้ากลุ่มสาระ จำนวนรวม 15 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง มีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.60 - 1.00 2) พัฒนาและประเมินความเหมาะสมของรูปแบบโดยจัดกลุ่มสนทนาผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คน เครื่องมือเป็นแบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ 3) ประเมินความเป็นไปได้และเป็นประโยชน์ของรูปแบบ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 19 โรงเรียน จำนวนรวม 95 คน โดยการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือเป็นแบบประเมินความเป็นไปได้ และเป็นประโยชน์ สถิติที่ใช้ คือ วิเคราะห์เชิงเนื้อหา ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพบริหารงานวิชาการเชิงระบบสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัด พบว่า โรงเรียนบริหารงานวิชาการด้วย 9 องค์ประกอบหลัก คือ (1) การวางแผนและกำหนดเป้าหมาย (2) การพัฒนาหลักสูตร (3) การพัฒนาบุคลากร (4) การจัดการเรียนการสอน (5) การพัฒนาสื่อและนวัตกรรมการสอน (6) การวัดและประเมินผล (7) การนิเทศ กำกับ ติดตาม (8) การสร้างเครือข่ายทางวิชาการ และ (9) การสะท้อนผลและปรับปรุง มี 3 องค์ประกอบรอง คือ (1) แนวทางการดำเนินงานเชิงปัจจัยนำเข้า (Input Guidelines) (2) แนวทางการดำเนินงานเชิงกระบวนการ (Process Guidelines) (3) แนวทางการดำเนินงานเชิงผลผลิต (Output Guidelines) แล้วสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อสร้างรูปแบบ 2) ผลการพัฒนาและประเมินความเหมาะสม ได้รูปแบบ 5 องค์ประกอบ คือ (1) หลักการและเหตุผล (2) วัตถุประสงค์ (3) สาระสำคัญ (4) การนำรูปแบบไปใช้ (5) เงื่อนไขความสำเร็จ ในสาระสำคัญมี 9 องค์ประกอบหลัก เป็นด้านปัจจัยนำเข้า 4 องค์ประกอบ คือ (1) การวางแผนและกำหนดเป้าหมาย (2) การพัฒนาหลักสูตร (3) การพัฒนาบุคลากร (4) การจัดการเรียนการสอนด้านกระบวนการ 4 องค์ประกอบ คือ (1) การพัฒนาสื่อและนวัตกรรมการสอน (2) การวัดและประเมินผล (3) การนิเทศ กำกับ ติดตาม (4) การสร้างเครือข่ายทางวิชาการ ด้านผลผลิต 1 องค์ประกอบ คือ การสะท้อนผลและปรับปรุง มี 3 องค์ประกอบรอง และมีแนวทางการดำเนินงาน 68 องค์ประกอบย่อย ความเหมาะสมโดยภาพรวมและรายองค์ประกอบอยู่ในระดับมากที่สุด และ 3) ผลการประเมินความเป็นไปได้และเป็นประโยชน์ พบว่า ความเป็นไปได้และเป็นประโยชน์โดยภาพรวมและรายองค์ประกอบอยู่ในระดับมากที่สุด</p>
2024-09-25T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sikkha/article/view/267820
การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสุขศึกษา เรื่อง อาหารหลัก 5 หมู่ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลสุรินทร์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD
2023-09-21T16:05:14+07:00
ศิริกาญจน์ เจริญศิริ
sirikarn_cha@vu.ac.th
ศรีสุดา พัฒจันทร์
sirikarn_cha@vu.ac.th
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลการแก้ปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสุขศึกษา เรื่อง อาหารหลัก 5 หมู่ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD และ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสุขศึกษา เรื่อง อาหารหลัก 5 หมู่ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD กับเกณฑ์ร้อยละ 80 กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนอนุบาลสุรินทร์ จำนวน 26 คน เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 3 แผน (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\mu" alt="equation" /> = 4.25, <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\sigma" alt="equation" /> = 0.00, <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\mu" alt="equation" /> = 4.35 , <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\sigma" alt="equation" /> = 0.14, <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\mu" alt="equation" /> = 4.35, <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\sigma" alt="equation" /> = 0.14) 2) แบบทดสอบ มีค่า 0.71 3) แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียน เช่น ความสนใจ การตอบคำถาม และการมีส่วนร่วม (IOC = 1) มีความเหมาะสม และ 4) แบบสัมภาษณ์ (IOC = 1) มีความเหมาะสม วิเคราะห์ข้อมูล ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการแก้ปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วงรอบที่ 1 ขั้นวางแผน พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ 3 แผน ดังนี้ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 อาหารหลัก 5 หมู่ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 การจำแนกประเภทอาหารหลัก 5 หมู่ และแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 ธงโภชนาการ วางแผนการจัดกิจกรรม พัฒนาแบบทดสอบ ขั้นปฏิบัติการ นํากิจกรรมที่วางแผนไว้ไปจัดการเรียนรู้ ขั้นสังเกตการณ์นักเรียนส่วนใหญ่ขาดความกระตือรือร้น คิดว่าเนื้อหาที่เรียนเป็นสิ่งที่รู้อยู่แล้ว ผลการทดสอบนักเรียนจำนวน 17 คน สอบผ่าน จำนวน 9 คน สอบไม่ผ่าน และขั้นการสะท้อนการปฏิบัติ นักเรียนคิดว่าเนื้อหาการเรียนเข้าใจง่าย แต่ครูควรเพิ่มเกมระหว่างเรียน วงรอบที่ 2 ขั้นวางแผน ปรับกิจกรรมในแผนการจัดการเรียนรู้ ขั้นปฏิบัติการ นํากิจกรรมที่วางแผนไว้ไปจัดการเรียนรู้ ขั้นสังเกตการณ์ นักเรียนมีความตั้งใจระหว่างเรียน ผลการทดสอบนักเรียนจำนวน 20 คน สอบผ่าน จำนวน 6 คน สอบไม่ผ่าน และขั้นการสะท้อนการปฏิบัติ นักเรียนคิดว่าครูควรเพิ่มเวลาในการทำข้อสอบ เพราะทำไม่ทันเวลา และควรมีสื่อในการเรียนมากขึ้น วงรอบที่ 3 ขั้นวางแผน เพิ่มเวลาในการทำข้อสอบ และเพิ่มรางวัลให้นักเรียน ขั้นปฏิบัติการ นํากิจกรรมที่วางแผนไว้ไปจัดการเรียนรู้ ขั้นปฏิบัติการ นักเรียนตั้งใจมากขึ้น ผลการทดสอบนักเรียนสอบผ่านทั้ง 26 คน แสดงให้เห็นว่านักเรียนมีพัฒนาการในการเรียนรู้สูงขึ้น และขั้นการสะท้อนการปฏิบัติ นักเรียนคิดว่าครูสอนสนุก และมีรางวัลให้อีกด้วย 2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 80 วงรอบที่ 1 ไม่ผ่านเกณฑ์ (63.85%) วงรอบที่ 2 ไม่ผ่านเกณฑ์ (69.87%) และวงรอบที่ 3 ผ่านเกณฑ์ (84.74%)</p>
2024-09-25T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sikkha/article/view/267648
ค่าเสียหายเชิงลงโทษในคดีสิ่งแวดล้อม
2023-09-21T15:33:29+07:00
สรัลนุช ครุฑเผือก
sarunuch.kru@stu.nida.ac.th
<h4 style="margin-bottom: 0cm; line-height: normal; tab-stops: 1.0cm 42.55pt;"><span lang="TH">บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการกำหนดค่าเสียหายในคดีความผิดเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมของกฎหมายไทยตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประกอบกับหลักการ แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับหลักค่าเสียหายเชิงลงโทษในการนำมาปรับใช้กรณีคดีความผิดเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในกฎหมายไทย โดยศึกษาวิจัยเชิงเอกสาร ค้นคว้าเอกสารข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากหนังสือ บทความ คำพิพากษาของศาล ข้อมูลเอกสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เอกสารทางวิชาการ กฎหมายของไทย และกฎหมายต่างประเทศเพื่อเปรียบเทียบการกำหนดค่าเสียหายเชิงลงโทษมาใช้ในคดีความผิดเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในกฎหมายไทยกับกฎหมายต่างประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศที่ให้ความสำคัญต่อการคุ้มครองด้านสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก มีหน่วยงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมมีอำนาจจัดการในเรื่องนี้โดยเฉพาะ ทำงานแบบเชิงรุกในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ รวมไปถึงการบังคับใช้ค่าเสียหายเชิงลงโทษโดยเป็นดุลพินิจของคณะลูกขุนภายใต้การควบคุมดูแลของศาล และมีการวางหลักคำพิพากษากำหนดหลักเกณฑ์การปรับใช้ค่าเสียหายเชิงลงโทษ และวิเคราะห์ปัญหากฎหมายไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในการกำหนดค่าสินไหมทดแทนในคดีความผิดเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม</span></h4> <h4 style="margin-bottom: 0cm; line-height: normal; tab-stops: 1.0cm 42.55pt;"><span lang="TH">ผลการวิจัยพบว่า พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 มีการกำหนดเพียงแต่ความรับผิดแต่มิได้บัญญัติถึงหลักเกณฑ์ในการกำหนดค่าเสียหายเอาไว้ การกำหนดค่าเสียหายในคดีสิ่งแวดล้อมจึงเป็นไปตามหลักกฎหมายว่าด้วยการละเมิด อย่างไรก็ดีหลักกฎหมายว่าด้วยการละเมิดในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทยนั้นไม่เพียงพอต่อการปรับใช้ในคดีสิ่งแวดล้อม เนื่องจากคดีสิ่งแวดล้อมและคดีละเมิดทั่วไปนั้นมีลักษณะแตกต่างกัน อาทิ ภาระการพิสูจน์ ลักษณะความเสียหาย ระยะเวลาในการเกิดความเสียหาย ซึ่งจะส่งผลให้ค่าเสียหายที่ผู้กระทำความผิดในคดีสิ่งแวดล้อมต้องชดใช้นั้นไม่เพียงพอต่อค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจริง ผู้เขียนจึงเสนอแนะว่า ควรนำแนวคิดค่าเสียหายเชิงลงโทษ มาปรับใช้ในการแก้ไขเยียวยาความเสียหายที่ผู้ก่อมลพิษต้องรับผิดในความเสียหายเพิ่มมากขึ้นนอกเหนือจากค่าเสียหายที่ต้องชดใช้ตามความเป็นจริง อันเป็นการก่อให้เกิดการยับยั้งการกระทำที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สร้างความตระหนักต่อความเสียหายที่จะส่งผลกระทบตามมา และควรบัญญัติหลักกฎหมายให้อำนาจศาลในการกำหนดค่าเสียหายเชิงลงโทษในกฎหมายสิ่งแวดล้อมไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้ศาลสามารถหยิบยกหลักดังกล่าวนำไปปรับใช้ และก่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชนโดยส่วนรวมในการคุ้มครองผู้เสียหายในคดีสิ่งแวดล้อมให้ได้รับการเยียวยาอย่างเป็นธรรมและเหมาะสม</span></h4>
2024-09-25T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sikkha/article/view/267372
การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านดนตรีไทย สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา
2023-09-13T18:48:16+07:00
สุภาภรณ์ พรหมแก้ว
supapornp2513@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาของการส่งเสริมความสามารถด้านดนตรีไทยของสถานศึกษา 2) พัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านดนตรีไทยสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา 3) ทดลองใช้รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านดนตรีไทยสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา และ 4) ประเมินรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านดนตรีไทยสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 1) โรงเรียนระดับชั้นประถมศึกษาในจังหวัดนครศรีธรรมราชที่เข้าร่วมการแข่งขันทักษะดนตรีไทยในงานศิลปหัตกรรมประจำปี 2565 จำนวน 14 โรงเรียน 2) ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน 3) นักเรียน จำนวน 14 คน 4) ผู้ปกครอง จำนวน 14 คน และ 5) ครูและผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 23 คน โดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามสภาพปัจจุบันปัญหาของการส่งเสริมความสามารถด้านดนตรีไทยโดยมีค่า IOC ตั้งแต่ 0.60-1.00 2) แบบประเมินความเหมาะสมของคู่มือฯ โดยค่า IOC มีค่า 0.60-1.00 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนโดยค่า IOC มีค่า 0.60 ถึง 1.00 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ปกครองค่า IOC มีค่า 0.60 ถึง 1.00 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของครูและผู้บริหารสถานศึกษาโดยค่า IOC มีค่า 0.60 ถึง 1.00 และ 6) แบบประเมินรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านดนตรีไทยค่า IOC มีค่า 0.60 ถึง 1.00 สถิติวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที (t-test for One Sample)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันปัญหาของการส่งเสริมความสามารถด้านดนตรีไทยของสถานศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) รูปแบบการบริหารแบบฯ ประกอบด้วยองค์ประกอบด้านแนวคิดและทฤษฎี ด้านหลักการและเหตุผล ด้านการวางแผนบริหารจัดการ ด้านกระบวนการปฏิบัติ และด้านการประเมินผลการปฏิบัติ โดยอาศัยการขับเคลื่อนด้วยวงจรคุณภาพเดมมิ่ง และผลการประเมินคู่มือการใช้รูปแบบฯ โดยภาพอยู่ในระดับมาก 3) ผลการทดลองใช้รูปแบบฯ พบว่า (1) ผลการแข่งขันความสามารถด้านดนตรีไทยของนักเรียนที่เข้าร่วมแข่งขันทักษะดนตรีไทยในงานศิลปะหัตกรรมระดับชาติ ได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 80.41 คะแนน จาก 100 คะแนน (2) ผลการเปรียบเทียบความสามารถด้านดนตรีไทยของนักเรียน ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ (3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ผู้ปกครอง ครูและผู้บริหารโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ 4) ผลการประเมินรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านดนตรีไทยสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก</p>
2024-09-25T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sikkha/article/view/269169
การบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล
2023-11-24T15:31:07+07:00
อนุธิดา กลิ่นพิทักษ์
anutida3759@gmail.com
สุนทรี วรรณไพเราะ
Anutida3759@gmail.com
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล ตามตัวแปร เพศ อายุ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และขนาดสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครูที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล ปีการศึกษา 2566 จำนวน 346 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดของสถานศึกษา จากนั้นสุ่มอย่างง่ายโดยวิธีการจับสลาก เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) การศึกษาระดับการบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.4993 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.2609 โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการติดต่อสื่อสาร ด้านวัฒนธรรม ด้านเทคโนโลยี ด้านโครงสร้างและด้านคน โดยมีค่าเฉลี่ย 4.6993, 4.5228, 4.4902, 4.4431, 4.3412 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.4318, 0.3750, 0.4405, 0.3693, 0.4053 ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบการบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล จำแนกตามตัวแปร เพศ อายุ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และขนาดสถานศึกษา พบว่า ครูที่มีเพศต่างกันมีความคิดเห็นต่อการบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา ในภาพรวมแตกต่างกัน และครูที่มีอายุต่างกัน วุฒิการศึกษาต่างกัน ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานที่ต่างกัน และปฏิบัติงานในสถานศึกษาที่มีขนาดต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในภาพรวมไม่แตกต่างกัน</p>
2024-09-25T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sikkha/article/view/266876
ปัญหาการสั่งฟ้องคดีอาญาของพนักงานอัยการ: ศึกษากรณีการใช้ดุลพินิจสั่งฟ้องคดีที่ไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชน
2023-07-19T11:19:13+07:00
อภิชญา ตั้งประเสริฐ
apcytps@gmail.com
สุรศักดิ์ ลิขสิทธิ์วัฒนกุล
apcytps@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความรู้ ความเข้าใจ แนวความคิด และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการในการสั่งคดีที่ไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชนในกฎหมายประเทศไทย 2) เปรียบเทียบกฎหมายประเทศไทยกับกฎหมายต่างประเทศเกี่ยวกับการใช้ดุลพินิจของพนักงานอัยการในการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการโดยคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะ และ 3) วิเคราะห์ปัญหาการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการตามกฎหมายไทยและแนวความคิดการมีอยู่ของประโยชน์สาธารณะต่อการดำเนินคดีอาญา โดยดำเนินการวิจัยจากการศึกษาจากหลักกฎหมายในพระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. 2553 ระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการสั่งคดีที่ไม่เป็นประโยชน์สาธารณชนหรือมีผลกระทบต่อความปลอดภัยหรือความมั่นคงของชาติหรือผลประโยชน์อันสำคัญของประเทศ พ.ศ. 2554 ประมวลระเบียบสำหรับพนักงานอัยการประเทศอังกฤษ (Code for Crown Prosecutors) และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาญี่ปุ่น (The Code of Criminal Procedure Act No. 131 of 1948) ประกอบกับศึกษาจากหนังสือ ตำราทางวิชาการ และผลงานวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับการสั่งคดีของพนักงานอัยการของนักวิชาการไทยและต่างประเทศ รวมถึงข้อมูลจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ เพื่อรวบรวมข้อมูลนำมาวิเคราะห์ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) ประเทศไทยใช้หลักการสั่งคดีตามดุลพินิจ (Opportunity Principle) และหลักเกณฑ์การสั่งไม่ฟ้องคดีที่ไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชนเป็นไปตามพระราชบัญญัติพระราชบัญญัติองค์กรอัยการฯ มาตรา 21 ประกอบกับระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดฯ 2) ผลการเปรียบเทียบปัจจัยและขั้นตอนในการใช้ดุลพินิจในการสั่งไม่ฟ้องคดีไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชน และการตรวจสอบการใช้ดุลพินิจในการสั่งไม่ฟ้องคดีไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชนของประเทศไทยและต่างประเทศมีทั้งหลักเกณฑ์ที่คล้ายคลึงและแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับบริบทสังคมและหลักการดำเนินคดีอาญาในประเทศนั้น ๆ และ 3) ประเทศไทยกำลังประสบปัญหาหลักเกณฑ์การใช้ดุลพินิจพิจารณาความเป็นประโยชน์สาธารณะของพนักงานอัยการ</p> <p>ยังไม่มีความชัดเจน ปัญหาอำนาจในการสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาที่ไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชนเป็นอำนาจของอัยการสูงสุดแต่เพียงผู้เดียว และปัญหาประชาชนให้ความสำคัญกับคำสั่งฟ้องคดีของพนักงานอัยการ แทนที่จะสนใจกับประสิทธิภาพในคำสั่งหรือคำวินิจฉัยของพนักงานอัยการ</p>
2024-09-25T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sikkha/article/view/265328
รูปแบบการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา
2023-05-12T09:41:18+07:00
อภิชัย หึกขุนทด
aphichai.huek@gmail.com
วรสิทธิ์ รัตนวราหะ
aphichai.huek@gmail.com
สมบูรณ์ ตันยะ
aphichai.huek@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนที่มีวิธีปฏิบัติที่ดี 2) สร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา และ 3) ตรวจสอบความเป็นไปได้และประโยชน์ของรูปแบบการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา กลุ่มตัวอย่างตามวัตถุประสงค์ข้อ 1 เป็นโรงเรียนที่มีวิธีปฏิบัติที่ดี จำนวน 3 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา กลุ่มตัวอย่างตามวัตถุประสงค์ ข้อ 2 เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมินความถูกต้องและเหมาะสม สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานกลุ่มตัวอย่างตามวัตถุประสงค์ข้อ 3 เป็น ผู้อำนวยการโรงเรียนและหัวหน้างานวิชาการในโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนาจำนวน 25 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมินความเป็นไปได้และประโยชน์ สถิติที่ใช้คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนที่มีวิธีปฏิบัติที่ดี ทุกโรงเรียนมีการดำเนินงานตามขอบข่ายการบริหารงานวิชาการทั้ง 6 ด้าน และครอบคลุมกับการบริหารสู่ความเป็นเลิศทั้ง 7 ด้าน 2) รูปแบบการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา ประกอบด้วย (1) หลักการและเหตุผล (2) วัตถุประสงค์ (3) สาระสำคัญ (4) วิธีการนำรูปแบบไปสู่การปฏิบัติ และ (5) เงื่อนไขความสำเร็จ โดยการบริหารงานวิชาการถือเป็นงานหลักของโรงเรียนซึ่งส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ การบริหารงานวิชาการจึงควรมีกรอบแนวทางที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศ โดยดำเนินงานตามหลักการบริหารสู่ความเป็นเลิศตามบริบทของแต่ละโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา ผู้บริหารและครูต้องตระหนักถึงความสำคัญ และขับเคลื่อนการบริหารงานวิชาการอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ผลการประเมินความถูกต้องและเหมาะสมของรูปแบบมีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ความเป็นไปได้และประโยชน์ของรูปแบบการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด</p>
2024-09-25T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sikkha/article/view/267410
ความหมายรองของคำแสดงความขัดแย้ง “but” ในบทความข่าวธุรกิจ
2023-09-01T13:46:22+07:00
อภินันท์ วงศ์กิตติพร
abhinan.w@rsu.ac.th
<p>งานวิจัยนี้ศึกษาการใช้ความหมายรองของคำที่แสดงความขัดแย้ง “but” ที่ปรากฏอยู่ในตำแหน่งต้นประโยคในบทความข่าวธุรกิจ การศึกษานี้เก็บข้อมูลจากบทความข่าวธุรกิจ <em>The New York Times</em> ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์อเมริกันรายวันที่มียอดขายสูงและเผยแพร่ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 ถึง 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 จำนวนคำประมาณทั้งสิ้น 150,000 คำ ประกอบด้วย 120 รูปประโยคที่มีใช้คำเชื่อม “but” กรอบแนวคิดของการวิเคราะห์ความหมายเชิงอรรถศาสตร์ในงานวิจัยนี้ดำเนินการตามแนวคิดตามความหมายตามพจนานุกรม การวิเคราะห์ข้อมูลได้รับการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาศาสตร์เป็นจำนวนทั้งสิ้น 3 ท่าน</p> <p>ผลจากการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าที่แสดงความหมายขัดแย้ง “but” ที่ปรากฏอยู่ในตำแหน่งต้นประโยคในบทความข่าวธุรกิจบ่งชี้ถึงการหักล้างแนวความคิดก่อนหน้า การคาดคะเนเหตุการณ์ในอนาคต และการแสดงความคิดเห็นเฉพาะส่วนบุคคล การอภิปรายผลแสดงให้เห็นว่าการใช้คำเชื่อมที่แสดงความหมายขัดแย้ง “but”<em> </em>ในการขึ้นต้นประโยคเป็นที่ยอมรับในตัวบทภาษาอังกฤษธุรกิจ ผลการวิจัยมีความสอดคล้องกับการศึกษาก่อนหน้านี้ การใช้คำเชื่อมที่แสดงความหมายขัดแย้ง “but” ขึ้นต้นประโยคถูกพบบ่อยในวารสารด้านเศรษฐศาสตร์และการเงิน</p>
2024-09-25T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์