สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sikkha <p><strong>วัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร </strong></p> <p><strong> </strong>เป็นเวทีสำหรับนักวิจัย นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาชีพ นักศึกษาและบุคคลทั่วไปในการเผยแพร่ผลงานและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทางวิชาการที่เขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ที่เกี่ยวกับด้านการเรียนการสอน การบริหารการศึกษา หลักสูตรและการสอน วัดและประเมินผล จิตวิทยาการศึกษา การศึกษาปฐมวัย การสอนวิทยาศาสตร์ทั่วไป นวัตกรรม เทคโนโลยีการศึกษาและคอมพิวเตอร์ ภาษาศาสตร์ ภาษาศาสตร์ประยุกต์ การสอนภาษาไทยและภาษาต่างประเทศและด้านอื่น ๆที่เกี่ยวข้องกับศึกษาศาสตร์ในรูปแบบของบทความวิจัยและบทความวิชาการต้นฉบับ บทความวิจัยและบทความวิชาการที่นำเสนอในการประชุมวิชาการ หรือ ได้รับตีพิมพ์เผยแพร่ในหนังสือประมวลผลการประชุมทางวิชาการ (Proceedings) ที่นำมาเรียบเรียงใหม่ และกลั่นกรองใหม่ </p> <p><strong>กำหนดการเผยแพร่ ปีละ 2 ฉบับ</strong></p> <p>ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน (เผยแพร่ทางเว็บไซต์ภายใน 30 มิถุนายน)<br />ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม (เผยแพร่ทางเว็บไซต์ภายใน 31 ธันวาคม)</p> <p style="text-align: justify;">ก่อนการเผยแพร่ทุกบทความต้องได้รับการกลั่นกรองและประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง 3 ท่านหากเป็นบทความภายในจะต้องได้รับการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกเท่านั้น การประเมินบทความจะเป็นแบบ Double-blinded ผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้ประเมิน และผู้ประเมินไม่ทราบชื่อผู้นิพนธ์</p> <p style="text-align: justify;"><span style="text-decoration: underline;"><strong>บทความและข้อความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป ในกรณีที่มีการลอกเลียนหรือแอบอ้างโดยปราศจากการอ้างอิงหรือทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นผลงานของผู้เขียนกรุณาแจ้งให้กองบรรณาธิการทราบต่อไป</strong></span></p> th-TH [email protected] (Assistant Professor Dr. Nathaya Boonkongsaen) [email protected] (Miss Pennapa Nomsungnoen) Wed, 13 Mar 2024 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 บทเรียนจากกรณีการทุจริตสนามฟุตซอล https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sikkha/article/view/258873 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทเรียนจากความบกพร่องทางการบริหารกรณีการทุจริตสนามฟุตซอล ด้วยงบประมาณแปรญัตติปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ในจังหวัดนครราชสีมา โดยวิเคราะห์ข้อมูลจากข่าวทางสื่อมวลชนและข้อมูลจากเอกสารทางราชการ</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า 1) โรงเรียนส่งเอกสารของบประมาณตามแบบตัวอย่างที่นักการเมืองจัดให้ 2) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ไม่ได้ตรวจสอบรายละเอียดเอกสารของบประมาณของโรงเรียนก่อนส่งให้ สพฐ. 3) สพฐ. จัดสรรงบประมาณโดยระบุชื่อโรงเรียนตามที่นักการเมืองแจ้งไว้ 4) สพฐ.ให้ใช้งบประมาณก่อสร้างปรับปรุงอาคารเรียนไปก่อสร้างปรับปรุงสนามกีฬาได้ 5) คำสั่งมอบอำนาจเกี่ยวกับการพัสดุ หนังสือแจ้งจัดสรรงบประมาณ และแนวทางการบริหารงบประมาณไม่สอดคล้องกัน 6) โรงเรียนไม่ได้ขอเปลี่ยนแปลงงบประมาณ ไม่ได้ใช้แบบแปลนมาตรฐาน แต่ใช้แบบตัวอย่างในแผ่นซีดีที่นักการเมืองจัดให้ 7) มีชื่อเจ้าหน้าที่ สพฐ. อยู่ในแผ่นซีดี ทำให้โรงเรียนเชื่อว่าแบบตัวอย่างนั้นถูกต้องแล้ว 8) สพท. ไม่ได้ตรวจสอบทบทวนก่อนอนุมัติจัดสรรงบประมาณ 9) โรงเรียนมีบุคลากรจำกัด ไม่มีบุคลากรเฉพาะทาง แต่ไม่ได้ขอสนับสนุนบุคลากรจากหน่วยงานอื่น 10) โรงเรียนไม่ได้ตรวจสอบว่าผู้เข้าประกวดราคาเป็นกลุ่มเดียวกันหรือไม่ 11) โรงเรียนไม่ได้ตรวจสอบว่าผู้รับจ้างได้ปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมหรือไม่ และ 12) สพท. ไม่ได้แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบระหว่างดำเนินการและก่อนเบิกจ่ายงบประมาณ ถึงแม้ว่าความบกพร่องทางการบริหารดังกล่าวยังรอการพิสูจน์ว่าเกิดจากการสำคัญผิดในข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ การประมาทเลินเล่อ หรือการมีเจตนาทุจริต แต่ความบกพร่องทางการบริหารเหล่านั้นย่อมเป็นบทเรียนสำคัญสำหรับผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารโรงเรียน ที่จำเป็นต้องศึกษาเรียนรู้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความบกพร่องทางการบริหารสำหรับการดำเนินการในลักษณะเดียวกันหรือคล้ายคลึงกันต่อไปในอนาคต</p> ชูเกียรติ วิเศษเสนา Copyright (c) 2024 สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sikkha/article/view/258873 Wed, 13 Mar 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบเรียนรู้เป็นทีมในชั้นเรียน https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sikkha/article/view/257637 <h5>การจัดการเรียนรู้แบบเรียนรู้เป็นทีมเป็นรูปแบบการจัดการเรียนรู้แนวสร้างสรรค์ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญที่ผสมผสานลักษณะของ <strong>“</strong>ห้องเรียนกลับด้าน<strong>” </strong>และการเรียนรู้ร่วมกันของผู้เรียนเข้าด้วยกัน ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวางในวงการการศึกษาเกือบทั่วโลก โดยเฉพาะในวงการแพทย์และการจัดการศึกษาให้กับครู แต่ในประเทศไทยการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้นี้อยู่ในวงจำกัด ส่วนใหญ่อยู่ในวงการแพทย์ ส่วนในวงการการจัดการศึกษาให้กับครูนั้นมีการนำไปใช้บ้างไม่มากนัก วัตถุประสงค์หลักของบทความนี้ คือ เพื่อนำเสนอแนวทางการใช้รูปแบบการสอนแบบเรียนรู้เป็นทีมในชั้นเรียนให้เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้สอนในสถาบันการศึกษาไทย รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเรียนรู้เป็นทีม เป็นแนวทางการสอนที่มิเชลสัน (LK. Michaelson) พัฒนาขึ้นมาใช้สอนในสาขาวิชาบริหารธุรกิจในช่วงต้นของปี ค.ศ. 1990 ลักษณะเฉพาะของรูปแบบการจัดการเรียนรู้นี้อยู่ที่การจัดลำดับการสอนของหน่วยการเรียนเรียงต่อกัน 3 ขั้นตอน ซึ่งเมื่อนำไปใช้ในชั้นเรียน ผู้เรียนและผู้สอนจะมีบทบาทเฉพาะ ดังนี้ ในขั้นที่ 1 ผู้เรียนแต่ละคนเตรียมความพร้อมก่อนเรียนโดยทำงานที่ได้รับมอบหมาย โดยครูจะออกแบบภาระงานที่สอดคล้องกับจุดประสงค์ของหน่วยการเรียนสำหรับให้ผู้เรียนศึกษาก่อนเป็นการล่วงหน้า ขั้นที่ 2 เมื่อเข้าชั้นเรียนในวันแรก ผู้เรียนจะกิจกรรมการเรียน 4 ประการ ดังนี้ 1) ผู้เรียนแต่ละคนทำข้อสอบ 2) การทำข้อสอบเดิมเป็นทีม 3) การสอบแก้ตัวเป็นทีม และ 4) การรับข้อมูลย้อนกลับจากครู เฉพาะในบางประเด็นที่ไม่เข้าใจหรือยังมีข้อสงสัย ในขั้นที่ 3 ผู้เรียนทำงานเป็นทีมเพื่อฝึกแก้ปัญหาที่สำคัญต่อตัวผู้เรียนโดยต้องประยุกต์ใช้ความรู้ที่เรียน ซึ่งส่วนนี้เป็นส่วนที่ใช้เวลาส่วนใหญ่ของหน่วยการเรียนนั้น ๆ โดยครูมีหน้าที่ออกแบบหน่วยการเรียนโดยอาศัยหลักการแบบย้อนกลับของวิกกิ้นส์และแมคไทธ์ และจัดทำงานที่มอบหมายที่มีลักษณะสำคัญ 4 ประการ คือ การแก้ปัญหาสำคัญด้วยกันเป็นทีม การแก้ปัญหาเดิมเป็นทีม ทีมตัดสินใจเลือกคำตอบที่ดีที่สุดจากตัวเลือกที่ให้ และทุกทีมรายงานผลการเลือกคำตอบพร้อมกัน</h5> เพ็ญนภา น้อมสูงเนิน, พวงเพ็ญ อินทรประวัติ Copyright (c) 2024 สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sikkha/article/view/257637 Wed, 13 Mar 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาสื่อวีดิทัศน์ประกอบการเรียนการสอน เพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนครูให้กับ โรงเรียนขนาดเล็กในจังหวัดลำปางและลำพูน https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sikkha/article/view/261306 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสื่อวีดิทัศน์สนับสนุนการเรียนการสอนสำหรับโรงเรียนขนาดเล็กในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม 2) พัฒนาศักยภาพการใช้สื่อวีดิทัศน์ในการสนับสนุนการเรียนการสอนของครูโรงเรียนขนาดเล็ก กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม 3) ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาสังคมศึกษา ของนักเรียนโรงเรียนขนาดเล็ก และ 4) แก้ไขปัญหาขาดแคลนครูให้กับโรงเรียนขนาดเล็กผลิตสื่อวีดิทัศน์ เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนผ่านการออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียมเสริมสร้างศักยภาพความรู้ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม จำนวน 35 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 545 คน จากโรงเรียนขนาดเล็กในพื้นที่จังหวัดลำปาง และลำพูน จำนวน 25 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินคุณภาพสื่อวีดิทัศน์โดยผู้เชี่ยวชาญ แบบประเมินการใช้สื่อวีดิทัศน์ในการสนับสนุนการเรียนการสอนของครู แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ และแบบสะท้อนความคิดต่อการเปลี่ยนแปลงวิธีการจัดการเรียนการสอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ </p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) สื่อวีดิทัศน์สนับสนุนการเรียนการสอนสำหรับโรงเรียนขนาดเล็กในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ที่พัฒนาขึ้นครอบคลุมเนื้อหา 5 สาระ รวม 50 ตอน ซึ่งมีผลการประเมินคุณภาพสื่อวีดิทัศน์ โดยผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับมาก 2) ครูโรงเรียนขนาดเล็กมีศักยภาพการใช้สื่อวีดิทัศน์อยู่ในระดับมาก 3) นักเรียนโรงเรียนขนาดเล็กมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชางคมศึกษาสูงขึ้นในทุกสาระ และ 4) ครูโรงเรียนขนาดเล็กร้อยละ 80 เห็นว่าสื่อวีดิทัศน์ช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนครูให้กับโรงเรียนขนาดเล็กได้ดี และส่งผลให้ครูใช้สื่อเทคโนโลยีในการเสริมสร้างความรู้ให้แก่นักเรียนเพิ่มขึ้น ดังนั้น สื่อวีดิทัศน์สนับสนุนการเรียนการสอนสำหรับโรงเรียนขนาดเล็กในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ที่พัฒนาขึ้นสามารถแก้ไขปัญหาขาดแคลนครูให้กับโรงเรียนขนาดเล็กได้</p> เกศนีย์ อิ่นอ้าย, กนิษฐ์กานต์ ปันแก้ว Copyright (c) 2024 สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sikkha/article/view/261306 Wed, 13 Mar 2024 00:00:00 +0700 การประเมินความต้องการจำเป็นในการจัดการเรียนการสอนหมวดวิชาศึกษาทั่วไปของ มหาวิทยาลัยพะเยา ตามการรับรู้ของผู้บริหาร อาจารย์ และนิสิตระดับปริญญาตรี https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sikkha/article/view/260434 <p>งานวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่คาดหวัง และสภาพความต้องการจำเป็นในการจัดการเรียนการสอนหมวดวิชาศึกษาทั่วไป 2) เปรียบเทียบสภาพปัจจุบัน และสภาพที่คาดหวังในการจัดการเรียนการสอนหมวดวิชาศึกษาทั่วไปของมหาวิทยาลัยพะเยา ตามการรับรู้ของผู้บริหาร อาจารย์ และนิสิตระดับปริญญาตรี กลุ่มตัวอย่างแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) ผู้บริหารคณะ/วิทยาลัย มหาวิทยาลัยพะเยา จำนวน 28 คน โดยการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 20 ของประชากร ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย 2) อาจารย์ผู้รับผิดชอบ/อาจารย์ประจำหลักสูตร ระดับปริญญาตรี จำนวน 294 คน และ 3) นิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 (รหัส 63) จำนวน 366 คน โดยใช้วิธีการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Yamane ด้วยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถามสภาพและความคาดหวังในการจัดการเรียนการสอนหมวดวิชาศึกษาทั่วไปของมหาวิทยาลัยพะเยา ซึ่งมีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ แบ่งออกเป็น 3 ตอน ประกอบด้วย ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ตอนที่ 2 ความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพและความคาดหวังในการจัดการเรียนการสอนหมวดวิชาศึกษาทั่วไปของมหาวิทยาลัยพะเยา จำนวน 6 ด้าน รวมทั้งหมด 35 ข้อ และตอนที่ 3 ข้อเสนอแนะ จำนวน 6 ข้อ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มีค่าความตรง อยู่ระหว่าง 0.6-1.0 และค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.982 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way ANOVA) การเปรียบเทียบรายคู่แบบกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มมีความสัมพันธ์กัน (Dependent Sample T–Test) และวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นด้วยสูตร PNI<sub>modified</sub></p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการในการจัดการเรียนการสอนหมวดวิชาศึกษาทั่วไปของผู้บริหาร อาจารย์ และนิสิต เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านเนื้อหาอยู่ในระดับมากที่สุด (PNI<sub>modified</sub> เท่ากับ 0.12) รองลงมาคือ ด้านบริหารจัดการ (PNI<sub>modified</sub> เท่ากับ 0.11) และด้านผู้เรียน (PNI<sub>modified</sub> เท่ากับ 0.09) ตามลำดับ 2) ผู้บริหาร อาจารย์ และนิสิต มีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันในการจัดการเรียนการสอนหมวดวิชาศึกษาทั่วไปในภาพรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อเปรียบเทียบรายคู่ พบว่า อาจารย์ และนิสิต มีค่าเฉลี่ยสภาพปัจจุบันในการจัดการเรียนการสอนหมวดวิชาศึกษาทั่วไปในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ ผู้บริหาร อาจารย์ และนิสิต มีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพที่คาดหวังในการจัดการเรียนการสอนหมวดวิชาศึกษาทั่วไปในภาพรวมไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> ชลธิดา เทพหินลัพ, น้ำเงิน จันทรมณี, นรินธน์ นนทมาลย์, อาภาพรรณ ประทุมไทย, นริศรา เสือคล้าย, วรรณากร พรประเสริฐ, กัลวรา ภูมิลา, สุมิตรา อินทะ, ณัฐพงษ์ พรมวงษ์ Copyright (c) 2024 สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sikkha/article/view/260434 Wed, 13 Mar 2024 00:00:00 +0700 กลยุทธ์การบริหารงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขนาดเล็กที่มีประสิทธิผล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sikkha/article/view/268529 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและแนวทางการบริหารงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 2) เพื่อสร้างกลยุทธ์การบริหารงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขนาดเล็กที่มีประสิทธิผล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 และ 3) เพื่อตรวจสอบความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของกลยุทธ์การบริหารงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขนาดเล็กที่มีประสิทธิผล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 ดำเนินการวิจัย 3 ตอน คือ ตอนที่ 1 ขั้นที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันการบริหารงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขนาดเล็ก ตัวอย่าง คือ สถานศึกษาขนาดเล็ก จำนวน 320 โรงเรียน โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง อยู่ระหว่าง 0.80-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.94 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นที่ 2 ศึกษาแนวทางการบริหารงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขนาดเล็กที่มีแนวทางการปฏิบัติที่เป็นเลิศ ผู้ให้ข้อมูล จำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ตอนที่ 2 สร้างกลยุทธ์การบริหารงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขนาดเล็กที่มีประสิทธิผล โดยการจัดประชุมกลุ่มสนทนา ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน เพื่อพิจารณาความเหมาะสมของร่างสร้างกลยุทธ์ ตอนที่ 3 ประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของสร้างกลยุทธ์ โดยผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้รับผิดชอบงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันและแนวทางการบริหารงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขนาดเล็กโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2) กลยุทธ์การบริหารงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขนาดเล็กที่มีประสิทธิผลสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 ประกอบด้วย กลยุทธ์หลัก 4 กลยุทธ์คือ กลยุทธ์หลักที่ 1 เร่งรัดจัดทำแผนการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โดยเน้นการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย กลยุทธ์หลักที่ 2 ส่งเสริมและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีสมรรถนะด้านการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาและกลยุทธ์หลักที่ 3 ปรับปรุงระบบข้อมูลสารสนเทศด้านการประกันคุณภาพให้ถูกต้องครอบคลุมและสะดวกต่อการใช้งาน และกลยุทธ์หลักที่ 4 ส่งเสริมการนำผลการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาไปใช้อย่างมีประสิทธิผล 3) ผลการประเมินความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของกลยุทธ์ อยู่ในระดับมากที่สุด</p> ช่อรัก พันธ์สวัสดิ์, วรสิทธิ์ รัตนวราหะ, สมบูรณ์ ตันยะ Copyright (c) 2024 สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sikkha/article/view/268529 Wed, 13 Mar 2024 00:00:00 +0700 อนาคตภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sikkha/article/view/268248 <p>การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพปัจจุบันในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัด 2) อนาคตภาพที่เป็นไปได้ในการบริหารงานวิชาการ แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันในการบริหารงานวิชาการ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 165 คน โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน โดยใช้แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ที่ 0.97 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.86 และระยะที่ 2 ศึกษาอนาคตภาพที่เป็นไปได้ในการบริหารงานวิชาการ โดยใช้เทคนิค EDFRแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การสัมภาษณ์เชิงลึก โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน ขั้นตอนที่ 2 การทำ EDFR รอบที่ 1 โดยการสอบถามเพื่อสรุปแนวโน้มและหาฉันทามติจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 21 คน ขั้นตอนที่ 3 การทำ EDFR รอบที่ 2 โดยการยืนยันแนวโน้มที่เป็นไปได้จากผู้เชี่ยวชาญกลุ่มเดิม และขั้นตอนที่ 4 การเขียนภาพอนาคตจากแนวโน้มที่เป็นไปได้ในระดับมากขึ้นไป มีค่ามัธยฐานตั้งแต่ 3.50 ขึ้นไป และมีความสอดคล้องกันที่มีค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ไม่เกิน 1.50 รวมทั้งมีการยืนยันร้อยละ 85 ขึ้นไป</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันในการบริหารงานวิชาการโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด 2) อนาคตภาพในการบริหารงานวิชาการ พบว่า (2.1) ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา คือ จัดทำหลักสูตรที่เน้นทักษะการอ่านการเขียน และการคิดคำนวณ เน้นทักษะภาษาอังกฤษและภาษาอื่น ๆ เป็นหลักสูตรแบบสหวิทยาการที่มีความยืดหยุ่น สอดคล้องความต้องการของผู้เรียน มีเนื้อหาสาระสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่ สามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะในศตวรรษที่ 21 (2.2) ด้านการพัฒนาการเรียนการสอน คือ ส่งเสริมสนับสนุนให้ครูจัดการเรียนการสอนเชิงบูรณาการ มีวิธีการที่หลากหลายตามความสนใจ เพิ่มการเรียนนอกห้องเรียนจากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่สอดคล้องกับนิสัยของเด็กยุคใหม่ และจัดการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายความร่วมมือ (2.3) ด้านการพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยี คือ ส่งเสริมสนับสนุนให้ครูใช้สื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีผ่านเครือข่ายการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่นำเสนอเนื้อหาสาระอย่างหลากหลายและทันสมัย (2.4) ด้านการพัฒนาการวัดและประเมินผล คือ ส่งเสริมสนับสนุนให้ครูใช้การวัดและประเมินผลการเรียนที่สอดคล้องกับสภาพจริง มีความยืดหยุ่น คำนึงถึงความถนัด และความแตกต่างระหว่างบุคคล วัดและประเมินผลทั้งความรู้ความเข้าใจ ทักษะ ความสามารถ คุณธรรมจริยธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์</p> ณฐพงศ์ มาแสง, สงวนพงศ์ ชวนชม, อำนาจ อยู่คำ Copyright (c) 2024 สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sikkha/article/view/268248 Wed, 13 Mar 2024 00:00:00 +0700 ผลของโปรแกรมการฝึกความคล่องแคล่วว่องไวควบคู่กับทักษะการเลี้ยงลูกบอล ของนักกีฬาฟุตบอลโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์สมุทรสาคร https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sikkha/article/view/262302 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบความคล่องแคล่วว่องไวและความเร็วในการเลี้ยงลูกบอลของนักกีฬาฟุตบอลระหว่างก่อนและหลังฝึกตามโปรแกรมการฝึกความคล่องแคล่วว่องไวควบคู่กับทักษะการเลี้ยงลูกบอลและโปรแกรมการฝึกแบบปกติ และ 2) เปรียบเทียบความคล่องแคล่วว่องไวและความเร็วในการเลี้ยงลูกบอลของนักกีฬาฟุตบอล หลังการทดลอง ระหว่างโปรแกรมการฝึกความคล่องแคล่วว่องไวควบคู่กับทักษะการเลี้ยงลูกบอลกับการฝึกตามโปรแกรมการฝึกแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาฟุตบอลชายอายุ 13-15 ปี ของโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ สมุทรสาคร จำนวน 30 คน โดยทำการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายด้วยวิธีจับฉลาก และแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 15 คน โดยใช้ผลการทดสอบความคล่องแคล่วว่องไว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) โปรแกรมการฝึกความคล่องแคล่วว่องไวควบคู่กับทักษะการเลี้ยงลูกบอล 2) แบบทดสอบความคล่องแคล่วว่องไว และ 3) แบบทดสอบทักษะการเลี้ยงลูกบอล สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบเปรียบเทียบโดยใช้ค่าที</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของความคล่องแคล่วว่องไวและความเร็วในการเลี้ยงลูกบอลหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 ของโปรแกรมการฝึกความคล่องแคล่วว่องไวควบคู่กับทักษะการเลี้ยงลูกบอลและโปรแกรมการฝึกแบบปกติสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของความคล่องแคล่วว่องไวและความเร็วในการเลี้ยงลูกบอลของนักกีฬาฟุตบอล หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 ของโปรแกรมการฝึกความคล่องแคล่วว่องไวควบคู่กับทักษะการเลี้ยงลูกบอลสูงกว่าโปรแกรมการฝึกแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 </p> ทัศน์ไท ค้าขาย, ต่อศักดิ์ แก้วจรัสวิไล Copyright (c) 2024 สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sikkha/article/view/262302 Wed, 13 Mar 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนากลยุทธ์การบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sikkha/article/view/268696 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพและแนวทางการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผล 2) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผล และ 3) เพื่อประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของกลยุทธ์การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้อำนวยการ หรือ รองผู้อำนวยการ และครู จำนวน 140 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ ได้ค่าความเที่ยงตรง ระหว่าง 0.60-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการและหัวหน้าฝ่ายวิชาการ จำนวน 6 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบเจาะจง ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือ ได้ค่าความเที่ยงตรง ระหว่าง 0.60-1.00 การประชุมสนทนากลุ่มโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่ใช้ในการประเมินร่างกลยุทธ์การบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผล จำนวน 7 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบเจาะจง โดยใช้แบบประเมินความเหมาะสมเป็นเครื่องมือ ได้ค่าความเที่ยงตรง ระหว่าง 0.60-1.00 และการประเมินกลยุทธ์การบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผล โดยผู้อำนวยการสถานศึกษา หรือรองผู้อำนวยการสถานศึกษาฝ่ายวิชาการ และครูวิชาการในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด จำนวน 30 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ โดยใช้แบบประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ ได้ค่าความเที่ยงตรง ระหว่าง 0.60-1.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผล ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านการพัฒนาสื่อแหล่งเรียนรู้ นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา มากที่สุด รองลงมาด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ด้านการนิเทศการศึกษา ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ และน้อยที่สุดได้แก่ ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา 2) กลยุทธ์การบริหารงานการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผล ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ พันธกิจ และ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด และโครงการ/กิจกรรม และใช้กลยุทธ์หลัก 3 กลยุทธ์ คือ กลยุทธ์หลักที่ 1 พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่ส่งเสริมความเป็นเลิศทางด้านวิชาการที่สนองต่อความต้องการของผู้เรียนและชุมชน กลยุทธ์หลักที่ 2 ปรับปรุงและพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 และกลยุทธ์หลักที่ 3 ส่งเสริมและพัฒนากระบวนการนิเทศการศึกษาแบบครบวงจรที่เป็นระบบและมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน และ 3) การประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของกลยุทธ์การบริหารงานวิชาการอยู่ในระดับมากที่สุด</p> ธัญกิตติ์ ธนานวสวัสดิ์, สงวนพงศ์ ชวนชม, สมบูรณ์ ตันยะ, วรสิทธิ์ รัตนวราหะ Copyright (c) 2024 สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sikkha/article/view/268696 Wed, 13 Mar 2024 00:00:00 +0700 ทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sikkha/article/view/262641 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา 2) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา และ 3) เพื่อพยากรณ์ทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้จำนวน 44 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา 44 คน หัวหน้างานวิชาการ จำนวน 44 คน และหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้จำนวน 132 คน รวมทั้งสิ้น 220 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบสอบถามทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา และ 2) แบบสอบถามประสิทธิผลของสถานศึกษา แบบสอบถามมีค่า IOC ตั้งแต่ 0.80-1.00 และค่าความเชื่อมั่นแต่ละฉบับเท่ากับ 0.95 และ 0.94 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2) ระดับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และ 3) ทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาทั้ง 3 ด้าน สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีอำนาจพยากรณ์ได้ร้อยละ 74.00 และสามารถสร้างสมการพยากรณ์ทั้งในรูปของคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานได้ดังนี้</p> <p>สมการในรูปคะแนนดิบ</p> <p>Y = .642** +.467**(X<sub>3</sub>) + .349**(X<sub>1</sub>) + .288**(X<sub>2</sub>)</p> <p>สมการในรูปคะแนนมาตรฐาน</p> <p>Z = .655** (X<sub>3</sub>) + .465** (X<sub>1</sub>) + .352** (X<sub>2</sub>)</p> นัยนา พรหมดำ Copyright (c) 2024 สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sikkha/article/view/262641 Wed, 13 Mar 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาทักษะชีวิตของเด็กปฐมวัยโดยการจัดกิจกรรมสถานการณ์จำลอง โรงเรียนวัดคลองชัน จังหวัดปทุมธานี https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sikkha/article/view/263641 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบทักษะชีวิตของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังที่ได้รับการจัดกิจกรรมสถานการณ์จำลองที่โรงเรียนวัดคลองชัน จังหวัดปทุมธานี ประชากร ได้แก่ เด็กปฐมวัย ชาย-หญิง อายุ 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนวัดคลองชัน จำนวน 2 ห้องเรียน รวมทั้งสิ้น 58 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 28 คน ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 3/2 ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม โดยการสุ่ม 1 ห้องเรียน จาก 2 ห้องเรียน ซึ่งห้องเรียนมีลักษณะคล้ายคลึงกัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมสถานการณ์จำลอง รวม 32 แผน และแบบสังเกตทักษะชีวิตของเด็กปฐมวัย ทั้งหมด 4 ทักษะ คือ ทักษะการใช้เงิน ทักษะการปฏิบัติตนให้เหมาะสมในที่สาธารณะ ทักษะการเดินทางด้วยยานพาหนะและทักษะการอ่านสัญลักษณ์ในชุมชน มีค่าดัชนีความสอดคล้องของแบบสังเกตทักษะชีวิตของเด็กปฐมวัยระหว่าง 0.67–1.00 ระยะเวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 4 วัน วันละ 50 นาที ในช่วงกิจกรรมเสริมประสบการณ์ มีค่าดัชนีความสอดคล้องแผนการจัดกิจกรรมสถานการณ์จำลองที่ 0.92 สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระต่อกัน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่าเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดกิจกรรมสถานการณ์จำลองมีทักษะชีวิตสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งภาพรวมและรายด้าน</p> นิดา เทือกเทียน, ปิยลักษณ์ อัครรัตน์, จอมสุรางค์ ลิมป์ประเสริฐกุล Copyright (c) 2024 สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sikkha/article/view/263641 Wed, 13 Mar 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำแบบให้บริการของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sikkha/article/view/261189 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำแบบให้บริการของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 2) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำแบบให้บริการของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำแบบให้บริการของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 และ 4) เพื่อสร้างแนวทางในการพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำแบบให้บริการของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 ใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 50 ของจำนวนผู้บริหารทั้งหมด สุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratifies Random Sampling) ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน 1 คน รองผู้บริหารโรงเรียนหรือครูที่ปฏิบัติหน้าที่ฝ่ายวิชาการ 1 คน และครูที่ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้างานวิชาการ 1 คน โดยมีผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด 360 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามตอนที่ 2 อยู่ระหว่าง 0.791 – 0.918 และแบบสอบถามตอนที่ 3 อยู่ระหว่าง 0.910-0.955 วิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสมการการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำแบบให้บริการและตรวจสอบความเหมาะสม โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำแบบให้บริการของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำแบบให้บริการของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำแบบให้บริการ ได้แก่ ความเชื่อถือ การมีวิสัยทัศน์ เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำแบบให้บริการของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 มีค่าสหสัมพันธ์พหุคูณ (R) เท่ากับ 75.4 ค่าสัมประสิทธิ์สมการพยากรณ์ปรับปรุง (Adj R2) เท่ากับ 56.6 ค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (SEb) เท่ากับ .044 ตัวแปรทั้ง 2 ตัวสามารถทำนายได้ร้อยละ 56.6 และ 4) แนวทางในการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำแบบให้บริการ ปัจจัยทั้ง 2 ด้าน คือ ความเชื่อถือ และวิสัยทัศน์</p> พศวีร์ พันธุ์วัชรเมธา, สงวนพงศ์ ชวนชม, สมบูรณ์ ตันยะ Copyright (c) 2024 สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sikkha/article/view/261189 Wed, 13 Mar 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตามแนวพุทธของผู้อำนวยการโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sikkha/article/view/262612 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำตามแนวพุทธของผู้อำนวยการโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา 2) สร้างแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตามแนวพุทธ 3) ประเมินแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตามแนวพุทธที่พัฒนาขึ้น โดยดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาภาวะผู้นำตามแนวพุทธของผู้อำนวยการ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 90 รูป/คน ที่ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความสอดคล้อง (IOC) 0.60-1.00 ค่าความเชื่อมั่น 0.98 2) สร้างแนวทางและประเมินความเหมาะสมของแนวทาง โดยจัดสนทนากลุ่ม มีผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 8 รูป/คน พิจารณาความเหมาะสมของแนวทาง 3) ประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของแนวทาง จากกลุ่มเป้าหมายจำนวน 50 รูป/คน ที่ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้แบบประเมินความเป็นไปได้และเป็นประโยชน์ วิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผลความเป็นไปได้และเป็นประโยชน์ของแนวทาง โดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำตามแนวพุทธของผู้อำนวยการโรงเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด 8 ด้าน คือ (1) หลักอัตตาธิปไตย (2) หลักพรหมวิหารธรรม (3) หลักโลกาธิปไตย (4) หลักกัลยาณมิตรธรรม (5) หลักสังคหวัตถุธรรม (6) หลักธรรมาธิปไตย (7) หลักทศพิธราชธรรม และ (8) หลักอิทธิบาทธรรม ส่วนด้านหลักสัปปุริสธรรม อยู่ในระดับมาก 2) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตามแนวพุทธ ประกอบด้วย (1) หลักการและเหตุผล (2) วัตถุประสงค์ของแนวทาง (3) แนวทางการพัฒนา 4) เงื่อนไขความสำเร็จของการพัฒนา มีความเหมาะสมมากที่สุด 3) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตามแนวพุทธ มีความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์มากที่สุด</p> พระครูปริยัติธรรมภาณี (คนองมาตย์), สมบูรณ์ ตันยะ, สงวนพงศ์ ชวนชม, วรสิทธิ์ รัตนวราหะ Copyright (c) 2024 สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sikkha/article/view/262612 Wed, 13 Mar 2024 00:00:00 +0700 รูปแบบการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sikkha/article/view/262879 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพและแนวทางการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผล 2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผล 3) เพื่อประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ ดำเนินการวิจัย 3 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 ศึกษาสภาพและแนวทางการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เครื่องมือที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์มีโครงสร้างที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์เนื้อหาโดยศึกษาการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาที่มีแนวปฏิบัติที่ดีผู้ให้ข้อมูล จำนวน 3 รูป/คน โดยเลือกแบบเจาะจง ตอนที่ 2 การสร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผล โดยการจัดประชุมกลุ่มสนทนา ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 7 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้คือร่างรูปแบบการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาและเอกสารประกอบการสัมมนากลุ่ม วิเคราะห์เนื้อหา ตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 รูป/คน ตอนที่ 3 การประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ ดำเนินการโดยการนำรูปแบบที่ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาว่าเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดขึ้นไป มาจัดทำแบบสอบถามความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์จากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการนำรูปแบบไปใช้ประกอบด้วยผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ จำนวน 260 รูป/คน </p> <p> ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. สภาพและแนวทางการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา พบว่า โรงเรียนให้ความสำคัญกับงานวิชาการมากที่สุด โดยมีการวางแผน การจัดองค์การ การนำองค์การและการควบคุมองค์การ ให้เอื้อต่อการบริหารงานวิชาการ 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ด้านการพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา ด้านการวัดผลประเมินผลและการเทียบโอนผลการเรียน และด้านการนิเทศการศึกษา 2. รูปแบบการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ประกอบด้วย 1)หลักการและเหตุผล 2) วัตถุประสงค์ 3) สาระสำคัญ 4) การนำรูปแบบไปใช้ และ 5) เงื่อนไขความสำเร็จ ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบทั้งภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด 3. ผลการประเมินความเป็นไปได้ของรูปแบบโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากและความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการบริหารงานวิชาการ ที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด</p> พระมหาสันติภาพ อ่อนละมุน, ชูเกียรติ วิเศษเสนา, สงวนพงศ์ ชวนชม, วรสิทธิ์ รัตนวราหะ Copyright (c) 2024 สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sikkha/article/view/262879 Wed, 13 Mar 2024 00:00:00 +0700 ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวควบคู่กับภูมิปัญญาวิถีปกาเกอะญอ เพื่อพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 โรงเรียนบ้านห้วยน้ำใส จังหวัดแม่ฮ่องสอน https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sikkha/article/view/263369 <h4>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความรับผิดชอบของนักเรียนกลุ่มทดลองก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวร่วมกับภูมิปัญญาวิถีปกาเกอะญอ และ 2) เปรียบเทียบความรับผิดชอบของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวร่วมกับภูมิปัญญาวิถีปกาเกอะญอ กับนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ใช้กิจกรรมแนะแนวปกติ กลุ่มตัวอย่าง คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านห้วยน้ำใส จังหวัดแม่ฮ่องสอนจำนวน 20 คน ที่ได้มาโดยความสมัครใจและสุ่มอย่างง่ายเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบวัดความรับผิดชอบ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .92 และ 2) ชุดกิจกรรมแนะแนวร่วมกับภูมิปัญญาวิถีปกาเกอะญอ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบเครื่องหมายโดยใช้สถิติวิลคอกซัน และการทดสอบแมน-วิทนีย์ ยู</h4> <h4>ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) ภายหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวนักเรียนกลุ่มทดลองมีความรับผิดชอบสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) นักเรียนกลุ่มทดลองที่ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวร่วมกับภูมิปัญญาวิถีปกาเกอะญอมีความรับผิดชอบสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ใช้กิจกรรมแนะแนวปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</h4> ลำดวน อาลัย, นิธิพัฒน์ เมฆขจร, นิรนาท แสนสา Copyright (c) 2024 สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sikkha/article/view/263369 Wed, 13 Mar 2024 00:00:00 +0700 องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sikkha/article/view/268564 <h4>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาฯ 2) ตรวจสอบความเที่ยงตรงตามสภาพขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาฯ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาฯ ปีการศึกษา 2566 จำนวน 650 คน โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยหาค่าความสอดคล้อง (IOC) มีค่าเท่ากับ 1.0 การทดสอบสมมติฐานใช้ t-test</h4> <h4>ผลการศึกษา พบว่า องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาฯ ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ 48 ตัวบ่งชี้ ดังนี้ 1) องค์ประกอบที่ 1 การเปิดกว้างรับความคิดเห็นใหม่ มี 8 ตัวบ่งชี้ พบว่า ตัวบ่งชี้ที่ 1 มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมากที่สุด เท่ากับ 0.698 2) องค์ประกอบที่ 2 การสร้างวัฒนธรรมนวัตกรรม มี 8 ตัวบ่งชี้ พบว่า ตัวบ่งชี้ที่ 9 มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมากที่สุด เท่ากับ 0.654 3) องค์ประกอบที่ 3 การสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้และการแบ่งปันความรู้ มี 7 ตัวบ่งชี้ พบว่า ตัวบ่งชี้ที่ 17 และ 18 มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมากที่สุด เท่ากับ 0.651 4) องค์ประกอบที่ 4 การสร้างสภาวะการเรียนรู้ที่ยั่งยืน มี 8 ตัวบ่งชี้ พบว่า ตัวบ่งชี้ที่ 24 มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมากที่สุด เท่ากับ 0.646 5) องค์ประกอบที่ 5 การบริหารคุณภาพองค์กรสู่ความสำเร็จ มี 7 ตัวบ่งชี้ พบว่า ตัวบ่งชี้ที่ 32 มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมากที่สุด เท่ากับ 0.692 6) องค์ประกอบที่ 6 การสื่อสารและนวัตกรรมเทคโนโลยีสู่ความสำเร็จองค์กร มี 6 ตัวบ่งชี้ พบว่า ตัวบ่งชี้ที่ 39 และ 40 มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมากที่สุด เท่ากับ 0.601 7) องค์ประกอบที่ 7 ความเป็นเลิศในการบริหารจัดการองค์กรสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืน มี 4 ตัวบ่งชี้ พบว่า ตัวบ่งชี้ที่ 45 มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมากที่สุด เท่ากับ 0.686</h4> ศราวุธ พิมละมาศ, วรสิทธิ์ รัตนวราหะ, ชูเกียรติ วิเศษเสนา Copyright (c) 2024 สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sikkha/article/view/268564 Wed, 13 Mar 2024 00:00:00 +0700 ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sikkha/article/view/261730 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 2) ประสิทธิภาพการสอนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิภาพการสอนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 และ 4) ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 จำนวน 434 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างของทาโร ยามาเน่ โดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรงตามเนื้อหา เท่ากับ 0.92 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับของแบบสอบถามตอนที่ 2 ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม เท่ากับ .97 ตอนที่ 3 ประสิทธิภาพการสอนของครูเท่ากับ .85 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ในการทดสอบสมมติฐาน โดยใช้สถิติการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ประสิทธิภาพการสอนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิภาพการสอนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 มีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับปานกลาง (r<sub>xy</sub>= .614**) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 คือ ด้านการคิดสร้างสรรค์ (X<sub>5</sub>) ด้านการสร้างบรรยากาศแห่งองค์การนวัตกรรม (X<sub>2</sub>) และด้านการสร้างแรงจูงใจ (X<sub>6</sub>) โดยตัวแปรทั้ง 3 ร่วมกันพยากรณ์ความแปรปรวนของประสิทธิภาพการสอนของครู ได้ร้อยละ 44.20 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยเขียนเป็นสมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนดิบ Y´ = 1.583 + 0.250X<sub>5</sub> + 0.208X<sub>2</sub> + 0.187X<sub>6</sub> และในรูปแบบคะแนนมาตรฐาน Zy = 0.280ZX<sub>5</sub> + 0.276ZX<sub>2</sub> + 0.208ZX<sub>6</sub> </p> ศราวุฒิ การีรัตน์, ชัยยนต์ เพาพาน Copyright (c) 2024 สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sikkha/article/view/261730 Wed, 13 Mar 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาพฤติกรรมการมีปฏิสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้การจัดกิจกรรมละครเกี่ยวกับวัฒนธรรมท้องถิ่นของจังหวัดลพบุรี โรงเรียนบ้านโคกตูม https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sikkha/article/view/264188 <h4>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบพฤติกรรมการมีปฏิสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย ก่อนและระหว่างได้รับการจัดกิจกรรมละครเกี่ยวกับวัฒนธรรมท้องถิ่นของจังหวัดลพบุรี และ 2) ศึกษาแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการมีปฏิสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยระหว่างได้รับการจัดกิจกรรมละครเกี่ยวกับวัฒนธรรมท้องถิ่นของจังหวัดลพบุรี ประชากรที่ใช้ใน การวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ เด็กปฐมวัยชาย-หญิง ที่มีอายุระหว่าง 4-5 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบ้านโคกตูม อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี จำนวน 32 คน ผู้วิจัยเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการแบบการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 20 คน การวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบเชิงทดลอง โดยใช้แผนการทดลองแบบอนุกรมเวลากลุ่มเดียว ระยะเวลาในการทดลอง 9 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน คือ วันจันทร์ วันอังคาร และวันพุธ วันละ 30 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมละครเกี่ยวกับวัฒนธรรมท้องถิ่นของจังหวัดลพบุรี มีค่าความสอดคล้องที่ 0.67 – 1.00 และแบบสังเกตพฤติกรรมการมีปฏิสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย มีค่าความเชื่อมั่นที่ 0.81 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ</h4> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมการมีปฏิสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยระหว่างได้รับการจัดกิจกรรมละครเกี่ยวกับวัฒนธรรมท้องถิ่นของจังหวัดลพบุรีสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่าค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการมีปฏิสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยแตกต่างกันอย่างน้อย 1 คู่ และ 2) พฤติกรรมการมีปฏิสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยระหว่างได้รับการจัดกิจกรรมละครเกี่ยวกับวัฒนธรรมท้องถิ่นของจังหวัดลพบุรี มีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงสูงขึ้น</p> ศิริภรณ์ อมรรัตนชัย, อัญชลี ไสยวรรณ, เบญจวรรณ ศรีมารุต Copyright (c) 2024 สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sikkha/article/view/264188 Wed, 13 Mar 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมด้วยการบูรณาการความรู้กับการทำงาน ของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sikkha/article/view/263947 <p>การวิจัยการพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมด้วยการบูรณาการความรู้กับการทำงานของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแนวทางการพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมด้วยการบูรณาการความรู้กับการทำงานให้เกิดการถ่ายโยงระหว่างทฤษฎีและปฏิบัติในสภาพจริงของสถานศึกษา และศึกษาผลการเรียนรู้ของนักศึกษาหลังใช้แนวทางการพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมด้วยการบูรณาการความรู้กับการทำงาน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาในหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตสาขาวิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล โดยการสุ่มแบบกลุ่ม จำนวน 1 ห้อง 29 คน ที่ เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย แนวทางการพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมด้วยการบูรณาการความรู้กับการทำงานในรูปของคู่มือ ซึ่งพัฒนาโดยการประยุกต์ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงอนาคตแบบอีดีเอฟอาร์ เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย (1) แบบประเมินพัฒนาการจากผลลัพธ์การเรียนรู้สำคัญที่เกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์และการพัฒนานวัตกรรม มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.80-1.00 และค่าความเชื่อมั่น Cronbach's Alpha เท่ากับ .974 และ (2) แบบประเมินทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม มีค่าความเชื่อมั่น Cronbach's Alpha เท่ากับ .982 ทดสอบสมมุติฐานเชิงสถิติด้วยการทดสอบเอฟ (F-test) ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทาง และเปรียบเทียบรายคู่โดยใช้ Least Significant Difference: LSD</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) แนวทางการพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมด้วยการบูรณาการความรู้กับการทำงานของนักศึกษา โดยผู้เกี่ยวข้อง 11 คน การพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมแบ่งออกเป็นช่วงที่ 1 ได้แก่ รู้จักและเห็นความสำคัญของการคิดเชิงนวัตกรรม และเตรียมชุดทัศนะ ช่วงที่ 2 ได้แก่ ขั้นที่ 1 ระบุความต้องการ ขั้นที่ 2 ระดมสมอง ขั้นที่ 3 สร้างนวัตกรรมต้นแบบ ขั้นที่ 4 ทดสอบนวัตกรรม และขั้นที่ 5 ประเมินผลนวัตกรรม เพื่อเกิดนวัตกรรมการสอน 2) ผลการเรียนรู้ของนักศึกษาทั้งผลการประเมินพัฒนาการผลลัพธ์การเรียนรู้สำคัญที่เกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์และการพัฒนานวัตกรรม และทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมก่อน ระหว่าง และหลังการพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม พบว่าระดับคะแนนเฉลี่ยก่อนการพัฒนาเท่ากับ 3.46 และ 3.43 คะแนน ระหว่างการพัฒนาเท่ากับ 4.17 และ 4.18 คะแนน และหลังการพัฒนาเท่ากับ 4.83 และ 4.84 คะแนน จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน ตามลำดับ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 โดยค่าเฉลี่ยระดับคะแนนหลังจากการพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมสูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับคะแนนระหว่างและก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05</p> อลงกต ยะไวทย์, ณัฐวัฒม์ วงษ์ชวลิตกุล, ณัชติพงศ์ อูทอง Copyright (c) 2024 สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sikkha/article/view/263947 Wed, 13 Mar 2024 00:00:00 +0700 รูปแบบการเสริมพลังอำนาจผู้บริหารเพื่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตพื้นที่นครชัยบุรินทร์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sikkha/article/view/263790 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการเสริมพลังอำนาจผู้บริหาร 2) สร้างรูปแบบการเสริมพลังอำนาจผู้บริหาร และ 3) ประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการเสริมพลังอำนาจผู้บริหารเพื่อประสิทธิภาพ ในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตพื้นที่นครชัยบุรินทร์ วิธีดำเนินการวิจัย แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพการเสริมพลังอำนาจผู้บริหาร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน และครูผู้สอน จำนวน 381 คน โดยผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามมีค่าความสอดคล้อง อยู่ระหว่าง 0.06 – 1.00 ค่าความเชื่อมั่น 0.89 และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 การสร้างรูปแบบการเสริมพลังอำนาจผู้บริหาร ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายในการตรวจสอบเพื่อยืนยันร่างรูปแบบ ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์และใช้แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และระยะที่ 3 การประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 30 คน เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยสถิติค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า 1) สภาพการเสริมพลังอำนาจผู้บริหาร โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบ พบว่า อยู่ในระดับมากทุกข้อ โดยข้อที่อยู่ในระดับมาก 3 ลำดับแรก คือ การให้เกียรติและความเคารพ รองลงมา คือ การฝึกอบรมและการพัฒนา และการยกย่องและยอมรับ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ การกำหนดบทบาทหน้าที่รับผิดชอบ และการกำหนดมาตรฐานและความเป็นเลิศ 2) รูปแบบการเสริมพลังอำนาจผู้บริหาร ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) แนวคิดและหลักการ (2) วัตถุประสงค์ (3) สาระสำคัญ (4) แนวทางการนำรูปแบบไปสู่การปฏิบัติ และ (5) เงื่อนไขการนำรูปแบบสู่ความสำเร็จ ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ โดยรวมอยู่ในระดับมาก 3) ผลการประเมินความเป็นไปได้ของรูปแบบ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เช่นเดียวกัน</p> อนุศักดิ์ ดาลุนฉิม, สงวนพงศ์ ชวนชม, สมบูรณ์ ตันยะ, ชูเกียรติ วิเศษเสนา Copyright (c) 2024 สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sikkha/article/view/263790 Wed, 13 Mar 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด TPACK Model ในสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปัตตานี https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sikkha/article/view/261742 <p>การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการใช้ TPACK Model ในการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปัตตานี และ 2) เพื่อสร้างแนวทางการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด TPACK Model ในสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปัตตานี มีการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 9 คน ซึ่งมีการเลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการ และครู ที่มีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาสังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปัตตานี จำนวน 3 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง มีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด TPACK Model ในสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สังกัดสำนักพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปัตตานี มีองค์ประกอบโดยบูรณาการเทคโนโลยี วิธีการสอน และเนื้อหาเข้ากับการจัดการเรียนรู้ การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ จัดเตรียมความพร้อมและบริการเครื่องมืออุปกรณ์ การสร้างความตระหนักด้านเทคโนโลยี และการสร้างครูแกนนำด้านเทคโนโลยี วิธีการสอนที่เหมาะสมในการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning การวัดและประเมินผลตามสภาพจริง การสร้างสื่อและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย Teach Less, Learn More และการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้เชิงบวก การจัดเนื้อหาให้เหมาะสมกับการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ การควบรวมตัวชี้วัดหรือมาตรฐานการเรียนรู้ที่มีความสอดคล้องกัน การสร้างเครือข่ายที่มีส่วนร่วมในการออกแบบหลักสูตร การสร้างหลักสูตรมุ่งสู่อาชีพ การพัฒนาครูที่มีความเชี่ยวชาญในเนื้อหา และการปรับเปลี่ยนเนื้อหาให้มีความทันสมัยและเป็นภาษาที่นักเรียนเข้าใจง่าย ทั้งนี้การบูรณาการด้านเทคโนโลยีเข้ากับการจัดการเรียนรู้ วิธีการสอน และเนื้อหา ต้องมีการนิเทศสู่ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาการร่วมกับการสร้างแรงจูงใจในการจัดการเรียนรู้</p> เอธิมา บุญธรรม, เรชา ชูสุวรรณ Copyright (c) 2024 สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sikkha/article/view/261742 Wed, 13 Mar 2024 00:00:00 +0700