ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจมาใช้ชีวิตบั้นปลายในจังหวัดเชียงใหม่ของผู้สูงอายุชาวต่างชาติ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับการตัดสินใจมาใช้ชีวิตบั้นปลายในจังหวัดเชียงใหม่ของผู้สูงอายุชาวต่างชาติ (2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจมาใช้ชีวิตบั้นปลายในจังหวัดเชียงใหม่ของผู้สูงอายุชาวต่างชาติ และ (3) เพื่อศึกษาปัญหาและจัดทำข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาของผู้สูงอายุชาวต่างชาติ ที่มาใช้ชีวิตบั้นปลายในจังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่าง คือ ชาวต่างชาติอายุ 60 ปี ขึ้นไป ที่ขอวีซ่าแบบชีวิตบั้นปลาย เพื่อพักอาศัยในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 337คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าสหสัมพันธ์พหุคูณ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยมีดังนี้ (1) ระดับการตัดสินใจมาใช้ชีวิตบั้นปลายในจังหวัดเชียงใหม่ของผู้สูงอายุชาวต่างชาติ อยู่ในระดับมาก (2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจมาใช้ชีวิตบั้นปลายในจังหวัดเชียงใหม่ของผู้สูงอายุชาวต่างชาติ เรียงตามลำดับ คือ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านการเมือง มีเพียง 3 ปัจจัย คือ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมและวัฒนธรรม และด้านสิ่งแวดล้อม ที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับการตัดสินใจมาใช้ชีวิตบั้นปลายในจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณแบบขั้นตอน พบว่า ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ มีอำนาจพยากรณ์มากที่สุด โดยเฉพาะเรื่องค่าครองชีพถูก และรายได้มีความเหมาะสม ส่วนปัจจัยที่สามารถพยากรณ์รองลงมา คือ ปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรม และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ตามลำดับ (3) ปัญหาสำคัญที่ผู้สูงอายุชาวต่างชาติ พบในระหว่างที่พักอาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ คือ ความไม่สะดวกในการรายงานที่อยู่ทุก 90 วันและการที่ต้องต่ออายุวีซ่าทุกปี ปัญหามลพิษ การจราจร การสื่อสารกับคนไทย การไม่เข้าใจวัฒนธรรมไทยของนักท่องเที่ยว และปัญหาการเรียกรับสินบนจากชาวต่างชาติของเจ้าหน้าที่ภาครัฐ โดยมีข้อเสนอแนะ ที่สำคัญ คือ การรายงานตัวเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงที่อยู่ การขยายวีซ่าจาก 1 ปี เป็น 3 หรือ 5 ปี
Article Details
1. กองบรรณาธิการสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตัดสินการตีพิมพ์บทความในวารสาร
2. บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ แต่ข้อความและเนื้อหาในบทความที่ตีพิมพ์เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว มิใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยศรีปทุม
3.การคัดลอกอ้างอิงต้องดำเนินการตามการปฏิบัติในหมู่นักวิชาการโดยทั่วไป และสอดคล้องกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
References
เกื้อ วงศ์บุญสิน. 2549. ยุทธศาสตร์ชาติเพื่อรองรับผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของสัดส่วนประชากรสูงอายุของไทย. กรุงเทพฯ : วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.) ปยุตฺโต. 2556. คู่มือชีวิต. กรุงเทพฯ : สถาบันบันลือธรรม.
วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย . 2555. สารพันความรู้ทางประชากร ในรอบปี พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ : ศูนย์สารสนเทศทางประชา- กรศาสตร์ วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานจังหวัดเชียงใหม่.2557.ยุทธศาสตร์ใหม่เจาะตลาดลอง สเตย์ญี่ปุ่น.
สำนักประชาสัมพันธ์ เขต 3 เชียงใหม่ . 2557. โครงการประชาสัมพันธ์เสริมสร้างภาพลักษณ์ประเทศไทย . เชียงใหม่ : สำนักประชาสัมพันธ์ เขต 3. (เอกสารอัดสำเนา).
First Annual Retire Overseas Index Names The World’s Top 21 Overseas Retirement Havens.
Harris, J.R. and Sabot, R.H.. 1982. "Urban unemployment in LDCs: towards a more general search model", Migration and the labor market in developing countries. Boulder, Colorado : Westview Press.
Ivancevich , J. M. and Matteson, M. T.. 2002. Organizational Behavior and Management. 6th ed. New York : Mc Graw – Hill.
Kotler, P. and Keller, K., L.. 2006. Marketing Management. 2th ed. Upper Saddle River, NJ : Pearson Education.
Maslow, A. H.. 1970. Motivation and Personality. New York : Harper and Row.
Schiffman, L. G. and Kanuk, L. L. 2007. Consumer Behavior. 6thed. New Jersey : Englewood Cliffs.
The Expat Explorer Survey 2011, Expat Experience League Table.
The-Worlds-Top-Retirement-Havens-in-2013.
Yamane, Taro. 1973. Statistics and Introductory Analysis. New York : Harper and Row Publication.