อิทธิพลของคุณลักษณะผลิตภัณฑ์ และคุณค่าตราสินค้าที่มีต่อการตั้งใจซื้อของ ผู้ซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาอิทธิพลของคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่มีผลต่อการตั้งใจซื้อของผู้ซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในประเทศไทยและเพื่อศึกษาอิทธิพลของคุณค่าตราสินค้าที่มีผลต่อ การตั้งใจซื้อของผู้ซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในประเทศไทย การศึกษาครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้ซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร จำนวนทั้งสิ้น 400 ราย แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยเทคนิคการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบด้านคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่มีอิทธิพลเชิงบวกต่อการตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ได้แก่ คุณภาพผลิตภัณฑ์ ชื่อเสียงผู้ขายหรือตราสินค้า ความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ และการรับประกัน องค์ประกอบด้านคุณค่าตราสินค้าที่มีอิทธิพลในเชิงบวกต่อการตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ได้แก่ การรู้จักตราสินค้า ความเชื่อมโยงกับตราสินค้า คุณภาพการรับรู้และความภักดีต่อตราสินค้า สำหรับสมการในการพยากรณ์การตั้งใจซื้อของผู้ซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในประเทศไทย คือ Y ̂ = 1.286 +0.010x1 +0.096x2 +0.070x3 +0.003x4 +0.031x5 +0.012x6 +0.043x7 +0.032x8 +0.034x9 และสมการถดถอยที่คำนวณโดยใช้คะแนนมาตรฐาน คือ z ̂ = 0.001z1 +0.083z2 +0.064z3 +0.003z4 +0.025z5 +0.015z6 +0.048z7 +0.028z8 +0.011z9
Article Details
1. กองบรรณาธิการสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตัดสินการตีพิมพ์บทความในวารสาร
2. บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ แต่ข้อความและเนื้อหาในบทความที่ตีพิมพ์เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว มิใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยศรีปทุม
3.การคัดลอกอ้างอิงต้องดำเนินการตามการปฏิบัติในหมู่นักวิชาการโดยทั่วไป และสอดคล้องกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
References
พงศ์ศิริ คำขันแก้ว และ ฐติกุล ไชยวรรณ์.2556.การรับรู้ของลูกค้าที่มีต่อคุณค่าตราสินค้าในร้านกาแฟตราท้องถิ่น เขตเชียงใหม่. บทคัดย่อ. มหาวิทยาลัยพายัพ เขตชียงใหม่.หน้า 1-12.
พรรณิภา เจริญศุข. 2549. บทบาทของคุณค่าตราสินค้าที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครของร้านกาแฟสตาร์บัคส์ และบ้านใร่กาแฟ. สารนิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด.บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.หน้า 45-55.
มานะ อินพรมมี.2555. การออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ของฝากของที่ระลึกกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนในเขตเพชรบูรณ์. รายงานการวิจัย. มหาวิยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.หน้า 1-55.
ศุภวัชร ยิ่งยง. 2555. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ดูแลผิวสำหรับผู้ชายของนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยชียงใหม่.หน้า 1-47.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ.2557.สรุปผลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร.สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2557.
Aaker, D. A. 1991. Managing Brand Equity: Capitalizing On the Value of Brand Name. The Free Press: New York, 65-100.
Bech-Larsen, T. and Grunert, K. G. 2003. The perceived healthiness of functional foods - A conjoint study of Danish, Finnish and American consumers'perception of functional foods. Appetite, 40, 9-14.
Biel, A. L.1992. How brand image drives brand equity. Journal of Advertising Research, 32, 12.
Boulding, W. and Kirmani, A. 1993. “A Consumer-Side Experimental Examination of Signaling Theory: Do Consumers Perceive Warranties as Signals of Quality?”. Journal of Consumer Research, 20(1), 111-123.
Eisenberg, D. M., Davis, R. B., Ettner, S. L., Appel, S., Wilkey, S., Van Rompay, M. & Kessler, R. C. 1998. “Trends in alternative medicine use in the
United States, 1990-1997: Results of a follow- up national survey”, J. Am. Med. Assoc., 280, 1569-1575.
Erfan, S. 2013. The Mediating Effects of Brand Association, Brand Loyalty, Brand Image and Perceived Quality on Brand Equity. Journal of Science
and Education, 3(9), 125-137.
Foxall, G.R. and Yani-de-Soriano, M.M. 2005. Situational Influences on Consumers’ Attitudes and Behavior. Journal of Business Research, 58 (4), 524.
Garvin, D.A. 1988. Managing Quality, The Free Press, New York, NY, 36.
Helander, M.G. and Khalid,H.M. 2000.“Modeling the customer in electronic commerce”, Applied Ergonomics, 31(6), 609- 619.
Hsin Kuang Chi and Huery Ren Yeh, 2009. The Impact of Brand Awareness on Consumer Purchase Intention: The Mediating Effect of Perceived Quality and Brand Loyalty.Journal of International Management Studies, 1(4), 135-144.
Jack, N. and Murthy, D. 2001. "A Servicing Strategy for Items Sold Under Warranty".Journal of the Operational Research Society, 52 (11), 1284-1288.
Keller, K.L.1993. "Conceptualizing Measuring & Managing Custumer-Based Brand Equity". Journal of Marketing. January, 57, 1-22
Verbeke, W. 2005. Consumer acceptance of functional foods: socio-demographic, cognitive and attitudinal determinants. Food Quality and Preference, 45-47.
Yamane, T. 1967. Statistics: An introduction analysis (3rd ed). New York: Harper & Row, 886.