การประเมินความต้องการจำเป็นด้านความสามารถทางการวัดและ ประเมินผลการเรียนรู้ของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู

Main Article Content

พินดา วราสุนันท์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินความต้องการจำเป็นด้านความสามารถทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในองค์ประกอบด้านความรู้และทักษะ
2) พัฒนาความสามารถทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูด้วยการประยุกต์ใช้กรอบแนวคิดโมเดลตรรกะการประเมิน (Logic Model of Evaluation) และ 3) ศึกษาการนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในกระบวนการเรียนการสอน กลุ่มตัวอย่างคือ นิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
ชั้นปีที่ 5 สาขาคณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ จำนวน 37 คน
ในภาคเรียนที่ 1-2 ปีการศึกษา 2555 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบประเมินความต้องการจำเป็นด้านความสามารถทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าเฉลี่ย ดัชนี Prioritization Needs Index Technique (PNImodified) และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. ผลการประเมินความต้องการจำเป็นจากการวิเคราะห์ค่า PNImodified ด้านความรู้ทางการวัดและประเมินผลความต้องการจำเป็นที่สูงที่สุด คือ หลักการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ด้านทักษะทางการวัดและประเมินผลความต้องการจำเป็นที่สูงที่สุดคือ การประเมินการสอน/หลักสูตร/สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ วิธีการสอนที่ได้สอนไปแล้ว
2. หลังจากเข้าร่วมโครงการนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูมีความสามารถทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ทั้งด้านความรู้ ทักษะและเจตคติต่อการวัดและประเมินผลสูงขึ้น
3. นิสิตได้นำความรู้ไปใช้ในการเรียนการสอนระหว่างสอนโดยเน้นการสังเกตพฤติกรรม การซักถาม การทำใบงาน การสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผลผู้เรียนได้อย่างถูกต้อง และการเชื่อมโยงผลที่ได้จากการวัดและประเมินผลมาเป็นแนวทางในการพัฒนาผู้เรียนเพื่อการวิจัย

Article Details

How to Cite
วราสุนันท์ พ. (2018). การประเมินความต้องการจำเป็นด้านความสามารถทางการวัดและ ประเมินผลการเรียนรู้ของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู. วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 14(1), 27–37. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/spurhs/article/view/116365
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. 2551. แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กฤติยา วงศ์ก้อม. 2547. รูปแบบการพัฒนาครูด้านการประเมินการเรียนรู้ตามแนวคิดการประเมินแบบเสริมพลังอำนาจที่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการวัดและประเมินผลการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

คุรุสภา. 2549. มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา. เอกสารอัดสำเนา.

ณิชิรา ชาติกุล. 2552. การประเมินความต้องการจำเป็นเพื่อการพัฒนาสมรรถนะด้านการประเมินผลการเรียนรู้ของครูสังคมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการสอนสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พินดา วราสุนันท์. 2554. การพัฒนาศักยภาพทางการประเมินในด้านการสร้างข้อสอบของครูประถมศึกษาโดยใช้เครือข่ายมิตรวิพากษ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการวัดและประเมินผลการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพศาล คงภิรมย์ชื่น. 2547. การศึกษาสภาพการประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ของครูโรงเรียนเซนต์หลุยส์ ฉะเชิงเทรา สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ยุทธพงษ์ อายุสุข. 2550. การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็นเพื่อพัฒนาการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครู. วารสารวิธีวิทยาการวิจัย, 20, 3: 463-483.

สุวิมล ว่องวาณิช. 2550. การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Bruce, D. 2011. Logic model in participatory evaluation.

Ferdous, T. and Razzak, B.M . 2012. Importance of training needs assessment in the banking sector of bangladesh: A case study on national bank limited (NBL). International Journal of Business and Management, 7, 10: 63-73.

Hayes, H., Parchman, M.L. and Howard, R. 2011. A logic model framework for evaluation and planning in a primary care practice-based research network (PBRN). JABFM, 24, 5: 576-582.

He, Y., Rohr, J., Miller, S.D. and Levin, B.B. 2005. Toward continuous program improvement: using a logic model for professional development school program evaluation. School-University Partnerships, 4, 1: 15-28.

International Mine Action Standards (IMAS). 2005. Data collection and needs assessment.

Monroe, L. and Horm, D.M. 2012. Using a logic model to evaluate undergraduate instruction in a laboratory preschool. Early Education and Development, 23: 227-241.

Newton, X.A., Poon, R.C., Nunes, N.L. and Stone, E.M. 2013. Research on teacher education programs: logic model approach. Evaluation and Program Planning, 36: 88-96.