รูปแบบสมรรถนะของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนสำหรับโรงเรียนประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษารูปแบบสมรรถนะของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนสำหรับโรงเรียนประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 การสังเคราะห์หลักการและทฤษฎีและใช้เทคนิคเดลฟายเพื่อการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 19 คน ระยะที่ 2 การยืนยันรูปแบบสมรรถนะของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 19 คน ระยะที่ 3 การจัดองค์ประกอบและการศึกษาอิทธิพลของรูปแบบสมรรถนะของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 650 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามที่ใช้เทคนิคเดลฟาย 3 รอบและเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ บุคลากรทางการศึกษา จำนวน 650 คน ใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ในการจัดองค์ประกอบรูปแบบสมรรถนะของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้และตรวจสอบความสอดคล้องขององค์ประกอบจากข้อมูลเชิงประจักษ์ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยควอไทล์ และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน โดยใช้โปรแกรมลิสเรล ผลการวิจัยพบว่า
1. สมรรถนะของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้มี 7 องค์ประกอบคือ (1) ด้านภาวะผู้นำ
(2) ด้านการทำงานเป็นทีม (3) ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ (4) ด้านการสื่อสาร (5) ด้านการบริหารจัดการ (6) ด้านคุณธรรมจริยธรรม และ (7) ด้านการสร้างแรงจูงใจ
2. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน พบว่าองค์ประกอบที่ได้จากเทคนิคเดลฟายมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าไคสแควร์เท่ากับ 32.01 ความน่าจะเป็น 0.27 ที่องศา 28 ค่าไคสแควร์สัมพันธ์เท่ากับ 2.95 รูปแบบสมรรถนะของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ได้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.67 และมีอิทธิพลกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนทั้ง 7 องค์ประกอบ ค่า CMIN/DF เท่ากับ 2.95 ค่าดัชนี RMSEA มีค่าเท่ากับ 0.01 ค่าดัชนี GFI มีค่าเท่ากับ 0.99 ค่าดัชนี AGFI มีค่าเท่ากับ 0.97 ค่าดัชนีเปรียบเทียบ NFI เท่ากับ 0.85 ค่าดัชนี CFI มีค่าเท่ากับ 0.99 จึงแสดงให้เห็นว่าโมเดลมีความเหมาะสมคือโมเดลสมรรถนะของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ตามทฤษฎีที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีความตรงเชิงโครงสร้างสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนร้อยละ 67.00
Article Details
1. กองบรรณาธิการสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตัดสินการตีพิมพ์บทความในวารสาร
2. บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ แต่ข้อความและเนื้อหาในบทความที่ตีพิมพ์เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว มิใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยศรีปทุม
3.การคัดลอกอ้างอิงต้องดำเนินการตามการปฏิบัติในหมู่นักวิชาการโดยทั่วไป และสอดคล้องกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
References
โครงการ PISA ประเทศไทย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2556. ผลการประเมิน PISA 2012 คณิตศาสตร์ การอ่าน และวิทยาศาสตร์ทสรุปของผู้บริหาร. กรุงเทพฯ: แอดวานซ์พริ้นติ้งเซอร์วิส.
ชมพูนุท ร่วมชาติ. 2548. “อนาคตภาพของหลักสูตรวิชาชีพครูในทศวรรษหน้า”(พ.ศ 2550-2559). ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร คณะศึกษาศาสตร บัณทิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เดชา เดชะวัฒนไพศาล. 2543. “Competency – Based Human Resource Management.” วารสารตน, 9 (9): 11-12.
เทื้อน ทองแก้ว. 2552. สมรรถนะ (Competency) หลักการและแนวปฏิบัติ.กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
บุญชม ศรีสะอาดและ สุริทอง ศรีสะอาด. 2552. การวิจัยเกี่ยวกับการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาส์น.
รุ่ง แก้วแดง. 2544. ประกันคุณภาพการศึกษทุกคนทําได้ไม่ยาก. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒน พานิช.
เลขา ปิยะอัจฉริยะ 2550. การเสวนาเรื่องยุทธศาสตร์และการจัดการความรู้พื้นฐานเพื่อการพัฒนาครู. สืบค้นเมื่อวันที่10 สิงหาคม 2560.
วิจารณ์ พานิช. 2547. องค์การเรียนรู้และการจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: เอ๊กซเปอร์เน็ท.
วิจารณ์ พานิช. 2550. วิถีแห่งองค์กรอัจฉริยะ. จุลสารอุตสาหกรรมสัมพันธ์, 73: 2-3.
วิทยา จันทร์ศิริ. 2551. “การพัฒนาสมรรถนะหลักของผู้บริหารสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยของรัฐ” วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุกัญญา รัศมีธรรมโชติ. 2549. แนวทางการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ด้วย Competency. กรุงเทพฯ: ศิริวัฒนาอินเตอร์ พรินท์.
สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. 2551. ภาวะผู้นำทฤษฎีและปฏิบัติ:ศาสตร์และศิลป์สู่ความเป็นผู้นำที่สมบูรณ์. กรุงเทพฯ: วิรัตน์เอ็ดดูเคชั่น.
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.2545. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545.กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟิก.
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. 2557. นโยบายสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด.
สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. 2556. สถิติการศึกษาฉบับย่อ. กรุงเทพฯ: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.
Hellriegel, D.,& Slocum.J.W. 2001. Organisational behavior. 13 e Belmout, CA: Cengage South-Western Jersey: Prentice-Hall.
Spencer, & Spencer, SM. 199 Competence at Work : Models for Superior Performance. Retrieved December 11, 2005.
Seyfarth, J. T.1999. The principal: New leadership for new challenger. New Jersey: Prentice-Hall.
Zwell, M. 2000. Creating a culture of competence. New York: John Will and Sons.