การวิเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะของผู้ประเมินภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ (พ.ศ. 2559-2563) ของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)

Main Article Content

นภาภร ส่งแสง
อัญชลี สุขในสิทธิ์
มนตา ตุลย์เมธาการ
องอาจ นัยพัฒน์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบสมรรถนะของผู้ประเมินภายนอกระดับการศึกษา
ขั้นพื้นฐานที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ (พ.ศ. 2559-2563) ของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะของผู้ประเมินภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ และเพื่อวิเคราะห์ช่องว่างสมรรถนะที่เป็นอยู่จริงใน 3 รอบที่ผ่านมา กับที่คาดหวังในรอบสี่ การวิจัยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาองค์ประกอบสมรรถนะของผู้ประเมินภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ โดยศึกษาเอกสาร แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์งานและบริบท
ที่เกี่ยวข้องกับการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ และสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้มีประสบการณ์ประเมินคุณภาพภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน เพื่อวิเคราะห์เนื้อหา นำไปกำหนดองค์ประกอบและตัวแปรสังเกตได้ของสมรรถนะของผู้ประเมินภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ แล้วนำไปสอบถามความคิดเห็นผู้มีประสบการณ์ประเมินคุณภาพภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 449 คน โดยใช้แบบสอบถามที่ใช้มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องขององค์ประกอบจากข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยใช้โปรแกรม LISREL และ 2) ศึกษาระดับสมรรถนะของผู้ประเมินภายนอกระดับการศึกษาที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ และวิเคราะห์ช่องว่างสมรรถนะที่เป็นอยู่จริงใน 3 รอบที่ผ่านมา กับที่คาดหวังในรอบสี่ โดยการสอบถามความคิดเห็นผู้มีประสบการณ์ประเมินคุณภาพภายนอกระดับการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน จำนวน 449 คน ผลการวิจัยพบว่า
1. สมรรถนะของผู้ประเมินภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ ของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) สมรรถนะหลัก และ 2) สมรรถนะตามบทบาทหน้าที่ โดยองค์ประกอบสมรรถนะหลัก ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบย่อย และองค์ประกอบสมรรถนะตามบทบาทหน้าที่ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบย่อย
2. ผลการศึกษาระดับสมรรถนะของผู้ประเมินภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานใน 3 รอบที่ผ่านมา กับที่คาดหวังในรอบสี่ และวิเคราะห์ค่าช่องว่างสมรรถนะ พบว่า สมรรถนะหลักที่คาดหวังและต้องการให้ความสำคัญในการพัฒนามากที่สุด คือ สมรรถนะหลักด้านความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการปฏิบัติงาน โดยวัดด้วยตัวแปรสังเกตได้ คือ มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติงาน (ค่าช่องว่างสมรรถนะ -1.68) ส่วนสมรรถนะตามบทบาทหน้าที่ที่คาดหวังและต้องการให้ความสำคัญในการพัฒนามากที่สุด คือ สมรรถนะตามบทบาทหน้าที่ด้านความสามารถในการเขียนรายงานและให้ข้อเสนอแนะ โดยวัดด้วยตัวแปรสังเกตได้ คือ มีความสามารถในการให้ข้อเสนอเสนอแนะ และชี้นำให้สถานศึกษาเกิดความท้าทายในการยกระดับคุณภาพ (ค่าช่องว่างสมรรถนะ -2.31)


 

Article Details

How to Cite
ส่งแสง น., สุขในสิทธิ์ อ., ตุลย์เมธาการ ม., & นัยพัฒน์ อ. (2018). การวิเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะของผู้ประเมินภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ (พ.ศ. 2559-2563) ของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 18(2), 123–134. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/spurhs/article/view/151055
บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา. 2560. รายงานของคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูประเทศ ด้านการศึกษา สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ เรื่อง
แผนปฏิรูประบบการประกันคุณภาพการศึกษา. สำนักกรรมาธิการ 3. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. หน้า 19.

ศิริเดช สุชีวะ และคณะ. 2560. รายงานความก้าวหน้าผลการวิจัย ระยะที่ 2 โครงการการพัฒนาสมรรถนะผู้ประเมินภายนอก. กรุงเทพฯ: สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน).

สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ.2558. คุณลักษณะผู้ประเมินภายนอก. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2558.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). 2547. พระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). 2555. รายงานประจำปี 2554 ของ สมศ. (1 ตุลาคม 2553 - 30 กันยายน 2554). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: แปลน พริ้นท์ติ้ง..

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). 2560. กรอบแนวทางการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ พ.ศ. (2559-2563). (ออนไลน์).


สำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ. 2560. คู่มือการสมัครผู้ตรวจประเมินรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ประจำปี 2560. กรุงเทพฯ: สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ.

Galport, N., & Azzam, T. 2016. “Evaluator Training Needs and Competencies: A Gap Analysis.” American Journal of Evaluation, 38 (1), 80-100.

King, J. A., & Stevahn, L. 2015. “Competencies for Program Evaluators in light of Adaptive Action: What? So What? Now What?” New Directions for Evaluation, 145, 21-37.

McClelland, D.C. 1973. “Testing for Competence rather than for Intelligence.” American Psychologist, 28 (1), 1 - 14.

The Canadian Evaluation Society. 2010. “Competencies for Canadian Evaluation Practice.” Canadian Journal of Program Evaluation, 11(1), 1-15.