การพัฒนาตัวบ่งชี้ความเป็นพลเมืองดีของผู้บริหารสถานศึกษา (A Development of Good Citizenship Indicators of School Administrators)
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สร้างและพัฒนาตัวบ่งชี้ความเป็นพลเมืองดีของผู้บริหาร
สถานศึกษาและ (2) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลการวัดตัวบ่งชี้ความเป็นพลเมืองดีของผู้บริหารสถานศึกษาที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ดำเนินการวิจัยโดยศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สังเคราะห์เนื้อหา กำหนดเป็นองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คนเพื่อพิจารณาตรวจสอบความเหมาะสมขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้และตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้ความเป็นพลเมืองดีของผู้บริหารสถานศึกษาที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจำนวน 1 ฉบับ โดยเก็บข้อมูลจากผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 478 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐานและการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันด้วยโปรแกรม AMOS ผลการวิจัยพบว่า
1. ตัวบ่งชี้ความเป็นพลเมืองดีของผู้บริหารสถานศึกษาประกอบด้วย 13 ตัวบ่งชี้จาก 3 องค์ประกอบ
คือ (1) องค์ประกอบด้านการมีส่วนร่วมในฐานะพลเมืองที่ดี มี 4 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ การตระหนักและเห็นคุณค่าของการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม การคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ การทำงานเป็นทีมและการรู้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง (2) องค์ประกอบด้านมีจิตสำนึกยุติธรรมในสังคม มี 4 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ การมีจริยธรรมและคุณธรรม การเคารพนับถือตนเองและผู้อื่น การมีความเสมอภาคและการจัดการความขัดแย้งโดยสันติวิธี และ (3) องค์ประกอบด้านความรับผิดชอบในตนเอง มี 5 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ การจงรักภักดีต่อชาติ การมีทักษะความรู้ในการจัดระบบชีวิต การเคารพกฎหมายและปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับของสังคม การยึดถือค่านิยมเฉพาะและอุดมคติและการมีเอกลักษณ์ที่มาจากความเป็นสมาชิกของชุมชนทางการเมือง
2. โมเดลการวัดตัวบ่งชี้ความเป็นพลเมืองดีของผู้บริหารสถานศึกษาที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีความ
สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมี =43.29, =39, =1.11,
=0.29, =0.99, =0.97, =0.02
Article Details
1. กองบรรณาธิการสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตัดสินการตีพิมพ์บทความในวารสาร
2. บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ แต่ข้อความและเนื้อหาในบทความที่ตีพิมพ์เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว มิใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยศรีปทุม
3.การคัดลอกอ้างอิงต้องดำเนินการตามการปฏิบัติในหมู่นักวิชาการโดยทั่วไป และสอดคล้องกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
References
Bebiroglu, B., Geldhof, G. J., Pinderhughes, E., Phelps, E.,& Lerner, R. M. (2013). From Family to Society: The Role of Perceived Parenting Behaviors in Promoting Youth Civic Engagement. Parenting, 13(3), 153-168.
Bobek, D., Zaff, J., Li, Y., & Lerner, R. M. (2009). Cognitive, emotional, and behavioral components of civic action: Towards an integrated measure of civic engagement. Journal of Applied Development Psychology, 30, 615-627.
Chinwanno, W. (2003). Professional Ethics. Bangkok: Chuan Pim. (in Thai)
Cogan, J. & Derricott, R. (1998). Citizenship for the 21st Century. An International Perspective on Education. London: Kogan Page.
Davies Ian, Gregory, & Riley Shirley, C. (1999). Good Citizenship and Educational Provision. New York: Graland.
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis: A Global Perspective. 7th Edition, Pearson Education, Upper Saddle River.
Kahne, Joseph, & Westheimer, J. (2004), Summer. What Kind of citizen? The politics of educating for democracy. American Educational Research Journal, 41(2), 237- 269.
Khongcharœn, M. (2012). Elements for enhancing consciousness of citizenship in a way of life democracy. Secretariat of the House of Representatives. (in Thai)
National Education Act (No. 3). (2010, 22 July). Government Gazette. Volume 127 Episode At 45 A, page 1-3. (in Thai)
Nirunthavee, S. (2005). Learning management to develop learners to be good citizens.Bangkok: Office of the Education Council. (in Thai)
Office of the National Education Commission. (2002). Guidelines for quality assessment in accordance with basic education standards For internal quality assurance of educational institutions. Bangkok: National Buddhism Office. (in Thai)
Ralph, C.P. (1958). Teaching Social Studies in Elementary School. New York: Holt, Rinehart and Winston.
Rodsaen, A. (2014). Development of a model for organizing learning activities together to enhance citizenship teaching ability for basic education teachers. Doctor of Education thesis. Naresuan University. (in Thai)
Smith, A. (2005). Civic and Citizenship Education in contest divided societies. University of Ulster Ireland: Unesco Chair.
SongkitSap S. (2007). Ethics and human resource management. Sripatum Review of Humanities and Social Sciences, 7 (2), 114-121. (in Thai)
Subcommittee on Educational Policy and Reform in the Second Decade on Educational Development to Create good citizen. (2010). Education Development Strategies for Citizenship Development, 2010-2018. Bangkok: Ministry of Education. (in Thai)
Tantisunthorn, T. (2012). citizenship Education. Bangkok: Institute of Educational Policy. (in Thai)
The Teachers Council of Thailand regulations regarding professional ethics, 2013. (2013, 4 October). Government Gazette. Volume 130 Special Episode 130 D, page 72-74. (in Thai)
Thewanarumitkun, P. (2012). Civic Education. Bangkok: Health Promotion Foundation. (in Thai)
Wanitbancha , K. ( 2014 ). Structural Equation Modeling (SEM) with AMOS. 2 nd ed. Bangkok: Samlada. (in Thai)
Zaff, J., Boyd, M., Li, Y., Lerner, J. V., & Lerner, R. M. (2010). Active and Engaged Citizenship: Multi-group and Longitudinal Factorial Analysis of an Integrated Construct of Civic Engagement. Journal of Youth and Adolescence, 39, 736-750.