การพัฒนาความสำเร็จในการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดลำปาง (Good Governance Performance Achievement Development of Subdistrict Administrative Organization Lampang Province)
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ซึ่งการวิจัยเชิงปริมาณมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความสำเร็จในการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาล ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดลำปาง ซึ่งใช้หลักธรรมาภิบาล 6 ด้าน ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 เป็นกรอบในการประเมิน การวิจัยเชิงปริมาณมีกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวน 1,099 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างด้วยโปรแกรม G*Power และใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.93 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเชิงเส้นตรง การวิจัยเชิงคุณภาพมุ่งศึกษาสภาพปัญหา อุปสรรค และแนวทางในการพัฒนาผลความสำเร็จในการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดลำปาง โดยใช้การสนทนากลุ่ม ซึ่งมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญได้แก่ ตัวแทนภาครัฐ และตัวแทนภาคประชาชน จำนวน 28 คน ผลการวิจัยพบว่า
1) ระดับความสำเร็จในการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดลำปาง โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.01, S.D.= 0.60) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับปานกลางจำนวน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านหลักความรับผิดชอบ ด้านหลักการมีส่วนร่วม ด้านหลักนิติธรรม และด้านหลักคุณธรรม และอยู่ในระดับน้อยจำนวน 2 ด้าน ได้แก่ ด้านหลักความคุ้มค่า และด้านหลักความโปร่งใส
2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดลำปาง โดยรวม อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 มีจำนวน 7 ตัวแปร โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลโดยรวมมากที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ ปัจจัยงบประมาณ (x4 β = 0.39) ปัจจัยการวางแผน (x1 β = 0.36) และ ปัจจัยการตรวจสอบและควบคุม (x3 β = 0.31)
3) ปัญหา อุปสรรคและแนวทางการพัฒนาผลความสำเร็จในการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดลำปาง ประกอบด้วย ด้านการวางแผน ด้านการจัดองค์การ ด้านผู้นำ และการนำองค์การ ด้านการควบคุม ติดตาม และตรวจสอบ และด้านทักษะ แรงจูงใจ และทัศนคติต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดลำปาง
Article Details
1. กองบรรณาธิการสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตัดสินการตีพิมพ์บทความในวารสาร
2. บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ แต่ข้อความและเนื้อหาในบทความที่ตีพิมพ์เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว มิใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยศรีปทุม
3.การคัดลอกอ้างอิงต้องดำเนินการตามการปฏิบัติในหมู่นักวิชาการโดยทั่วไป และสอดคล้องกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
References
Bangkok Thonburi University Academic Journal, 4 (2), 29-42. (in Thai)
Cronbach, L.J. (1970). Essentials of Psychological Testing. New York: Harper and Row.
Deming, E. W. (1995). Out of the Crisis. USA: The Massachusetts Institute of Management.
Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A.-G. & Buchner, A. (2007). G*Power 3: A flexible statistical Power analysis program for the social. Boston: McGraw – Hill.
Fayol, H. (1949. General and Industrial Management. London: Sir Issac Pitman & Sons.
Gulick, L. & Urwick, L. (1937). Science of Administration. New York: Macmillan.
Hair, F. J. et al. (2014). Multivariate data analysis. 7th ed. Boston: McGraw – Hill.
Hankan, V. and Laesankhang, S. (2016). Administration according to the good governance
principles of Ban Dong Subdistrict Administrative Organization, Mae Moh District Lampang Province. Journal of Lampang Rajabhat University, 5 (1), 53-67. (in Thai)
King Prajadhipok's Institute. (2016.) Public sector administration and good governance
promotion in local government organizations. Bangkok: King Prajadhipok's Institute.
(in Thai)
Jonsamrong, P. (2014). Factors influencing the performance in accordance with good
governance principles of finance practitioners in community colleges. Independent
Study of the Degree of Master of Accounting Program. Bangkoki: Sripatum University.
(in Thai)
Khumsab, R., Chulachat, R. and Phonsiam, A. (2017.) Factors affecting success and
performance according to good governance principles of Takhian Subdistrict
Administrative Organization, Dan Khun Thot, Nakhon Ratchasima. Journal of
Humanities and Social Sciences, 2 (2), 30. (in Thai)
Koontz, H. D.(1972). Analysis of Managerial Functions. New York: McGraw – Hill.
Kureinta, E. (2017). The management model based on good governance principles of Local government organization: Case study in Mae Tha district, Lampang province.
Thesis of the Doctor of Philosophy Program. Phitsanulok: Pibulsongkram Rajabhat University. (in Thai)
Likert, R. (1967). Attitude Theory and Measurement. New York: Harper & Row.
Louis, A. A. (1958). Successful Management. United Sates: Michie.
Mungklang, S. (2017). Factors influencing the administration according to good governance principles of secondary schools in the northeast region. Thesis of the Doctor of
Philosophy Program in Education. Nakhon Ratchasima: Wongchavalitkul University.
(in Thai)
Office of the Civil Service Commission. (1999). Handbook of the creation of good governance
and social affairs in accordance with the regulations of the Prime Minister's Office
regarding the creation of a good governance system for the country and society, 1999. Bangkok: Central Printing House. (in Thai)
Panchan, W., Wongkachan, S. and Inthawong, P. (2013). Factors affecting success in
performing according to good governance principles of Subdistrict Administrative
Organizations in Kamphaeng Phet province. Journal of Sakthong, 16 (1), 143. (in Thai)
Shewhart, W.A. (1980). Economic control of quality of manufactured Product. New York: Harper & Row.
Sirisaansarn, P. and Montriwat, P. (2014.) Factors affecting the effectiveness policy
implementation in accordance with good governance in Department of Highways.
Sri Wanalai Research Journal, 6 (2), 95. (in Thai)
Yamane, T. (1973). Statistic an Introductory Analysis. 3rd. New York: Harper & Row.