การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของทักษะความฉลาดทางดิจิทัล สำหรับนิสิตนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษา (The Confirmatory Factor Analysis of Digital Intelligence Skills for Students in Higher Education Institutions)
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของทักษะความฉลาดทางดิจิทัลสำหรับนิสิตนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 คน และนิสิตนักศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษา ในปีการศึกษา 2565 จำนวน 400 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง และแบบสอบถามองค์ประกอบของทักษะความฉลาดทางดิจิทัล ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ 50 ข้อคำถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .962 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่า โมเดลทักษะความฉลาดทางดิจิทัลสำหรับนิสิตนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาที่สร้างขึ้นสามารถนํามาอธิบายทักษะความฉลาดทางดิจิทัลได้ และสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าสถิติไค-สแคว์ () = 899.24, df = 895, p = 0.454, CFI = 1.00, AGFI = 0.90, RMSEA = 0.003 โดยประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ และมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ ได้แก่ 1) ด้านการแสดงตัวตนบนโลกดิจิทัล (0.84) 2) ด้านการใช้เครื่องมือและสื่อดิจิทัล (0.90) 3) ด้านความปลอดภัยทางดิจิทัล (0.92) 4) ด้านความมั่นคงทางดิจิทัล (0.90) 5) ด้านความฉลาดทางอารมณ์บนโลกดิจิทัล (0.90) 6) ด้านการสื่อสารดิจิทัล (0.96) 7) ด้านการรู้ดิจิทัล (0.95) และ8) ด้านสิทธิทางดิจิทัล (0.91) มีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. กองบรรณาธิการสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตัดสินการตีพิมพ์บทความในวารสาร
2. บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ แต่ข้อความและเนื้อหาในบทความที่ตีพิมพ์เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว มิใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยศรีปทุม
3.การคัดลอกอ้างอิงต้องดำเนินการตามการปฏิบัติในหมู่นักวิชาการโดยทั่วไป และสอดคล้องกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
References
Cronbach, L. J. (1970). Essentials of psychological testing. 3rd ed. New York: Harper& Row.
DQInstitute. (2017). Digital Intelligence. [Online]. Retrieved May 25, 2021, from: https://www.dqinstitute.org/what-is-dq
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis: A global perspective (7th ed.). New Jersey: Pearson Education Inc.
Krejcie, R.V., & Morgan, D.W., (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Ministry of Information and Communication Technology. (2016). National Digital Economy and Society Development Plan and Policy. 1st ed. Bangkok: Ministry of Information and Communication Technology. (in Thai)
Park, Y. (2017). 8 digital life skill all children need - and a plan for teaching them. [Online]. Retrieved May 25, 2021, from: https://www.weforum.org/agenda/2016/06/8-digital-skills-we-must-teach-our-children/
Roopleam, T. (2017). Development of Digital Intelligence Quotient Program for Elementary School Students. Thesis of Master of Educational Research and Evaluation. Mahasarakham: Mahasarakham University. (in Thai)
Schumacker, R. E. & Lomax, R. G. (2010). A beginner’s guide to structural equation modeling (3rd ed.). New York: Taylor and Francis Group, LLC.
Thianthai, C. (2020). Effect of Online Social Media on Thai Social and Cultural Changes from an Anthropologist's Perspective. [Online]. Retrieved July 10, 2021, from: https://www.chula.ac.th/news/27969/ (in Thai)
Wannapiroon, P., & Wattananaiya, N. (2017). Digital Intelligence. Journal of Technical Education Development, 29(102), 12-20. (in Thai)
Wongsopha, A., Saiseesod, S., & Yanwaree, N. (2015). The Usage Behavior on Facebook Social Media Online and Their Effects on Students’ Life Style : A Case Study of Loei Rajabhat University. Research and Development Journal, Loei Rajabhat University, 10(33), 1-10. (in Thai)