https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ssajournal/issue/feed Suan Sunandha Asian Social Science 2024-12-27T00:00:00+07:00 Khajonwong Srivareerat irdjournal@ssru.ac.th Open Journal Systems <p><strong>Suan Sunandha Asian Social Science journal (ชื่อเดิมวารสารสวนสุนันทาวิชาการและวิจัย) </strong><a href="https://drive.google.com/file/d/1nbTFj6aAeI9FA68zKzpnqWunXHlRJkPq/view?usp=drive_link">ปฏิทินรับบทความ</a></p> <p><strong>จุดมุ่งหมายและขอบเขต</strong></p> <p>Suan Sunandha Asian Social Science journal เป็นวารสารวิชาการระดับชาติที่สนับสนุนโดยมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่ผลงานทางวิชาการที่มีคุณภาพหรืองานวิจัยด้าน ศึกษาศาสตร์, สาขาศิลปศาสตร์ และสาขาการท่องเที่ยว วารสารเป็นสื่อกลางในการเสนอและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง </p> <p><strong>ข้อมูลวารสาร</strong></p> <p>Suan Sunandha Asian Social Science journal ยินดีรับบทความวิจัยด้านศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์ ตีพิมพ์เผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ (มกราคม-มิถุนายน และ กรกฎาคม-ธันวาคม) จัดทำโดยสถาบันวิจัยและพัฒนา บทความจะได้รับการประเมินคุณภาพของบทความ ทั้งในด้านเนื้อหา และความเกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ของวารสาร จากผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 2 ท่านในสาขาที่เกี่ยวข้องกับบทความ</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong></p> <ul> <li class="show">เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่ผลงานทางวิชาการหรือผลงานวิจัยที่มีคุณภาพด้าน ศึกษาศาสตร์, สาขาศิลปศาสตร์ และสาขาการท่องเที่ยว</li> <li class="show">เพื่อเป็นสื่อในการนำเสนอและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางวิชาการด้าน ศึกษาศาสตร์, สาขาศิลปศาสตร์ และสาขาการท่องเที่ยว</li> </ul> <p><strong>เลขประจำวารสาร (ISSN): <a href="https://portal.issn.org/resource/ISSN/3027-8627">3027-8627</a></strong> <strong>(Online)</strong></p> <p><strong>เลขเดิมที่ขอยกเลิกเพื่อเปลี่ยนชื่อวารสารใหม่</strong></p> <p><strong>ISSN: 1905-9353</strong></p> <p><strong>ISSN: 2697-6331 (Online)</strong></p> <p> </p> <p><strong>การประเมิน:</strong> Double-blind (ผู้ประเมินไม่ทราบชื่อผู้แต่ง และผู้แต่งไม่ทราบชื่อผู้ประเมิน) </p> <p><strong>สาขาที่เปิดรับ</strong></p> <p><strong>สาขาศึกษาศาสตร์ </strong>ที่มีสาระเกี่ยวกับ</p> <ul> <li>ปรัชญาการศึกษา</li> <li>การพัฒนาหลักสูตร</li> <li>การจัดการเรียนรู้</li> <li>การประเมินผล</li> <li>จิตวิทยา</li> <li>นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา</li> <li>วิจัยและสถิติการศึกษา</li> </ul> <p><strong>สาขาศิลปกรรมศาสตร์ </strong>ที่มีสาระเกี่ยวกับ </p> <ul> <li>ปรัชญาและศาสนา</li> <li>ศิลปวัฒนธรรม-ศิลปะการแสดง</li> <li> ประวัติศาสตร์</li> <li>ชาติพันธุ์</li> <li> ศิลปกรรม-สถาปัตยกรรม</li> </ul> <p><strong>สาขาการท่องเที่ยว </strong>ที่มีสาระเกี่ยวกับ</p> <ul> <li>การจัดการธุรกิจในแหล่งท่องเที่ยว</li> <li>ภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว</li> <li>ภูมิศาสตร์การท่องเที่ยว</li> <li>อารยธรรมและประวัติศาสตร์สำหรับการท่องเที่ยว</li> <li>พฤติกรรมนักท่องเที่ยว</li> </ul> <p><strong>บทความที่เปิดรับ</strong></p> <ul> <li>บทความวิจัย* (ด้านศึกษาศาสตร์)</li> <li>บทความวิชาการและบทความวิจัย (ด้านศิลปศาสตร์)</li> <li>บทความวิชาการและบทความวิจัย (ด้านการท่องเที่ยว)</li> </ul> <p><strong>ภาษา</strong><strong>:</strong> ภาษาไทยและอังกฤษ</p> <p><strong>ค่าธรรมเนียมในการเผยแพร่</strong><strong>:</strong> ไม่เสียค่าใช้จ่าย (ผู้ทรงคุณวุฒิ 2 ท่าน)</p> <p> 1,000 บาท (ผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน) </p> <p><strong>การเผยแพร่</strong><strong>:</strong> 2 ฉบับต่อปี <a href="https://drive.google.com/file/d/1nbTFj6aAeI9FA68zKzpnqWunXHlRJkPq/view?usp=drive_link">ปฏิทินรับบทความ</a></p> <p>เล่ม 1 (มกราคม-มิถุนายน)</p> <p>เล่ม 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม)</p> <p><strong>เจ้าของวารสาร:</strong> <a href="https://ird.ssru.ac.th/en/home">สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา</a></p> <p><strong>การวัดดัชนีและบทคัดย่อ</strong></p> <p>วารสารสวนสุนันทาวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ได้รับการจัดอันดับโดย <a href="https://tci-thailand.org/?p=3796">ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI)</a>, <a href="https://scholar.google.com/">Google Scholar</a>, <a href="https://www.asean-cites.org/aci_search/journal.html?b3BlbkpvdXJuYWwmaWQ9NDgz">ASEAN Citation Index (ACI)</a></p> https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ssajournal/article/view/273447 แนวทางการออกแบบตกแต่งภายในสำนักงานกรมการขนส่งทางบก กรณีศึกษาอาคาร 4 เขตจตุจักร จังหวัดกรุงเทพมหานคร 2024-09-11T13:05:32+07:00 ปิยะวรรค์ ปิ่นแก้ว piyawan.pi@ssru.ac.th ศุภโชค สนธิไชย supachock.so@cmu.ac.th นิชาดา วงศาโรจน์ nichada.nick@gmil.com <p> งานวิจัยนี้ศึกษาการปรับปรุงออกแบบตกแต่งภายในสำนักงานกรมการขนส่งทางบก อาคาร 4 เขตจตุจักร โดยเน้นประเมินประสิทธิภาพการใช้งานพื้นที่และการจัดการพฤติกรรมการใช้พื้นที่ พร้อมเสนอแนวทางการออกแบบที่ตอบสนองความต้องการของผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ โดยใช้วิจัยเชิงคุณภาพและปริมาณ วิธีดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอนคือ 1) ค้นคว้าเก็บข้อมูลทฤษฎี แนวคิด ที่เกี่ยวข้องการออกแบบตกแต่งภายใน 2) วิเคราะห์ข้อมูลกายภาพทางสถาปัตยกรรมภายใน 3) วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการภายในพื้นที่อาคาร 4) นำเสนอผลการวิจัยด้านการออกแบบตกแต่งสถาปัตยกรรมภายใน ทั้งนี้งานวิจัยได้ศึกษาถึงกายภาพทางสถาปัตยกรรม ปัญหาความไม่สอดคล้องระหว่างความต้องการของผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการกับพฤติกรรมการใช้พื้นที่ ส่งผลต่อการใช้พื้นที่ในอาคารปัจจุบัน ผลการศึกษาจึงสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงออกแบบตกแต่งภายในอาคารกรณีศึกษาภายใต้ขอบเขตโครงการที่กำหนดไว้ 6 พื้นที่ได้แก่ (1) พื้นที่ส่วนประชาสัมพันธ์ (2) พื้นที่ทดสอบสมรรถภาพร่างกาย (3) พื้นที่อบรม (4) พื้นที่สอบภาคทฤษฎี (5) พื้นที่ส่วนทำใบอนุญาตขับขี่ และ (6) พื้นที่ส่วนสำนักงาน เพื่อให้พื้นที่อาคารกรณีศึกษามีประสิทธิภาพการใช้สอยพื้นที่ และการจัดการพื้นที่ให้สอดคล้องกับพฤติกรรมเพิ่มยิ่งขึ้น</p> <p> ผลลัพธ์เชิงปริมาณจากการปรับปรุงออกแบบตกแต่งภายในอาคารพบว่า พื้นที่ส่วนกลางสำหรับทดสอบสมรรถภาพร่างกายและอบรมมีพื้นที่ว่างเพิ่มขึ้นประมาณ 39% แสดงถึงประสิทธิภาพการใช้พื้นที่ที่ดีขึ้น โดยการออกแบบควรพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างความต้องการของผู้ใช้และการจัดการพื้นที่ที่รองรับกิจกรรมในปัจจุบัน</p> 2024-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ssajournal/article/view/273667 การสร้างสรรค์ศิลปะการแสดงร่วมสมัย ชุด โยนีกำหนัด 2024-09-18T19:52:06+07:00 ตรีธวัฒน์ มีสมศักดิ์ treethawat_mee@g.cmru.ac.th <p> การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะการแสดง ชุด โยนีกำหนัด เป็นงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์ มีวัตถุประสงค์การสร้างสรรค์ออกแบบผลงานทางด้านศิลปะการแสดงประเภทงานร่วมสมัย เพื่อนำเสนอความต้องการของมนุษย์ในด้านกิเลสตัณหา กามอารมณ์ แสดงผ่านรูปแบบทางศิลปะการแสดงโดยใช้แนวคิดทฤษฎีทางด้านศิลปะการแสดง 7 ประการ ในมุมมองความฝันของเพศหญิง สร้างสรรค์ด้วยกระบวนการทางระเบียบวิธีวิจัย คือ การเก็บรวบรวมข้อมูลเอกสารทางวิชาการ หนังสือ ตำรา การลงพื้นที่สัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์ข้อมูลแล้วนำมาสร้างสรรค์ผลงานตามกระบวนการ</p> <p> ผลการวิจัยพบว่าการสร้างสรรค์งานศิลปะแสดง ชุด โยนีกำหนัด<strong> </strong>ประกอบไปด้วย 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1.องค์ประกอบแนวคิดแสดง 2.องค์ประกอบด้านนักแสดง 3.องค์ประกอบด้านลีลาการแสดง 4.องค์ประกอบอุปกรณ์ 5.องค์ประกอบด้านการแต่งกาย 6.องค์ประกอบด้านเสียง 7.องค์ประกอบด้านแสง การแสดงชุดนี้นำเสนอการตีความผ่านความฝันของสตรีเพศในการเสพสังวาส ความต้องการในกามกับบุรุษเพศผ่านทางการฝันที่เป็นการเร้าอารมณ์ในการจูบ ลูบ คลำ</p> 2024-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ssajournal/article/view/273864 การพัฒนาลวดลายจิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร ไปสู่ผลงานจิตรกรรมไทยร่วมสมัย 2024-10-01T14:20:58+07:00 จิรวัฒน์ การนอก Jirawat.ka@ssru.ac.th <p> การพัฒนาลวดลายจิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหารไปสู่ผลงานจิตรกรรมไทยร่วมสมัย โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาลวดลายจิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร ให้มีความเชื่อมโยงกับเทคนิควิธีการสร้างสรรค์ด้านจิตรกรรมไทยร่วมสมัย โดยการจัดวางองค์ประกอบมีลักษณะเป็นโครงสร้างอิสระ 2) เพื่อนำเอารูปแบบลวดลายจิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร มาเป็นสื่อแสดงออกถึงอารมณ์ความรู้สึก รวมถึงจินตนาการที่เกิดขึ้นจากการควบคุมและความบังเอิญของเทคนิคในทางจิตรกรรม 3) เพื่อเผยแพร่ผลงานในระดับนานาชาติและสร้างแรงบันดาลใจต่อผู้พบเห็น ที่ได้เห็นคุณค่าความงามความเข้าใจในสุนทรียะแห่งความงามอย่างลึกซึ้ง และความสำคัญของภาพภาพจิตรกรรมฝาผนังไทย</p> <p> โดยวิธีดำเนินงานการสร้างสรรค์ผลงานสร้างสรรค์มี 3 ลักษณะ 1) การศึกษาสำรวจเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ผลงานสร้างสรรค์ 2) การทดลองและทำการสร้างภาพร่าง พื้นผิว และการจัดวางองค์ประกอบเพื่อหาแนวทางของภาพจริงที่จะสร้างสรรค์ 3) ประเมินผลงานด้านจิตรกรรมสรุปผลและนำเสนอผลงาน ผลการวิจัยพบว่าการพัฒนาลวดลายจิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหารไปสู่ผลงานจิตรกรรมไทยร่วมสมัยโดยการพัฒนาและคลี่คลายจากลวดลายจิตรกรรมไทยประเพณีดั้งเดิมผสมผสานสอดแทรกสัตว์วรรณคดีและสัตว์ในป่าหิมพานต์สู่รูปแบบผลงานจิตรกรรมไทยร่วมสมัยเฉพาะตน</p> 2024-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ssajournal/article/view/273911 การพัฒนารูปแบบของตกแต่งห้องนอน จากเสื่อกกแปรรูปด้วยเทคนิคงานปัก กลุ่มทอผ้ามัดหมี่และเสื่อกกแปรรูป ตำบลห้วยแก้ว จังหวัดพิจิตร 2024-09-11T13:05:26+07:00 สุกัญญา จันทกุล Sukunya.cha@rmutp.ac.th ศักรินทร์ หงส์รัตนาวรกิจ sakkarin.ho@rmutp.ac.th มธุรส ข่มจิตร์ maturos.k@rmutp.ac.th <p> งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนารูปแบบของตกแต่งห้องนอนจากเสื่อกกแปรรูปด้วยเทคนิคงานปัก กลุ่มทอผ้ามัดหมี่และเสื่อกกแปรรูป ตำบลห้วยแก้ว จังหวัดพิจิตร ผู้วิจัยได้ออกแบบของตกแต่งห้องนอนจากเสื่อกกแปรรูปด้วยเทคนิคงานปักที่มีความเรียบง่ายของรูปทรง ซึ่งได้ประยุกต์ร่วมกับการใช้วัสดุอื่นเพื่อสร้างความหลากหลายของรูปแบบและการใช้งานที่เหมาะสม ออกแบบของตกแต่งห้องนอน ได้แก่ โคมไฟตั้งโต๊ะ โคมไฟไม้ หมอนอิงทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า หมอนอิงทรงสี่เหลี่ยมจตุรัส แผ่นรองโต๊ะข้างเตียง แผ่นเช็ดเท้า กล่องใส่ของหัวเตียง จำนวนผลิตภัณฑ์ละ 3 รูปแบบ เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญ 5 คน พิจารณาเลือกรูปแบบที่เหมาะสม จัดทำต้นแบบผลิตภัณฑ์ จากนั้นประเมินต้นแบบผลิตภัณฑ์จากกลุ่มตัวอย่างคือบุคคลทั่วไปจำนวน 100 คน นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย และค่าร้อยละนำเสนอในรูปแบบของตารางประกอบความเรียง</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า แรงบันดาลใจการตัดเย็บของตกแต่งห้องนอนใช้วัสดุที่เหมาะสมกับการปัก ได้แก่ เลื่อม ลูกปัด มุก ปักลวดลายพันธุ์พฤกษา และเลือกใช้โทนสี ม่วง ชมพู ขาว ความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการออกแบบชุดตกแต่งห้องนอน อยู่ในระดับมาก มีค่า (𝑥̅ = 4.19) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ด้านความคิดสร้างสรรค์ อยู่ในระดับมาก มีค่า (𝑥̅ = 4.23) ด้านผลิตภัณฑ์ชุดตกแต่งห้องนอน อยู่ในระดับมาก มีค่า (𝑥̅ = 4.15) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ความสวยงามของผลิตภัณฑ์สามารถเพิ่มมูลค่าของสินค้า อยู่ในระดับมาก มีค่า (𝑥̅ = 4.24) ด้านประโยชน์ใช้สอย อยู่ในระดับมาก มีค่า (𝑥̅ = 4.20) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ผลิตภัณฑ์เหมาะสมที่จะนำไปจำหน่ายอยู่ในระดับมาก มีค่า (𝑥̅ = 4.31)</p> 2024-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ssajournal/article/view/273985 การศึกษากลวิธีการเรียนรู้ภาษาเยอรมันของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนสตรีภูเก็ต 2024-08-16T11:59:59+07:00 วิชนีย์ สุวรรณสังข์ witchanee.s@psu.ac.th <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาพรวมกลวิธีการเรียนรู้ภาษาเยอรมันของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่4-6 โรงเรียนสตรีภูเก็ต 2) เพื่อศึกษาการใช้กลวิธีการเรียนรู้ภาษาเยอรมันแต่ละชั้นปีของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสตรีภูเก็ต ที่เรียนวิชาภาษาเยอรมัน จำนวน 124 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามกลวิธีการเรียนรู้ภาษาเยอรมันของผู้เรียน (1) กลวิธีที่ใช้ความจำความจำ (2) กลวิธีที่ใช้ความรู้ความเข้าใจ (3) กลวิธีที่ใช้การเสริมและการทดแทน 4) กลวิธีที่ใช้อภิปัญญา (5) กลวิธีเชิงวิภาพ (6) กลวิธีทางสังคม วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า ภาพรวมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนสตรีภูเก็ตใช้กลวิธีเชิงวิภาพมากที่สุด รองลงมาคือกลวิธีอภิปัญญา และกลวิธีที่ใช้ความรู้ความเข้าใจน้อยที่สุด และเมื่อแยกย่อยลงมาจะเห็นว่า นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ใช้กลวิธีเชิงวิภาพมากที่สุด นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ใช้กลวิธีอภิปัญญามากที่สุด และกลวิธีที่นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ใช้น้อยที่สุด คือ กลวิธีที่ใช้ความรู้ความเข้าใจ</p> 2024-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ssajournal/article/view/273099 อิทธิพลของแนวคิดพื้นฐานการจัดการศึกษาที่มีต่อวิธีสอนแบบโมเดลซิปปา ในวิชาสัมมนาการบริหารงานตำรวจ 2024-09-24T13:54:30+07:00 พิชศาล พันธุ์วัฒนา pitsarn_ph@rpca.ac.th <p> การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความคิดเห็นของนักเรียนนายร้อยตำรวจที่มีต่อแนวคิดพื้นฐานการจัดการศึกษา 5 ด้านประกอบด้วย (1) การสรรค์สร้างความรู้ (2) กระบวนการกลุ่มและการเรียนแบบร่วมมือ (3) ความพร้อมในการเรียนรู้ (4) การเรียนรู้กระบวนการ และ (5) การถ่ายโอนการเรียนรู้ 2) อิทธิพลของแนวคิดพื้นฐานการจัดการศึกษาที่มีต่อวิธีสอนแบบโมเดลซิปปา ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากนักเรียนนายร้อยตำรวจจำนวน 125 คน โดยใช้แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบ งานวิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและเทคนิคการวิเคราะห์เส้นทาง</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนนายร้อยตำรวจมีความคิดเห็นต่อแนวคิดพื้นฐานการจัดการศึกษาทั้ง 5 ด้านในระดับปานกลาง เรียงตามลำดับจากมากไปน้อยได้แก่ ด้านการถ่ายโอนการเรียนรู้ (𝑥̅= 2.74, <em>S.D.</em><em> </em>= 0.66) ด้านกระบวนการกลุ่มและการเรียนแบบร่วมมือ (𝑥̅= 2.72, <em>S.D.</em>= 0.59) ด้านความพร้อมในการเรียนรู้ (𝑥̅= 2.63, <em>S.D.</em>= 0.78) ด้านการเรียนรู้กระบวนการ (𝑥̅= 2.61, <em>S.D.</em>= 0.94) และด้านการสรรค์สร้างความรู้ (𝑥̅= 2.59, <em>S.D.</em>= 0.66) เป็นลำดับท้าย และ 2) การถ่ายโอนการเรียนรู้มีอิทธิพลทางตรง (0.844) มากที่สุดต่อวิธีสอนแบบโมเดลซิปปา และความพร้อมในการเรียนรู้มีอิทธิพลทั้งทางอ้อม (1.907) และผลรวม (2.725) มากที่สุดต่อวิธีสอนแบบโมเดลซิปปา</p> 2024-12-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา