Suan Sunandha Asian Social Science https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ssajournal <p><strong>Suan Sunandha Asian Social Science journal (ชื่อเดิมวารสารสวนสุนันทาวิชาการและวิจัย) </strong><a href="https://drive.google.com/file/d/1nbTFj6aAeI9FA68zKzpnqWunXHlRJkPq/view?usp=drive_link">ปฏิทินรับบทความ</a></p> <p><strong>จุดมุ่งหมายและขอบเขต</strong></p> <p>Suan Sunandha Asian Social Science journal เป็นวารสารวิชาการระดับชาติที่สนับสนุนโดยมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่ผลงานทางวิชาการที่มีคุณภาพหรืองานวิจัยด้าน ศึกษาศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์ วารสารเป็นสื่อกลางในการเสนอและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง </p> <p><strong>ข้อมูลวารสาร</strong></p> <p>Suan Sunandha Asian Social Science journal ยินดีรับบทความวิจัยด้านศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์ ตีพิมพ์เผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ (มกราคม-มิถุนายน และ กรกฎาคม-ธันวาคม) จัดทำโดยสถาบันวิจัยและพัฒนา บทความจะได้รับการประเมินคุณภาพของบทความ ทั้งในด้านเนื้อหา และความเกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ของวารสาร จากผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 2 ท่านในสาขาที่เกี่ยวข้องกับบทความ</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong></p> <ul> <li class="show">เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่ผลงานทางวิชาการหรือผลงานวิจัยที่มีคุณภาพด้าน ศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์</li> <li class="show">เพื่อเป็นสื่อในการนำเสนอและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางวิชาการด้าน ศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์</li> </ul> <p><strong>เลขประจำวารสาร (ISSN):</strong><a href="https://portal.issn.org/resource/ISSN/1905-9353" target="_blank" rel="noopener"> 1905-9353</a></p> <p><strong>เลขประจำวารสาร E-ISSN: <a href="https://portal.issn.org/resource/ISSN/2697-6331">2697-6331</a> (Online)</strong></p> <p><strong>การประเมิน:</strong> Double-blind (ผู้ประเมินไม่ทราบชื่อผู้แต่ง และผู้แต่งไม่ทราบชื่อผู้ประเมิน) </p> <p><strong>สาขาที่เปิดรับ</strong></p> <p><strong>สาขาที่เปิดรับ </strong>สาขาศึกษาศาสตร์และสาขาที่เกี่ยวข้อง </p> <ul> <li>ปรัชญาการศึกษา</li> <li>การพัฒนาหลักสูตร</li> <li>การจัดการเรียนรู้</li> <li>การประเมินผล</li> <li>จิตวิทยา</li> <li>นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา</li> <li>วิจัยและสถิติการศึกษา</li> </ul> <p><strong>สาขาที่เปิดรับ </strong>สาขาศิลปกรรมศาสตร์และสาขาที่เกี่ยวข้อง ที่มีสาระเกี่ยวกับ </p> <ul> <li>ปรัชญาและศาสนา</li> <li>ศิลปวัฒนธรรม-ศิลปะการแสดง</li> <li> ประวัติศาสตร์</li> <li>ชาติพันธุ์</li> <li> ศิลปกรรม-สถาปัตยกรรม</li> </ul> <p><strong>บทความที่เปิดรับ </strong></p> <p><strong>บทความที่เปิดรับ</strong></p> <ul> <li>บทความวิจัย* (ด้านศึกษาศาสตร์)</li> <li>บทความวิชาการและบทความวิจัย (ด้านศิลปศาสตร์)</li> </ul> <p><strong>ภาษา</strong><strong>:</strong> ภาษาไทยและอังกฤษ</p> <p><strong>ค่าธรรมเนียมในการเผยแพร่</strong><strong>:</strong> ไม่เสียค่าใช้จ่าย (ผู้ทรงคุณวุฒิ 2 ท่าน)</p> <p> 1,000 บาท (ผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน) </p> <p><strong>การเผยแพร่</strong><strong>:</strong> 2 ฉบับต่อปี <a href="https://drive.google.com/file/d/1nbTFj6aAeI9FA68zKzpnqWunXHlRJkPq/view?usp=drive_link">ปฏิทินรับบทความ</a></p> <p>เล่ม 1 (มกราคม-มิถุนายน)</p> <p>เล่ม 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม)</p> <p><strong>เจ้าของวารสาร:</strong> <a href="https://ird.ssru.ac.th/en/home">สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา</a></p> <p><strong>การวัดดัชนีและบทคัดย่อ</strong></p> <p>วารสารสวนสุนันทาวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ได้รับการจัดอันดับโดย <a href="https://tci-thailand.org/?p=3796">ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI)</a>, <a href="https://scholar.google.com/">Google Scholar</a>, <a href="https://www.asean-cites.org/aci_search/journal.html?b3BlbkpvdXJuYWwmaWQ9NDgz">ASEAN Citation Index (ACI)</a></p> Institute for Research and Development, Suan Sunandha Rajabhat University th-TH Suan Sunandha Asian Social Science 1905-9353 <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ <a href="http://www.ird.ssru.ac.th/th/home" target="_blank" rel="noopener">สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันท</a>า</p> <p>ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว</p> การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะการให้คำปรึกษาวัยรุ่น สำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ssajournal/article/view/265133 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับการพัฒนาสมรรถนะการให้คำปรึกษาวัยรุ่นสำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู และเพื่อนำเสนอหลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะการให้คำปรึกษาวัยรุ่นสำหรับนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ประชากรในการวิจัย คือนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ที่กำลังฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในปีการศึกษา 2564 จำนวน 347 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นเป็นจำนวน 189 คน และเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบประเมินความต้องการจำเป็นแล้ววิเคราะห์ด้วยวิธี Priority Needs Index แบบปรับปรุง จากนั้นออกแบบเป็นหลักสูตรฉบับร่างโดยให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คนตรวจสอบคุณภาพ เมื่อปรับปรุงพัฒนาเป็นหลักสูตรฉบับสมบูรณ์แล้วจึงให้ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 15 คนประเมินคุณภาพ โดยวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยเลขคณิตและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของข้อมูล</p> <p> ซึ่งผลการศึกษาพบว่า 1) นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ปีการศึกษา 2564 มีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาความสามารถในการยุติการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการนำผลการติดตามมาสรุปแนวทางการให้ปรึกษาเป็นรายกรณีมากที่สุด (PNI<sub>modified</sub>= 0.51) และมีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาความสามารถในการบอกผลทางบวกและทางลบของทางเลือกในการแก้ปัญหาน้อยที่สุด (PNI<sub>modified</sub>= 0.19) 2) หลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะการให้คำปรึกษาวัยรุ่นสำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูที่พัฒนาขึ้นมี 1) จุดมุ่งหมายของหลักสูตรคือพัฒนาสมรรถนะการให้คำปรึกษาวัยรุ่น 2) เนื้อหาสาระครอบคลุมหลักการ เทคนิควิธี และทักษะต่าง ๆ ในการให้คำปรึกษาวัยรุ่น 3) การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ประกอบด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ภายในเวลาและกิจกรรมฝึกปฏิบัติระหว่างสัปดาห์ และ 4) การวัดและประเมินผลโดยผู้เชี่ยวชาญ ผู้รับคำปรึกษา ผู้สังเกตการณ์ และผู้เข้าฝึกอบรมประเมินตนเอง ทั้งนี้หลักสูตรที่พัฒนาขึ้นมีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 4.51, <strong>S.D.</strong> = 0.59)</p> สุทธิพร แท่นทอง ธีรารัตน์ ทิพย์จรัสเมธา เพียงฤทัย พุฒิคุณเกษม Copyright (c) 2023 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-20 2023-12-20 17 2 1 13 ความสุขในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยพะเยา https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ssajournal/article/view/266874 <p> บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับความสุขในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยพะเยา 2) เพื่อเปรียบเทียบความสุขในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยพะเยาจำแนกตามเพศ ระดับชั้น ความเพียงพอของรายรับที่ได้จากครอบครัว และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รูปแบบการวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบเชิงสำรวจ พื้นที่วิจัย คือ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยพะเยากลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยพะเยาปีการศึกษา 2566 จำนวน 553 คน ใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี แบบสอบถามเรื่อง “ความสุขในการเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนสาธิตสาธิตมหาวิทยาลัยพะเยา” โดยแบบสอบถามแบ่งออกเป็น 3 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1) เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยด้านส่วนตัว มีจำนวน 31 ข้อ ตอนที่ 2) เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยด้านครอบครัว มีจำนวน 11 ข้อ และตอนที่ 3) เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยด้านสถานศึกษา มีจำนวน 22 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาระดับความสุขในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยพะเยานักเรียนชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยพะเยา มีความสุขในการเรียนอยู่ในระดับมาก (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 3.90) 2) ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างความสุขในการเรียนของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยพะเยาที่มีความสุขในการเรียน ที่ไม่แตกต่างกันประกอบไปด้วย เพศ ระดับชั้น จึงไม่สอดคล้องกับสมมุติฐานที่ผู้วิจัยตั้งไว้ ส่วนความสุขในการเรียนแตกต่างกันประกอบไปด้วย ความเพียงพอของรายรับที่ได้จากครอบครัว และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05</p> พัชรินทร์ คัตสัตสทรี Copyright (c) 2023 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-20 2023-12-20 17 2 43 55 การประเมินสมรรถนะด้านการสื่อสารสุขภาพในกลุ่มผู้สูงอายุของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดปทุมธานี https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ssajournal/article/view/266979 <p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการพัฒนาสมรรถนะด้านการสื่อสารสุขภาพ 2) ประเมินสมรรถนะด้านการสื่อสารสุขภาพในกลุ่มผู้สูงอายุของ อสม. จังหวัดปทุมธานี การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed methods research) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง ในการวิจัย ได้แก่ อสม. จำนวน 32 คน ที่ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า สมรรถนะด้านการสื่อสารสุขภาพของกลุ่มตัวอย่างด้านความรู้ทางกระบวนการสื่อสารมีค่าเฉลี่ย 4.08 ด้านทักษะการสื่อสารมีค่าเฉลี่ย 4.31 ด้านแรงจูงใจในการสื่อสารมีค่าเฉลี่ย 3.47 ด้านการรู้จักตนเองมีค่าเฉลี่ย 4.60 ด้านปัจจัยที่ส่งผลสำเร็จในการสื่อสารสุขภาพในกลุ่มผู้สูงอายุมีค่าเฉลี่ย 3.71 ด้านมาตรฐานการปฏิบัติงานในชุมชนมีค่าเฉลี่ย 4.27 ผลจากการสำรวจความต้องการพัฒนาสมรรถนะด้านการสื่อสารสุขภาพในกลุ่มผู้สูงอายุ พบว่า กลุ่มตัวอย่าง มีความต้องการพัฒนาศักยภาพทางด้านการรู้จักตนเองมากที่สุด (ร้อยละ 62.50) รองลงมา คือ การพัฒนาศักยภาพทางด้านความรู้ด้านกระบวนการสื่อสาร (ร้อยละ 53.12) แรงจูงใจในการสื่อสาร (ร้อยละ 40.62) และด้านทักษะการสื่อสาร (ร้อยละ 18.75) ผลที่ได้จากการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการสื่อสารสุขภาพในกลุ่มผู้สูงอายุของ อสม. จังหวัดปทุมธานี ให้สอดคล้องกับความต้องการของแต่ละตำบลได้ในอนาคต</p> ปวิช เรียงศิริ บุษบา แฝงสาเคน Copyright (c) 2023 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-20 2023-12-20 17 2 56 67 ผลการใช้กระบวนการกลุ่มเพื่อพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้แบบ Active learning สำหรับครูในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ ในเขตจังหวัดพะเยาและจังหวัดแพร่ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ssajournal/article/view/267018 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลการใช้กระบวนการกลุ่มเพื่อพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สำหรับครูในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ในเขตจังหวัดพะเยาและจังหวัดแพร่ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลคะแนนของความรู้ในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูต่อการจัดกิจกรรมกระบวนการกลุ่ม วิธีการดำเนินการวิจัยเป็นแบบกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง คือ ครูผู้สอนสังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ในเขตจังหวัดพะเยาและจังหวัดแพร่ โดยการสุ่มแบบอย่างง่าย จำนวน 72 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดกิจกรรมแบบกระบวนการกลุ่มจำนวน 16 ชั่วโมง แบบประเมินความรู้ในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก และแบบประเมินความพึงพอใจของครูผู้สอน การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าสถิติ t-test</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการกลุ่มตามแนวคิดของ Trotzer เพื่อพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สำหรับครูในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ในเขตจังหวัดพะเยาและจังหวัดแพร่ มีทั้งหมด 5 ขั้นตอนที่ทำให้ครูผู้สอนเกิดทักษะการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก คือ ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างความมั่นคงปลอดภัยภายในกลุ่ม 2) ขั้นการยอมรับกลุ่ม 3) ขั้นสร้างความรับผิดชอบต่อตนเอง 4) ขั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงแก้ไข และ 5) ขั้นยุติกลุ่ม ผลการเปรียบเทียบผลคะแนนของความรู้ในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ของครูหลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความคิดเห็นของครูต่อการเข้าร่วมกิจกรรมกระบวนการกลุ่มอยู่ในระดับมากที่สุด</p> ลำไย สีหามาตย์ คนึงนิตย์ วันนิตย์ สมชาย เด็ดขาด เมทิกา เลิศปฐมา Copyright (c) 2023 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-20 2023-12-20 17 2 96 104 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและศักยภาพหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและการจัดการนวัตกรรม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ssajournal/article/view/265959 <p>ด้วยสภาพเศรษฐกิจ สังคม และการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีในปัจจุบัน ส่งผลให้ระบบการศึกษาไทยจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง และปรับตัวรับกับความต้องการด้านอุตสาหกรรมสมัยใหม่มากขึ้น เพื่อเป็นการหาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกศึกษาต่อ รวมถึงแนวทางการพัฒนาหลักสูตรในอนาคต คณะผู้วิจัยจึงออกแบบเครื่องมือสำหรับใช้ในการเก็บข้อมูล เป็นแบบสอบถามแบบปลายเปิดเรื่อง “ประเมินความพร้อม หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและการจัดการนวัตกรรม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน” ดำเนินการพัฒนาเครื่องมือพร้อมนำผลมาวิเคราะห์ ด้วย SWOT Analysis ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 45 คน ซึ่งเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและการจัดการนวัตกรรม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยการวิเคราะห์ จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส อุปสรรค จำนวน 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านเนื้อหารายวิชาที่จัดการเรียนการสอน 2) ด้านอาจารย์ผู้สอนและอาจารย์ประจำหลักสูตร 3) ด้านสภาพแวดล้อมและบรรยากาศต่อการศึกษาค้นคว้า 4) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกและบรรยากาศในการจัดการเรียนการสอน 5) ด้านการบริหารจัดการหลักสูตร พร้อมทั้งศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าศึกษาต่อหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สรุปได้ว่า หลักสูตรฯ มีจุดที่ควรพัฒนา ปรับปรุง เช่น ควรปรับปรุงหลักสูตรให้มีระยะเวลาในการศึกษาสั้นลง หรืออาจารย์ผู้สอนมีทักษะที่หลากหลายมากขึ้น เพื่อที่จะถ่ายทอดความรู้แก่ผู้เรียนได้อย่างเต็มที่ ผู้วิจัยเห็นว่า จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการปรับปรุงและกำหนดทิศทางต่าง ๆ ในการบริหารหลักสูตร ให้ประสบความสำเร็จและบรรลุตามวัตถุประสงค์ดังปรัชญาของสถาบันต่อไป</p> ฐวิกาญจน์ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา กฤชนันท์ เจริญสุข นันทิยาพร ทินรุ่ง มณฑกาญจน์ ภุมรา Copyright (c) 2023 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-20 2023-12-20 17 2 14 27 สถานภาพงานวิจัยในวงการวิชาการจีนเกี่ยวกับคนไทยเชื้อสายจีนและชาวจีนโพ้นทะเลในประเทศไทย (พ.ศ. 2553-2565) https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ssajournal/article/view/266374 <p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์มุ่งที่จะศึกษาและวิเคราะห์สถานภาพงานวิจัยของนักวิชาการจีนในประเด็นเกี่ยวกับคนไทยเชื้อสายจีนและชาวจีนโพ้นทะเลในประเทศไทยนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 จนถึงปี พ.ศ. 2565 เป็นระยะเวลา 13 ปี โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเว็บไซต์โครงสร้างพื้นฐานความรู้แห่งชาติของประเทศจีน รวมจำนวนทั้งสิ้น 32 เรื่อง</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า งานวิจัยเหล่านี้จำแนกได้เป็น 4 กลุ่มหลักเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การวิจัยด้านวัฒนธรรม การวิจัยด้านสังคม การวิจัยด้านการเมือง และการวิจัยด้านเศรษฐกิจ โดยประเด็นการวิจัยครอบคลุมหลายแง่มุมนับตั้งแต่ความเชื่อทางศาสนาของชาวจีนโพ้นทะเล จนถึงอัตลักษณ์และการหลอมรวมทางวัฒนธรรมจีน-ไทยต่าง ๆ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงในสังคมจีนโพ้นทะเล และสมาคมสังคมชาวจีนในประเทศไทย ตลอดจนความเปลี่ยนแปลงในชีวิตทางการเมือง และสภาพทั่วไปเกี่ยวกับเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดี แม้เนื้อหาการวิจัยเกี่ยวกับคนไทยเชื้อสายจีนและชาวจีนโพ้นทะเลในประเทศไทยจะค่อย ๆ ลุ่มลึกและละเอียดพิถีพิถันมากขึ้น แต่การวิจัยในอนาคตก็ยังมีประเด็นที่น่าติดตาม และสมควรศึกษาต่อยอดอีกหลายประการในแต่ละประเด็น</p> เหยา ซือฉี หวาง หยวนหยวน Copyright (c) 2023 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-20 2023-12-20 17 2 28 42 การศึกษาการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนในรูปแบบผสมผสาน (Blended Learning) ระดับอุดมศึกษา https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ssajournal/article/view/267015 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะทางกายภาพในการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนรูปแบบผสมผสานที่ส่งผลต่อคุณภาพผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2) เพื่อศึกษาข้อดีและข้อจำกัดของการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนผ่านรูปแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง คือ อาจารย์ผู้สอนในสาขาภาษาจีนจากทั่วประเทศไทยโดยเลือกแบบเจาะจงจาก 1 มหาวิทยาลัยของแต่ละภูมิภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ทั้งหมด 5 มหาวิทยาลัย จำนวนอาจารย์ทั้งหมด 60 คน โดยแบ่งขอบเขตเชิงเนื้อหารายวิชาออกเป็น 2 ลักษณะ ประกอบด้วยวิชาภาษาจีนเชิงทักษะพิสัย (Skill domain) และวิชาภาษาจีนเชิงพุทธิพิสัย (Cognitive domain)ช่วงเวลาที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือช่วงปีการศึกษา 2563 โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสม (Mixed method) โดยเก็บข้อมูลในรูปแบบของแบบสอบถามและสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในงานวิจัยคือการวิเคราะห์ค่าเปอร์เซ็นต์ และการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ลักษณะทางกายภาพในการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนรูปแบบผสมผสาน ด้านสัดส่วนเนื้อหาสาระการเรียนรู้รายวิชาภาษาจีนเชิงทักษะพิสัยมากกว่ารายวิชาภาษาจีนเชิงพุทธิพิสัย ส่งผลกระทบต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่แตกต่างกัน จำนวนนักศึกษาต่อตอนเรียนในรายวิชาภาษาจีนเชิงทักษะพิสัยอยู่ที่ 30-39 คน และในรายวิชาภาษาจีนเชิงพุทธิพิสัย 30-59 คน รูปแบบการเรียนการสอนรายวิชาภาษาจีนเชิงทักษะพิสัยใช้วิธีการอัดวีดิทัศน์การสอน จากนั้นเข้าชั้นเรียนจริงเพื่อฝึกฝนทักษะ รายวิชาภาษาจีนเชิงพุทธิพิสัยใช้รูปแบบการสอนแบบถ่ายทอดสด (live) พร้อมทั้งอัดวีดิทัศน์เพื่อให้นักศึกษาสามารถศึกษาย้อนหลังได้ สำหรับปัญหาที่พบ ได้แก่ ปัญหาอินเทอร์เน็ต ปัญหาสภาพแวดล้อมในการเรียนของนักศึกษา ปัญหานักศึกษาไม่เรียนรู้ด้วยตนเอง และปัญหาที่พบขณะคุมสอบแบบออนไลน์ ซึ่งการคุมสอบออนไลน์ถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการวัดและประเมินผล จึงส่งผลให้การวัดและประเมินผลในรายวิชาภาษาจีนเชิงทักษะพิสัยและพุทธิพิสัยมีการปรับเปลี่ยนเล็กน้อยหลังจากการใช้วิธีการจัดการเรียนการสอนรูปแบบผสมผสาน และพบว่าคุณภาพด้านผลการศึกษาของผู้เรียนมีทั้งเพิ่มขึ้นและลดลง ส่วนมากจะขึ้นอยู่กับการปรับตัวให้เข้ากับรูปแบบการเรียนการสอนของผู้เรียน 2) ข้อดีและข้อจำกัดของการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนรูปแบบผสมผสานสรุปผ่านมุมมองของอาจารย์ผู้สอน มีดังนี้ 2.1) ข้อดี ผู้เรียนมีอิสระในการเรียนรู้ภาษาจีนเพิ่มขึ้น สื่อการสอนภาษาจีนมีความหลากหลายมากขึ้น ผู้เรียนและผู้สอนมีปฏิสัมพันธ์ในการสื่อสารระหว่างกันเพิ่มมากขึ้น และผู้เรียนเริ่มปรับตัวให้เหมาะสมกับการเรียนการสอนรูปแบบผสมผสาน 2.2) ข้อจำกัด พบว่าอุปกรณ์การเรียนและสภาพแวดล้อมในขณะเรียนไม่พร้อม อาจารย์ใช้เวลาในการเตรียมการสอนเพิ่มขึ้น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาจีนของนักศึกษาเกิดความคลาดเคลื่อน และพบปัญหาทักษะภาษาจีนของผู้เรียนในด้านการนำเสนอหน้าชั้นเรียน การออกเสียง การเขียนภาษาจีน และการแสดงบทบาทสมมติเป็นภาษาจีน</p> จิรญา โฮ วงศ์ใหญ่ ธรรมพร กุศลสวัสดิ์ Copyright (c) 2023 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-20 2023-12-20 17 2 81 95 การพัฒนากลยุทธ์การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมโรงเรียนธาตุพนม https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ssajournal/article/view/266990 <p> บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (SWOT Analysis) โรงเรียนธาตุพนม หาจุดอ่อน จุดแข็ง โอกาสและอุปสรรค 2) เป็นแนวทางพัฒนาสถานศึกษาในด้านกลยุทธ์บริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม การพัฒนากลยุทธ์บริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมโรงเรียนธาตุพนม เป็นการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (SWOT Analysis) โรงเรียนธาตุพนม เพื่อหาจุดอ่อน จุดแข็ง โอกาสและอุปสรรค เป็นแนวทางพัฒนาสถานศึกษาในด้านกลยุทธ์บริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม บทความนี้เนื้อหาประกอบด้วย1) บทนำ 2) ศึกษาวิเคราะห์สภาพปัจจุบันและบริบทของสถานศึกษา 3) ประเมินสถานภาพสถานศึกษา 4) กำหนดกลยุทธ์บริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม 5) การนำกลยุทธ์การนำทรัพยากรทางวัฒนธรรมมาใช้ในโรงเรียนธาตุพนม โดยมีกลยุทธ์การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมโรงเรียนธาตุพนมแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมคือ 1) สร้างความตระหนัก 2) เข้าถึงวัฒนธรรม 3) บูรณาการความรู้ 4) เผยแพร่วัฒนธรรม แหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมที่สำคัญของโรงเรียนธาตุพนม คือ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร</p> วราจิตร พรมเกตุ Copyright (c) 2023 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-20 2023-12-20 17 2 68 80 แนวคิดและวิธีการเจริญสติในสตรีตั้งครรภ์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ssajournal/article/view/257628 <p> สตรีตั้งครรภ์จะมีการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งทางร่างกาย จิตใจและสังคม ซึ่งก่อให้เกิดความทุกข์ทางจิตใจได้ตั้งแต่ในระยะตั้งครรภ์ ความวิตกกังวลและความเครียดเกี่ยวกับทารกในครรภ์ ความคาดหวังในเรื่องเพศและการเลี้ยงดูบุตร การเผชิญกับความเจ็บปวดขณะเจ็บครรภ์คลอด รวมถึงการปฏิบัติตนในระยะหลังคลอด ความทุกข์ทางด้านจิตใจสามารถป้องกันและบรรเทาได้ด้วยการเจริญสติ ฝึกให้มีสติในการการดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์ โดยรู้ถึงอิริยาบถขณะปัจจุบัน ตามรู้ถึงสภาวะจิตได้มากขึ้น จะช่วยแก้ไขปัญหาทางความคิดที่สับสน ความเครียด ความวิตกกังวลและการบรรเทาความเจ็บปวดในแต่ละระยะ ตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอดและภายหลังคลอด รวมถึงการป้องกันและลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ในแต่ละระยะได้ บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนวคิดและวิธีการเจริญสติในสตรีตั้งครรภ์ในทุกระยะ ตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอดและระยะหลังคลอด โดยจะกล่าวถึงความหมายของสติ ประโยชน์ของสติสัมปชัญญะ วิธีการเจริญสติ การเปลี่ยนแปลงในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอดและระยะหลังคลอด รวมถึงวิธีการเจริญสติในแต่ละระยะของการตั้งครรภ์</p> มาลีวัล เลิศสาครศิริ Copyright (c) 2023 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-20 2023-12-20 17 2 105 117