Suan Sunandha Asian Social Science https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ssajournal <p><strong>Suan Sunandha Asian Social Science journal (ชื่อเดิมวารสารสวนสุนันทาวิชาการและวิจัย) </strong><a href="https://drive.google.com/file/d/1nbTFj6aAeI9FA68zKzpnqWunXHlRJkPq/view?usp=drive_link">ปฏิทินรับบทความ</a></p> <p><strong>จุดมุ่งหมายและขอบเขต</strong></p> <p>Suan Sunandha Asian Social Science journal เป็นวารสารวิชาการระดับชาติที่สนับสนุนโดยมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่ผลงานทางวิชาการที่มีคุณภาพหรืองานวิจัยด้าน ศึกษาศาสตร์, สาขาศิลปศาสตร์ และสาขาการท่องเที่ยว วารสารเป็นสื่อกลางในการเสนอและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง </p> <p><strong>ข้อมูลวารสาร</strong></p> <p>Suan Sunandha Asian Social Science journal ยินดีรับบทความวิจัยด้านศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์ ตีพิมพ์เผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ (มกราคม-มิถุนายน และ กรกฎาคม-ธันวาคม) จัดทำโดยสถาบันวิจัยและพัฒนา บทความจะได้รับการประเมินคุณภาพของบทความ ทั้งในด้านเนื้อหา และความเกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ของวารสาร จากผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 2 ท่านในสาขาที่เกี่ยวข้องกับบทความ</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong></p> <ul> <li class="show">เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่ผลงานทางวิชาการหรือผลงานวิจัยที่มีคุณภาพด้าน ศึกษาศาสตร์, สาขาศิลปศาสตร์ และสาขาการท่องเที่ยว</li> <li class="show">เพื่อเป็นสื่อในการนำเสนอและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางวิชาการด้าน ศึกษาศาสตร์, สาขาศิลปศาสตร์ และสาขาการท่องเที่ยว</li> </ul> <p><strong>เลขประจำวารสาร (ISSN): <a href="https://portal.issn.org/resource/ISSN/3027-8627">3027-8627</a></strong> <strong>(Online)</strong></p> <p><strong>เลขเดิมที่ขอยกเลิกเพื่อเปลี่ยนชื่อวารสารใหม่</strong></p> <p><strong>ISSN: 1905-9353</strong></p> <p><strong>ISSN: 2697-6331 (Online)</strong></p> <p> </p> <p><strong>การประเมิน:</strong> Double-blind (ผู้ประเมินไม่ทราบชื่อผู้แต่ง และผู้แต่งไม่ทราบชื่อผู้ประเมิน) </p> <p><strong>สาขาที่เปิดรับ</strong></p> <p><strong>สาขาศึกษาศาสตร์ </strong>ที่มีสาระเกี่ยวกับ</p> <ul> <li>ปรัชญาการศึกษา</li> <li>การพัฒนาหลักสูตร</li> <li>การจัดการเรียนรู้</li> <li>การประเมินผล</li> <li>จิตวิทยา</li> <li>นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา</li> <li>วิจัยและสถิติการศึกษา</li> </ul> <p><strong>สาขาศิลปกรรมศาสตร์ </strong>ที่มีสาระเกี่ยวกับ </p> <ul> <li>ปรัชญาและศาสนา</li> <li>ศิลปวัฒนธรรม-ศิลปะการแสดง</li> <li> ประวัติศาสตร์</li> <li>ชาติพันธุ์</li> <li> ศิลปกรรม-สถาปัตยกรรม</li> </ul> <p><strong>สาขาการท่องเที่ยว </strong>ที่มีสาระเกี่ยวกับ</p> <ul> <li>การจัดการธุรกิจในแหล่งท่องเที่ยว</li> <li>ภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว</li> <li>ภูมิศาสตร์การท่องเที่ยว</li> <li>อารยธรรมและประวัติศาสตร์สำหรับการท่องเที่ยว</li> <li>พฤติกรรมนักท่องเที่ยว</li> </ul> <p><strong>บทความที่เปิดรับ</strong></p> <ul> <li>บทความวิจัย* (ด้านศึกษาศาสตร์)</li> <li>บทความวิชาการและบทความวิจัย (ด้านศิลปศาสตร์)</li> <li>บทความวิชาการและบทความวิจัย (ด้านการท่องเที่ยว)</li> </ul> <p><strong>ภาษา</strong><strong>:</strong> ภาษาไทยและอังกฤษ</p> <p><strong>ค่าธรรมเนียมในการเผยแพร่</strong><strong>:</strong> ไม่เสียค่าใช้จ่าย (ผู้ทรงคุณวุฒิ 2 ท่าน)</p> <p> 1,000 บาท (ผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน) </p> <p><strong>การเผยแพร่</strong><strong>:</strong> 2 ฉบับต่อปี <a href="https://drive.google.com/file/d/1nbTFj6aAeI9FA68zKzpnqWunXHlRJkPq/view?usp=drive_link">ปฏิทินรับบทความ</a></p> <p>เล่ม 1 (มกราคม-มิถุนายน)</p> <p>เล่ม 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม)</p> <p><strong>เจ้าของวารสาร:</strong> <a href="https://ird.ssru.ac.th/en/home">สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา</a></p> <p><strong>การวัดดัชนีและบทคัดย่อ</strong></p> <p>วารสารสวนสุนันทาวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ได้รับการจัดอันดับโดย <a href="https://tci-thailand.org/?p=3796">ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI)</a>, <a href="https://scholar.google.com/">Google Scholar</a>, <a href="https://www.asean-cites.org/aci_search/journal.html?b3BlbkpvdXJuYWwmaWQ9NDgz">ASEAN Citation Index (ACI)</a></p> th-TH <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ <a href="http://www.ird.ssru.ac.th/th/home" target="_blank" rel="noopener">สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันท</a>า</p> <p>ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว</p> irdjournal@ssru.ac.th (Khajonwong Srivareerat) anuphan.su@ssru.ac.th (Anuphan Suttimarn) Fri, 07 Jun 2024 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 ภาวะผู้นำแบบปรับตัวของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนยุคนิวนอร์มัล https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ssajournal/article/view/270662 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องภาวะผู้นําแบบปรับตัวของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนยุคนิวนอร์มัล ในเขตกรุงเทพมหานคร และ2) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ภาวะผู้นําแบบปรับตัวของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนยุคนิวนอร์มัล ในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นครูผู้สอนในสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร จํานวน 322 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้เป็นลักษณะแบบสอบถาม สถิติที่ใช้เป็นการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสํารวจ (EFA) ด้วยการสกัดปัจจัย (PCA) ใช้วิธีการหมุนแกนแบบตั้งฉาก (Orthogonal) ด้วยวิธีแวริแมกซ์ (Varimax) หาค่าไอเกน (Eigan Value) ร้อยละความแปรปรวน และค่าน้ำหนักตัวแปร (Factor Loading) </p> <p> ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ภาวะผู้นําแบบปรับตัวของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนยุคนิวนอร์มัล ในเขตกรุงเทพมหานคร มี 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านทักษะการบริหาร มี 15 ตัวบ่งชี้ มีค่าไอเกน เท่ากับ 77.508 ค่าร้อยละของความแปรปรวนเท่ากับ 77.508 และมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบตั้งแต่ .666 - .925 2) ด้านมีวิสัยทัศน์ จำนวน 9 ตัวบ่งชี้ มีค่าไอเกน เท่ากับ 3.454 ค่าร้อยละของความแปรปรวนเท่ากับ 80.962 และมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบตั้งแต่ .731 - .903 3) ด้านให้อิสระการทำงาน จำนวน 12 ตัวบ่งชี้ มีค่าไอเกน เท่ากับ 2.575 ค่าร้อยละของความแปรปรวนเท่ากับ 83.537 และมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบตั้งแต่ .816 – .926 และ4) ด้านความท้าทายเชิงปรับเปลี่ยน จำนวน 14 ตัวบ่งชี้ มีค่าไอเกนเท่ากับ 2.369 ค่าร้อยละของความแปรปรวนเท่ากับ 85.906 และมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบตั้งแต่ .783 – .965</p> ฉัตรกุล เอื้อพิพัฒนากูล Copyright (c) 2024 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ssajournal/article/view/270662 Mon, 10 Jun 2024 00:00:00 +0700 นาฏยประดิษฐ์ ชุด ฮอดเติ๋งวันจั๋นเต็มดวง https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ssajournal/article/view/268928 <p> นาฏยประดิษฐ์ ชุด “ฮอดเติ๋งวันจั๋นเต็มดวง” เป็นงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์และออกแบบการแสดงนาฏศิลป์ชุดใหม่ โดยใช้แนวคิดและทฤษฎีนาฏยประดิษฐ์ร่วมกับการปฏิบัติ นำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์ แล้วนำมาสร้างสรรค์การแสดงนาฏศิลป์ตามลำดับ</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า นาฏยประดิษฐ์ ชุด ฮอดเติ๋งวันจั๋นเต็มดวง ประกอบไปด้วย 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) แนวความคิด 2) นักแสดง 3) การประพันธ์บทร้องและบรรจุเพลง 4) การออกแบบกระบวนท่ารำ 5) การออกแบบเครื่องแต่งกาย 6) การออกแบบการใช้พื้นที่การแสดง และ7) อุปกรณ์ประกอบการแสดงและการจัดวางบนเวที การแสดงชุดนี้สะท้อนประเพณีและความเชื่อเกี่ยวกับไฟเพื่อบูชาองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์บนสรวงสวรรค์ อีกทั้งเป็นการบันทึกและสืบทอดประเพณียี่เป็งของชาวล้านนาในรูปแบบการแสดงนาฏกรรม ผู้วิจัยหวังว่าจะเป็นประโยชน์ทางการศึกษา วงการศิลปะการแสดง และเป็นการอนุรักษ์เผยแพร่ประเพณีวัฒนธรรมอันงดงามของไทย</p> มนัญชยา เพชรูจี, มาริษา ทรัพย์สิน, สุพัตรา โถจันทร์, อาภัสรา ทองฤทธิ์ Copyright (c) 2024 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ssajournal/article/view/268928 Wed, 08 May 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีมของนักศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี โดยจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค (STAD) https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ssajournal/article/view/269992 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังเรียนของนักศึกษาที่ได้รับจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิคการแบ่งปันความสำเร็จ 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทำงาน เป็นทีมของนักศึกษา ระหว่างก่อนและหลังเรียนจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิคการแบ่งปันความสำเร็จ 3) ศึกษาความพึงพอใจในการเรียนของนักศึกษา ที่ได้รับจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิคการแบ่งปันความสำเร็จ กลุ่มตัวอย่าง 34 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เป็นนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาวิทยาการจัดการเรียนรู้และประกันคุณภาพการศึกษา ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิคการแบ่งปันความสำเร็จ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์เท่ากับ 0.81 3) แบบประเมินทักษะกระบวนการทำงานเป็นทีม ค่าความเชื่อมั่นของแบบประเมินทักษะเท่ากับ 0.74 และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจในการเรียนของนักศึกษา ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.85 </p> <p> การวิเคราะห์ข้อมูล การหาค่าเฉลี่ย การทดสอบค่า t (t–test for dependent Samples) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือแบ่งปันความสำเร็จ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) ทักษะกระบวนการทำงานเป็นทีมของนักศึกษา หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการแบ่งปันความสำเร็จ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) ความพึงพอใจในการเรียนของนักศึกษา หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการแบ่งปันความสำเร็จ อยู่ในระดับมาก</p> จีรัษติธร มุกดาเพชร Copyright (c) 2024 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ssajournal/article/view/269992 Wed, 08 May 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง ฟังก์ชัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4MAT ร่วมกับ GeoGebra https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ssajournal/article/view/270091 <p> การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง ฟังก์ชัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4MAT ร่วมกับ GeoGebra เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 3) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสมเด็จพิทยาคม จำนวน 36 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติดังนี้ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติทดสอบค่าที</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนโดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4MAT ร่วมกับ GeoGebra สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />= 4.31, <em>S.D.</em>= 0.74)</p> <p> </p> <p> </p> สิริยาภรณ์ ผุดสุวรรณ์, ปวีณา ขันธ์ศิลา, ประภาพร หนองหารพิทักษ์ Copyright (c) 2024 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ssajournal/article/view/270091 Wed, 08 May 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตกแต่งบนโต๊ะรับประทานอาหารจากผ้าทอกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอผ้าพื้นเมือง อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ssajournal/article/view/270141 <p> งานวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสำรวจปัญหาและความต้องการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตกแต่ง บนโต๊ะรับประทานอาหารจากผ้าทอกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอผ้าพื้นเมือง อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี 2) เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตกแต่งบนโต๊ะรับประทานอาหารจากผ้าทอกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอผ้าพื้นเมือง 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อผลิตภัณฑ์ของตกแต่งบนโต๊ะรับประทานอาหารจากผ้าทอกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอผ้าพื้นเมือง วิธีการวิจัยแบบผสมผสานทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน แบบสอบถามผู้เชี่ยวชาญและแบบสอบถามความพึงพอใจกลุ่มเป้าหมาย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบียงเบนมาตรฐาน</p> <p> ผลการวิเคราะห์ พบว่า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนมีการทอผ้า ตัดเย็บผลิตภัณฑ์เสื้อกะเหรี่ยง ของใช้ของที่ระลึกของตกแต่งบ้าน และผลิตภัณฑ์มีการปักด้วยลวดลายที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อของชาวกะเหรี่ยง สมาชิกในกลุ่มมีความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตกแต่งบนโต๊ะรับประทานอาหารด้วยนำผ้าทอกะเหรี่ยงมาตัดเย็บเป็นผลิตภัณฑ์และปักลวดลายลงบนผ้าเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า การออกแบบผลิตภัณฑ์ของตกแต่งบนโต๊ะรับประทานอาหารจากผ้าทอกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอผ้าพื้นเมือง ได้แก่ ผ้าคาดโต๊ะ ผ้ารองจาน ผ้ารองแก้ว กล่องทิชชู่ จำนวนผลิตภัณฑ์ละ 3 รูปแบบ เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญ 5 คน พิจารณาเลือกรูปแบบที่เหมาะสม พบว่า ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่เลือกรูปแบบผ้าคาดโต๊ะที่ 3 รูปแบบผ้ารองจานที่ 2 รูปแบบผ้ารองแก้วที่ 3 และรูปแบบกล่องทิชชู่ที่ 3 จัดทำต้นแบบผลิตภัณฑ์ และประเมินความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์ พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจมีต่อผลิตภัณฑ์โดยรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.25</p> ศักรินทร์ หงส์รัตนาวรกิจ, สุกัญญา จันทกุล, ขจร อิศราสุชีพ Copyright (c) 2024 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ssajournal/article/view/270141 Wed, 08 May 2024 00:00:00 +0700 การวิเคราะห์ผลงานตีพิมพ์ระดับนานาชาติ จำแนกตามกลุ่มสาขา ของมหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานข้อมูล SciVal ปี พ.ศ. 2561-2565 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ssajournal/article/view/270155 <p> การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์คุณภาพผลงานตีพิมพ์ระดับนานาชาติ และความร่วมมือทางการวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานข้อมูล SciVal ระหว่าง ปี พ.ศ. 2561-2565 กลุ่มตัวอย่างเป็นผลงานตีพิมพ์จำแนกตามกลุ่มสาขาของมหาวิทยาลัย 3 กลุ่มสาขา ได้แก่ 1) กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2) กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ 3) กลุ่มสาขาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์และศิลปะโดยวิเคราะห์คุณภาพผลงานตีพิมพ์ในวารสาร การอ้างอิงต่อบทความ ค่า Field-Weighted Citation Impact (FWCI) และความร่วมมือการวิจัยกับเครือข่ายต่าง ๆ</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ โดยภาพรวมมีความโดดเด่นมากที่สุด คือ มีจำนวนผลงานตีพิมพ์สูงที่สุด 11,132 บทความ เป็นผลงานตีพิมพ์ในวารสาร 1-25 เปอร์เซ็นไทล์ (Top1-25%) ซึ่งเป็นผลงานที่มีคุณภาพสูง สูงที่สุด 4,945 บทความ คิดเป็นร้อยละ 44.42 ของจำนวนผลงานตีพิมพ์ทั้งหมด จำนวนการอ้างอิงต่อบทความสูงที่สุด 9.9 ผลงานตีพิมพ์ที่มีร่วมมือในหน่วยงานระดับนานาชาติ ระดับชาติ และภายในองค์กรสูงที่สุด 4,833 2,830 และ 3,351 บทความ ตามลำดับ จำนวนการอ้างอิงต่อบทความผลงานตีพิมพ์ที่มีร่วมมือในหน่วยงานระดับนานาชาติและที่ไม่มีความร่วมมือ (นักวิจัยคนเดียว) สูงที่สุด คือ 15.8 และ 5.2 ตามลำดับ จำนวนผลงานตีพิมพ์ที่มีความร่วมมือและไม่มีความร่วมมือกับภาคเอกชนหรือภาคอุตสาหกรรมสูงที่สุด 305 และ 10,827 บทความ ตามลำดับ จำนวนการอ้างอิงต่อบทความที่ไม่มีความร่วมมือกับภาคเอกชนหรือภาคอุตสาหกรรมสูงที่สุด คือ 8.8 สรุปผลการวิจัยพบว่า การตีพิมพ์ในวารสารที่มีคุณภาพสูง จะทำให้จำนวนการอ้างอิงต่อบทความจะมีจำนวนสูงตามไปด้วย และการตีพิมพ์ที่มีความร่วมมือในหน่วยงานระดับนานาชาติ รวมถึงภาคเอกชนหรือภาคอุตสาหกรรม จะทำให้ผลงานตีพิมพ์ได้รับการอ้างอิงมากขึ้น ทั้งนี้ สามารถนำผลการวิจัยไปใช้เป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายสนับสนุนการตีพิมพ์ผลงานวิจัยระดับนานาชาติในแต่ละสาขาของมหาวิทยาลัย เพื่อให้งานวิจัยเป็นที่ยอมรับในระดับสากล และเป็นส่วนหนึ่งใน การขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยสู่การเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลกต่อไป</p> ณัฐชา ชัยวัฒน์, สุปรานี ลิ้มพวงแก้ว Copyright (c) 2024 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ssajournal/article/view/270155 Wed, 08 May 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาปัญหาการใช้คำซ้ำในภาษาจีนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ssajournal/article/view/270183 <p> การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการใช้คำซ้ำในภาษาจีน 1) วิเคราะห์ปัญหาการใช้คำซ้ำในภาษาจีนและผลที่เกิดจากการใช้คำซ้ำในภาษาจีนที่ไม่ถูกต้อง 2) ศึกษาหาแนวทางแก้ไขสาเหตุการใช้คำซ้ำในภาษาจีนที่ไม่ถูกต้อง 3) พัฒนาการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับการใช้คำซ้ำในภาษาจีนที่ใช้เป็นประจำ ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาภาษาจีน ตั้งแต่ระดับชั้นปีที่หนึ่งถึงระดับชั้นปีที่สี่ จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 100 คน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยผู้วิจัยได้ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการตรวจแบบทดสอบ เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ 1. แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการเรียนภาษาจีน 2. แบบทดสอบการใช้คำซ้ำในภาษาจีน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) การใช้คำซ้ำในภาษาจีนเปลี่ยนไปตามบริบทและไม่สามารถแยกได้จากสภาพแวดล้อมทางภาษา นักเรียนหลีกเลี่ยงการใช้คำซ้ำเพื่อป้องกันความเข้าใจผิดพลาด นอกจากนี้ การวิเคราะห์ทางวัฒนธรรมพบว่าการใช้คำซ้ำในภาษาจีนขึ้นอยู่กับความคุ้นเคยและวัฒนธรรมที่มีอิทธิพล 2) นักเรียนมักไม่ใช้คำซ้ำในภาษาจีนอย่างถูกต้องเนื่องจากความไม่มั่นใจในการใช้งาน การพัฒนาการสอนควรเน้นการเข้าใจโครงสร้างไวยากรณ์ของคำซ้ำและส่งเสริมให้นักเรียนนำไปใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อเพิ่มความคุ้นเคย การใช้เทคโนโลยีในการสอนสามารถช่วยในการแสดงตัวอย่างการใช้คำซ้ำในภาษาจีนอย่างชัดเจนและถูกต้องได้ดีขึ้น</p> ปรมินทร์ ประภาการ, พิมพร วัฒนากมลกุล Copyright (c) 2024 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ssajournal/article/view/270183 Mon, 10 Jun 2024 00:00:00 +0700 Unveiling Thai University Students’ Perceptions of Plant-Based Foods: A Pathway to Promote Healthy Eating https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ssajournal/article/view/271210 <p> This study aims to 1) explore the perceptions of Thai university students regarding plant-based foods, 2) identify barriers hindering the adoption of plant-based foods, and 3) develop recommendations for strategic communication campaigns to promote plant-based food consumption. Employing mixed-methods research, this study utilizes questionnaires for quantitative data collection and content analysis for qualitative insights. The sample groups comprise 186 university students from an international college in the Salaya area, selected using random sampling. Quantitative data from questionnaires were analyzed using descriptive statistics, including percentages, means, and standard deviations. Qualitative data underwent content analysis to extract themes related to eating habits, perceptions, challenges, and misconceptions about plant-based foods.</p> <p> The research results found that 1) A significant majority of participants consume animal products frequently, despite acknowledging the health and environmental benefits of plant-based foods, indicating a gap between awareness and dietary practices. 2) The main barriers hindering the adoption of plant-based foods include taste preferences, cost concerns, and limited availability of appealing options, coupled with misconceptions that plant-based foods are "fake" or nutritionally insufficient. 3) Effective communication strategies emphasizing health benefits, environmental impact, ethical considerations, and addressing misconceptions could facilitate the transition towards plant-based foods among Thai university students. These insights are crucial for crafting targeted communication campaigns aimed at promoting a more sustainable and health-conscious future in Thailand.</p> Supathida Kulpavaropas, Nunnapan Puathanawat Copyright (c) 2024 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ssajournal/article/view/271210 Mon, 10 Jun 2024 00:00:00 +0700