https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sskrujournal/issue/feed วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ 2024-08-29T16:36:37+07:00 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรศักดิ์ ศรีกระจ่าง journal@sskru.ac.th Open Journal Systems <h4><strong>วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ</strong></h4> <p>สำนักงานบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้จัดทำวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ซึ่งเป็นวารสารที่ตีพิมพ์เผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการที่ครอบคลุมสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ บริหารธุรกิจและการจัดการ ครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ จิตวิทยา และสหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยมีกำหนดการตีพิมพ์ราย 4 เดือน (จัดพิมพ์ 3 ฉบับต่อปี) เผยแพร่ระหว่างเดือนมกราคม-เดือนเมษายน ระหว่างเดือนพฤษภาคม-เดือนสิงหาคม และระหว่างเดือนกันยายน-เดือนธันวาคม และเป็นวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูลของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) <strong>กลุ่มที่ 2</strong> <strong>ซึ่งการรับรองคุณภาพวารสารครั้งนี้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2567</strong></p> <p>บทความทุกเรื่องต้องเป็นต้นฉบับที่ไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน และไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น ๆ บทความทุกเรื่องจะได้รับการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Reviewer) จำนวน 3 ท่าน ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณากลั่นกรองความถูกต้องทางวิชาการ โดยประเมินบทความตามเกณฑ์และแบบฟอร์มที่กำหนดในลักษณะปกปิดรายชื่อผู้เขียนบทความและผู้ที่เกี่ยวข้อง (Double-blind peer review) บทความที่ได้รับการพิจารณาให้ตีพิมพ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนหรือเจ้าของผลงาน</p> <p>กองบรรณาธิการวารสารมุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพของวารสารให้มีคุณภาพตามมาตรฐานและเป็นแหล่งเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ และผลงานวิจัย เพื่อพัฒนาคุณภาพทางวิชาการของท้องถิ่นสู่ความเป็นสากล<br /><br /></p> <p><strong>ISSN : 1906-0327 (Print)</strong></p> <p><strong>ISSN 3027-6063 (Online)</strong></p> https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sskrujournal/article/view/265283 การศึกษาคุณลักษณะของความเป็นครูมืออาชีพ ในโรงเรียนระดับประถมศึกษา พื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร 2023-06-05T08:16:44+07:00 ธัชพร คำชามา thutchabhorn.khamchama@gmail.com ภาวิณี โสธายะเพ็ชร thutchabhorn.khamchama@gmail.com <p>การวิจัยนี้มีจุดประสงค์ 1) เพื่อสังเคราะห์คุณลักษณะความเป็นครูมืออาชีพของครูประถมศึกษาในระดับนานาชาติ 2) เพื่อศึกษาสภาพความเป็นครูมืออาชีพของครูประถมศึกษาในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยครูประถมศึกษาในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานครทั้ง 4 สังกัด ได้แก่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สังกัดกรุงเทพมหานคร และสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม กําหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 389 คนซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จํานวน 35 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการสังเคราะห์คุณลักษณะของความเป็นครูมืออาชีพของครูประถมศึกษาในระดับนานาชาติจากทฤษฎีและเอกสารที่เกี่ยวข้อง จึงได้เกณฑ์ของคุณลักษณะของความเป็นครูมืออาชีพของครูประถมศึกษาทั้งหมด 5 ด้านประกอบด้วย ด้านพฤติกรรม ด้านการทำงานร่วมกับผู้อื่น ด้านความมีปฏิภาณไหวพริบ ด้านทัศนคติ และด้านความเชี่ยวชาญ 2) ผลการศึกษาสภาพความเป็นครูมืออาชีพของครูประถมศึกษาในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำแนกตามสังกัดต่างๆ พบว่าภาพรวมครูประถมศึกษาส่วนใหญ่ให้คะแนนด้านพฤติกรรมมากที่สุด ส่วนปัญหาที่พบคือการตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของครูประถมศึกษาควรมีการประเมินผลงานจากสถานการณ์จริง หรือบริบทสภาพจริง เพื่อสะท้อนคุณลักษณะความเป็นครูมืออาชีพของครูประถมศึกษาได้อย่างชัดเจน</p> 2024-08-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sskrujournal/article/view/265739 การจัดกิจกรรมอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิคการสะท้อนคิดที่มีต่อ การตระหนักรู้ในตนเองของนักเรียนประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร 2023-07-05T16:40:17+07:00 พัชกุล แก้วกำพลนุชิต patchakull@gmail.com กีรติ คุวสานนท์ patchakulk@ppip.prathomswu.ac.th <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการตระหนักรู้ในตนเองด้วยการจัดกิจกรรมอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิคการสะท้อนคิด 2) เปรียบเทียบการตระหนักรู้ในตนเองของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิคการสะท้อนคิด ก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนระดับชั้น Year 6 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม) โครงการหลักสูตรนานาชาติ ปีการศึกษา 2565 จำนวน 30 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิคการสะท้อนคิด จำนวน 12 แผน 2) แบบสังเกตการพัฒนาการตระหนักรู้ในตนเองของนักเรียนเป็นรายบุคคล 3) แบบวัดการตระหนักรู้ในตนเอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยนี้ผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านการสอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มประชากรที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีการพัฒนาการตระหนักรู้ในตนเอง โดยมีการพัฒนาด้านการประเมินตนเอง การตระหนักรู้ทางอารมณ์ และความเชื่อมั่นในตนเอง ตามลำดับ และ 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิคการสะท้อนคิดมีการตระหนักรู้ในตนเองหลังการทดลองสูงกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> 2024-08-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sskrujournal/article/view/265902 สภาพการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ในโรงเรียนชายขอบจังหวัดศรีสะเกษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร 2023-07-05T08:38:20+07:00 อภิวิชญ์ ธรรมพรพิทวัส apiruk2564@gmail.com พงษ์ศักดิ์ ทองพันชั่ง stu6430117225@sskru.ac.th จิตติมาภรณ์ สีหะวงษ์ stu6430117225@sskru.ac.th <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 2) เปรียบเทียบสภาพการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ในโรงเรียนชายขอบจังหวัดศรีสะเกษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร จำแนกตามตำแหน่ง วุฒิการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และขนาดของโรงเรียน โดยมีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 210 คน เป็นผู้บริหาร จำนวน 21 คน และครูจำนวน 189 คน ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.958 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การทดสอบเอฟ และทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยใช้วิธีการของเชฟเฟ</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ในโรงเรียนชายขอบจังหวัดศรีสะเกษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบสภาพการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ในโรงเรียนชายขอบจังหวัดศรีสะเกษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร โดยภาพรวมพบว่า ผู้บริหารและครูที่มีตำแหน่ง วุฒิการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และการปฏิบัติงานในโรงเรียนที่มีขนาดแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อสภาพการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนชายขอบจังหวัดศรีสะเกษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร ไม่แตกต่างกัน 3) แนวทางการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนชายขอบจังหวัดศรีสะเกษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล สถานศึกษาควรมีการรวบรวมข้อมูลด้านความสามารถพิเศษของนักเรียนอย่างเป็นระบบ ด้านการคัดกรองนักเรียน สถานศึกษาควรมีการวิเคราะห์ข้อมูลของนักเรียนที่ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคลอย่างเป็นระบบ ด้านการส่งเสริมและพัฒนา สถานศึกษาควรมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนานักเรียนให้สอดคล้องต่อนโยบายสถานศึกษา ด้านการป้องกันและแก้ปัญหา สถานศึกษาควรมีการช่วยเหลือดูแลนักเรียนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มมีปัญหาอย่างใกล้ชิด และด้านการส่งต่อ นักเรียนที่ส่งต่อควรได้รับการช่วยเหลือที่ถูกต้องและรวดเร็ว</p> 2024-08-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sskrujournal/article/view/265723 การเตรียมความพร้อมในการประเมินคุณภาพภายนอกแนวใหม่ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานีเขต 1 2023-07-05T08:41:25+07:00 วิชาญ ถิระโคตร wichan.tg64@ubru.ac.th ภานุพงศ์ บุญรมย์ wichan.tG64@ubru.ac.th พงษ์ธร สิงห์พันธ์ wichan.tG64@ubru.ac.th <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพการเตรียมความพร้อมในการประเมินคุณภาพภายนอกแนวใหม่ของสถานศึกษา 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของข้าราชการครูที่มีต่อสภาพการเตรียมความพร้อมในการประเมินคุณภาพภายนอกแนวใหม่ จำแนกตาม ตำแหน่ง ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงานและขนาดของสถานศึกษา 3) ศึกษาปัญหาและแนวทางการเตรียมความพร้อมในการประเมินคุณภาพภายนอก แนวใหม่ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 จำนวน 320 คน โดยใช้ตารางการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน ด้วยการสุ่มแบบแบ่งชั้นและเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์แบบ มีโครงสร้างโดยแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับตามวิธีของครอนบาคเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที และสถิติทดสอบค่าเอฟ เมื่อพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทำการทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีของเชฟเฟ</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาสภาพการเตรียมความพร้อมในการประเมินคุณภาพภายนอกแนวใหม่ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบสภาพการเตรียมความพร้อมในการประเมินคุณภาพภายนอกแนวใหม่ของสถานศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 จำแนกตาม ตำแหน่ง ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน จำแนกตามขนาดของสถานศึกษาโดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 เมื่อวิเคราะห์รายคู่พบว่าโรงเรียน สถานศึกษาขนาดกลางมีความพร้อมมากกว่าสถานศึกษาขนาดเล็กสถานศึกษาขนาดใหญ่มีความพร้อมมากกว่าสถานศึกษาขนาดเล็ก 3) ปัญหาและแนวทางการเตรียมความพร้อมในการประเมินคุณภาพภายนอกแนวใหม่ของสถานศึกษาปัญหาที่พบคือ ขาดรูปแบบในการจัดทำรายงานที่ชัดเจน บุคลากรยังขาดความเข้าใจในการประเมินคุณภาพภายนอกแนวใหม่ ไม่มีงบประมาณในการเช่าพื้นที่เก็บข้อมูล ไม่มีนวัตกรรมในดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษา ขาดการเก็บหลักฐานข้อมูลในระบบออนไลน์และขาดการบริหารจัดการที่ดีในการเก็บเอกสารหลักฐานและร่องรอย แนวทางการเตรียมความพร้อม คือ จัดอบรมการเขียนรายงานการประเมินตนเองของให้แก่สถานศึกษา แต่งตั้งคณะกรรมการเตรียมความพร้อมในการประเมิน กำหนดบทบาทหน้าที่ของบุคลากรอย่างชัดเจน ส่งเสริมให้บุคลากรพัฒนาตนเองด้านระบบสารสนเทศ ดำเนินการประกันคุณภาพภายในอย่างเป็นระบบ เตรียมเอกสารหลักฐานและร่องรอยจัดเป็นหมวดหมู่ในแต่ละมาตรฐานการศึกษาเพื่อรับการประเมินคุณภาพภายนอกแนวใหม่</p> 2024-08-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sskrujournal/article/view/266142 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ 2023-07-05T08:16:03+07:00 สุขจิราภรณ์ ทิพย์อุตร sukchiraporn.tg64@ubru.ac.th อธิป เกตุสิริ sukchiraporn.tg64@ubru.ac.th พงษ์ธร สิงห์พันธ์ sukchiraporn.tg64@ubru.ac.th <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา เปรียบเทียบและหาแนวทางการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ ตัวอย่างในการวิจัย คือข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ จำนวน 341 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิอย่างเป็นสัดส่วน และผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนรวม 8 คนโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับและแบบสัมภาษณ์ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที และการทดสอบเอฟ โดยกำหนดค่าความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ โดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก 2) เปรียบเทียบการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ ตามความคิดเห็นของข้าราชการครูจำแนกตามตำแหน่งและขนาดโรงเรียน โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงานโดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยกลุ่มที่มีระดับการใช้งานมากที่สุดคือข้าราชการครูที่มีประสบการณ์ในการทำงานตั้งแต่ 5 – 10 รองลงมาคือข้าราชการครูที่มีประสบการณ์ในการทำงานมากกว่า 10 ปีขึ้นไปและข้าราชการครูที่มีประสบการณ์ในการทำงานต่ำกว่า 5 ปี ตามลำดับ 3) แนวทางการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ ด้านการพัฒนาหลักสูตรควรนำเทคโนโลยีมาใช้จัดอบรม ด้านการวัดผลประเมินผลควรจัดอบรมโปรแกรมอื่นๆ ด้านการนิเทศการศึกษาควรมีการนิเทศออนไลน์ ด้านการดำเนินงานเกี่ยวกับการเรียนการสอน ควรใช้เทคโนโลยีให้หลากหลาย ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ควรนำเทคโนโลยีมาใช้สืบค้น จัดเก็บและเผยแพร่งานวิจัยทางเว็ปไซต์ของโรงเรียน</p> 2024-08-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sskrujournal/article/view/266146 รูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยตามแนวคิดการเรียนรู้ โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับแนวคิดสมดุลภาษา 2023-07-23T08:19:41+07:00 อนุตรศักดิ์ วิชัยรัตน์ anuttarasak@gmail.com สำราญ กำจัดภัย anuttarasak@gmail.com จินดา ลาโพธิ์ anuttarasak@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบ การเรียนการสอนภาษาไทยตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับแนวคิดสมดุลภาษา 2) สร้างรูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับ แนวคิดสมดุลภาษา และ 3) ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยตามแนวคิด การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับแนวคิดสมดุลภาษา กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ซึ่งได้มาจากวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมิน ความเหมาะสม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและแนวคิดที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ 1.1) สภาพปัจจุบันเกี่ยวกับการเรียนการสอนภาษาไทย 1.2) แนวคิดเกี่ยวกับทักษะการสื่อสาร 1.3) แนวคิดเกี่ยวกับ การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน 1.4) แนวคิดเกี่ยวกับสมดุลภาษา และ 1.5) แนวคิดเกี่ยวกับรูปแบบ การเรียนการสอน 2) ผลการสร้างรูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับแนวคิดสมดุลภาษา มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 2.1) ที่มาและความสำคัญ 2.2) แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐาน 2.3) หลักการ 2.4) วัตถุประสงค์ 2.5) กระบวนการเรียนการสอน และ 2.6) การวัดและประเมินผล และ 3) ผลการประเมินรูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับแนวคิดสมดุลภาษา มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด </p> 2024-08-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sskrujournal/article/view/264853 การพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษา โดยใช้เทคนิคการประเมินผลการเรียนรู้ที่เน้นการสะท้อนคิด 2023-07-23T08:18:36+07:00 ชนันพัฒณ์ แก้วกิริยา janejira202535@gmail.com ธัญญรัศม์ ชิดไธสง Janejira202535@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการประเมินโดยใช้เทคนิคการประเมินผลการเรียนรู้ที่เน้นการสะท้อนคิดในการพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษา 2) ทดลองใช้แผนการประเมินโดยใช้เทคนิคการประเมินผลการเรียนรู้ที่เน้นการสะท้อนคิดในการพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษา และ 3) สะท้อนผลการพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาโดยใช้เทคนิคการประเมินผลการเรียนรู้ที่เน้นการสะท้อนคิด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนโนนสูงศรีธานี จำนวน 1 ห้องเรียน โดยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการประเมินและคู่มือโดยใช้เทคนิคการประเมินผลการเรียนรู้ที่เน้นการสะท้อนคิด 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 4) แบบประเมินแผนการประเมินและคู่มือ และ 5) แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระกัน เป็นการทดลองกลุ่มเดียวและมีการทดสอบ 2 ครั้ง คือก่อนเรียนและหลังเรียน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการประเมินมีผลการตรวจสอบคุณภาพข้อมูลอยู่ในระดับ มากที่สุด คู่มือมีผลการตรวจสอบคุณภาพข้อมูลอยู่ในระดับ มากที่สุด และแผนการจัดการเรียนรู้มีผลการตรวจสอบคุณภาพข้อมูลอยู่ในระดับ มากที่สุด 2) การทดลองใช้แผนการประเมินโดยใช้เทคนิคการประเมินผลการเรียนรู้ที่เน้นการสะท้อนคิดในการพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษา โดยได้ใช้กระบวนการ PAOR จำนวน 3 วงรอบ พบว่า ผู้เรียนสามารถใช้เทคนิคการสะท้อนคิดในแต่ละแผนการประเมินได้ โดยในแต่ละเทคนิคการสะท้อนคิดส่งผลให้ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถการคิดอย่างมีวิจารณญาณจำนวน 5 ด้าน ซึ่งพบว่า เทคนิคการสะท้อนคิดที่ผู้เรียนใช้ได้ดี ได้แก่ การถามคำถาม และการอภิปรายสะท้อนการเรียนรู้ จึงได้นำมาใช้ร่วมกับเทคนิคอื่น ๆ ในแผนการประเมินถัดไป และเทคนิคอื่นๆ ตามลำดับ ได้แก่ การสร้างผังความคิด การเขียนสะท้อนการเรียนรู้ การประเมินตนเองและการตั้งคำถามกับตนเอง 3) ผลการศึกษาการพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณของผู้เรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ พบว่า หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> 2024-08-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sskrujournal/article/view/265954 รามเกียรติ์พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราช: การศึกษาในฐานะวรรณกรรมคำสอนขุนนาง 2023-07-03T20:25:36+07:00 ณัฐวุฒิ คล้ายสุวรรณ natawut.kla@mbu.ac.th บุญเหลือ ใจมโน natawut.kla@mbu.ac.th ธนพร หมูคำ natawut.kla@mbu.ac.th ประเทือง ทินรัตน์ natawut.kla@mbu.ac.th <p>บทความวิจัยนี้เป็นการวิจัยเอกสาร ศึกษาข้อมูลจากรามเกียรติ์พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ตามหลักแนวคิดวรรณกรรมคำสอน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษา คำสอนขุนนางที่ปรากฏจากรามเกียรติ์พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช 2) ศึกษากลวิธีการสอนขุนนางที่ปรากฏจากรามเกียรติ์พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเอกสาร โดยวิเคราะห์ข้อมูลเรื่องรามเกียรติ์พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และนำเสนอผลการวิจัยในรูปแบบพรรณนาวิเคราะห์</p> <p> ผลการศึกษาพบว่าเรื่องรามเกียรติ์ปรากฏคำสอนขุนนาง 2 ประการ ได้แก่ 1) การปฏิบัติตนต่อพระมหากษัตริย์ 2) การปฏิบัติหน้าที่ราชการ โดยคำสอนทั้ง 2 ประการนี้ มีที่มาจากวรรณคดีคำสอนแบบฉบับ คือ โคลงพาลีสอนน้อง และโคลงราชสวัสดิ์ อันเป็นวรรณคดีสมัยอยุธยาตอนปลาย สำหรับกลวิธีการสอนขุนนางของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พบว่า ทรงใช้กลวิธีในการสอนขุนนาง 2 รูปแบบ คือ 1) การสอนแบบตรงไปตรงมา โดยสอนให้ขุนนางรู้ว่าสิ่งใดควรทำและสิ่งใดไม่ควรทำ 2) การสอนโดยการเสนอข้อคิด ทรงนำเสนอข้อคิดให้ขุนนางเห็นว่าไม่ควรปฏิบัติหน้าที่เกินพระราชโองการ นอกจากนี้ยังทรงชี้แจงให้เห็นผลเสียของการปฏิบัติหน้าที่เกินพระราชโองการด้วยว่า อาจสร้างความไม่พอใจให้พระมหากษัตริย์ เหตุที่รามเกียรติ์พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช มีคำสอนสำหรับขุนนางปรากฏในเนื้อเรื่อง เป็นเพราะพระราชประสงค์ที่จะควบคุมขุนนางให้อยู่ในระเบียบวินัย และรู้จักวิธีการปฏิบัติตนต่อพระมหากษัตริย์ ตลอดจนรู้จักหน้าที่ในการปฏิบัติราชการ</p> 2024-08-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sskrujournal/article/view/267619 รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมศักยภาพนักเรียนโรงเรียนราษีไศล 2023-09-26T16:01:54+07:00 รุ่งสวัสดิ์ มณีวงษ์ rungsawat17092515@gmail.com <p> การประเมินโครงการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ประเมินและตัดสินคุณค่าบริบท 2) ประเมิน</p> <p>และตัดสินคุณค่าปัจจัยเบื้องต้น 3) ประเมินและตัดสินคุณค่ากระบวนการ 4) ประเมินและตัดสินคุณค่า ผลผลิต และ 5) ศึกษาผลกระทบของโครงการส่งเสริมศักยภาพนักเรียนโรงเรียนราษีไศล โดยใช้รูปแบบการประเมินโครงการ แบบซิปป์ (CIPP Model) และการประเมินตัดสินคุณค่าเชิงธรรมชาติ NV Models (Naturalistic Value – Oriented Evaluation) ประชากรได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการบริหารโรงเรียน ครู ผู้ปกครองและนักเรียน ในปีงบประมาณ 2561-2565 จำนวน 3,096 คน กลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 1,014 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงและการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือในการประเมิน ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามและแบบประเมิน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p> ผลการประเมินพบว่า 1) บริบทของโครงการโดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด โครงการมีความเหมาะสม สอดคล้อง มีคุณค่าและสามารถดำเนินการได้ 2) ผลการประเมิน ความเหมาะสมด้านปัจจัยเบื้องต้นทั้ง 14 กิจกรรม โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 3) ผลการประเมินความเหมาะสมด้านกระบวนการทั้ง 14 กิจกรรม โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 4) ผลการประเมินด้านผลผลิต 4.1) ความรู้ความเข้าใจของครูในการจัด การเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญและแนวทางการส่งเสริมศักยภาพนักเรียนตามทฤษฎีพหุปัญญา หลังการอบรมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 4.2) คุณภาพของกิจกรรมตามโครงการส่งเสริมศักยภาพนักเรียนโรงเรียนราษีไศล โดยภาพรวมทั้ง 14 กิจกรรม อยู่ในระดับมากที่สุด เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 4.3) คุณภาพนักเรียนโรงเรียนราษีไศล หลังการดำเนินโครงการส่งเสริมศักยภาพนักเรียน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 4.4) คุณภาพสถานศึกษาตามเกณฑ์การประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรฐานที่ 1 ด้านคุณภาพของผู้เรียน จุดเน้นผู้เรียนได้รับการพัฒนาคุณภาพให้มีความรอบรู้และมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 4.5) ความพึงพอใจของนักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการบริหารโรงเรียน ครูผู้สอนและผู้ปกครองนักเรียน ที่มีต่อการดำเนินโครงการส่งเสริมศักยภาพนักเรียนโรงเรียนราษีไศล โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 5) ผลกระทบจากการดำเนินโครงการ ได้แก่ นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้และได้รับการพัฒนาศักยภาพตนเองตามความถนัดมากยิ่งขึ้น ครูมีศักยภาพในการปฏิบัติงานมากขึ้น สามารถจัดกิจกรรม การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญได้ดีมากขึ้น ผู้บริหารได้แนวคิดในการส่งเสริมเชาวน์ปัญญานักเรียนมากขึ้น ผู้ปกครองและชุมชนได้รับทราบข้อมูลของทางโรงเรียน ให้ความสำคัญต่อการศึกษามากขึ้น สัมพันธภาพระหว่างโรงเรียนกับชุมชนเป็นไปในทางบวก</p> 2024-08-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sskrujournal/article/view/267631 รูปแบบการบริหารงานบุคคลในยุคดิจิทัลของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2023-12-14T17:26:29+07:00 รัตติยา โฉมเฉลา rattiya73053@gmail.com จำเริญ อุ่นแก้ว rattiya73053@gmail.com ประกาศิต อานุภาพแสนยากร rattiya73053@gmail.com <p><strong> </strong>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการในการบริหารงานบุคคลในยุคดิจิทัลของโรงเรียนมัธยมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารงานบุคคลในยุคดิจิทัลของโรงเรียนมัธยมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารงานบุคคลในยุคดิจิทัลของโรงเรียนมัธยมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบบันทึกการประชุมสนทนากลุ่ม/การจัดสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ การหาค่าร้อยละ หาค่าเฉลี่ยเลขคณิต หาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p> กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยระยะที่ 1 ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารงานบุคคล และครู โรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 810 คน ระยะที่ 2 ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 17 คน และระยะที่ 3 ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 24 คน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันในการบริหารงานบุคคลในยุคดิจิทัลของโรงเรียนมัธยมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยรวมและรายด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการส่งเสริมประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ รองลงมาได้แก่ ด้านการธำรงรักษาคนดีคนเก่ง และด้านการประเมินผลการปฏิบัติงานและค่าตอบแทน ตามลำดับ ส่วนความต้องการพัฒนาการบริหารงานบุคคลในยุคดิจิทัลของโรงเรียนมัธยมศึกษา โดยรวมและรายด้านมีความต้องการอยู่ในระดับ มากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงานและค่าตอบแทน รองลงมา ได้แก่ ด้านการส่งเสริมประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ และด้านงานวินัยและการสร้างความผูกพันกับบุคลากร ตามลำดับ 2) รูปแบบการบริหารงานบุคคลในยุคดิจิทัลของโรงเรียนมัธยมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย 1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ 3) วิธีการดำเนินงาน 4) วิธีการประเมิน 5) เงื่อนไขความสำเร็จ 3) การประเมินรูปแบบการบริหารงานบุคคลในยุคดิจิทัลของโรงเรียนมัธยมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย 3 ประเด็น คือ 1) การประเมินความเหมาะสมของรูปแบบฯ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 2) การประเมินความเป็นไปได้ของรูปแบบฯ พบว่า มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด 3) การประเมินความเป็นประโยชน์ของรูปแบบฯ พบว่า มีความเป็นประโยชน์ในระดับมากที่สุด</p> 2024-08-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sskrujournal/article/view/268619 ความเข้าใจโครงสร้างวลีตามหลักวากยสัมพันธ์: กรณีศึกษานักศึกษาในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2023-11-20T18:07:32+07:00 อินทิรา ศักดิ์เมียนแก้ว intira.sak@gmail.com <p>การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาความเข้าใจโครงสร้างวลีประเภทต่าง ๆ ตามหลักวากยสัมพันธ์ และ 2) เปรียบเทียบความเข้าใจโครงสร้างวลีประเภทต่าง ๆ ตามหลักวากยสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ใน 4 มหาวิทยาลัย ที่เรียนสาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ จำนวน 164 คน โดยการสุ่มแบบเจาะจง จำนวนตามตารางของเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย แบบทดสอบการแปลโครงสร้างวลี 5 ประเภท ได้แก่ นามวลี กริยาวลี คุณศัพท์วลี วิเศษณ์วลี และ บุพบทวลี จำนวน 21 ประโยค ทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยการแจกแจง ความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาความเข้าใจโครงสร้างวลีประเภทต่าง ๆ ตามหลักวากยสัมพันธ์ แสดงให้เห็นการแปลที่หลากหลายและแตกต่างกัน ซึ่งสามารถจำแนกออกเป็น 4 ลักษณะ ได้แก่ การแปลประโยคที่เนื้อความถูกต้องครบถ้วน การแปลประโยคที่เนื้อความไม่ครบ การแปลประโยคที่เนื้อความเกิน และการแปลประโยคที่ผิดความหมายบางส่วนหรือทั้งประโยค 2) ผลการศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างในความเข้าใจโครงสร้างวลีประเภทต่าง ๆ ตามหลักวากยสัมพันธ์ พบว่า ประโยคที่มีการแปลเนื้อความถูกต้องครบถ้วน มากที่สุด ได้แก่ โครงสร้างวิเศษณ์วลีทำหน้าที่บอกสถานที่ คิดเป็นร้อยละ 95.12 (SD=.84) ประโยคที่มีการแปลเนื้อความไม่ครบ มากที่สุด ได้แก่ โครงสร้างบุพบทวลีทำหน้าที่บอกถึงเวลา คิดเป็นร้อยละ 40.24 (SD=.63) ประโยคที่มีการแปลเนื้อความเกิน มากที่สุด ได้แก่ โครงสร้างนามวลีทำหน้าที่เป็นประธาน คิดเป็นร้อยละ 3.66 (SD=.32) และประโยคที่มีการแปลผิดความหมายบางส่วนหรือทั้งประโยค มากที่สุด ได้แก่ โครงสร้างวิเศษณ์วลีทำหน้าที่แสดงเหตุผล คิดเป็นร้อยละ 17.02 (SD=.55)</p> 2024-08-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sskrujournal/article/view/271735 การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหา โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการใช้แผนผังความคิด เรื่อง แหล่งน้ำและลมฟ้าอากาศ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2024-05-01T21:25:20+07:00 ญาณิกา ไหลครบุรี 6512390002@rumail.ru.ac.th น้ำเพชร นาสารีย์ 6512390002@rumail.ru.ac.th <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหา โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการใช้แผนผังความคิด เรื่อง แหล่งน้ำและลมฟ้าอากาศ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดสระแก้ว จำนวน 20 คน โดยใช้วิธีเลือกแบบเฉพาะเจาะจง าคเรียนที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องแหล่งน้ำและลมฟ้าอากาศ โดยผู้วิจัยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการใช้แผนผังความคิด จำนวน 5 แผนการจัดการเรียนรู้ ดังนี้ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง แหล่งน้ำบนโลก, แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง เมฆและหมอก, แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง น้ำค้างและน้ำค้างแข็ง, แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง หยาดน้ำฟ้า และแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง วัฏจักรน้ำ จำนวน 11 ชั่วโมง มีค่าดัชนีความสอดคล้องของแผนการจัดการเรียนรู้ เท่ากับ 0.95 และ 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา 40 ข้อ เป็นแบบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก ครอบคลุมเนื้อหาในแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ และสอดคล้องกับขั้นตอนการแก้ปัญหา 4 ข้อ คือ 1) ขั้นระบุปัญหา 2) ขั้นวิเคราะห์ปัญหา 3) ขั้นกําหนดวิธีการแก้ปัญหา และ 4) ขั้นตรวจสอบผลลัพธ์ มีค่าดัชนีความสอดคล้องของแบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา เท่ากับ 0.89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ผลการพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหามีคะแนนหลังเรียน เรื่อง แหล่งน้ำและลมฟ้าอากาศ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการใช้แผนผังความคิด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> 2024-08-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sskrujournal/article/view/271209 การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะการรวมพลังทำงานเป็นทีม รายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับครู เพื่อเสริมสร้างบัณฑิตนักปฏิบัติจิตอาสา 2024-03-19T15:56:06+07:00 เจนจิรา ปาทาน jenjirajet@hotmail.com สุธิดา ชัยชมชื่น suthida.c@fte.kmutnb.ac.th <p>การวิจัยครั้งนี้ให้ความสำคัญการเรียนด้วยการลงมือปฏิบัติบูรณาการร่วมกับกิจกรรมจิตอาสาเพื่อสังคม วัตถุประสงค์ในการวิจัย เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะการรวมพลังทำงานเป็นทีม รายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับครู 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์หลังเรียนและก่อนเรียน 3) ศึกษาทักษะการสอนเป็นทีม และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาคณิตศาสตร์ จำนวน 60 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 14 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลทางการเรียน เป็นข้อสอบปรนัยแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 60 ข้อ 3) แบบประเมินทักษะการสอนเป็นทีม จำนวน 6 ข้อ และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า จำนวน 42 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัย ใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน และการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า 1) การจัดการเรียนรู้ มีประสิทธิภาพ คือ 84.43/81.47 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดคือ 80/80 2) ผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .05 3) ทักษะการสอนเป็นทีม อยู่ในระดับดี 4) ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก</p> 2024-08-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ