วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sskrujournal <h4><strong>วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ</strong></h4> <p>สำนักงานบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้จัดทำวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ซึ่งเป็นวารสารที่ตีพิมพ์เผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการที่ครอบคลุมสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ บริหารธุรกิจและการจัดการ ครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ จิตวิทยา และสหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยมีกำหนดการตีพิมพ์ราย 4 เดือน (จัดพิมพ์ 3 ฉบับต่อปี) เผยแพร่ระหว่างเดือนมกราคม-เดือนเมษายน ระหว่างเดือนพฤษภาคม-เดือนสิงหาคม และระหว่างเดือนกันยายน-เดือนธันวาคม และเป็นวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูลของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) <strong>กลุ่มที่ 2</strong> <strong>ซึ่งการรับรองคุณภาพวารสารครั้งนี้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2567</strong></p> <p>บทความทุกเรื่องต้องเป็นต้นฉบับที่ไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน และไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น ๆ บทความทุกเรื่องจะได้รับการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Reviewer) ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณากลั่นกรองความถูกต้องทางวิชาการ โดยประเมินบทความตามเกณฑ์และแบบฟอร์มที่กำหนดในลักษณะปกปิดรายชื่อผู้เขียนบทความและผู้ที่เกี่ยวข้อง (Double-blind peer review) บทความที่ได้รับการพิจารณาให้ตีพิมพ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนหรือเจ้าของผลงาน</p> <p>กองบรรณาธิการวารสารมุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพของวารสารให้มีคุณภาพตามมาตรฐานและเป็นแหล่งเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ และผลงานวิจัย เพื่อพัฒนาคุณภาพทางวิชาการของท้องถิ่นสู่ความเป็นสากล<br /><br /></p> <p><strong>ISSN : 1906-0327 (Print)</strong></p> <p><strong>ISSN 3027-6063 (Online)</strong></p> วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ th-TH วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ 1906-0327 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ<br>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษา แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์</p> การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานรายวิชาการงานอาชีพ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sskrujournal/article/view/263821 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานรายวิชาการงานอาชีพ ที่ส่งเสริมความสามารถในการออกแบบและประดิษฐ์สิ่งของเครื่องใช้อย่างสร้างสรรค์ สำหรับเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 และเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างก่อนและหลังเรียน โดยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานที่ส่งเสริมความสามารถในการออกแบบและประดิษฐ์สิ่งของเครื่องใช้อย่างสร้างสรรค์ สำหรับเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายเชียงใหม่ อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนโรงเรียนชุมชนบัวคำ จำนวน 13 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานที่ส่งเสริมความสามารถในการออกแบบและประดิษฐ์สิ่งของเครื่องใช้อย่างสร้างสรรค์ สำหรับเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 5 แผน และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง งานประดิษฐ์ เป็นแบบทดสอบแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากง่าย 0.20 – 0.80 ค่าอำนาจจำแนก 0.20 – 0.80 และดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.60 - 1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.79 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ไม่ใช่พารามิเตอร์</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า ประสิทธิภาพของพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานที่ส่งเสริมความสามารถในการออกแบบและประดิษฐ์สิ่งของเครื่องใช้อย่างสร้างสรรค์ สำหรับเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 76.76/73.56 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05</p> สมพร ล้ำจุมจัง สมร ทวีบุญ Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-26 2023-12-26 17 3 1 9 ผลการจัดการเรียนรู้ออนไลน์โดยใช้เทคนิคตกผลึกความคิด ร่วมกับการประยุกต์ใช้การให้ข้อมูลป้อนกลับแบบ SE2R ที่มีต่อความสามารถในการออกแบบหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ วิชาภาษาไทยของนักศึกษาวิชาชีพครู https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sskrujournal/article/view/264004 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการคือ 1) เพื่อประเมินความสามารถในการออกแบบหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการวิชาภาษาไทยของนักศึกษาวิชาชีพครู และ 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาวิชาชีพครูที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ออนไลน์โดยใช้เทคนิคตกผลึกความคิดร่วมกับการประยุกต์ใช้การให้ข้อมูลป้อนกลับแบบ SE2R ของนักศึกษาวิชาชีพครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักศึกษาวิชาชีพครูชั้นปีที่ 4 กลุ่มเรียน XX จำนวน 27 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่มโดยใช้กลุ่มเรียนเป็นหน่วยสุ่ม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น แบบการทดลองกลุ่มเดียววัดหลังการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนจำนวน 12 ชั่วโมง 2) แบบประเมินความสามารถในการออกแบบหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการวิชาภาษาไทยจำนวน 2 ข้อ และบันทึกหลังการเรียนรู้ ประกอบด้วยข้อคำถามจำนวน 3 ข้อ ซึ่งผ่านการประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญมีค่าคุณภาพแต่ละรายการ 0.67-1.00 3) บันทึกหลังการเรียนรู้ สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการออกแบบหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการวิชาภาษาไทยของนักศึกษาวิชาชีพครูหลังการจัดการเรียนรู้ออนไลน์โดยใช้เทคนิคตกผลึกความคิดร่วมกับการประยุกต์ใช้การให้ข้อมูลป้อนกลับแบบ SE2R ผลการประเมินมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 17.22 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 1.09 เมื่อพิจารณารายบุคคลแล้วผลปรากฏว่านักศึกษาผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ทุกคน 2) ความคิดเห็นของนักศึกษาวิชาชีพครูหลังการจัดการเรียนรู้ออนไลน์โดยใช้เทคนิคตกผลึกความคิดร่วมกับการประยุกต์ใช้การให้ข้อมูลป้อนกลับแบบ SE2R ผลการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาปรากฏสาระสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ 2.1) ได้รับประโยชน์มาก เพราะช่วยให้เข้าใจอย่างกระจ่าง 2.2) ได้แนวทางและกระบวนการในการทำงาน ได้รับความกระจ่างชัดในการปรับปรุงแก้ไขผลงาน และ 2.3) ต้องการได้รับข้อมูลป้อนกลับอย่างมากและควรใช้การสนทนาส่วนตัวหรือผ่านแอปพลิเคชันไลน์</p> สิรพัชญ์ หาญนอก กิตติพงษ์ แบสิ่ว Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-26 2023-12-26 17 3 10 22 ข้อเสนอแนวทางการจัดการศึกษาภาษาอังกฤษที่สนับสนุนทักษะภาษาอังกฤษ เพื่อการสื่อสารของนักเรียนมัธยมศึกษา https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sskrujournal/article/view/262619 <p>การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลระหว่างสภาพ การจัดการศึกษาภาษาอังกฤษ การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และทักษะ การสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษของนักเรียนมัธยมศึกษา 2) เพื่อกำหนดข้อเสนอแนวทางการจัดการศึกษาภาษาอังกฤษที่สนับสนุนทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียนมัธยมศึกษา และ 3) เพื่อประเมินข้อเสนอแนวทางการจัดการศึกษาภาษาอังกฤษที่สนับสนุนทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ โรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่จัดการเรียนการสอนบางรายวิชาเป็นภาษาอังกฤษทั่วประเทศ จำนวน 144 โรงเรียน ซึ่งได้มาจาก การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย โดยมี ผู้อำนวยการ ครูผู้สอนภาษาอังกฤษ และครูหัวหน้าโครงการ จำนวนโรงเรียนละ 3 คน เป็นผู้ให้ข้อมูลในแต่ละโรงเรียน รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 432 คน กลุ่มเป้าหมายในการประเมินข้อเสนอแนวทาง ได้แก่ รองผู้อำนวยการกลุ่มงานวิชาการ จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และแบบประเมินข้อเสนอแนวทาง สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเชิงเส้น</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการจัดการศึกษาภาษาอังกฤษ ด้านการฝึกปฏิบัติด้วยการเข้าค่ายภาษาอังกฤษ ด้านการเพิ่มขีดความสามารถด้วยการฝึกอบรมครู มีความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลกับ การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และสภาพการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ด้านการเชื่อมโยงกับความหมายและบริบท ด้านวิธีการส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ให้กับนักเรียน มีความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลกับทักษะการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษของนักเรียนมัธยมศึกษา 2) ข้อเสนอแนวทางการจัดการศึกษาภาษาอังกฤษที่สนับสนุนทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียนมัธยมศึกษา ประกอบด้วย เป้าประสงค์ เนื้องาน จุดประสงค์ และวิธีการปฏิบัติ 3) ข้อเสนอแนวทางการจัดการศึกษาภาษาอังกฤษที่สนับสนุนทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียนมัธยมศึกษา ผ่านเกณฑ์การรับรองความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความสอดคล้อง และความเป็นประโยชน์ ในระดับมาก</p> จุฑาทิพย์ วรโชติโรจนวงษ์ ประกอบ คุณารักษ์ Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-26 2023-12-26 17 3 23 39 การศึกษาความฉลาดในการเผชิญอุปสรรคของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sskrujournal/article/view/268520 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับความฉลาดในการเผชิญอุปสรรคของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ 2) เพื่อเปรียบเทียบความฉลาดในการเผชิญอุปสรรคของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ จำแนกตามเพศ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ชั้นปีที่ 1 ที่ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จำนวน 325 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบวัดความฉลาดในการเผชิญอุปสรรค จำนวน 30 ข้อ โดยมีค่าความเชื่อมั่น ของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.82 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที</p> <h2> ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษมีระดับความฉลาดในการเผชิญอุปสรรคในระดับสูง เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านความสามารถในการควบคุมอุปสรรคมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาได้แก่ด้านความสามารถในการอดทนและทนทานต่อปัญหาและอุปสรรคและด้านความสามารถในการนําตนเองเข้าไปแก้ไขอุปสรรค ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความฉลาดในการเผชิญอุปสรรคของนักศึกษาที่มีเพศต่างกันพบว่าไม่มีความแตกต่างทางสถิติ</h2> ชนมน สุขวงศ์ Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-26 2023-12-26 17 3 40 54 การส่งเสริมทักษะการปฏิบัติดนตรี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับชุดกิจกรรม รายวิชา ดนตรี-นาฏศิลป์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sskrujournal/article/view/260899 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับชุดกิจกรรม รายวิชา ดนตรี-นาฎศิลป์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างก่อนและหลังเรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับชุดกิจกรรม รายวิชา ดนตรี-นาฎศิลป์ 3) ศึกษาพัฒนาการทักษะการปฏิบัติดนตรีของนักเรียนชันมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับชุดกิจกรรม รายวิชา ดนตรี-นาฎศิลป์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนโนนกอกวิทยา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 8 แผนการเรียนรู้ รวม 16 ชั่วโมง ชุดกิจกรรม รายวิชา ดนตรี-นาฏศิลป์ จำนวน 5 ชุดกิจกรรม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ แบบวัดทักษะการปฏิบัติดนตรี จำนวน 5 ข้อ มีระดับคะแนน 4 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาค่าคะแนนพัฒนาการ </p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับชุดกิจกรรม มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 82.17/81.11 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาดนตรี-นาฏศิลป์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3) พัฒนาการทักษะการปฏิบัติดนตรีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยรวมอยู่ในระดับมาตรฐาน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 16.01 คิดเป็น ร้อยละ 80.06</p> ดิลก อุตราช นฤมล ภูสิงห์ Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-26 2023-12-26 17 3 55 69 ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษากับการทำงานเป็นทีมของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sskrujournal/article/view/264087 <p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 2) เพื่อศึกษาระดับ<br />การทำงานเป็นทีมของครูผู้สอนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษากับ<br />การทำงานเป็นทีมของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 <br />กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน จำนวน 322 คน จำแนกเป็น ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 30 คน และครูผู้สอน จำนวน 292 คน จากสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเพื่อการวิจัย <br />มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.982 สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย <br />ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ระดับการทำงานเป็นทีมครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับ<br />การทำงานเป็นทีมของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กันเชิงบวก อยู่ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01</p> <p> </p> คุณากร ธนที พิมล วิเศษสังข์ อุดมพันธุ์ พิชญ์ประเสริฐ Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-26 2023-12-26 17 3 70 83 แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดสุรินทร์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sskrujournal/article/view/264546 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดสุรินทร์ จำแนกตามขนาด สถานศึกษา 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดสุรินทร์ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู จำนวน 196 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.982 และผู้วิจัยใช้วิธีดำเนินการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เปรียบเทียบสมมติฐานโดยใช้การทดสอบเอฟโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดสุรินทร์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2. ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดสุรินทร์ จำแนกตามขนาดสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครู โดยรวมไม่แตกต่างกัน 3. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดสุรินทร์ มีดังนี้ 1) ด้านการมีความยืดหยุ่น ประกอบด้วย 10 แนวทางย่อย 2) ด้านการมีจินตนาการ ประกอบด้วย 11 แนวทางย่อย มีวิธีการพัฒนา 5 วิธี ได้แก่ 1) การประชุม อบรมและสัมมนา 2) การสร้างเครือข่ายเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หรือชุมชนแห่งการเรียนรู้ 3) การเรียนรู้ผ่านการทำงานกลุ่ม 4) การเรียนรู้ผ่านโครงการหรือกิจกรรมที่ได้รับมอบหมาย 5) การศึกษาดูงาน และผลการประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์ของแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดสุรินทร์ จากผู้เชี่ยวชาญ โดยมีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด</p> สุนทร จันทร์เปล่ง ศุภธนกฤษ ยอดสละ ธัญเทพ สิทธิเสือ Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-26 2023-12-26 17 3 84 94 การพัฒนาแนวทางการเสริมสร้างพลังอำนาจครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sskrujournal/article/view/264614 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับสภาพปัจจุบันการเสริมสร้างพลังอำนาจครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1 2) เพื่อพัฒนาแนวทางการเสริมสร้างพลังอำนาจครู และ 3) เพื่อประเมินแนวทางการเสริมสร้างพลังอำนาจครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 331 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบประเมินระดับสภาพปัจจุบัน ที่มีระดับความเชื่อมั่น 0.96 ซึ่งจะได้ทราบระดับการปฏิบัติงานในปัจจุบันนำไปสู่การวิเคราะห์และพัฒนา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับสภาพปัจจุบันของเสริมสร้างพลังอำนาจครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1 พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) แนวทางการเสริมสร้างพลังอำนาจครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1 มี 6 องค์ประกอบ 26 แนวทาง โดยแยกเป็นแต่ละด้านดังนี้ ด้านการสร้างบรรยากาศการทำงานในโรงเรียน มีจำนวน 5 แนวทาง ด้านการทำงานเป็นทีม มีจำนวน 4 แนวทาง ด้านความก้าวหน้าในวิชาชีพ มีจำนวน 6 แนวทาง ด้านการมอบอำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบ มีจำนวน 4 แนวทาง ด้านการอบรมพัฒนาศักยภาพ บุคลิกภาพ มีจำนวน 4 แนวทาง และ ด้านการยอมรับและยกย่อง มีจำนวน 3 แนวทาง 3) ผลการประเมินแนวทางการเสริมสร้างพลังอำนาจครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ศรีสะเกษ เขต 1 จากผู้เชี่ยวชาญพบว่า โดยมีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุด</p> วรวลัญช์ สิงหะ ธัญเทพ สิทธิเสือ ทรงเดช สอนใจ Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-26 2023-12-26 17 3 99 113 การใช้หลักทศพิธราชธรรมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานบุคคล ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษานครพนม https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sskrujournal/article/view/264651 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการใช้หลักทศพิธราชธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาระดับประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา 3) ศึกษาความสัมพันธ์ของการใช้หลักทศพิธราชธรรมกับความมีประสิทธิผลในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา 4) ศึกษาการใช้หลักทศพิธราชธรรมที่มีอำนาจพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา 5) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการใช้หลักทศพิธราชธรรมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม จำนวน 346 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน การได้มาของกลุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยแบบสอบถามเกี่ยวกับการใช้หลักทศพิธราชธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าความเที่ยงตรง ระหว่าง 0.60-1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 ส่วนแบบสอบถามประสิทธิผลการบริหารงานบุคคล มีค่าความเที่ยงตรงระหว่าง 0.80-1.00 ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบหลายขั้นตอน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) การใช้หลักทศพิธราชธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) ความสัมพันธ์ของการใช้หลักทศพิธราชธรรมกับประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา มีความสัมพันธ์กันเชิงบวกในระดับสูงอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.01 4) การใช้หลักทศพิธราชธรรม ด้านความอดทน (ขันติ) และ ด้านความซื่อตรง (อาชชวะ) มีอำนาจพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.01 โดยมีอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 77.20 5) แนวทางในการพัฒนาการใช้หลักทศพิธราชธรรมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา มี 2 ด้าน คือ ด้านความซื่อตรง (อาชชวะ) และด้านความอดทน (ขันติ) </p> ณัฐนพิน ทินโน บุญมี ก่อบุญ วาโร เพ็งสวัสดิ์ Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-26 2023-12-26 17 3 114 131 แนวทางการยกระดับสมรรถนะดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sskrujournal/article/view/264676 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับสภาพปัจจุบันของสมรรถนะดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ และ 2) เพื่อหาแนวทางการยกระดับสมรรถนะดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา 70 คน และครู 280 คน รวม 350 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 และผู้วิจัยใช้วิธีดำเนินการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของสมรรถนะดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกองค์ประกอบ โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อยตามลำดับ ดังนี้ คุณลักษณะ ความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ 2) แนวทางการยกระดับสมรรถนะดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ ซึ่งได้จากการสนทนากลุ่ม ทั้ง 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ด้านประสบการณ์ ประกอบด้วย 5 แนวทาง 2) ด้านความสามารถ ประกอบด้วย 5 แนวทาง 3) ด้านความรู้ ประกอบด้วย 6 แนวทาง และ 4) ด้านคุณลักษณะ ประกอบด้วย 7 แนวทาง</p> พิศเจริญ ต้นจำปา ธัญเทพ สิทธิเสือ ศุภธนกฤษ ยอดสละ Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-26 2023-12-26 17 3 132 145 อิทธิพลการจัดการความสัมพันธ์ลูกค้าแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-CRM) ต่อความพึงพอใจและความภักดีของผู้บริโภค Generation Y กรณีศึกษาแบรนด์ Grab ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sskrujournal/article/view/264050 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยการจัดการความสัมพันธ์ลูกค้าแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-CRM) ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้บริโภค 2) ความพึงพอใจของผู้บริโภคที่ส่งผลต่อความภักดีของผู้บริโภคกลุ่ม Generation Y ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานครและใช้บริการ Grab โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 425 ตัวอย่าง สำหรับการวิเคราะห์ได้มีการใช้สถิติการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ </p> <p> ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 25-31 ปี สถานภาพโสด และมีรายได้ต่อเดือน 10,001 - 25,000 บาท ใช้บริการ Grab เพื่อการสั่งอาหารเป็นส่วนมาก โดยมีความถี่ในการใช้งาน Grab น้อยกว่า 3 วันต่อสัปดาห์ อยู่ในช่วงเวลา 12.00 น. - 17.59 น และมีค่าใช้จ่ายต่อการใช้บริการ Grab ในแต่ละครั้งอยู่ที่ 101 - 200 บาท ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยการจัดการความสัมพันธ์ลูกค้าแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-CRM) ได้แก่ ด้านการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ทางตรง ปัจจัยด้านการสื่อสารระหว่างบุคคล ปัจจัยด้านสิทธิพิเศษ และปัจจัยด้านการรับรู้รางวัล ส่งผลต่อความ พึงพอใจของผู้ใช้บริการ Grab และปัจจัยความพึงพอใจส่งผลต่อความภักดีของผู้บริโภค อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากผลการศึกษาในครั้งนี้เป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการที่ต้องการรักษาความสัมพันธ์ต่อผู้บริโภคในระยะยาวผ่านระบบออนไลน์ให้ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค เพื่อให้ผู้บริโภคมีความรู้สึกพึงพอใจและความภักดี ซึ่งจะนำไปสู่การเติบโตของธุรกิจอย่างยั่งยืน</p> ณิชชาภัทร รัตนะ กชมน ศิริพัฒน์ จิรภัทร เอียมสมบุญ ชลลดา หาญโคกกรวด จารุพร ตั้งพัฒนกิจ Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-26 2023-12-26 17 3 146 161 ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการสำนักงานบัญชีของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sskrujournal/article/view/260273 <p>การวิจัยเรื่องปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการส<strong>ำ</strong>นักงานบัญชีของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเลือกใช้บริการส<strong>ำ</strong>นักงานบัญชีของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการส<strong>ำ</strong>นักงานบัญชีของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 400 คน ตัวแปรอิสระ ได้แก่ ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร และปัจจัยด้านคุณภาพ ตัวแปรตาม ได้แก่ การตัดสินใจเลือกใช้บริการสำนักงานบัญชีของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการทดสอบว่าตัวแปรอิสระมีอิทธิพลต่อตัวแปรตามได้แก่ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ</p> <p> ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับข้อมูลองค์กร พบว่า ส่วนใหญ่ประกอบธุรกิจประเภทธุรกิจพาณิชยกรรม คิดเป็นร้อยละ 59.8 ส่วนใหญ่มีระยะเวลาการดำเนินงานของกิจการ มากกว่า 15 ปี คิดเป็นร้อยละ 42.0 ดำเนินธุรกิจในรูปแบบบริษัทจำกัด คิดเป็นร้อยละ 72.8 และส่วนใหญ่มีทุนจดทะเบียนตั้งแต่ 1,000,000 – 5,000,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 56.0 สำหรับการวิเคราะห์ปัจจัยด้านคุณภาพ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.57 เมื่อจำแนกเป็นรายด้านแล้ว พบว่า ด้านราคา อยู่ในระดับมากที่สุด นอกจากนี้ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการตัดสินใจเลือกใช้บริการสำนักงานบัญชีของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.53 ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ระยะเวลาการดำเนินงานของกิจการส่งผลเชิงบวกต่อการเลือกใช้สำนักงานบัญชีของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 นอกจากนี้ปัจจัยด้านคุณภาพ ด้านราคา ด้านสถานที่ตั้งของสำนักงานบัญชี และด้านคุณภาพของการให้บริการส่งผลเชิงบวกต่อการเลือกใช้สำนักงานบัญชีของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05 ตามลำดับ</p> กุลรภัส ประเสริฐสุด พรรณทิพย์ อย่างกลั่น Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-26 2023-12-26 17 3 162 173 การสร้างสรรค์บทบรรเลงกีตาร์แจ๊สโดยอาศัยแนวคิดระบบเสียงภาษาไทย https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sskrujournal/article/view/259181 <p>งานวิจัยชิ้นนี้นำเสนอการสร้างสรรค์บทบรรเลงกีตาร์แจ๊สโดยอาศัยระบบเสียงในภาษาไทย ที่กำหนดรูปแบบการประพันธ์ขึ้นมาใหม่ตามวัตถุประสงค์ของงานวิจัย ได้แก่ 1.) เพื่อสร้างวิธีการประพันธ์เพลงกีตาร์แจ๊สโดยอาศัยแนวคิดระบบเสียงภาษาไทย 2.) เพื่อสร้างขั้นตอนการประพันธ์เพลงกีตาร์แจ๊สโดยอาศัยแนวคิดระบบเสียงภาษาไทย โดยได้ศึกษาการสร้างสรรค์การประพันธ์เพลงในรูปแบบต่าง ๆ ทำให้ผู้วิจัยมีการสร้างสรรค์ดนตรีที่มีมุมมองใหม่และความหลากหลายมากขึ้น มีการใช้ศาสตร์และศิลป์จากแขนงอื่นนอกจากดนตรีด้วยกันเอง เพื่อเป็นเครื่องมือในการสร้างสรรค์ผลงานดนตรีที่ไม่จำเจ ดังนั้นผู้วิจัยเล็งเห็นว่าความสวยงามของดนตรีและความน่าสนใจของระบบเสียงในภาษาไทย สามารถนำสิ่งที่เป็นแนวคิดมาต่อยอดให้เป็นงานศิลปะรูปธรรมได้ ในรูปแบบวิธีการสร้างสรรค์บทประพันธ์เพลง</p> <p>โดยผู้วิจัยพบว่า การสร้างสรรค์บทบรรเลงกีตาร์แจ๊สโดยอาศัยระบบเสียงในภาษาไทย นั้น จำเป็นต้องมีการสร้างตารางแสดงผลและเปรียบเทียบในรูปแบบที่อิงตามทฤษฎีดนตรี โดยมีการยกตัวอย่างเพื่อเป็นวัตถุดิบของการประพันธ์เพลงไว้อย่างครอบคุม ได้แก่ 1) การสร้างจังหวะที่อิงจากเสียงสระ 2) การสร้างเสียงประสานที่อิงจากพยัญชนะต้น พยัญชนะสะกด และวรรณยุกต์ 3) การสร้างทำนองจากการอ้างอิงการประพันธ์เสียงประสานและจังหวะที่ได้กำหนดไว้แล้วจากขั้นตอนที่ 1 และ 2 ด้วยการเรียบเรียงจากคีตปฏิภาณของนักดนตรี รวมไปถึงการยกตัวอย่างการใช้คำในระบบภาษาไทยมาเรียบเรียงเป็นบทเพลงเพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาขั้นตอนและกระบวนการที่สำคัญต่อการสร้างสรรค์บทประพันธ์เพลง ดังนั้นผู้วิจัยจึงเห็นว่าการสร้างสรรค์บทประพันธ์ในครั้งนี้เป็นเนื้อหาที่เป็นแนวทดลองจำเป็นต้องใช้หลักการเดิมที่มีอยู่ควบคู่ไปกับความคิดสร้างสรรค์ใหม่อย่างเปิดกว้าง</p> <p> </p> ณัฐณโชติ ภูลม Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-26 2023-12-26 17 3 174 188 กระบวนการแสดงบทบาทนางแก้วหน้าม้าในการแสดงละครรำคณะชราชาตรี https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sskrujournal/article/view/258408 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์กระบวนการแสดงบทบาทนางแก้วหน้าม้าในการแสดงละครรำคณะชราชาตรี อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร และข้อมูลภาคสนามจากการสัมภาษณ์ และการสังเกต</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการแสดงบทบาทนางแก้วหน้าม้าในการแสดงละครรำคณะชราชาตรี ของนางทองอาบ โตสวัสดิ์ นำท่าทางมาจากรูปลักษณ์ ลักษณะนิสัย และพฤติกรรมของนางแก้วหน้าม้าในวรรณคดีมาดัดแปลงให้เข้ากับการรำตีบทตามบทร้อง หรือบทเจราจาโดยใช้ภาษาท่าทางนาฏศิลป์เป็นกระบวนท่ารำตามรูปแบบการแสดงนาฏศิลป์ไทย เช่น ท่ายิ้ม ท่าอาย ท่าโกรธ ท่าร้องไห้ ท่าดีใจ ท่าไป ท่ามา เป็นต้น และท่ารำที่เลียนแบบท่าทางธรรมชาติของมนุษย์ เช่น ท่าเดิน ท่ายืน ท่าวิ่ง ท่านั่ง เป็นต้น รวมถึงท่ารำที่เรียกกันว่ารำกำแบ คือ ท่ารำที่ทำมือง่าย ๆ เช่น การชี้ ไว้มือ เข้าอก ปรบมือ เป็นต้น หรือในบางครั้งจะสอดแทรกท่าทางความเป็นธรรมชาติของตัวเองเข้าไป โดยไม่เน้นกระบวนท่ารำที่ละเอียดประณีต ไม่ใส่จริตลีลาที่ซับซ้อน ซึ่งกระบวนท่ารำทั้งหมดที่เกิดขึ้นล้วนมาจากการเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายอย่างมีจังหวะลีลาที่สัมพันธ์กันหมดทุกส่วนตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า ประกอบการแสดงอารมณ์ตามรสในวรรณคดีสันสกฤตทั้ง 9 รส ซึ่งมีความหมาย การสื่ออารมณ์ และท่าทางต่างกันไป อาจส่งผลให้การแสดงกิริยาท่าทาง และการแสดงออกทางอารมณ์ต่าง ๆ ของนางแก้วหน้าม้าเกิดความหลากหลาย สนุกสนานจนได้รับความนิยม และแพร่หลายสืบมาจนถึงปัจจุบัน</p> เบญจวรรณ ไวยเนตร Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-26 2023-12-26 17 3 189 208 การสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ของชุมชนประมงพื้นบ้านจอมพระ เพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชนชายน้ำห้วยทับทัน-บึงบูรพ์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sskrujournal/article/view/267963 <p>การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพของชุมชนประมงพื้นบ้านจอมพระเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชนชายน้ำห้วยทับทัน-บึงบูรพ์ 2) เพื่อจัดทำต้นแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ของชุมชนประมงพื้นบ้านจอมพระเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชนชายน้ำห้วยทับทัน-บึงบูรพ์ และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ของชุมชนประมงพื้นบ้านจอมพระเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชนชายน้ำห้วยทับทัน-บึงบูรพ์ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ จำนวน 60 คน ใช้การเลือกแบบเจาะจง </p> <p>ผลการศึกษา พบว่า 1) วิเคราะห์ศักยภาพของชุมชนประมงพื้นบ้านจอมพระเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชนชายน้ำห้วยทับทัน-บึงบูรพ์ ประกอบด้วย 1.1) สภาพอดีตและปัจจุบันของชุมชนประมงพื้นบ้านจอมพระ แบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการรวมกลุ่ม ด้านทรัพยากรธรรมชาติ และ ด้านทุนวัฒนธรรม 1.2) วิเคราะห์ศักยภาพ จุดแข็ง ชุมชนมีองค์ความรู้ปลาส้ม จุดอ่อน การผลิตสินค้าขาดความต่อเนื่อง โอกาส แหล่งผลิตตั้งอยู่ในการคมนาคมที่ดี และ อุปสรรค มีคู่แข่งขันมากและสินค้าสามารถลอกเลียนแบบได้ง่าย 2) ต้นแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ มี 3 ต้นแบบ ได้แก่ ต้นแบบปลาส้ม ต้นแบบปลาส้มฟัก และต้นแบบปลาแผ่นวง และ 3) แนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ของชุมชนประมงพื้นบ้านจอมพระ มี 13 แนวทาง ได้แก่ 1) ปรับปรุงภูมิทัศน์ตลาดริมน้ำให้สวยงาม 2) ขอรับการสนับสนุนถนนคอนกรีต 3) สร้างเครือข่ายการตลาด 4) พัฒนาเส้นทางลำน้ำให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว 5) เชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจการท่องเที่ยว 6) ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานให้เกิดกิจกรรมต่อเนื่อง 7) พัฒนาผลิตภัณฑ์เป็นสินค้าโอทอป 8) สร้างโรงเรือนการผลิตที่ได้มาตรฐาน 9) ยกระดับผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐาน 10) การพัฒนาการบริหารจัดการด้านการตลาด 11) พัฒนาผู้นำและคณะกรรมการในด้านการทำงานภายในกลุ่ม 12) สร้างความร่วมมือกับผู้ประกอบการประเภทเดียวกัน และ 13) สร้างการมีส่วนร่วมให้กับสมาชิกได้ตระหนักเห็นความสำคัญของการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์สินค้าของชุมชนโดยผ่านสื่อดิจิทัล </p> เอมอร แสนภูวา Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-26 2023-12-26 17 3 209 226 การสร้างเสริมสุขภาพแบบองค์รวมของผู้สูงอายุ ตำบลดวนใหญ่ อำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sskrujournal/article/view/267966 <p> การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายการรับรู้และสร้างเสริมสุขภาพแบบองค์รวมของผู้สูงอายุในชุมชนตำบลดวนใหญ่ อำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 15 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม สัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายมีการรับรู้ต่อสุขภาพแบบองค์รวมใน 4 ลักษณะ คือ 1) การใช้ชีวิตที่อยู่บนความไม่แน่นอนได้อย่างมีความสุข 2) การมีชีวิตบั้นปลายที่ไม่ต้องพึ่งยา 3) การดำเนินชีวิตที่ได้ดั่งใจ 4) การมีชีวิตยืนยาวที่พึ่งตัวเองได้ และจากการรับรู้นี้นำไปสู่การจัดการสร้างสุขภาพแบบองค์รวมของผู้สูงอายุทั้งที่เหมือนกันและแตกต่างกัน 6 รูปแบบด้วยกัน คือ 1) ออกแบบชีวิตในการสร้างเสริมสุขภาพด้วยศักยภาพตนเอง 2) ยอมรับความเสื่อมของร่างกายและดำเนินชีวิตอย่างมีสติรู้เท่าทัน 3) จัดการชีวิตประจำวันให้มีความสุขด้วยธรรมมะควบคู่ไปกับการอยู่ความเจ็บป่วย 4) สร้างเครือข่ายสนับสนุนในการบริหารจัดการชีวิตและความเจ็บป่วย 5) สร้างกำลังใจในการมีชีวิตให้อยู่เหนือกายตามความเชื่อและศรัทธา และ 6) การมีจิตวิญญาณในการใช้ชีวิตอย่างพอพียง มีวินัย สุจริต จิตอาสา จากข้อค้นพบนี้เสนอแนะให้บุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุทุกฝ่ายในชุมชนนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการออกแบบการพัฒนาระบบการสร้างเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุแบบองค์รวมที่สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุภายใต้บริบทบริบทเฉพาะของพื้นที่ต่อไป</p> พรปวีณ์ ชื่นใจเรือง ชัญน์รภัส สุทาวัน Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-26 2023-12-26 17 3 227 243