วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sskrujournal <h4><strong>วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ</strong></h4> <p>สำนักงานบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้จัดทำวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ซึ่งเป็นวารสารที่ตีพิมพ์เผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการที่ครอบคลุมสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ บริหารธุรกิจและการจัดการ ครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ จิตวิทยา และสหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยมีกำหนดการตีพิมพ์ราย 4 เดือน (จัดพิมพ์ 3 ฉบับต่อปี) เผยแพร่ระหว่างเดือนมกราคม-เดือนเมษายน ระหว่างเดือนพฤษภาคม-เดือนสิงหาคม และระหว่างเดือนกันยายน-เดือนธันวาคม และเป็นวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูลของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) <strong>กลุ่มที่ 2</strong> <strong>ซึ่งการรับรองคุณภาพวารสารครั้งนี้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2567</strong></p> <p>บทความทุกเรื่องต้องเป็นต้นฉบับที่ไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน และไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น ๆ บทความทุกเรื่องจะได้รับการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Reviewer) จำนวน 3 ท่าน ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณากลั่นกรองความถูกต้องทางวิชาการ โดยประเมินบทความตามเกณฑ์และแบบฟอร์มที่กำหนดในลักษณะปกปิดรายชื่อผู้เขียนบทความและผู้ที่เกี่ยวข้อง (Double-blind peer review) บทความที่ได้รับการพิจารณาให้ตีพิมพ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนหรือเจ้าของผลงาน</p> <p>กองบรรณาธิการวารสารมุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพของวารสารให้มีคุณภาพตามมาตรฐานและเป็นแหล่งเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ และผลงานวิจัย เพื่อพัฒนาคุณภาพทางวิชาการของท้องถิ่นสู่ความเป็นสากล<br /><br /></p> <p><strong>ISSN : 1906-0327 (Print)</strong></p> <p><strong>ISSN 3027-6063 (Online)</strong></p> th-TH <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ<br>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษา แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์</p> journal@sskru.ac.th (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรศักดิ์ ศรีกระจ่าง) journal@sskru.ac.th (นางสาวศิริภัทรา คำมะรักษ์) Fri, 27 Dec 2024 19:43:52 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลกับประสิทธิผล ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sskrujournal/article/view/275964 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาระดับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสถานศึกษา 2) ศึกษาระดับประสิทธิผลของสถานศึกษา 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 ตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 33 คน ครูผู้สอน จำนวน 294 คน รวม 327 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิและวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน </p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ระดับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 มีความสัมพันธ์กันทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ในระดับสูง</p> วราพัชร ชาลีกุล, ไพวุฒิ ลังกา, ไพรวัลย์ โคตรตะ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sskrujournal/article/view/275964 Fri, 27 Dec 2024 00:00:00 +0700 ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา อุบลราชธานี เขต 2 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sskrujournal/article/view/276066 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 2) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 33 คน และครูผู้สอน จำนวน 280 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 313 คน ได้มาโดยการกำหนดขนาดตัวอย่างตามตารางของเครจซี่และมอร์แกน และใช้การสุ่มอย่างง่าย ด้วยวิธีจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามทักษะการบริหารของผู้บริหาร และประสิทธิผลของสถานศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ รองลงมาคือ ทักษะด้านการสื่อสาร ทักษะด้านเทคนิค และทักษะด้านความคิดรวบยอด ตามลำดับ 2) ประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านการปรับเปลี่ยนและพัฒนาสถานศึกษา รองลงมาคือ ด้านการแก้ปัญหาภายในสถานศึกษา ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และด้านคุณลักษณะของนักเรียน ตามลำดับ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 มีความสัมพันธ์กันทางบวกอยู่ในระดับสูง (r<sub>xy</sub> = 0.907) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> รุจิรา วันนา, ชูชีพ ประทุมเวียง, ไพรวัลย์ โคตรตะ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sskrujournal/article/view/276066 Fri, 27 Dec 2024 00:00:00 +0700 ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา กับคุณภาพผู้เรียนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sskrujournal/article/view/276202 <p>การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 2) ศึกษาระดับคุณภาพผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับคุณภาพผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 27 คน และครูผู้สอนจำนวน 319 คน รวมทั้งหมดจำนวน 346 คน โดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน </p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน ด้านภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ระดับความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน ด้านคุณภาพผู้เรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับคุณภาพผู้เรียน โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 </p> กฤษตะวัน สำสาลี, ปิยาพัชญ์ นิธิศอัครานนท์, ไพรวัลย์ โคตรตะ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sskrujournal/article/view/276202 Fri, 27 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษโดยใช้รายการ Podcast สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sskrujournal/article/view/276274 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาทักษะการฟังโดยใช้ชุดกิจกรรมการฟังภาษาอังกฤษ โดยใช้รายการ Podcast สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) ศึกษาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการฟังภาษาอังกฤษ โดยใช้รายการ Podcast ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนกับหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการฟังภาษาอังกฤษ โดยใช้รายการ Podcast 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการฟังโดยใช้รายการ Podcast ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนปทุมพิทยาคมที่ศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 42 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรมการฟังโดยใช้รายการ Podcast 2) แบบประเมินพร้อมเกณฑ์การให้คะแนนทักษะการฟัง 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีพัฒนาการในทักษะการฟังภาษาอังกฤษ โดยใช้ชุดกิจกรรมรายการ Podcast โดยรวมมีค่าเฉลี่ย 16.33 คิดเป็นร้อยละ 81.63 และอยู่ในระดับดีมาก 2) ชุดกิจกรรมการฟังภาษาอังกฤษ โดยใช้รายการ Podcast มีประสิทธิภาพ 81.63/80.89 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 3) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรมการฟัง โดยใช้รายการ Podcast โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.67, S.D. = .55)</p> จิราพร ลวดทอง Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sskrujournal/article/view/276274 Fri, 27 Dec 2024 00:00:00 +0700 ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา อุบลราชธานี อำนาจเจริญ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sskrujournal/article/view/276481 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ระดับประสิทธิผลของโรงเรียน และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 20 คน ครูผู้สอน จำนวน 327 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 347 คน จากการเทียบหาสัดส่วนแล้วทำการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนเกี่ยวกับภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ระดับความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนเกี่ยวกับประสิทธิผลของโรงเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียน โดยภาพรวม พบว่า มีความสัมพันธ์กันทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 อยู่ในระดับสูง (r<sub>xy</sub>= 0.776)</p> กานต์ธิดา จูมสิมมา, ปิยาพัชญ์ นิธิศอัครานนท์, ไพรวัลย์ โคตรตะ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sskrujournal/article/view/276481 Fri, 27 Dec 2024 00:00:00 +0700 ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา กับความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sskrujournal/article/view/276494 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษาระดับความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ มีทั้งหมด 338 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 31 และครู จำนวน 307 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา และแบบสอบถาม ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดและเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า การทำงานเป็นทีมและมีส่วนร่วม การบริหารความเสี่ยง การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด และการมีวิสัยทัศน์การเปลี่ยนแปลง การสร้างบรรยากาศองค์กรนวัตกรรม และการคิดสร้างสรรค์ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2) ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดและเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า การเป็นบุคคลที่รอบรู้ การมีแบบแผนความคิด การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม การคิดอย่างเป็นระบบ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด และการสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 3) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา โดยรวมมีความสัมพันธ์กันในทางบวก ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> เกียรติศักดิ์ วงษ์ชัย, อรรถพร วรรณทอง, ไพรวัลย์ โคตรตะ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sskrujournal/article/view/276494 Fri, 27 Dec 2024 00:00:00 +0700 การวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยรายหลักสูตรของคณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sskrujournal/article/view/276969 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และนำเสนอต้นทุนต่อหน่วยรายหลักสูตรของคณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ การดําเนินการวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยใช้ข้อมูลจากรายงานเงินงบประมาณ ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และรายงานการใช้จ่ายเงินของคณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒจากค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงจากงบประมาณแผ่น เงินอุดหนุนจากรัฐบาล เงินงบประมาณเงินรายได้ โดยข้อมูลมาจากระบบบริหารทรัพยากรมหาวิทยาลัย (SWU-ERP) เครื่องมือในการจัดเก็บข้อมูลใช้แบบคำนวณวณต้นทุนต่อหน่วยรายหลักสูตร โดยรวบรวมข้อมูลค่าใช้จ่ายจริงงบประมาณแผ่น เงินอุดหนุนจากรัฐบาล เงินงบประมาณเงินรายได้จากระบบบริหารทรัพยากรมหาวิทยาลัย (SWU-ERP) การปฏิบัติงานด้านงบประมาณ พัสดุ การเงินและบัญชี (SWU-Finances) นำมาลงในแบบคำนวณวณต้นทุนต่อหน่วยรายหลักสูตร เพื่อคำนวณค่าใช้จ่ายและนำมาวิเคราะห์แบ่งประเภทของต้นทุน นํามาคำนวณหาต้นทุนต่อหน่วยแต่ละหลักสูตรของคณะพลศึกษา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า หลักสูตรของคณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประกอบด้วย 12 หลักสูตร โดยทําการวิเคราะห์ภาพรวมของต้นทุนในการดําเนินงานของคณะพลศึกษา ได้แก่ ต้นทุนทางตรง และต้นทุนทางอ้อม ผลการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยรายหลักสูตรของคณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สามารถเรียงลำดับต้นทุนในการดําเนินงานของแต่ละหลักสูตรของคณะพลศึกษา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 แยกตามแหล่งเงิน โดยต้นทุนต่อหน่วยรายหลักสูตรของคณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประกอบด้วย ต้นทุนแรงงาน เป็นเงิน 58,388,748.88 บาท คิดเป็นร้อยละ 47 ต้นทุนค่าตอบแทน ใช้สอย และวัสดุ 26,448,005.78 บาท คิดเป็นร้อยละ 21 ต้นทุนลงทุน 24,000,223.27 บาท คิดเป็นร้อยละ 19 ต้นทุนอื่น 14,263,848.45 บาท คิดเป็นร้อยละ 11 ต้นทุนค่าสาธารณูปโภค 2,332,919.93 บาท คิดเป็นร้อยละ 2</p> จินดา ไตรเวช, จาริวรรณ ปานประเสริฐ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sskrujournal/article/view/276969 Fri, 27 Dec 2024 00:00:00 +0700 การประเมินความต้องการจำเป็นในการเรียนการสอนรายวิชาแกนคณะพลศึกษา ของนิสิตคณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีครินทรวิโรฒ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sskrujournal/article/view/276970 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความต้องการจำเป็นในการเรียนการสอนรายวิชาแกนคณะพลศึกษา ของนิสิตคณะพลศึกษา กลุ่มเป้าหมาย คือ นิสิตคณะพลศึกษามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ที่กำลังศึกษาตามหลักสูตร วิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย และผู้นำนันทนาการ ปีการศึกษา 2566 จำนวน 128 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความต้องการจำเป็นในการเรียนการสอนรายวิชาแกนคณะพลศึกษา ของนิสิตคณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีครินทรวิโรฒ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้เทคนิค Modifiied Priority Needs Index (PNImodified) ในการจัดลำดับของความต้องการจำเป็น</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการจำเป็นในการเรียนการสอนรายวิชาแกนคณะพลศึกษา ของนิสิตคณะพลศึกษา เรียงตามลำดับความสำคัญด้วยดัชนี PNI<sub>modified</sub> ด้านเนื้อหารายวิชาในรายวิชาแกน มีความจําเป็นในการแก้ปัญหาเนื้อหาวิชาที่เรียนมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของนิสิตสูงสุด (PNI <sub>modified</sub>=0.16) ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้รายวิชาแกน มีความจําเป็นในการแก้ปัญหาการแจ้งคะแนนหรือผลการเรียนที่รวดเร็วและถูกต้องสูงสุด (PNI <sub>modified</sub>=0.16) ด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้รายวิชาแกน มีความจําเป็นในการแก้ปัญหาบริการเครือข่ายไร้สายสูงสุด (PNI <sub>modified</sub>=0.14)ด้านคุณภาพอาจารย์ผู้สอนรายวิชาแกน มีความจําเป็นในการแก้ปัญหาช่องทางให้นิสิตติดต่ออาจารย์ผู้สอนและปรึกษาได้ง่ายสูงสุด (PNI <sub>modified</sub>=0.13)ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนรายวิชาแกน มีความจําเป็นในการแก้ปัญหาการสอนให้นิสิตรู้จัดคิด วิเคราะห์ และทักษะในการแก้ปัญหาสูงสุด (PNI <sub>modified</sub>=0.01)</p> จาริวรรณ ปานประเสริฐ, จินดา ไตรเวช Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sskrujournal/article/view/276970 Fri, 27 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาสมรรถนะด้านการใช้งานดิจิทัลสำหรับบุคลากรทางการศึกษาเพื่อรองรับ ดิจิทัลไทยแลนด์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sskrujournal/article/view/277027 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ความต้องการและความคาดหวังการพัฒนาสมรรถนะด้านการใช้งานดิจิทัลของบุคลากรทางการศึกษาพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ 2) เพื่อศึกษาข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการพัฒนาสมรรถนะด้านการใช้งานดิจิทัลสำหรับบุคลากรทางการศึกษาเพื่อรองรับดิจิทัลไทยแลนด์ เครื่องมือวิจัยที่ใช้ในงานวิจัย 1) แบบสอบถามระดับสภาพปัจจุบัน ความต้องการและความคาดหวังการพัฒนาสมรรถนะด้านการใช้งานดิจิทัลสำหรับบุคลากรทางการศึกษา 2) แบบบันทึกการสนทนากลุ่มเพื่อศึกษาข้อเสนอเชิงนโยบาย 3) แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ ของข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการพัฒนาสมรรถนะด้านการใช้งานดิจิทัลสำหรับบุคลากรทางการศึกษาเพื่อรองรับดิจิทัลไทยแลนด์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ จำนวน 70 โรงเรียน กำหนดผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 140 คน และผู้ทรงคุณวุฒิในการสนทนากลุ่มจำนวน 5 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p> ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1) สภาพปัจจุบันระดับสมรรถนะด้านการใช้งานดิจิทัลของบุคลากรทางการศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกองค์ประกอบ โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อยตามลำดับ ดังนี้ ความสามารถด้านความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ความสามารถด้านการควบคุมและปฏิบัติตามกฎหมาย นโยบายและมาตรฐานการจัดการด้านดิจิทัล ความสามารถด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อยกระดับศักยภาพองค์กร ความสามารถด้านการออกแบบกระบวนการและการให้บริการด้วยระบบดิจิทัลเพื่อการพัฒนาคุณภาพงานภาครัฐ ความสามารถด้านการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัล ความสามารถด้านผู้นำดิจิทัล และ ความสามารถด้านการบริหารกลยุทธ์และการจัดการโครงการ ระดับความต้องการพัฒนาสมรรถนะด้านการใช้งานดิจิทัลของบุคลากรทางการศึกษาพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ความต้องการพัฒนาสมรรถนะความสามารถด้านการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัล และความสามารถด้านผู้นำดิจิทัลอยู่ในระดับมากที่สุด และระดับความคาดหวังการพัฒนาสมรรถนะด้านการใช้ดิจิทัล โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาสมรรถนะด้านการใช้งานดิจิทัลสำหรับบุคลากรทางการศึกษาเพื่อรองรับดิจิทัลไทยแลนด์ ซึ่งได้จากการสนทนากลุ่ม ทั้ง 7 องค์ประกอบ ได้ข้อเสนอเชิงนโยบายจำนวน 14 ข้อ</p> ธัญเทพ สิทธิเสือ, ศศิพิมพ์ สายกระสุน Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sskrujournal/article/view/277027 Fri, 27 Dec 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาสภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่พัสดุระดับคณะและสำนักใน มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sskrujournal/article/view/277239 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่พัสดุ ระดับคณะและสำนัก ในมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่พัสดุ ระดับคณะและสำนัก ในมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กลุ่มเป้าหมาย คือ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานพัสดุระดับคณะและสำนักในมหาวิทยาลัยราชภัฏ ศรีสะเกษ จำนวน 50 คน โดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่พัสดุ ระดับคณะและสำนักในมหาวิทยาลัยราชภัฏ ศรีสะเกษ พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดไปหาน้อย คือ ด้านการแจกจ่าย ด้านการวางแผนกำหนดความต้องการพัสดุ ด้านการควบคุม ด้านการจำหน่ายพัสดุ และด้านการจัดหาพัสดุ ตามลำดับ 2) แนวทางการพัฒนาการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่พัสดุ ระดับคณะและสำนักในมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ควรส่งเสริมให้หน่วยงานจัดทำแผนปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้างประจำปีและให้มีการกำกับติดตามผลการดำเนินงาน ควรพัฒนาบุคลากรที่รับผิดชอบงานพัสดุได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการกำหนดรายละเอียดของพัสดุให้ถูกต้อง ควรพัฒนาเจ้าหน้าที่พัสดุให้มีการจัดทำบันทึกบัญชีการจ่ายให้ถูกต้องตามระเบียบและกฎหมายที่กำหนด ควรอบรมพัฒนาเจ้าหน้าที่พัสดุ ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจำแนกประเภทพัสดุและการบำรุงรักษาพัสดุ และควรอบรมเจ้าหน้าที่พัสดุ ส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับระเบียบ กฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับการจำหน่ายพัสดุ พร้อมทั้งจัดทำคู่มือการจำหน่ายพัสดุ</p> ศรีสุดา จันทร Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sskrujournal/article/view/277239 Fri, 27 Dec 2024 00:00:00 +0700