การสร้างสรรค์หนังสือภาพ เรื่อง “โขน : มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ” สำหรับเยาวชนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน

ผู้แต่ง

  • ธิติมา อ่องทอง Angthong colege of dramatic arts

คำสำคัญ:

หนังสือภาพ, โขน, เยาวชนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์หนังสือภาพ เรื่อง “โขน : มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ” สำหรับเยาวชนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ดำเนินการวิจัยโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยรวบรวมข้อมูลจากการศึกษาและสำรวจข้อมูลเชิงเอกสาร การสำรวจข้อมูลภาคสนาม โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา และนำข้อมูลที่ได้มาสร้างสรรค์เป็นสื่อนวัตกรรมในรูปแบบของหนังสือภาพ เรื่อง “โขน : มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ” สำหรับเยาวชนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน

                ผลจากการวิจัย พบว่า การสร้างสรรค์หนังสือภาพ เรื่อง “โขน : มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ” สำหรับเยาวชนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การกำหนดแนวความคิดและรูปแบบ เป็นการสร้างหนังสือที่มีเนื้อหาเพื่อส่งเสริมความรู้ในเรื่อง “โขน” ในรูปแบบของสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือภาพที่มีการใช้เทคโนโลยีในรูปแบบของวีดิทัศน์เข้ามาผสมผสานด้วยการใช้งานผ่านการสแกนคิวอาร์โค้ด 2) การกำหนดและการนำเสนอเนื้อหา มีการกำหนดเนื้อหาสาระทางวิชาการ ประกอบด้วย 8 หัวข้อ ได้แก่ โขนมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ การกำเนิดโขน ประเภทการแสดงโขน การแสดงโขนในยุคปัจจุบัน ตัวละครในการแสดงโขน ลวดลายของเครื่องแต่งกายในการแสดงโขน อาวุธในการแสดงโขน และเครื่องโรงประกอบการแสดงโขน โดยนำเสนอเนื้อหาผ่านข้อความ ภาพและสัญลักษณ์ และวีดิทัศน์บรรยายภาษามือ 3) การออกแบบองค์ประกอบหนังสือใช้แนวคิดเชิงอนุรักษ์ในการนำเสนอภาพและข้อความเกี่ยวกับการแสดงโขนในเรื่องลักษณะเด่นทางกายภาพให้มีความถูกต้องตามรูปแบบและจารีตของการแสดงโขน ฃร่วมกับแนวคิดความงามทางด้านทัศนศิลป์เพื่อสร้างความสนใจและจูงใจผู้อ่าน 4) การสร้างสรรค์วีดิทัศน์บรรยายภาษามือ เพื่อบรรยายเนื้อหาประกอบการอ่าน โดยจัดทำเป็นวีดิทัศน์สั้น ๆ เพื่อให้ผู้อ่านได้ศึกษาและเพิ่มความเข้าใจได้ด้วยตนเองมากยิ่งขึ้น

References

Department of Cultural Promotion. (2018). “Khon” cultural heritage (for beginners). Bangkok: Department of Cultural Promotion. (in Thai).

Mingsiritham, K., & Chanyawudhiwan, G. (2016). A development of smart book to assist communication for hearing impaired students. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University.

Niyomthum, S. (2007). Visual art for special education. Bangkok: Wankaew Printing Limited Partnership. (in Thai)

Obosu, G.K., Adu-Agyem, J., & Opoku-Asare, N.A. (2013). The use of visual art forms in teaching and learning in schools for the deaf in Ghana: Investigating the practice. International Journal of Innovative Research and Development, 2(5), 408-422.

Saksiriphol, D. (2010). The development of reading and spelling skill for the students with hearing impairment in Pratom Suksa III through mind map and exercises with sign language. Bangkok: Srinakharinwirot University. (in Thai)

Thirajit, W. (2002). Education for children with special needs (3rd ed). Bangkok: Chulalongkorn University Press. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-01 — Updated on 2023-05-26

Versions