วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช https://so05.tci-thaijo.org/index.php/stouj <p>วารสารสุโขทัยธรรมาธิราชมีวัตถุประสงค์เพื่อพิมพ์บทความด้านสังคมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับ</p> <p>- สาขาศิลปวัฒนธรรม<br />- สาขากฎหมาย การเมือง การปกครอง<br />- สาขาการศึกษา<br />- สาขาการพัฒนาชุมชนและสังคม<br />- สาขาการสื่อสารและสารสนเทศ</p> <p>โดยมีกําหนดเผยแพร่ 2 ฉบับต่อปี ฉบับที่ 1 เดือนมิถุนายน ฉบับที่ 2 เดือนธันวาคม</p> <p>บทความที่จะได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการกลั่นกรองและประเมินคุณภาพจากกองบรรณาธิการวารสารสุโขทัยธรรมาธิราชและผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน แบบ <span style="font-weight: 400;"><span class="fontstyle0">double-blind Peer Review</span></span></p> มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช th-TH วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช 0857-6955 <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช</p> <p>ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว</p> <p><span class="fontstyle0">ห้ามนำข้อความทั้งหมด หรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสาร</span></p> การพัฒนากฎหมายภาษีของประเทศไทยในกรณีการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/stouj/article/view/271991 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิดและพัฒนาการเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ (2) ศึกษาแนวทางการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศตามกฎหมายต่างประเทศและมาตรฐานระดับสากล (3) ศึกษาแนวทางการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศของประเทศไทย (4) วิเคราะห์เปรียบเทียบหลักเกณฑ์และปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศตามกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศและมาตรฐานระดับสากล (5) เสนอแนวทางในการพัฒนาการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศที่เหมาะสมกับประเทศไทย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการวิจัยเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึก</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า (1) หลักการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศที่ดีควรเป็นไปตามหลักการภาษีอากรที่ดี (2) องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ มีแนวทางการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในเรื่องนี้โดยให้ประเทศต่าง ๆ ใช้หลักเกณฑ์ของสถานที่จัดเก็บภาษีโดยพิจารณาจากสถานที่ที่มีการให้บริการและให้กำหนดหลักเกณฑ์การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและแนวทางปฏิบัติอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องที่ไม่ซับซ้อนเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการจากต่างประเทศ ทั้งนี้ประเทศออสเตรเลียและสาธารณรัฐสิงคโปร์มีแนวทาง การจัดการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในเรื่องนี้ที่สอดคล้องกันกับแนวทางขององค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (3) การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในเรื่องนี้ของประเทศไทยสอดคล้องกับแนวทางขององค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ โดยที่จัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากสถานที่ที่มีการให้บริการคือประเทศไทย รวมทั้งมีการจัดทำระบบบริการรับจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับผู้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการจากต่างประเทศ (4) เมื่อเปรียบเทียบหลักเกณฑ์ของประเทศไทยกับองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ &nbsp;ประเทศออสเตรเลีย สาธารณรัฐสิงคโปร์ และประเทศไทยมีปัญหาในเรื่องของการกำหนดคำนิยามที่ไม่ชัดเจนอันก่อให้เกิดปัญหาในเรื่องการตีความ และหลักเกณฑ์การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตลอดจนมาตรการในกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในเรื่องนี้ (5) การวิจัยนี้เสนอแนะแนวทางให้ประเทศไทยควรมีการปรับปรุงแก้ไขคำนิยามให้มีความชัดเจนและครอบคลุมมากขึ้นและจัดทำสื่อต่าง ๆ เพื่อสร้างความเข้าใจแก่ผู้ให้บริการจากต่างประเทศเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมากยิ่งขึ้นรวมทั้งเพิ่มมาตรการในกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มให้การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในเรื่องนี้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น</p> <p>&nbsp;</p> <p><strong>คำสำคัญ: </strong>ภาษีมูลค่าเพิ่ม บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ การจดทะเบียน</p> <p>&nbsp;</p> ชัชชัย ลาภปรารถนา Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-17 2024-09-17 37 1 6 21 มาตรการทางกฎหมายในการเยียวยาความเสียหาย จากการกระทำความผิดเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ตามกฎหมายการสาธารณสุข https://so05.tci-thaijo.org/index.php/stouj/article/view/268755 <p>การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและหลักการเกี่ยวกับการเยียวยาผู้เสียหายจากการกระทำความผิดเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม (2) ศึกษามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการเยียวยาผู้เสียหายจากการกระทำความผิดเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในสหรัฐอเมริกา ประเทศญี่ปุ่น และประเทศไทย (3) วิเคราะห์เปรียบเทียบมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการเยียวยาผู้เสียหายจากการกระทำความผิดเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในสหรัฐอเมริกา ประเทศญี่ปุ่น และประเทศไทย (4) เสนอแนวทางที่เหมาะสมในการกำหนดมาตรการเกี่ยวกับการเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมตามกฎหมายการสาธารณสุข ที่เหมาะสมกับประเทศไทย จากการศึกษาพบว่า (1) การนำแนวคิดเกี่ยวกับการพิจารณาการเจ็บป่วย<br>และการเยียวยาสำหรับการได้รับสารพิษแต่ยังไม่ปรากฏอาการ และหลักผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย มาปรับใช้ ถือเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการกำหนดมาตรการเยียวยาผู้เสียหายจากการกระทำความผิดเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม (2) กฎหมายของสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นกำหนดมาตรการเยียวยาความเสียหายจากการกระทำผิดเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมโดยการจัดตั้งกองทุนเยียวยา ส่วนกฎหมายการสาธารณสุขของประเทศไทยกำหนดมาตรการลงโทษในทางอาญา<br>และมาตรการทางปกครอง เพื่อป้องปรามมิให้มีการกระทำความผิด (3) มาตรการเยียวยาความเสียหายจากการกระทำผิดเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมของสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นแม้จะมีการจัดตั้งกองทุนเหมือนกัน แต่มีจุดมุ่งหมายต่างกัน กล่าวคือ สหรัฐอเมริกามุ่งเน้นการเยียวยาฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม ส่วนญี่ปุ่นมุ่งเน้นเยียวยาบุคคลผู้ได้รับความเสียหาย ขณะที่กฎหมายการสาธารณสุขของประเทศไทยไม่มีมาตรการเยียวยาความเสียหายแก่ผู้ได้รับความเสียหาย <br>(4) จึงควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติกฎหมายการสาธารณสุขของไทย ให้มีหมวดว่าด้วยกองทุนเยียวยาความเสียหาย เพื่อจ่ายค่าชดเชยแก่ผู้ได้รับความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย สุขภาพและอนามัย จากการกระทำความผิดเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุขโดยผู้เสียหายจะได้รับการพิจารณาสิทธิและจ่ายค่าชดเชยจากกองทุนโดยไม่ต้องนำคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาล ส่งผลให้ผู้ที่ได้รับความเสียหายได้รับการเยียวยาอย่างทันท่วงที</p> พรพรรณ วรตันติ ตะวัน เดชภิรัตนมงคล Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-17 2024-09-17 37 1 22 42 การส่งเสริมการผลิตกาแฟตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกรในอำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/stouj/article/view/268063 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร (2) สภาพการผลิตกาแฟของเกษตรกร (3) ความรู้เกี่ยวกับการผลิตกาแฟตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกร (4) แนวทางการส่งเสริมการผลิตกาแฟตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกร</p> <p>ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟในอำเภอแม่ระมาด จำนวนทั้งสิ้น 112 ราย ศึกษาจากประชากรทั้งหมด เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า (1) เกษตรกรร้อยละ 90.2 เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 47.23 ปี มีประสบการณ์ทำสวนกาแฟเฉลี่ย 4.47 ปี พื้นที่ปลูกกาแฟเฉลี่ย 2.61 ไร่ จำนวนแรงงานในการผลิตกาแฟเฉลี่ย 2.48 คน ต้นทุนในการผลิตกาแฟเฉลี่ย 1,006.25 บาท/รอบการผลิต มีรายได้จากการขายผลผลิตกาแฟเฉลี่ย 3,463.39 บาท/รอบการผลิต (2) ใช้น้ำฝนในการผลิตกาแฟ เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่มีการใส่ปุ๋ยและไม่มีการใช้สารกำจัดโรค/ แมลง จำหน่ายผลผลิตในรูปผลสดโดยมีพ่อค้ามารับซื้อที่แปลงผลิต (3) เกษตรกรส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับการผลิตกาแฟตามมาตรฐาน GAP อยู่ในระดับมากที่สุด (4) เกษตรกรมีความต้องการวิธีการส่งเสริมในระดับมากจากสื่อบุคคล คือ เพื่อนเกษตรกร</p> ขวัญธิดา ใจจา นารีรัตน์ สีระสาร สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-17 2024-09-17 37 1 44 58 การส่งเสริมการผลิตข้าวโพดหวานของเกษตรกรในอำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/stouj/article/view/268314 <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทางสังคม และเศรษฐกิจ 2) สภาพการผลิตข้าวโพดหวาน และ3) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดหวาน</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ประชากรที่ศึกษา เกษตรกรที่ปลูกข้าวโพดหวานในอำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ ที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตร ประจำปี 2565/2566 จำนวน 349 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ ทาโร ยามาเน ที่ความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 186 ราย สุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และส่วนเบี่ยงเบนเฉลี่ย</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรเป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 45.00 ปี จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีประสบการณ์ผลิตข้าวโพดหวานเฉลี่ย 11.10 ปี มีพื้นที่ปลูกข้าวโพดหวานเฉลี่ย 3.88 ไร่ มีต้นทุนการผลิตข้าวโพดหวานเฉลี่ย 4,552.15 บาทต่อไร่ มีรายได้จากการผลิตข้าวโพดหวานเฉลี่ย 11,680.10 บาทต่อไร่ 2) เกษตรกรใช้แหล่งน้ำบาดาลในการผลิตข้าวโพดหวาน มีสภาพดินเป็นดินร่วนปนทราย ใช้พันธุ์ลูกผสมทางเอกชน ไม่มีการเก็บตัวอย่างดินและการปรับปรุงบำรุงดิน อัตราการใช้เมล็ดพันธุ์เฉลี่ย 1.36 กิโลกรัมต่อไร่ มีการใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช 3) เกษตรมีปัญหาในการส่งเสริมการผลิตข้าวโพดหวานในระดับมากที่สุด ด้านการขาดความรู้ในการใช้สารเคมีอย่างปลอดภัยและข้อเสนอแนะในระดับมากที่สุด ควรให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้สารเคมีอย่างปลอดภัย</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong> แนวทางการส่งเสริม / สภาพการผลิตข้าวโพดหวาน / ข้าวโพดหวาน</p> ไกรวิชญ์ พูลทอง นารีรัตน์ สีระสาร บำเพ็ญ เขียวหวาน Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-17 2024-09-17 37 1 59 73 การเสริมสร้างการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัวที่มีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองด้วยการปรึกษาครอบครัวทฤษฎีโครงสร้างครอบครัว https://so05.tci-thaijo.org/index.php/stouj/article/view/270862 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการปรึกษาครอบครัวทฤษฎีโครงสร้างเพื่อเสริมสร้างการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัวที่มีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เครื่องมือวิจัยได้แก่ แบบวัดการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัวที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจำนวน 35 ข้อ ค่าคุณภาพของเครื่องมือ ได้แก่ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ Cronbach’s Alpha เท่ากับ 0.95 และโปรแกรมการปรึกษาครอบครัวทฤษฎีโครงสร้างเพื่อเสริมสร้างการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัวที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นตามแนวคิดของ McMaster Model กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษานี้เป็นครอบครัวของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลสนามชัยเขตจังหวัดฉะเชิงเทราซึ่งประกอบด้วยผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและสมาชิกผู้ดูแลหลัก 1 คน จำนวน 16 ครอบครัว</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและสมาชิกผู้ดูแลหลักที่ได้รับการปรึกษาครอบครัวทฤษฎีโครงสร้างมีค่าเฉลี่ยคะแนนการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัวที่มีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่าระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05&nbsp; และผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและสมาชิกผู้ดูแลหลักที่ได้รับการปรึกษาครอบครัวทฤษฎีโครงสร้างมีค่าเฉลี่ยคะแนนการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัวที่มีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> อันติกา ทุ่งอ่วน เพ็ญนภา กุลนภาดล ดลดาว วงศ์ธีระธรณ์ Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-17 2024-09-17 37 1 74 89 แนวทางการเสริมสร้างพลังอำนาจครูสู่ความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมการศึกษาของสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/stouj/article/view/272538 <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการเสริมสร้างพลังอำนาจครูสู่ความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมทางการศึกษาของสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาฯ 2) เพื่อศึกษาและจัดทำแนวทางการเสริมสร้างพลังอำนาจครูสู่ความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมทางการศึกษาของสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาฯ และ3) เพื่อตรวจสอบแนวทางการเสริมสร้างพลังอำนาจครูสู่ความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมทางการศึกษาของสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาฯ ซึ่งการศึกษามี 3 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของการเสริมสร้างพลังอำนาจครูสู่ความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมทางการศึกษา ฯ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูของสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ฯ จำนวน 650 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม 2) การศึกษาแนวทางการเสริมสร้างพลังอำนาจครูสู่ความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมการศึกษาของสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาฯ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้และประสบการณ์ ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และ3) การตรวจสอบแนวทางการเสริมสร้างพลังอำนาจครูสู่ความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมการศึกษาของสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาฯ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ และครูที่มีประสบการณ์ในสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาฯ ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 27 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบตรวจสอบแนวทาง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า</p> <ol> <li class="show">สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการเสริมสร้างพลังอำนาจครูสู่ความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมการศึกษาของสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาฯ พบว่า สภาพปัจจุบันโดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือด้านการส่งเสริมและพัฒนาความร่วมมือในสถานศึกษา สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการสร้างแรงจูงใจแก่ครู ส่วนความต้องการจำเป็นของการเสริมสร้างพลังอำนาจครูสู่ความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมการศึกษาของสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาฯ โดยภาพรวม มีค่า 0.13 ด้านที่มีความต้องการมากที่สุด คือ ด้านการสร้างแรงจูงใจแก่ครู</li> <li class="show">แนวทางการเสริมสร้างพลังอำนาจครูสู่ความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมการศึกษาของสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาฯ คือ 1) ผู้บริหารสถานศึกษาควรสร้างขวัญกำลังใจแก่ครู เช่น มอบของขวัญวันเกิด วันรับปริญญา การเลื่อนวิทยฐานะและโอกาสความสำเร็จต่าง ๆ 2) ผู้บริหารสถานศึกษาควรรับฟังความคิดเห็นและปัญหาของครูอย่างกัลยาณมิตร 3) ผู้บริหารสถานศึกษาควรให้โอกาสครูตัดสินใจในการใช้นวัตกรรมหรือเทคโนโลยีสำหรับการจัดการเรียนรู้ การปฏิบัติงานในหน้าที่ และสร้างระบบที่สนับสนุนครูในการใช้นวัตกรรม เทคโนโลยี 4) ผู้บริหารสถานศึกษาควรวางตัวให้เหมาะสมปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดี มีภาวะความเป็นผู้นำ น่านับถือ เป็นระเบียบ รวมทั้งปฏิบัติงานอย่างมีวินัย และ5) ผู้บริหารสถานศึกษาควรสร้างพื้นที่ที่เปิดกว้างให้ครูมีโอกาสพูดคุยและแบ่งปันความคิดเห็น เพื่อให้ทีมสามารถปฏิบัติงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ</li> <li class="show">ผลการตรวจสอบความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์ของแนวทางการเสริมสร้างพลังอำนาจครูสู่ความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมการศึกษาของสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาฯ โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; <strong>คำสำคัญ :</strong> แนวทาง <sup>&nbsp;</sup>/ พลังอำนาจครู <sup>&nbsp;</sup>/ ผู้นำด้านนวัตกรรมการศึกษา</li> </ol> ณัฐพล จั๋นแก้ว สุบัน พรเวียง Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-17 2024-09-17 37 1 90 110 การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเมล่อนของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มสวนแตงเมล่อนบ้านทุ่ง https://so05.tci-thaijo.org/index.php/stouj/article/view/268952 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และพัฒนากลยุทธ์การตลาดของผลิตภัณฑ์แปรรูปเมล่อนของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มสวนแตงเมล่อนบ้านทุ่ง ดำเนินการวิจัยในลักษณะของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ร่วมกับการวิจัยแบบผสม ได้แก่ 1) การวิจัยเชิงคุณภาพในการสัมภาษณ์เชิงลึก และการประชุมกลุ่มย่อย โดยมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้นำและตัวแทนสมาชิกวิสาหกิจชุมชนกลุ่มสวนแตงเมล่อนบ้านทุ่ง จำนวน 10 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และ 2) การวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถาม ในการเก็บข้อมูลผู้บริโภคผลิตภัณฑ์แปรรูปเมลอนจำนวน 400 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก&nbsp;และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ในด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์คัสตาร์ดเมล่อน ในด้านการตลาดได้มีการดำเนินงานพัฒนาตราสินค้า บรรจุภัณฑ์ วิเคราะห์ต้นทุน และกำหนดราคาขาย และได้ทำการจำหน่ายผ่านช่องทางการตลาด ซึ่งจากการประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภค พบว่า มีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีความพึงพอใจระดับมากที่สุด ในด้านความน่ารับประทาน/ความสะอาดของผลิตภัณฑ์ รองลงมาได้แก่ รสชาติดี</p> สุชาดา คุ้มสลุด มนฤทัย ศรีทองเกิด น้ำผึ้ง ไขว้พันธุ์ ภัทรพร ทิมแดง วรรณรัตน์ ศรีรัตน์ อังคณา โสภารัตนกุล บุญญาพร เชื่อมสมพงษ์ พรทวี ธนสัมบัณณ์ ณัชฌา พันธุ์วงษ์ Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-17 2024-09-17 37 1 111 126