วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal
<p>วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัยเป็นวารสารที่รองรับการตีพิมพ์เผยแพร่บทความวิจัยสาขาทางการศึกษาและการเรียนรู้ สาขาสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ และสาขาที่เกี่ยวข้อง ได้เเก่ หลักสูตรและการสอน การวิจัยทางการศึกษา การบริหารการศึกษา จิตวิทยาการศึกษาและการเรียนรู้ พัฒนศึกษา นวัตกรรมเทคโนโลยีทางการศึกษา การศึกษานอกระบบโรงเรียน การศึกษาตลอดชีวิต นิเทศการศึกษา การพัฒนาวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา สุขศึกษาและพละศึกษา</p> <p>ทั้งนี้ วารสารในแต่ละฉบับ จะปรากฏบทความวิชาการพิเศษหรือบทความวิจัยพิเศษ และบทปริทัศน์หนังสือ ซึ่งกองบรรณาธิการจะเชิญผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาวิชา/ กองบรรณาธิการอาวุโสวารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย / กองบรรณาธิการวารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย เขียนบทความวิชาการพิเศษ หรือบทความวิจัยพิเศษ และบทปริทัศน์หนังสือ โดยนำบทความดังกล่าวตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย</p> <p><strong>รูปแบบการกลั่นกรองบทความก่อนลงตีพิมพ์ (Peer reviews) </strong></p> <p>1. ผู้เสนอบทความจะ<strong><u>ต้องจัดพิมพ์บทความตามรูปแบบ (</u></strong><strong><u>Template)</u></strong> ที่วารสาร วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย กำหนดเท่านั้น (ดาว์นโหลด<a href="https://drive.google.com/drive/folders/18fZCdfYtO02Ys1A0-w977SxD6jvgyD_G?usp=sharing">รูปแบบบทความ (Template)</a>)</p> <p>2. วารสารใช้รูปเเบบการประเมินบทความเเบบ Double-ฺBlind Peer Review โดยผู้ประเมินบทความ (Reviewer) ไม่ทราบชื่อผู้แต่ง (Author) เเละผู้แต่ง (Author) ไม่ทราบชื่อผู้ประเมิน (Reviewer) </p> <p>3. บทความจะได้รับการอ่านประเมิน โดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) จากภายนอกและภายในมหาวิทยาลัยในสาขาวิชานั้นๆ จำนวน 3 ท่านต่อเรื่อง </p> <p><strong>การจัดทำวารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย</strong></p> <p>วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัยมีการจัดทำวารสาร เป็น รูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Online) ISSN 2672-9199 ตั้งแต่ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม – ธันวาคม 2561 เป็นต้นไป กำหนดออกวารสาร ปีละ 2 ฉบับ ได้เเก่ 1) ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – มิถุนายน และ 2) ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม – ธันวาคม</p> <p><strong>อัตราค่าใช้จ่ายในการรับบทความเพื่อตีพิมพ์</strong></p> <p>ผู้เสนอบทความจะต้องชำระค่าดำเนินการในอัตรา 3,000.- บาทต่อหนึ่งบทความ หลังจากได้รับการพิจาณาจากจากคณะกรรมการกองบรรณาธิการฯเบื้องต้นเรียบร้อยเเล้ว ก่อนนำส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) จำนวน 3 ท่านต่อเรื่อง ประเมินบทความต่อไป</p> <p><strong>ช่องทางการชำระเงิน</strong></p> <p>1. โอนเงินเข้าบัญชี ธนาคารกสิกรไทย สาขานครปฐม ประเภทบัญชี ออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 106-3-61819-1 ชื่อบัญชี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (รับโอนเงิน) หรือ </p> <p>2. ชำระเงินสดด้วยตนเอง ที่งานคลังฯ สำนักงานคณบดี ชั้น 2 อาคารศึกษา 3 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร</p> <p>หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ 062-9199536</p>
วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย
th-TH
วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย
2672-9199
-
นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ศิลปะตามแนวคิดเกมมิฟิเคชัน ร่วมกับการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Learning) เพื่อส่งเสริมความเป็นนวัตกร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/272574
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนานวัตกรรม 2) พัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ศิลปะ 3) ศึกษาผลการใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ศิลปะ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/3 โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม จำนวน 45 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ สถิติค่าที และ การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนและครูต้องการใช้เทคโนโลยีในการทำงาน ผลงานควรส่งเสริมอัตลักษณ์ และเป็นประโยชน์ต่อชุมชน 2) นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ศิลปะ มีองค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล และปัจจัยและเงื่อนไข การใช้ มีขั้นตอน ชื่อว่า “สร้างสรรค์โมเดล” ประกอบด้วย (1) กระตุ้นความสนใจ (2) สร้างความร่วมมือ (3) แข่งขัน ท้าทายความคิด (4) เรียนรู้และตั้งเป้าหมาย (5) ฝึกฝนทักษะ ฝ่าฟันภารกิจ (6) นำเสนอและรับผลป้อนกลับและ (7) รางวัลแห่งความเป็นนวัตกร เกณฑ์คุณภาพโดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด 3) ผลการใช้นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ศิลปะ พบว่า 3.1) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.2) ความเป็นนวัตกรของนักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับดี และ 3.3) ความพึงพอใจของนักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด</p>
นิติวุฒิ แก้วรักษา
วิสูตร โพธิ์เงิน
ทิพเนตร์ แย้มมณีชัย
พิสิฐ ตั้งพรประเสริฐ
Copyright (c) 2024 วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย
2024-12-27
2024-12-27
16 2
1
18
-
ผลการจัดกิจกรรมตามแนวการสอนอ่านของ Murdoch (MIA) ร่วมกับเทคนิค ห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ เพื่อความเข้าใจของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/272611
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังเรียนด้วยการจัดกิจกรรมตามแนวการสอนอ่านของ Murdoch (MIA) ร่วมกับเทคนิคห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมตามแนวการสอนอ่านของ Murdoch (MIA) ร่วมกับเทคนิคห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) กลุ่มตัวอย่างได้แก่นักเรียนโรงเรียนศรีวินิตวิทยาคม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 40 คน ที่ได้จากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษโดยใช้การจัดกิจกรรมตามแนวการสอนอ่านของ Murdoch (MIA) ร่วมกับเทคนิคห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) 2) แบบทดสอบวัดทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจก่อนเรียน-หลังเรียน ข้อ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมตามแนวการสอนอ่านของ Murdoch (MIA) ร่วมกับเทคนิคห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ t แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมตามแนวการสอนอ่านของ Murdoch (MIA) ร่วมกับเทคนิคห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมตามแนวการสอนอ่านของ Murdoch (MIA) ร่วมกับเทคนิคห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) อยู่ที่ระดับมาก</p>
ประพิมพรรณ พนเจริญสวัสดิ์
สรณบดินทร์ ประสารทรัพย์
Copyright (c) 2024 วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย
2024-12-27
2024-12-27
16 2
19
35
-
การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้เทคนิคการคิดเลขแบบอินเดีย(เวทคณิต)
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/271247
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) ศึกษาพัฒนาการทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียน<br />ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการคิดเลขแบบอินเดีย(เวทคณิต) 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การหาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการคิดเลขแบบอินเดีย(เวทคณิต) 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการคิดเลขแบบอินเดีย (เวทคณิต) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดสาลวัน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 30 คน 1 ห้องเรียน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) ใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการคิดเลขแบบอินเดีย(เวทคณิต) เรื่อง การหาร จำนวน 5 แผน รวมทั้งหมด 18 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การหาร โดยใช้เทคนิคการคิดเลขแบบอินเดีย (เวทคณิต) <br />ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 3) แบบประเมินทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ 4) แบบศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การหารโดยใช้เทคนิคการคิดเลขแบบอินเดีย(เวทคณิต) สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าเฉลี่ย (M) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) สถิติทดสอบค่าที แบบไม่อิสระจากกัน (t-test Dependent)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการคิดเลขแบบอินเดีย(เวทคณิต) มีพัฒนาการในระดับสูงขึ้น 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การหาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการคิดเลขแบบอินเดีย(เวทคณิต) สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการคิดเลขแบบอินเดีย(เวทคณิต) มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก</p>
ชนาภา จีนคร้าม
สุวิมล สพฤกษ์ศรี
Copyright (c) 2024 วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย
2024-12-27
2024-12-27
16 2
36
50
-
การพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้แบบกิจกรรมเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดแบบเติบโต (Growth Mindset) และการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/272719
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้แบบกิจกรรมเป็นฐาน 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้แบบกิจกรรมเป็นฐาน 2.1) เพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดแบบเติบโต (Growth Mindset) 2.2) เพื่อประเมินผลงานศิลปะ 2.3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้แบบกิจกรรมเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนมีนบุรี จำนวน 30 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้แบบกิจกรรมเป็นฐานมีองค์ประกอบ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบกิจกรรมเป็นฐาน 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นนำ, ขั้นกิจกรรม, ขั้นสะท้อนคิด, ขั้นประเมินผล และขั้นประยุกต์ และ 5 กิจกรรมหลัก โดยกิจกรรมแกลเลอรี่วอล์ค เป็นกิจกรรมส่งเสริมกระบวนการคิดมากที่สุด จากการวัดประเมินผล 2) ผลการวัดกระบวนการคิดแบบเติบโต ด้วยข้อคำถามเชิงบวกมีผลอยู่ในระดับ ดี และข้อคำถามเชิงลบมีผลอยู่ในระดับ ปานกลาง 3) ผลการสังเกตพฤติกรรมอยู่ในระดับ มาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.50 4) ผลงานศิลปะของนักเรียน อยู่ในเกณฑ์คุณภาพระดับดีมาก 5) ผลการสะท้อนคิดผลงานศิลปะ สรุปได้ว่า การแสดงความรู้สึกและอารมณ์ในการทำงาน อยู่ในระดับดีมาก นักเรียนมีการทำงานอยู่ในกลุ่มสำเร็จบ้าง ล้มเหลวบ้าง 6) ความพึงพอใจของนักเรียน อยู่ในระดับ มากที่สุด</p>
ศศิวรรณ เชื้อบุญ
วิสูตร โพธิ์เงิน
ทิพเนตร์ แย้มมณีชัย
พิสิฐ ตั้งพรประเสริฐ
Copyright (c) 2024 วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย
2024-12-27
2024-12-27
16 2
51
68
-
การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ Unplugged Coding ร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงเหตุผลของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/271857
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานแสดงความต้องการจำเป็นในการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ 2) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ E<sub>1</sub>/ E<sub>2</sub>ตามเกณฑ์ 80/80 3) ทดลองใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ 4) ประเมินผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ 4.1) เปรียบเทียบทักษะการคิดเชิงเหตุผลก่อนและหลังใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ 4.2) ศึกษาความพึงพอใจของเด็กที่มีต่อการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนวัดสาลวัน จำนวน 20 คน ซึ่งกำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา และสถิติทดสอบค่าที แบบไม่อิสระจากกัน (t-test Dependent) ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานแสดงความต้องการจำเป็นในการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ 2. ผลการพัฒนาและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ Unplugged Coding มีค่า 82.50/84.12 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 3. ผลการทดลองใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ Unplugged Coding พบว่า เด็กมีความสนใจ สามารถปฏิบัติ กิจกรรมตามวัตถุประสงค์ได้ มีความกระตือรือร้น ได้ฝึกคิด ฝึกแก้ปัญหาลงมือกระทำด้วยตนเอง 4. ผลการประเมินผลการใช้ชุดกิจกรรม 4.1 ผลการเปรียบเทียบทักษะการคิดเชิงเหตุผลของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 หลังการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ Unplugged Coding สูงกว่าก่อนการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ Unplugged Coding อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4.2 ผลการศึกษาความพึงพอใจของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่มีต่อการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ พบว่า เด็กมีความพึงพอใจต่อการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ Unplugged Codingในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก</p>
เบญจพร สัมมาวิริยา
สุวิมล สพฤกษ์ศรี
Copyright (c) 2024 วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย
2024-12-27
2024-12-27
16 2
69
86
-
การพัฒนากิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามแนวคิดสะตีมศึกษา เพื่อพัฒนาความสามารถ ในการสร้างนวัตกรรมบอร์ดเกมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/272975
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ 2) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ 3) เพื่อทดลองใช้การจัดการเรียนรู้ ดังนี้ 3.1) ความสามารถในการสร้างนวัตกรรมบอร์ดเกม 3.2) ผลการเรียนรู้ 3.3) ความคิดเห็นของนักเรียน และ 4) เพื่อประเมินและปรับปรุง<br />การจัดการเรียนรู้ฯ วิธีดำเนินการวิจัยในลักษณะของการวิจัยและพัฒนา โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสมผสานวิธี ด้วยการศึกษาวิธีการเชิงปริมาณและวิธีการเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสมุทรสาครวิทยาลัยที่ลงเรียนชุมนุมนักเคมีรุ่นเยาว์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แบบสอบถามความคิดเห็น 2) แบบสัมภาษณ์ 3) แผนการจัดการเรียนรู้ 4) แบบประเมินความสามารถในการสร้างนวัตกรรม 5) แบบวัดผลการเรียนรู้ และ 6) แบบประเมินความคิดเห็น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p><strong>ผลการวิจัย </strong>พบว่า</p> <ol> <li>การจัดการเรียนรู้ควรเริ่มจากการเล่นบอร์ดเกม เรียนรู้ผ่านการปฏิบัติ และนำไปสู่การออกแบบและสร้างบอร์ดเกม</li> <li>แผนการจัดการเรียนรู้โดยรวมมีความเหมาะสมระดับมากที่สุด</li> <li>การทดลองใช้ ดังนี้ 3.1) ผลการประเมินความสามารถในการสร้างนวัตกรรมบอร์ดเกมอยู่ในระดับดีมาก 3.2) ผลการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และ 3.3) ความคิดเห็นของนักเรียนแสดงถึงความชื่นชอบการจัดการเรียนรู้</li> <li>แผนการจัดการเรียนรู้ ควรปรับปรุงแก้ไขในขั้นระบุปัญหา และขั้นออกแบบวิธีการแก้ปัญหา</li> </ol>
กัลยา จันทร์อ้น
วิสูตร โพธิ์เงิน
Copyright (c) 2024 วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย
2024-12-27
2024-12-27
16 2
87
103
-
การพัฒนากิจกรรมการส่งเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านทักษะสำหรับพลเมืองอนาคต ของนักศึกษาจิตวิทยาโครงการพิเศษ ภาควิชาจิตวิทยาและการแนะแนว คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/273140
<p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ด้านทักษะสำหรับพลเมืองอนาคตของนักศึกษาจิตวิทยาโครงการพิเศษ เพื่อพัฒนากิจกรรมการส่งเสริมคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ด้านทักษะสำหรับพลเมืองอนาคตของนักศึกษาจิตวิทยา และเพื่อเปรียบเทียบผลก่อนและหลังการใช้กิจกรรมการส่งเสริมคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ด้านทักษะสำหรับพลเมืองอนาคตของนักศึกษาจิตวิทยา การวิจัยและพัฒนา กลุ่มเป้าหมาย 2 กลุ่มของการศึกษา ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 4 จำนวน 35 คนที่สมัครใจเข้าร่วมการวิจัย และศิษย์เก่าซึ่งเป็นนักจิตวิทยาประจำหน่วยงานจำนวน 10 คน คัดเลือกแบบเจาะจงที่พร้อมให้ข้อมูลโดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการเรียนรู้เพื่อการพัฒนากิจกรรมการส่งเสริมคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ และเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประสิทธิผลและประเมินกิจกรรมการเรียนรู้ สรุปผลการวิจัยคือ 1) ลักษณะการทำงานของนักจิตวิทยาสามารถใช้ความรู้ ความสามารถในการทำงานในหน่วยงานของโรงพยาบาล ศูนย์การศึกษาพิเศษ ศาลยุติธรรม และฝ่ายจัดการทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรได้ 2) การพัฒนากิจกรรมฯ ประกอบด้วย ขั้นตอนก่อนดำเนินกิจกรรมการส่งเสริมคุณลักษณะบัณฑิตฯ และ ขั้นตอนดำเนินการจัดกิจกรรมตามแผนกิจกรรม 6 แผนเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ด้านทักษะสำหรับพลเมืองอนาคต ประกอบด้วยทักษะสำคัญ 4 ประการ คือ ทักษะการคิด ทักษะการทำงานและการเรียนรู้ ทักษะการบริหาร และทักษะความเป็นผู้ประกอบการ 3) การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายด้านของคะแนน หลังการใช้กิจกรรมฯ พบว่ามีค่าเฉลี่ยสูงขึ้น ซึ่งมีพัฒนาการเพิ่มขึ้นร้อยละ 49.01 โดยมีคะแนนเฉลี่ยก่อนการใช้กิจกรรมเท่ากับ 3.89 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.77 และคะแนนเฉลี่ยหลังการใช้กิจกรรมเท่ากับ 4.23 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.66 </p>
กมล โพธิเย็น
กันยารัตน์ เมืองแก้ว
อุรปรีย์ เกิดในมงคล
วนัญญา ปุญญากิจโภคิน
ชินัณ บุญเรืองรัตน์
ฐิติมา เวชพงศ์
Copyright (c) 2024 วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย
2024-12-27
2024-12-27
16 2
104
123
-
ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการเรียนแบบสืบสอบความรู้เป็นกลุ่ม ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางการคำนวณของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/272957
<p>Alper, T., and Inceoglu, G. (2017). Effect of Problem-based Learning on Students' Achievement in Using Computer-Aided Design Software. <em>Journal of Educational Technology and</em> <em>Society, 20</em>(1), 36-46.</p> <p>Andik, A. (2020, August 8). <em>Study on Computational Thinking as Problem-solving Skill: Comparison Based on Students Mindset in Engineering and Social Science.</em> Universitas Negeri Yogyakarta. https://www.researchgate.net/publication/.</p> <p>Bachelor of Technology Program in Information Technology. (2022, May 24). <em>TQF.2 Program in Information Technology</em>. https://it-btech.dusit.ac.th/wp-content/uploads/2022/04/TQF2 _65.</p> <p>Cheng, Y. P., Lai, C. F., Chen, Y. T., Wang, W. S., Huang, Y. M., and Wu, T. T. (2023). Enhancing Student's Computational Thinking Skills with Student-Generated Questions Strategy in a Game-based Learning Platform. <em>Computers and Education,</em> <em>200, </em>1-20.</p> <p>Keereerat, C. (2019). Using the Problem-Solving and App Inventor to Develop Computational Thinking Skill for High School Students. <em>Journal of Education Studies</em>, <em>47</em>(2), 31-47.</p> <p>Khaemmanee, T. (2017). <em>Teaching Science: Knowledge for Organizing Effective Learning Processes.</em> (1<sup>st</sup> ed.). Chulalongkorn University Press. (in Thai)</p> <p>Ministry of Education. (2022, August 20). <em>National Education Act BE 2542 (1999).</em> https://www.onesqa.or.th/upload/download/file_697 c80087 cce7f0f83ce0e2 a9820 5aa3.pdf (in Thai)</p> <p>Panich, V. (2012). <em>Innovative Pathway of Learning in 21<sup>st</sup> Century</em>. (4<sup>th</sup> ed.). SodsriSaritwong Foundation. (in Thai)</p> <p>Savery, J. R., and Duffy, T. M. (1995). Problem-based Learning: An Instructional Model and It’s Constructivist Framework. <em>Educational Technology, 35</em>(5), 31-38.</p> <p>Thangnatee, K., and Thanapatmeemanee, H. (2022). Blended Learning Activities by using Group Investigation (GI) to Enhance Computational Thinking Skills of Secondary 1 Students. <em>Journal of Educational Technology and Communications Faculty of Education Mahasarakham University,</em> <em>5</em>(15), 113-136. (in Thai)</p> <p>Whitehead, A. N. (1967). <em>The Aims of Education and Other Essay</em>. The Free Press.</p> <p>Wongyos, S. (2023). Development of the Self Study Package Entitled Computational Thinking in Accordance with the SEASES Model to Enhance Problem-solving Skillsfor Grade 8 Students. <em>Journal of Humanities and Social Sciences Nakhon Phanom University,</em> <em>13</em>(2), 177-188.</p>
สายสุดา ปั้นตระกูล
Copyright (c) 2024 วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย
2024-12-27
2024-12-27
16 2
124
139
-
การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมผสมผสานโดยใช้วิดีโอปฏิสัมพันธ์ การสอนงาน และการเรียนรู้แบบฉากทัศน์เป็นฐานเพื่อส่งเสริมสมรรถนะวิชาชีพ
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/273211
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมผสมผสานโดยใช้วิดีโอปฏิสัมพันธ์ การสอนงานและการเรียนรู้แบบฉากทัศน์เป็นฐาน เพื่อส่งเสริมสมรรถนะวิชาชีพ 2) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการฝึกอบรมผสมผสานฯ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการฝึกอบรมผสมผสานฯ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ พนักงานบริษัทเอกชนระดับปฏิบัติการ ที่มีอายุงาน 4 เดือนขึ้นไป จำนวนทั้งหมด 30 คน ได้มาโดยการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ประกอบด้วย 1) รูปแบบการฝึกอบรมผสมผสานฯ 2) แผนการฝึกอบรมที่สอดคลองกับการใช้รูปแบบการฝึกอบรมผสมผสานฯ 3) แบบประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพ การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ ผลการศึกษาพบว่า 1) รูปแบบการฝึกอบรมผสมผสานฯ ประกอบด้วย 3 ระยะ คือ 1) การเตรียมความพร้อมในการฝึกอบรมแบบผสมผสาน 2) ระหว่างการฝึกอบรมแบบผสมผสาน 3) หลังการฝึกอบรมแบบผสมผสาน และแบ่งออกเป็น 7 ขั้นตอน (1) เกริ่นนำและให้ความรู้ (2) ศึกษาสถานการณ์เรียนรู้ตามสภาพจริง <br />(3) ศึกษาปัญหาและแก้ไขปัญหา (4) เสริมความรู้ (5) แบ่งปันข้อมูลในสังคมเครือข่ายการเรียนรู้ (6) อภิปรายและสรุปผล (7) วัดและประเมินผล 2) ผู้เข้าอบรมที่ฝึกอบรมด้วยรูปแบบการฝึกอบรมผสมผสานฯ มีสมรรถนะทางวิชาชีพหลังฝึกอบรมสูงขึ้นกว่าระหว่างฝึกอบรม และระหว่างฝึกอบรมสูงกว่าก่อนฝึกอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลการนำเสนอรูปแบบการฝึกอบรมผสมผสานฯ พบว่า ผลการประเมินอยู่ในระดับดีมาก</p>
สุธิดา พงษ์เสือ
จินตวีร์ คล้ายสังข์
Copyright (c) 2024 วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย
2024-12-27
2024-12-27
16 2
140
157
-
ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในจังหวัดกรุงเทพมหานคร
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/273273
<p>การวิจัยเรื่องปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสถานศึกษาสังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการอาชีวศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของบุคลากร 2) ศึกษาระดับปัจจัยในการปฏิบัติงานของบุคลากร และ 3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อ ประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน ของบุคลากร กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 234 คน เครื่องมือที่ใช้ เป็นแบบสอบถาม 5 ระดับ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับประสิทธิผล การปฏิบัติงานของบุคลากรโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณา รายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน คือ ผลสำเร็จของงาน คุณภาพของงาน และ จริยธรรมการปฏิบัติงาน ความคุ้มค่า และความรวดเร็วทันเวลา ตามลำดับ 2) ระดับปัจจัยในการปฏิบัติงานของบุคลากร โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน คือ การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน สิ่งแวดล้อมในการปฏิบัติงาน การฝึกอบรม แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน และการบริหารจัดการองค์กร ตามลำดับ และ 3) ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ พบว่า ปัจจัยทั้ง 5 ด้าน ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของ บุคลากรคือการบริหารจัดการองค์กร (X<sub>1</sub>) การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน (X<sub>2</sub>) สิ่งแวดล้อมในการปฏิบัติงาน (X<sub>3</sub>) แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน (X<sub>4</sub>) และการฝึกอบรม (X<sub>5</sub>) เมื่อพิจารณาเป็นรายปัจจัย พบว่ามี 3 ปัจจัยที่ส่งผล ได้แก่ การฝึกอบรม (X<sub>5</sub>) แรงจูงใจในการทำงาน (X<sub>4</sub>) และการบริหารจัดการองค์กร (X<sub>1</sub>) ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรทุกด้าน ได้แก่ ด้านคุณภาพของงาน (Y<sub>1</sub>) ด้านรวดเร็วทันเวลา (Y<sub>2</sub>) ด้านผลสำเร็จของงาน (Y<sub>3</sub>) ด้านความคุ้มค่า (Y<sub>4</sub>) และด้านจริยธรรมการปฏิบัติงาน (Y<sub>5</sub>) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p>
ปาณเดชา ทองเลิศ
Copyright (c) 2024 วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย
2024-12-27
2024-12-27
16 2
158
174
-
ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารทางการศึกษาของบุคลากรในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/273436
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทางการศึกษาของบุคลากรในสถานศึกษา 2) ระดับภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา และ 3) สร้างสมการพยากรณ์ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทางการศึกษาของบุคลากรในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ผู้บริหาร และบุคลากรในสถานศึกษา จำนวน 317 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทางการศึกษาของบุคลากรในสถานศึกษา มีค่าความเชื่อมั่นภาพรวม เท่ากับ 0.93 และภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าความเชื่อมั่นภาพรวม เท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) สมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทางการศึกษาของบุคลากรในสถานศึกษา โดยภาพรวม และรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวม และรายด้านอยู่ในระดับมากและ 3) ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ได้แก่ การผลิตและความเชี่ยวชาญสู่ความเป็นมืออาชีพด้านดิจิทัล รองลงมา คือ การสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการบริหารงาน การมีวิสัยทัศน์เทคโนโลยีดิจิทัล และจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ตามลำดับ ซึ่งสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทางการศึกษาของบุคลากรในสถานศึกษา ได้ร้อยละ 64.70</p>
ชิดชนก ชำนาญยุทธภูมิ
บรรจบ บุญจันทร์
Copyright (c) 2024 วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย
2024-12-27
2024-12-27
16 2
175
191
-
การพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง คลื่นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/273535
<p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนจำนวน 2 วงจรปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานให้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องคลื่นของนักเรียน<br />ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน มีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเอกชนระดับมัธยมศึกษาแห่งหนึ่งในจังหวัดชัยภูมิ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ที่มีคะแนนการคิดอย่างมีวิจารณญาณไม่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 จำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน 2) แบบทดสอบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 4) แบบสัมภาษณ์นักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานมีคะแนนการคิดอย่างมีวิจารณญาณในวงจรปฏิบัติการที่ 1 และ 2 เฉลี่ยร้อยละ 72.71 และ 83.96 ตามลำดับ และนักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวงจรปฏิบัติการที่ 1 และ 2 เฉลี่ยร้อยละ 70.21 และ 81.04 ตามลำดับ จากผลการวิจัยสามารถสรุปได้ว่า การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานสามารถพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนให้สูงขึ้นได้</p>
เกียรติชัย ทวีลาภ
กันยารัตน์ สอนสุภาพ
Copyright (c) 2024 วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย
2024-12-27
2024-12-27
16 2
192
208
-
การจัดการเรียนรู้แบบโฟร์บล็อกร่วมกับเทคนิค 5W1H เพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการอ่านจับใจความสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/273732
<p>การศึกษานี้วัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้แบบโฟร์บล็อกร่วมกับเทคนิค 5W1H ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้แบบโฟร์บล็อกร่วมกับเทคนิค 5W1H เป็นการวิจัยเชิงทดลอง เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) กระบวนการจัดการเรียนรู้จำนวน 6 แผน ระยะเวลา 12 ชั่วโมง ได้แก่ การจับใจความจากนิทาน บทความ งานเขียนประเภทโน้มน้าวใจ โฆษณา ข่าว และเรื่องสั้น 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านจับใจความ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้ กลุ่มเป้าหมาย คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอนุบาลอรุณโรจน์ จำนวน 25 คน วิเคราะข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนโดยสถิติ Paired t-test ผลการศึกษาพบว่า 1) กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบโฟร์บล็อกร่วมกับเทคนิค 5W1H สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ 80.65/77.27 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 2) ความสามารถในการอ่านจับใจความหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 และ 3) ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบโฟร์บล็อกร่วมกับเทคนิค 5W1H ค่าเฉลี่ยภาพรวมอยู่ในระดับมาก( = 4.46) ดังนั้นควรนำกระบวนการจัดการเรียนรู้นี้ใปใช้ในการเพิ่มขีดความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนต่อไป</p>
ญาธิดา อุปมัย
อัฐพล อินต๊ะเสนา
Copyright (c) 2024 วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย
2024-12-27
2024-12-27
16 2
209
224
-
การประเมินโครงการห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษของกลุ่มโรงเรียนอำเภอไชยวาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/273890
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมิน 1) ปัจจัยนำเข้า 2) กระบวนการ และ 3) ผลผลิตโครงการห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษของกลุ่มโรงเรียนอำเภอไชยวาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานีเขต 3 มีโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ทั้งหมด 8 แห่ง ผู้ให้ข้อมูล จำนวน 320 คน ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน ครูผู้รับผิดชอบ นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ และแบบวัดทักษะภาษาอังกฤษ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย ดังนี้</p> <ol> <li>ด้านปัจจัยนำเข้า ดังนี้ ความคิดเห็นสำหรับผู้อำนวยการโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด <br />ความคิดเห็นสำหรับครูผู้รับผิดชอบ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ผลจากการสัมภาษณ์สำหรับผู้อำนวยการโรงเรียนและครูผู้รับผิดชอบ พบว่า ด้านอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม มีความเหมาะสมมากที่สุด</li> <li>ด้านกระบวนการ ดังนี้ ความคิดเห็นสำหรับผู้อำนวยการโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด <br />ความคิดเห็นสำหรับครูผู้รับผิดชอบ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ผลจากการสัมภาษณ์สำหรับผู้อำนวยการโรงเรียนและครูผู้รับผิดชอบ พบว่า ด้านผู้สอน มีความเหมาะสมมากและมากที่สุด </li> </ol> <p>3. ด้านผลผลิต ดังนี้ 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ โดยรวมอยู่ในระดับสูง <br />2) ผลการวัดทักษะภาษาอังกฤษ 4 ด้าน ส่วนใหญ่อยู่ในระดับดีถึงดีมาก 3) เจคติของผู้เรียนและครู โดยรวมอยู่ในระดับมาก และ 4) ความพึงพอใจของครูและผู้ปกครอง โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด</p>
ขนิษฐา ฤๅชากูล
ทัศน์ศิรินทร์ สว่างบุญ
Copyright (c) 2024 วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย
2024-12-27
2024-12-27
16 2
225
240
-
การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมตามแนวคิด Cyber Friendly School Program เพื่อเสริมสร้างความเห็นอกเห็นใจในโลกดิจิทัล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/274415
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาคุณภาพของหลักสูตรฝึกอบรมฯ 2) เพื่อทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมฯ 3) เพื่อประเมินความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรมฯ ดำเนินการศึกษาค้นคว้าตามกระบวนการวิจัยและพัฒนา มีกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 35 คน ที่ได้มาด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ หลักสูตรฝึกอบรมตามแนวคิด Cyber Friendly School Program แบบทดสอบวัดความรู้ตามแนวคิด Cyber Friendly School Program แบบประเมินตนเองด้านความเห็นอกเห็นใจในโลกดิจิทัล และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่า t-test (dependent) ผลการวิจัย พบว่า 1) หลักสูตรฝึกอบรม มี 7 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ จุดมุ่งหมาย คำอธิบายรายวิชา โครงสร้างหลักสูตรฝึกอบรมและสาระการเรียนรู้ แนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แนวทางการวัดและประเมินผล และสื่อการเรียนรู้ และมีความเหมาะสมอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด ( = 4.66, S.D. = 0.42) ผลการทดลองนำร่องหลักสูตรฝึกอบรม พบว่า หลักสูตรฝึกอบรม<br />มีความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติจริง 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรฝึกอบรมมีความรู้<br />ตามแนวคิด Cyber Friendly School Program หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และนักเรียนมีความเห็นอกเห็นใจ<br />ในโลกดิจิทัลอยู่ในระดับมาก ( = 3.96) 3) ความคิดเห็นต่อหลักสูตรฝึกอบรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นมีความพึงพอใจในอยู่ระดับมาก ( = 4.37)</p>
ชินวัฒน์ วาสนาเรืองสุทธิ
กอบสุข คงมนัส
Copyright (c) 2024 วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย
2024-12-27
2024-12-27
16 2
241
255
-
การพัฒนาความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์วิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยการจัดการเรียนรู้แบบ KWL Plus
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/274562
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบ KWL-Plus ที่มีต่อความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์วิชาภาษาไทย เพื่อศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลในการอ่านเชิงวิเคราะห์วิชาภาษาไทยโดยการจัดการเรียนรู้แบบ KWL- Plus และเพื่อศึกษาความพึงพอใจหลังการจัดการเรียนรู้โดยการจัดการเรียนรู้แบบ KWL-Plus กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 22 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนอนุบาลศรีซำสูง ตำบลกระนวน อำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ วิชาภาษาไทย โดยการจัดการเรียนรู้แบบ KWL – Plus 2) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์วิชาภาษาไทย แบบชนิดเลือกตอบและ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการเรียนรู้แบบ KWL - Plus สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านเชิงวิเคราะห์วิชาภาษาไทยโดยการจัดการเรียนรู้แบบ KWL- Plus มีประสิทธิภาพ 76.28/ 79.36 ซึ่งสูงกว่าเกินที่กำหนดไว้ 2) ค่าดัชนีประสิทธิผลการเรียนรู้การอ่านเชิงวิเคราะห์วิชาภาษาไทย โดยการจัดการเรียนรู้แบบ KWL - Plus มีค่าเท่ากับ 0.6125 หรือคิดเป็นร้อยละ 61.25 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนรู้แบบ KWL- Plus การอ่านเชิงวิเคราะห์วิชาภาษาไทย โดยภาพรวมอยู่ในระดับที่มาก ( = 3.98, S.D. = 0.88)</p>
กันตนา ศรีสมบัติ
ธนดล ภูสีฤทธิ์
Copyright (c) 2024 วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย
2024-12-27
2024-12-27
16 2
256
269
-
การพัฒนาสื่อการสอนวิทยาศาสตร์บูรณาการกับศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยนักศึกษาครูวิทยาศาสตร์ : กรณีศึกษาจากแหล่งการเรียนรู้ประวัติศาสตร์เมืองละโว้
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/274596
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการพัฒนาสื่อการสอนวิทยาศาสตร์บูรณาการกับศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น 2) ศึกษาความรู้ ทักษะ และเจตคติของนักศึกษาในการพัฒนาสื่อการสอนวิทยาศาสตร์ที่บูรณาการกับศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น กลุ่มที่ศึกษา คือนักศึกษาครูสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป ชั้นปีที่ 2 จำนวน 38 คน ซึ่งลงทะเบียนเรียนในรายวิชาวิทยาศาสตร์บูรณาการ 1 ภายหลังจากการเรียนในห้องเรียน นักศึกษาได้เข้าร่วมกิจกรรมกาออกแบบและจัดทำสื่อการสอนวิทยาศาสตร์ที่บูรณาการกับศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นจากแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์เมืองละโว้ ผลการวิจัย พบว่า 1) แนวทางในการพัฒนาให้นักศึกษาสามารถสร้างสื่อการสอนวิทยาศาสตร์ที่บูรณาการกับศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ประกอบด้วยหลายวิธีการ ได้แก่ การให้นักศึกษาได้เรียนรู้แนวคิดทางวิทยาศาสตร์ผ่านการลงมือปฏิบัติ การวิเคราะห์แนวคิดวิทยาศาสตร์ที่อยู่เบื้องหลังศิลปวัฒนธรรมและความรู้ในท้องถิ่นการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับการการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การออกแบบสื่อการสอนเชิงบูรณาการร่วมกับกำหนดแนวทางการสอน และการให้นักศึกษาได้ศึกษาจากแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ 2) นักศึกษามีความรู้ ทักษะ และเจตคติต่อการพัฒนาสื่อการสอนวิทยาศาสตร์ที่บูรณาการกับศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น มากที่สุดทุกประเด็น โดยประเด็นที่ได้รับคะแนนสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ความพึงพอใจและความภาคภูมิใจในการทำกิจกรรมสร้างสื่อการสอน, ความพร้อมในการนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นไปใช้ในชั้นเรียนจริง และการเห็นคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น</p>
พินิจนันท์ เนื่องจากอวน
Copyright (c) 2024 วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย
2024-12-27
2024-12-27
16 2
270
285
-
ผลการจัดการเรียนรู้แบบเอสคิวโฟร์อาร์ร่วมกับแอปพลิเคชันเพื่อการศึกษา ที่มีต่อความสามารถในการอ่านและเจตคติต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/275050
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบเอสคิวโฟร์อาร์ร่วมกับแอปพลิเคชันเพื่อการศึกษา 2) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านของนักเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเอสคิวโฟร์อาร์ร่วมกับแอปพลิเคชันเพื่อการศึกษากับเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม และ 3) ศึกษาเจตคติต่อการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเอสคิวโฟร์อาร์ร่วมกับแอปพลิเคชันเพื่อการศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนตาคลีประชาสรรค์ จำนวน 40 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบวัดความสามารถในการอ่านวิชาภาษาอังกฤษ และ 3) แบบวัดเจตคติต่อการเรียน การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีกรณีกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระต่อกัน และการทดสอบค่าทีกรณีกลุ่มเดียวผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเอสคิวโฟร์อาร์ร่วมกับแอปพลิเคชันเพื่อการศึกษามีความสามารถในการอ่านหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเอสคิวโฟร์อาร์ร่วมกับแอปพลิเคชันเพื่อการศึกษา เมื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม พบว่านักเรียนมีความสามารถในการอ่านหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเอสคิวโฟร์อาร์ร่วมกับแอปพลิเคชันเพื่อการศึกษามีเจตคติต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษในระดับมาก</p>
อภิชญา คำศรี
พรรณราย เทียมทัน
Copyright (c) 2024 วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย
2024-12-27
2024-12-27
16 2
286
301
-
ผลการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานที่มีต่อทักษะการพูดภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดภูเก็ต
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/275149
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน 2) เปรียบเทียบทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานกับเกณฑ์ร้อยละ 60 และ <br />3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนภาษาอังกฤษโดยการสอนแบบโครงงานเป็นฐานกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 37 คน โดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน 2) แบบทดสอบทักษะการพูด และ3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนภาษาอังกฤษโดยการสอนแบบโครงงานเป็นฐานสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบเครื่องหมายผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนหลังเรียน โดยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ทักษะการพูดภาษาอังกฤษหลังเรียนแบบโครงงานเป็นฐานสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนภาษาอังกฤษโดยการสอนแบบโครงงานเป็นฐานอยู่ในระดับมากที่สุด</p>
ทรงพร สานุสันต์
ศิตา เยี่ยมขันติถาวร
อารีรักษ์ มีแจ้ง
Copyright (c) 2024 วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย
2024-12-27
2024-12-27
16 2
302
316
-
ปัจจัยที่ส่งผลต่อกระบวนการบริหารหลักสูตรฐานสมรรถนะในโรงเรียนนำร่อง พื้นที่นวัตกรรม : กรณีศึกษาเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 2
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/275514
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับกระบวนการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมในการใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 2 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อกระบวนการบริหารหลักสูตรในสถานศึกษาของโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมในการใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนและกรรมการสถานศึกษาในโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมจำนวน 90 คน ได้มาจากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้หลักการของ Hair, Black, Babin, และ Anderson จากนั้นทำการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือ ที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณโดยใช้วิธีเพิ่มตัวแปรอิสระแบบขั้นตอน (Stepwise) ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับกระบวนการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมโดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อกระบวนการบริหารหลักสูตรในสถานศึกษาของโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมในการใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะ ในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 2</p>
อัยรีน ยามา
ณรงค์ศักดิ์ รอบคอบ
Copyright (c) 2024 วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย
2024-12-27
2024-12-27
16 2
317
331
-
แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดฉะเชิงเทรา
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/275539
<p>การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาบริบทปัจจุบันและบริบทความคาดหวัง วิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาและเพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในสถานศึกษา พบว่า ผลการวิเคราะห์บริบทปัจจุบันภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยสูงสุด เช่นเดียวกับผลการวิเคราะห์บริบทความคาดหวัง การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาจัดลำดับความสำคัญจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก คือ ด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา และด้านการนิเทศการศึกษา ผลการวิจัยแนวทางการพัฒนา สรุปได้ว่า ด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาควรส่งเสริมให้มีการผลิตและพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาผ่านการจัดโครงการ โดยมีการสำรวจความต้องการในการพัฒนาในแต่ละด้านส่งเสริมให้ครูนำสื่อที่ผลิตขึ้นเองมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้ตรงตามบริบทรายวิชา และพัฒนาให้เกิดคุณภาพสูงขึ้น ผู้บริหารมีการนิเทศติดตามและประเมินผลการผลิตและพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา และสะท้อนผลให้กับครูรับทราบ ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ผู้บริหารควรส่งเสริมให้ครูทำวิจัยทางการศึกษาที่หลากหลาย และนำผลการวิจัยมาใช้พัฒนาการจัดการศึกษาให้เกิดคุณภาพที่สูงขึ้น มีการกำกับติดตาม ดูแล ช่วยเหลือให้งานวิจัยมีความถูกต้องและมีคุณภาพ มอบรางวัลสำหรับงานวิจัยที่มีคุณภาพส่งเสริมให้ครูส่งผลงานการวิจัยเผยแพร่ชาติ ด้านการนิเทศการสอน ผู้บริหารควรส่งเสริมให้มีการนิเทศการศึกษาอย่างต่อเนื่องและหลากหลาย เปิดโอกาสให้ครูแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีการจัดทำแผน ปฏิทิน และแบบฟอร์มการนิเทศโดยการนิเทศควรเป็นไปอย่างสร้างสรรค์ ให้กำลังใจและสร้างแรงบันดาลใจให้กับครู มีการรายงานผลการนิเทศเพื่อสะท้อนให้ครูได้พัฒนา</p>
เนติราช คำก้อน
ธดา สิทธิ์ธาดา
เตือนใจ ดลประสิทธิ์
Copyright (c) 2024 วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย
2025-01-06
2025-01-06
16 2
332
344
-
การพัฒนารูปแบบการสอนคติชนวิทยาโดยการประยุกต์ใช้ชุมชนเป็นฐานร่วมกับ การสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองเพื่อพัฒนาความสามารถด้านความคิดรวบยอด และความตระหนักทางวัฒนธรรมสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/274630
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการสอนคติชนวิทยาโดยการประยุกต์ใช้ชุมชนเป็นฐานร่วมกับการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองเพื่อพัฒนาความสามารถด้านความคิดรวบยอดและความตระหนักทางวัฒนธรรม 2) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการสอนคติชนวิทยาโดยการประยุกต์ใช้ชุมชนเป็นฐานร่วมกับการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองเพื่อพัฒนาความสามารถด้านความคิดรวบยอดและความตระหนักทางวัฒนธรรม 3) ขยายผลการใช้รูปแบบการสอนคติชนวิทยาโดยการประยุกต์ใช้ชุมชนเป็นฐานร่วมกับการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองเพื่อพัฒนาความสามารถด้านความคิดรวบยอดและความตระหนักทางวัฒนธรรม กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามสภาพปัญหาการเรียนการสอนคติชนวิทยาแบบวิเคราะห์เอกสารข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการสอนคติชนวิทยา ประเด็นคำถามสำหรับอภิปรายกลุ่มย่อย (Focus Group Discussion) รูปแบบการสอนคติชนวิทยา แผนการจัดการเรียนรู้ แบบวัดความสามารถด้านความคิดรวบยอด และแบบวัดความตระหนักทางวัฒนธรรม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) รูปแบบการสอนมี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการวัตถุประสงค์กระบวนการจัดการเรียนรู้ การวัดประเมินผล และปัจจัยสนับสนุนการนำรูปแบบการสอนไปใช้ กระบวนการสอนมี 7 ขั้นตอน ประกอบด้วย (1) วิเคราะห์ตัวตน (2) เสนอผลควรรู้ (3) ลงสู่ชุมชน (4) เก็บผลข้อมูลภาคสนาม (5) เล่าความสร้างสรรค์ (6) แบ่งปันสรุปองค์ความรู้ และ (7) นำสู่การต่อยอดทางวัฒนธรรม ผลการตรวจสอบคุณภาพคือรูปแบบการสอนสามารถนำไปใช้ได้จริง 2) ผลการทดลองใช้รูปแบบการสอน พบว่า นักศึกษามีความสามารถด้านความคิดรวบยอดและความตระหนักทางวัฒนธรรมสูงขึ้นกว่าก่อนเรียนด้วยรูปแบบการสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และ 3) ผลการนำรูปแบบการสอนไปขยายผล พบว่า นักศึกษามีความสามารถด้านความคิดรวบยอดและความตระหนักทางวัฒนธรรมสูงขึ้นกว่าก่อนเรียนด้วยรูปแบบการสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05</p>
วรกร ธรรมภิบาลอุดม
ชลธิชา หอมฟุ้ง
ไชยยศ ไพวิทยศิริธรรม
อุบลวรรณ ส่งเสริม
Copyright (c) 2024 วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย
2025-01-06
2025-01-06
16 2
345
363
-
การศึกษาสภาพกิจกรรมนันทนาการเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว เชิงอนุรักษ์ในพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันตกจังหวัดเพชรบุรี
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/274923
<p>บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบกิจกรรมนันทนาการเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันตกจังหวัดเพชรบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพกิจกรรมนันทนาการเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันตกจังหวัดเพชรบุรี เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 15 คน และกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยว 400 คน ด้วยแบบสอบถาม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) ข้อคำถามในการสัมภาษณ์เชิงลึก 2) แบบสอบถามสภาพกิจกรรมนันทนาการเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันตกจังหวัดเพชรบุรี วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า สภาพกิจกรรมนันทนาการเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันตกจังหวัดเพชรบุรีมีกิจกรรมนันทนาการที่หลากหลายและดึงดูดให้นักท่องเที่ยวมาร่วมกิจกรรมตามความสนใจ ได้แก่ กิจกรรมทัศนศึกษา กิจกรรมด้านกีฬา และกิจกรรมศิลปะหัตถกรรม อาทิ กิจกรรมปลูกป่าชายเลน กิจกรรมเดิน – วิ่งและกิจกรรมลอยกระทงในนาเกลือ นอกจากนั้น ผลการศึกษายังพบว่า พื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันตกจังหวัดเพชรบุรีเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ โดยมีสิ่งอำนวยความสะดวกและแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่หลากหลาย ทั้งผืนป่า หาดทราย ชายทะเล และป่าชายเลน</p>
บุญเพชร พึ่งย้อย
วรรณวีร์ บุญคุ้ม
Copyright (c) 2024 วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย
2025-01-09
2025-01-09
16 2
364
380
-
ใบรองปก
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/277768
ใบรองปก
Copyright (c) 2024 วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย
2024-12-27
2024-12-27
16 2
-
รายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/277786
<p>-</p>
รายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ
Copyright (c) 2024 วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย
2024-12-27
2024-12-27
16 2
-
รายชื่อกองบรรณาธิการวารสาร
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/277787
<p>-</p>
รายชื่อกองบรรณาธิการวารสาร
Copyright (c) 2024 วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย
2024-12-27
2024-12-27
16 2
-
สารบัญ
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/278031
<p>-</p>
สารบัญ
Copyright (c) 2024 วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย
2025-01-09
2025-01-09
16 2
ค
ช