วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal <p>วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัยเป็นวารสารที่รองรับการตีพิมพ์เผยแพร่บทความวิจัยสาขาทางการศึกษาและการเรียนรู้ สาขาสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ และสาขาที่เกี่ยวข้อง ได้เเก่ หลักสูตรและการสอน การวิจัยทางการศึกษา การบริหารการศึกษา จิตวิทยาการศึกษาและการเรียนรู้ พัฒนศึกษา นวัตกรรมเทคโนโลยีทางการศึกษา การศึกษานอกระบบโรงเรียน การศึกษาตลอดชีวิต นิเทศการศึกษา การพัฒนาวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา สุขศึกษาและพละศึกษา</p> <p>ทั้งนี้ วารสารในแต่ละฉบับ จะปรากฏบทความวิชาการพิเศษหรือบทความวิจัยพิเศษ และบทปริทัศน์หนังสือ ซึ่งกองบรรณาธิการจะเชิญผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาวิชา/ กองบรรณาธิการอาวุโสวารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย / กองบรรณาธิการวารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย เขียนบทความวิชาการพิเศษ หรือบทความวิจัยพิเศษ และบทปริทัศน์หนังสือ โดยนำบทความดังกล่าวตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย</p> <p><strong>รูปแบบการกลั่นกรองบทความก่อนลงตีพิมพ์ (Peer reviews) </strong></p> <p>1. ผู้เสนอบทความจะ<strong><u>ต้องจัดพิมพ์บทความตามรูปแบบ (</u></strong><strong><u>Template)</u></strong> ที่วารสาร วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย กำหนดเท่านั้น (ดาว์นโหลด<a href="https://drive.google.com/drive/folders/18fZCdfYtO02Ys1A0-w977SxD6jvgyD_G?usp=sharing">รูปแบบบทความ (Template)</a>)</p> <p>2. วารสารใช้รูปเเบบการประเมินบทความเเบบ Double-ฺBlind Peer Review โดยผู้ประเมินบทความ (Reviewer) ไม่ทราบชื่อผู้แต่ง (Author) เเละผู้แต่ง (Author) ไม่ทราบชื่อผู้ประเมิน (Reviewer) </p> <p>3. บทความจะได้รับการอ่านประเมิน โดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) จากภายนอกและภายในมหาวิทยาลัยในสาขาวิชานั้นๆ จำนวน 3 ท่านต่อเรื่อง </p> <p><strong>การจัดทำวารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย</strong></p> <p>วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัยมีการจัดทำวารสาร เป็น รูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Online) ISSN 2672-9199 ตั้งแต่ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม – ธันวาคม 2561 เป็นต้นไป กำหนดออกวารสาร ปีละ 2 ฉบับ ได้เเก่ 1) ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – มิถุนายน และ 2) ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม – ธันวาคม</p> <p><strong>อัตราค่าใช้จ่ายในการรับบทความเพื่อตีพิมพ์</strong></p> <p>ผู้เสนอบทความจะต้องชำระค่าดำเนินการในอัตรา 3,000.- บาทต่อหนึ่งบทความ หลังจากได้รับการพิจาณาจากจากคณะกรรมการกองบรรณาธิการฯเบื้องต้นเรียบร้อยเเล้ว ก่อนนำส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) จำนวน 3 ท่านต่อเรื่อง ประเมินบทความต่อไป</p> <p><strong>ช่องทางการชำระเงิน</strong></p> <p>1. โอนเงินเข้าบัญชี ธนาคารกสิกรไทย สาขานครปฐม ประเภทบัญชี ออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 106-3-61819-1 ชื่อบัญชี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (รับโอนเงิน) หรือ </p> <p>2. ชำระเงินสดด้วยตนเอง ที่งานคลังฯ สำนักงานคณบดี ชั้น 2 อาคารศึกษา 3 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร</p> <p>หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ 062-9199536</p> th-TH boonroungrut_c@su.ac.th (อาจารย์ ดร.ชินัณ บุญเรืองรัตน์ ) Siripornkantharos.yingying@gmail.com (นางสาวศิริพร กันธะรส) Thu, 27 Jun 2024 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 รายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/273980 <p>-</p> รายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ Copyright (c) 2024 วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/273980 Thu, 27 Jun 2024 00:00:00 +0700 ใบรองปก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/273962 ใบรองปก Copyright (c) 2024 วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/273962 Thu, 27 Jun 2024 00:00:00 +0700 สารบัญ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/273963 <p>-</p> สารบัญ Copyright (c) 2024 วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/273963 Thu, 27 Jun 2024 00:00:00 +0700 รายชื่อกองบรรณาธิการวารสาร https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/273965 <p>-</p> รายชื่อกองบรรณาธิการวารสาร Copyright (c) 2024 วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/273965 Thu, 27 Jun 2024 00:00:00 +0700 การเสริมสร้างพลังอำนาจให้กับผู้นำกีฬาและการออกกำลังกายชุมชน https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/268490 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาคุณลักษณะของผู้นำกีฬาและการออกกำลังกายชุมชน (2) พัฒนารูปแบบ (3) ทดลองใช้และประเมินปรับปรุงรูปแบบ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบการวิจัยและพัฒนา การศึกษาคุณลักษณะของผู้นำกีฬาและการออกกำลังกายชุมชนจากสมาชิกชมรมกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรี ได้แก่ ผู้ให้ข้อมูลหลัก 10 คน ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก และกลุ่มตัวอย่าง 380 คน ด้วยแบบสอบถาม รูปแบบพัฒนาจากข้อมูลคุณลักษณะของผู้นำกีฬาและการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงทฤษฎีผู้นำการเปลี่ยนแปลง ประเมินรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ 5 คน ทดลองใช้และประเมินรูปแบบโดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 15 คน ปรับปรุงรูปแบบด้วยการจัดสนทนากลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 12 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการคำนวณค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคระห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า (1) คุณลักษณะของผู้นำได้แก่ การแสดงออกถึงภาวะผู้นำ เป็นแบบอย่างที่ดี เห็นคุณค่าในตนเอง มีวิสัยทัศน์ เข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล ทำงานเป็นทีม สร้างแรงบันดาลใจ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ด้านที่มีระดับความเห็นด้วยมากที่สุดคือด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล (2) รูปแบบการเสริม สร้างพลังอำนาจ คือรูปแบบ 4I1P มี 5 องค์ประกอบคือ 1) การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ 2) การสร้างแรงบันดาลใจ 3) การกระตุ้นทางปัญญา 4) การคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล และ 5) ความสามารถในการปฏิบัติ (3) การทดลองใช้และประเมินปรับปรุงรูปแบบโดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง พบว่า รวมทุกด้านรูปแบบ มีความเหมาะสมที่จะใช้ในการเสริมสร้างพลังอำนาจในระดับมาก</p> สุทธิพงศ์ สภาพอัตถ์, วรรณวีร์ บุญคุ้ม Copyright (c) 2024 วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/268490 Fri, 21 Jun 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมจริยธรรมวิชาชีพเทคโนโลยีการศึกษาสำหรับสถาบันอุดมศึกษา https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/269119 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมจริยธรรมสำหรับนักเทคโนโลยีการศึกษา 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการออกแบบการเรียนการสอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จำนวน 30 คน ได้จากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามสำหรับผู้เชี่ยวชาญ 2) แบบสอบถามสำหรับผู้เรียน 3) รูปแบบการออกแบบการเรียนการสอนฯ 4) แบบประเมินรูปแบบและแผนการจัดการเรียนรู้ 5) แบบประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 6) แบบประเมินพฤติกรรมจริยธรรม 7) แบบประเมินผลงาน เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า 1) ผลการศึกษาความคิดเห็นในการพัฒนารูปแบบ ควรบูรณาการเนื้อหากับวิชาชีพทางด้านเทคโนโลยีการศึกษาในยุคปัจจุบัน จัดการเรียนการสอนด้วยกรณีศึกษา โดยกำหนดประเด็นจากข่าวสารในชีวิตประจำวัน การใช้ปัญหาและการอภิปรายร่วมกันและส่งผลต่อการตัดสินใจและแสดงออกถึงพฤติกรรมจริยธรรม 2) รูปแบบฯ มีองค์ประกอบ คือ (1) บทบาทผู้สอน (2) บทบาทผู้เรียน (3) เนื้อหาการจัดการเรียนการสอน (4) วิธีสอน (5) กิจกรรมการเรียนการสอน (6) แหล่งเรียนรู้ (7) การประเมินผล โดยมีผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ขั้นตอนประกอบด้วย (1) ศึกษาความต้องการในการจัดการเรียนการสอนฯ (2) วิเคราะห์ผู้เรียน ผู้สอน (3) วิเคราะห์บริบทและสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ เนื้อหา การบูรณาการการเรียนการสอน (4) กำหนดเนื้อหาตามวัตถุประสงค์ (5) ออกแบบสื่อการสอน กิจกรรม สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผล (6) พัฒนาสื่อการสอน กิจกรรม สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ (7) ดำเนินการจัดการเรียนการสอน (8) การวัดและประเมินผลจริยธรรม โดยมีผลการประเมินคุณภาพของรูปแบบในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด รูปแบบมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้</p> เอกนฤน บางท่าไม้ Copyright (c) 2024 วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/269119 Fri, 21 Jun 2024 00:00:00 +0700 ความต้องการศึกษาต่อในหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการนันทนาการ การท่องเที่ยวและกีฬา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/269678 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการศึกษาต่อในหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการนันทนาการ การท่องเที่ยวและกีฬา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และเพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับความจำเป็นและความสำคัญของหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการนันทนาการ การท่องเที่ยวและกีฬา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยใช้การวิจัยแบบผสานวิธี เชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิต นักศึกษาชั้นปีสุดท้าย (พ.ศ. 2564) ของหลักสูตรในสาขาวิชาพลศึกษา สุขศึกษา นันทนาการ วิทยาศาสตร์การกีฬาหรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง และบุคลากรในสาขาวิชาดังกล่าวทั้งภาครัฐบาลและเอกชน จำนวน 282 คน และเพื่อป้องกันการสูญหายของข้อมูลผู้วิจัยจึงทำการเก็บสำรองข้อมูลเป็นจำนวน 311 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ สถิติเชิงพรรณนา เชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 9 คน ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านนันทนาการ ด้านการท่องเที่ยวและด้านกีฬา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ประเด็นการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อ ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการศึกษาต่อเข้าหลักสูตรและความคิดเห็นต่อหลักสูตร มีความจำเป็นและความสำคัญของหลักสูตร ส่วนความคาดหวังของผู้สำเร็จในหลักสูตรควรมีจุดเด่น 3 ด้าน คือ ด้านองค์ความรู้นำไปสู่ PLO 1 ด้านทักษะหรือความชำนาญนำไปสู่ PLO 2 และด้านคุณลักษณะพิเศษนำไปสู่ PLO 3 และ PLO 4</p> โรม วงศ์ประเสริฐ , วรรณวิสา บุญมาก , นิวัฒน์ บุญสม , นรินทรา จันทศร , วิชิต อิ่มอารมย์ , อัยรัสต์ แกสมาน Copyright (c) 2024 วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/269678 Fri, 21 Jun 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการสืบสวนและตีความทางประวัติศาสตร์ เพื่อส่งเสริมการคิดทางประวัติศาสตร์สำหรับนักศึกษาสาขาสังคมศึกษา https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/269757 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการสืบสวนและตีความทางประวัติศาสตร์เพื่อส่งเสริมการคิดทางประวัติศาสตร์ของนักศึกษาสาขาสังคมศึกษา 2) เพื่อศึกษาผลการใช้กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการสืบสวนและตีความทางประวัติศาสตร์เพื่อส่งเสริมการคิดทางประวัติศาสตร์ของนักศึกษาสาขาสังคมศึกษา แบ่งเป็น 2.1) ศึกษาความสามารถในการคิดทางประวัติศาสตร์ของนักศึกษาสาขาสังคมศึกษา 2.2) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดทางประวัติศาสตร์ของนักศึกษาสาขาสังคมศึกษาก่อนและหลังการใช้กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการสืบสวนและตีความทางประวัติศาสตร์เพื่อส่งเสริมการคิดทางประวัติศาสตร์ และ 2.3) ศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาสาขาสังคมศึกษาต่อกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้น การสืบสวนและตีความทางประวัติศาสตร์เพื่อส่งเสริมการคิดทางประวัติศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จำนวน 45 คน ภาคการศึกษาปลาย ปีการศึกษา 2564 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการสืบสวนและตีความทางประวัติศาสตร์ แบบประเมินการคิดทางประวัติศาสตร์ และแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการสืบสวนและตีความทางประวัติศาสตร์ มีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าทีแบบไม่เป็นอิสระ และการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า 1. กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการสืบสวนและตีความทางประวัติศาสตร์เพื่อส่งเสริมการคิดทางประวัติศาสตร์ มี 4 องค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการจัดการเรียนรู้ และเงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ ซึ่งกระบวนการจัดการเรียนรู้ มี 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นที่ 1 อภิปรายประเด็นความรู้เพื่อตั้งคำถามทางประวัติศาสตร์ที่สนใจศึกษา ขั้นที่ 2 สำรวจและรวบรวมข้อมูลหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในประเด็นที่ศึกษา ขั้นที่ 3 วิเคราะห์ตีความข้อมูลจากบริบททางประวัติศาสตร์ ขั้นที่ 4 สังเคราะห์และนำเสนอข้อมูลเชิงสาเหตุและผลกระทบโดยอ้างอิงหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และมีการรับรองกิจกรรมการเรียนรู้ ฯ โดยผู้เชี่ยวชาญ</p> ศศิพัชร จำปา Copyright (c) 2024 วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/269757 Fri, 21 Jun 2024 00:00:00 +0700 การวิเคราะห์ผลงานการสร้างสรรค์ศิลปะจากผู้บกพร่องทางการได้ยิน“สุนทรียภาพแห่งโลกเงียบ” https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/270381 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะและวิเคราะห์ผลงานการสร้างสรรค์ศิลปะในการถ่ายทอดสุนทรียะทางทัศนศิลป์จากผู้บกพร่องทางการได้ยิน กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้บกพร่องทางการได้ยิน ระดับอายุ 15-18 ปี โรงเรียนโสตศึกษา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3- 6 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 100 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ กิจกรรมศิลปะภาพพิมพ์สีน้ำสำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยิน และ แบบวิเคราะห์ผลงานศิลปะ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ตีความแล้วสรุปเป็นองค์ความรู้ ผลการศึกษาว่า 1) ผลการศึกษาลักษณะผลงานภาพพิมพ์สีน้ำของผู้บกพร่องทางการได้ยิน มีการวาดภาพธรรมชาติเป็นจำนวนมากที่สุด (41 คน) รองลงมาเป็นภาพสิ่งของ (23 คน) และที่น้อยสุดคือ ภาพการ์ตูน (3 คน) ลักษณะโทนสีที่ใช้เป็นโทนเย็นมากกว่าโทนร้อน 2) การถ่ายทอดสุนทรียะทางทัศนศิลป์ของผู้บกพร่องทางการได้ยิน มีดังนี้ 2.1) ภาพธรรมชาติ: -ภาพแสดงออกได้ชัดเจนเกี่ยวกับรูปร่างรูปทรงที่ต้องการสื่อสารกับผู้ชม และการใช้สีมีความชัดเจนในการลงสี 2.2) ภาพสิ่งของ: -การแสดงออกเป็นภาพที่ผู้ชมสามารถรู้ได้ว่าเป็นภาพของรถยนต์ที่มีโครงสร้างชัดเจน สังเกตจากการมี ล้อ กระจก โครงรถ ซึ่งแสดงออกมาได้ดีส่วนรูปทรงของขนม สามารถถ่ายทอดของไอศครีมที่มีลักษณะเป็นโคนทรงกรวยและไอศครีมรสชาติต่างๆ ที่ชอบอยู่ด้านบน สีสันดูน่ารับประทาน 2.3) ภาพเมือง: -นักเรียนสามารถแสดงออกถึงภาพบรรยากาศของเมืองได้เป็นอย่างดี มีการจัดวางองค์ประกอบของภาพที่ตรงไปตรงมา เพื่อสื่อสารเกี่ยวกับความเป็นเมืองและสถานที่ที่บ่งบอกอย่างชัดเจน 2.4) ภาพสัตว์: - ภาพมีการนำเสนออย่างตรงไปตรงมาในเรื่องของสัตว์ ไม่มีความซับซ้อนของภาพ ถึงแม้จะดูไม่มีมิติและความลึก แต่ก็สามารถสื่อสารเรื่องราวของสัตว์และบรรยากาศได้อย่างดี 2.5) ภาพคน: - เป็นการวาดคนที่แสดงหน้าตรงหรือตัวตรงเหมือนกันทุกภาพ แต่ไม่แสดงอารมณ์ความรู้สึกที่ชัดเจน ด้วยอากัปกิริยาที่ยืนตรง และ 2.6) ภาพการ์ตูน:- สามารถสื่อสารถึงตัวการ์ตูนที่ชื่นชอบได้อย่างชัดเจน</p> ประติมา ธันยบูรณ์ตระกูล, พรวิภา สุริยากานต์ Copyright (c) 2024 วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/270381 Fri, 21 Jun 2024 00:00:00 +0700 การประเมินความต้องการจำเป็นแบบสมบูรณ์เพื่อพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงาน ของบุคลากรสายสนับสนุน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/270515 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 2) เพื่อกำหนดสาเหตุและแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ประชากรในการวิจัยในการประเมินความต้องการจำเป็น ได้แก่ บุคลากรสายสนับสนุน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ประจำปีงบประมาณ 2566 จำนวน 58 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการกำหนดสาเหตุและแนวทางการพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรได้แก่ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ รองคณบดีคณะศึกษาศาสตร์ เลขานุการคณะศึกษาศาสตร์ รวมจำนวน 5 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีความสำคัญของลำดับความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุงและการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 1.ค่าดัชนีความต้องการจำเป็นสมรรถนะหลักของบุคลากรสายสนับสนุน คณะศึกษาศาสตร์ พบว่ามีค่าเท่ากับ .16 โดยด้านที่มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นสูงสุด ได้แก่ “การมุ่งผลสัมฤทธิ์” (.24) และค่าดัชนีความต้องการจำเป็นสมรรถนะตามสายงานของบุคลากรสายสนับสนุน คณะศึกษาศาสตร์ พบว่ามีค่าเท่ากับ .16 โดยด้านที่มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นสูงสุด ได้แก่ “การเรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง” (.19)</span></p> <p> 2. สาเหตุที่สมรรถนะหลัก ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นมีค่าสูงสุดเกิดจาก แนวทางการบริหารงานของมหาวิทยาลัยและของคณะศึกษาศาสตร์ที่ผ่านมาอยู่ภายใต้แนวคิด EdPEx มีการมุ่งเน้นและกล่าวถึงการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์บ่อยครั้ง รวมทั้งกล่าวถึงการบรรลุเป้าหมายร่วมกัน และสาเหตุที่สมรรถนะตามสายงาน ด้านการเรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นที่มีค่าสูงสุด เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทิศทางการพัฒนาและการบริหารของผู้บริหารระดับมหาวิทยาลัยและผู้บริหารคณะศึกษาศาสตร์ที่ต้องคำนึงถึงทิศทางการพัฒนาประเทศ ทำให้บุคลากรสายสนับสนุนต้องรับเป้าหมายและแนวทางที่ปรับเปลี่ยนและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และแนวทางการพัฒนาสมรรถนะหลัก ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ ได้แก่ ผู้บริหารคณะจะต้องมีความเข้าใจแนวทางการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ พร้อมสนับสนุนการบริหารงานตามแนวทางการบริหารและการทำงานที่สร้างวัฒนธรรมและสภาพแวดล้อมการทำงานที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ และแนวทางการพัฒนาสมรรถนะตามสายงานด้านการเรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ ควรมีการกำหนดให้ “การเรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง” เป็นค่านิยมองค์กร ควบคู่ไปกับแนวคิดแบบ Growth Mindset</p> นิตยา จิตรคำ Copyright (c) 2024 วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/270515 Fri, 21 Jun 2024 00:00:00 +0700 ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีเอสคิวโฟร์อาร์ร่วมกับแอปพลิเคชันที่มีต่อ ความสามารถในการอ่านและเจตคติต่อการเรียนวิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/270886 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีเอสคิวโฟร์อาร์ร่วมกับแอปพลิเคชัน 2) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีเอสคิวโฟร์อาร์ร่วมกับแอปพลิเคชันกับเกณฑ์ร้อยละ 80 ของคะแนนเต็ม และ 3) ศึกษาเจตคติต่อการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีเอสคิวโฟร์อาร์ร่วมกับแอปพลิเคชัน กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดเขารวก จำนวน 34 คน ที่ได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่<br />1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบวัดความสามารถในการอ่านจับใจความ และ 3) แบบวัดเจตคติ การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที กรณีกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระกัน และการทดสอบทีกรณีกลุ่มตัวอย่างเดียว ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>ความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</li> <li>ความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 ของคะแนนเต็มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</li> <li>เจตคติต่อการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อยู่ในระดับมากที่สุด</li> </ol> หทัยชนก พันธารักษ์, พรรณราย เทียมทัน Copyright (c) 2024 วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/270886 Fri, 21 Jun 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อส่งเสริมจิตวิทยาศาสตร์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สาหร่ายแหนแดง ในรายวิชาชีววิทยา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/271053 <p>การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายคือ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน 2) เพื่อหาประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน ในรายวิชาชีววิทยา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้เป็นไปตามเกณฑ์ 75/75 3) เพื่อเปรียบเทียบจิตวิทยาศาสตร์หลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 75 และ 4) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้เทียบกับเกณฑ์ ร้อยละ 75 กลุ่มตัวอย่างการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/9 โรงเรียนสารคามพิทยาคม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 37 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน จำนวน 10 แผน แบบสอบถามจิตวิทยาศาสตร์และแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติทดสอบที (One simple t-test)</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นให้ความรู้พื้นฐาน ขั้นกระตุ้นความสนใจ ขั้นจัดกลุ่มร่วมมือ ขั้นแสวงหาความรู้ ขั้นสรุป และขั้นนำเสนอผลงาน ซึ่งมีผลการตรวจสอบคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.76 2) ประสิทธิภาพกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อส่งเสริมจิตวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สาหร่ายแหนแดง ในรายวิชาชีววิทยา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 92.32/78.99 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 75/75 3) จิตวิทยาศาสตร์ เรื่อง สาหร่ายแหนแดง หลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และ 4) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สาหร่ายแหนแดง หลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานเป็นไปตามเกณฑ์ร้อยละ 75</p> ศรัญญา โคกสีอำนวย, มนตรี วงษ์สะพาน Copyright (c) 2024 วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/271053 Fri, 21 Jun 2024 00:00:00 +0700 ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคเคดับเบิลยูแอลพลัสร่วมกับอินโฟกราฟิกที่มีต่อความสามารถ ในการอ่านและเจตคติต่อการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/271092 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังเรียนด้วยเทคนิคเคดับเบิลยูแอลพลัสร่วมกับอินโฟกราฟิก 2) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยเทคนิคเคดับเบิลยูแอลพลัสร่วมกับอินโฟกราฟิกกับเกณฑ์ร้อยละ 80 ของคะแนนเต็ม และ 3) ศึกษาเจตคติต่อการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยเทคนิคเคดับเบิลยูแอลพลัสร่วมกับอินโฟกราฟิก กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนทับกฤชพัฒนา จำนวน 36 คน ที่ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ <br />1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบวัดความสามารถในการอ่าน และ 3) แบบวัดเจตคติ การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีกรณีกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระกัน และการทดสอบทีกรณี กลุ่มตัวอย่างเดียว ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคเคดับเบิลยูแอลพลัสร่วมกับอินโฟกราฟิกมีความสามารถในการอ่านหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</li> <li>นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคเคดับเบิลยูแอลพลัส ร่วมกับอินโฟกราฟิก มีความสามารถในการอ่าน หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 ของคะแนนเต็ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</li> <li>นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคเคดับเบิลยูแอลพลัสร่วมกับอินโฟกราฟิก มีเจตคติต่อ<br />การเรียนวิชาภาษาไทยในระดับมาก</li> </ol> ก้องเกียรติ พัฒนวิชชากุล, พรรณราย เทียมทัน, เยาวเรศ ภักดีจิตร Copyright (c) 2024 วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/271092 Fri, 21 Jun 2024 00:00:00 +0700 การประเมินความต้องการจำเป็นของครูต่อการบริหารการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/271127 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินความต้องการจำเป็นของครูที่มีต่อการบริหารการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษkมัธยมศึกษาปทุมธานี กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหาร และครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี ปีการศึกษา 2564 จำนวน 338 คน ซึ่งได้จากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามแนวคิดของ Taro Yamane และใช้วิธีสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi - Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง 0.60 - 1.00 และแบบสอบถามการรับรู้สภาพที่เป็นอยู่จริงมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.88 แบบสอบถามการรับรู้สภาพที่คาดหวังมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีจัดเรียงลำดับความต้องการจำเป็น (PNI<sub>modified</sub>)</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า ข้อมูลสภาพที่เป็นอยู่จริงของครูต่อการบริหารจัดการเรียนการสอนออนไลน์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x= 3.56, S.D. = 0.78) และข้อมูลสภาพที่คาดหวังของครูที่มีต่อการบริหารการจัดการเรียนการสอนออไลน์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x= 4.77, S.D. = 1.04) ครูมีความต้องการจำเป็นต่อการบริหารการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการออกแบบการเรียนรู้และหลักสูตร ด้านการสนับสนุนทรัพยากรในการจัดการเรียนรู้ ด้านการวัดและประเมินผล ด้านการบริหารการจัดการเรียนการสอน ด้านการรับฟังปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ ด้านการพัฒนาบุคลากร ด้านการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย </p> ภัทรชัย ปานดี, บุญจันทร์ สีสันต์ Copyright (c) 2024 วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/271127 Fri, 21 Jun 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาคู่มือการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อป้องกันภัยจากผลกระทบ ทางสุขภาวะทางกายและจิตใจของนักเรียน สังกัดสหวิทยาเขตหอไตร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/271515 <p>การวิจัยพัฒนาเชิงพื้นที่นี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย 3 ข้อ ได้แก่ (1) เพื่อศึกษาสภาพและแนวทางการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อป้องกันภัยที่เกิดจากผลกระทบทางสุขภาวะทางกายและจิตใจของนักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา (2) เพื่อสร้างคู่มือการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อป้องกันภัยที่เกิดจากผลกระทบทางสุขภาวะทางกายและจิตใจของนักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา และ (3) เพื่อประเมินคุณภาพของคู่มือการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อป้องกันภัยที่เกิดจากผลกระทบทางสุขภาวะทางกายและจิตใจของนักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูหัวหน้ากลุ่มกิจการนักเรียน และครูผู้สอน สังกัดสหวิทยาเขตหอไตร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และแบบประเมินคุณภาพของคู่มือการบริหาร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ นักเรียนในโรงเรียนสังกัดสหวิทยาเขตหอไตร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา อุบลราชธานี อำนาจเจริญ มีสภาพปัญหาเกี่ยวกับภัยที่เกิดจากผลกระทบทางสุขภาวะทางกายและจิตใจ 5 ด้าน ได้แก่ (1) ภาวะจิตเวช (2) ติดเกม (3) ยาเสพติด (4) โรคระบาดในมนุษย์ และ (5) ภาวะทุพโภชนาการ คู่มือการบริหารที่สร้างขึ้นมีจำนวน 10 องค์ประกอบ ซึ่งมีคุณภาพด้านความถูกต้องด้านความเหมาะสม ด้านความเป็นไปได้ และด้านความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด</p> ศิริวัฒน์ ทองทับ, อัคพงศ์ สุขมาตย์, จารุวรรณ พลอยดวงรัตน์, วิชัย ตรีเล็ก Copyright (c) 2024 วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/271515 Fri, 21 Jun 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ร่วมกับการสอนโดยใช้เกมเป็นฐาน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาการออกแบบด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสหบำรุงวิทยา https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/271705 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาบทเรียนออนไลน์ร่วมกับการสอนโดยใช้เกมเป็นฐานเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาการออกแบบด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ร่วมกับการสอนโดยใช้เกมเป็นฐาน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนออนไลน์ กลุ่มทดลอง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสหบำรุงวิทยา จำนวน 35 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โดยใช้ประชากรเป็นกลุ่มทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) บทเรียนออนไลน์ร่วมกับรูปแบบการสอนโดยใช้เกมเป็นฐาน 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการประเมินของผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาและด้านเทคนิคการผลิตสื่อที่มีต่อบทเรียนออนไลน์ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนออนไลน์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x= 4.78, S.D. x= 0.42)</p> นพดล ผู้มีจรรยา, นันทิยา ดอนไพรเพชร Copyright (c) 2024 วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/271705 Fri, 21 Jun 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน วิชาเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) เพื่อส่งเสริมทักษะการทำงานเป็นทีมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/271759 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนออนไลน์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน วิชาเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) 2) ประเมินคุณภาพบทเรียนออนไลน์ 3) หาประสิทธิภาพของบทเรียนออนไลน์ 4) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน 5) ศึกษาทักษะการทำงานเป็นทีม และ 6) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จำนวน 40 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) บทเรียนออนไลน์ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบประเมินทักษะการทำงานเป็นทีม และ 5) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระจากกัน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) บทเรียนออนไลน์ประกอบด้วยเนื้อหา จำนวน 4 บท คือ 1.1) องค์ประกอบและหลักการทำงานของเทคโนโลยีการสื่อสาร 1.2) เทคโนโลยีการสื่อสาร 1.3) อินเทอร์เน็ตและการบริการบนอินเทอร์เน็ต และ 1.4) การปฏิบัติตนต่อการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 2) บทเรียนออนไลน์ โดยรวมมีคุณภาพด้านเนื้อหาและด้านเทคนิคและวิธีการอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ประสิทธิภาพของบทเรียนออนไลน์มีค่า เท่ากับ 83.46/82.38 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 4) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 5) ทักษะการทำงานเป็นทีมของนักเรียนอยู่ในระดับมาก และ 6) นักเรียนมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก</p> นพรัตน์ เปี่ยมบุญ, วิมาน ใจดี, มนัสนิต ใจดี Copyright (c) 2024 วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/271759 Fri, 21 Jun 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางฟิสิกส์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง โมเมนตัมและการชน โดยการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน ร่วมกับกลวิธีเมตาคอกนิชัน https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/271761 <p>งานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการทำทั้งหมด 3 วงจรปฏิบัติการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางฟิสิกส์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง โมเมนตัมและการชน โดยการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับกลวิธีเมตาคอกนิชัน ให้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม กลุ่มเป้าหมายของการวิจัยครั้งนี้คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 24 คน จากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับกลวิธีเมตาคอกนิชัน 2) แบบทดสอบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางฟิสิกส์ เรื่อง โมเมนตัมและการชน และ 3) แบบสัมภาษณ์นักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการตีความ สรุปในรูปของการบรรยายโดยอาศัยข้อมูลจากการสัมภาษณ์ บันทึกหลังการสอน และชิ้นงานของนักเรียน</p> <p> ผลการวิจัย ในวงจรปฏิบัติการที่ 1 นักเรียนมีผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละเท่ากับ 33.33 ในวงจรปฏิบัติการที่ 2 นักเรียนมีผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม จำนวน 19 คน คิดเป็นร้อยละเท่ากับ 79.17 และในวงวงจรปฏิบัติการที่ 3 นักเรียนมีผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม จำนวน 24 คน คิดเป็นร้อยละเท่ากับ 100.00</p> ชัยธวัช อ้อมแก้ว, มนตรี วงษ์สะพาน Copyright (c) 2024 วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/271761 Fri, 21 Jun 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาชุดแบบทดสอบวินิจฉัยความสามารถในการอ่านภาษาไทย ระดับประถมศึกษาปีที่ 1 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/271874 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุดแบบทดสอบวินิจฉัยความสามารถในการอ่านภาษาไทยระดับประถมศึกษาปีที่ 1 และเพื่อวินิจฉัยสาเหตุของปัญหาการอ่านสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม จากโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 1 โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ได้แก่ 1) นักเรียนกลุ่มที่ใช้ในการพัฒนาชุดแบบทดสอบวินิจฉัย 2) นักเรียนกลุ่มที่ใช้ในการหาคุณภาพของเครื่องมือ 3) นักเรียนกลุ่มที่ทดลองใช้ชุดแบบวินิจฉัยฉบับสมบูรณ์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดแบบทดสอบวินิจฉัยประกอบด้วยชุดแบบทดสอบวินิจฉัย จำนวน 4 ชุด ตามช่วงเวลา คือ หลังจากเรียนรายวิชาภาษาไทย ครบ 50 100 150 และ 200 ชั่วโมง โดยแต่ละชุดประกอบด้วยเอกสาร 5 ฉบับ ได้แก่ 1) คู่มือการดำเนินการทดสอบ 2) แบบทดสอบวินิจฉัย ซึ่งประกอบด้วยแบบทดสอบ 4 ตอน ได้แก่ 2.1) แบบทดสอบการจำแนกตัวอักษร 2.2) แบบทดสอบการอ่านออกเสียงคำ 2.3) แบบทดสอบการอ่านสะกดคำ 2.4) แบบทดสอบการบอกความหมายของคำศัพท์ 3) แบบบันทึกผลการทดสอบ 4) แบบรายงานผลการทดสอบ และ 5) ภาคผนวก โดยการตรวจสอบคุณภาพแบบทดสอบวินิจฉัยมีค่าความยากง่ายระหว่าง 0.75-0.90 และค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.30-0.50 โดยมีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบอยู่ระหว่าง 0.88-0.98 ซึ่งมีคุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 2) ผลการวินิจฉัยพบว่าปัญหาที่พบมากที่สุด คือ นักเรียนไม่สามารถจำแนกพยัญชนะและสระได้ รองลงมา คือ ปัญหาตัวสะกด และลำดับสุดท้าย คือ นักเรียนไม่เข้าใจหน้าที่ของพยัญชนะและสระเมื่อนำมาประสมในคำ</p> ธนภรณ์ ขาวดี , ฉัตรวรรณ์ ลัญฉวรรธนะกร Copyright (c) 2024 วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/271874 Fri, 21 Jun 2024 00:00:00 +0700 ความต้องการจำเป็นของการบริหารงานวิชาการ โรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนตามแนวคิดภาวะผู้นำในตนเอง https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/271931 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำในตนเองของนักเรียนมัธยมศึกษาเอกชน และ 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนตามแนวคิดภาวะผู้นำในตนเอง เป็นการวิจัยเชิงเชิงปริมาณ ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย นักเรียนมัธยมศึกษาเอกชน จำนวน 1,865 คน และผู้บริหารและครูโรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 932 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัด และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีความต้องการจำเป็น</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำในตนเองของนักเรียนด้านที่สูงที่สุด 3 ลำดับ คือ การมีคุณธรรมในตนเอง รองลงมาคือ การสร้างแรงจูงใจในตนเอง และการพัฒนาตนเอง ตามลำดับ และ 2) การพัฒนาการบริหารวิชาการ กระบวนการที่มีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ การออกแบบการจัดการเรียนรู้</p> วิชัย สีสุด, ธีรภัทร กุโลภาส, สุกัญญา แช่มช้อย Copyright (c) 2024 วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/271931 Fri, 21 Jun 2024 00:00:00 +0700 ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา กับบรรยากาศองค์การของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/272471 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา 2) บรรยากาศองค์การของสถานศึกษา และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับบรรยากาศองค์การของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 346 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ได้แก่ ความรับผิดชอบ รองลงมา ได้แก่ ความซื่อสัตย์ ความเคารพนับถือ ความยุติธรรม และความไว้วางใจ ตามลำดับ 2) บรรยากาศองค์การของสถานศึกษา พบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกข้อ โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ได้แก่ การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ รองลงมา ได้แก่ การติดต่อสื่อสาร โครงสร้างขององค์การ เทคนิควิทยาการที่ใช้ในองค์การ และแรงจูงใจ ตามลำดับ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำ เชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับบรรยากาศองค์การของสถานศึกษาโดยภาพรวม มีความสัมพันธ์กัน เชิงบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ในระดับสูง มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .855</p> คณิน เทียมทัน, สรรฤดี ดีปู่ Copyright (c) 2024 วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/272471 Fri, 21 Jun 2024 00:00:00 +0700 ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคเอสทีเอดีร่วมกับแอปพลิเคชันพลิกเกอร์ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจต่อการเรียน วิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/272584 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคเอสทีเอดีร่วมกับแอปพลิเคชันพลิกเกอร์และ 2) ศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคเอสทีเอดีร่วมกับแอปพลิเคชันพลิกเกอร์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านวังแขม (สว่างชัยวงษ์) จำนวน 34 คนที่ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) แบบวัดความพึงพอใจต่อการเรียน การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้การหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีกรณีกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า </p> <p> 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคเอสทีเอดีร่วมกับแอปพลิเคชันพลิกเกอร์มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> <p> 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคเอสทีเอดีร่วมกับแอปพลิเคชันพลิกเกอร์มีความพึงพอใจต่อการเรียนในระดับมาก</p> อริยธีรา อภัยนอก, พรรณราย เทียมทัน Copyright (c) 2024 วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/272584 Thu, 27 Jun 2024 00:00:00 +0700 ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา กับองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/272593 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา 2) องค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษากับองค์การแห่งเรียนรู้ของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 338 คน เครื่องมือที่ใช้เป็น แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ได้แก่ การคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล 2) องค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ได้แก่ การใช้เทคโนโลยี 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษากับองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 ผลการวิจัยพบว่า มีความสัมพันธ์กันเชิงบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ในระดับสูง ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เท่ากับ .914</p> รมย์รวินท์ ประสงใด, สรรฤดี ดีปู่ Copyright (c) 2024 วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/272593 Thu, 27 Jun 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/272677 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามประสบการณ์ในการบริหาร และ3) เสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 127 คน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน คือ ใช้การเก็บข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t และใช้การวิเคราะห์เนื้อหาแบบอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริหารสถานศึกษามีภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ด้านการทำงานเป็นทีมมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ด้านการมีความยืดหยุ่น ด้านการมีวิสัยทัศน์ และด้านการมีจินตนาการ ตามลำดับ ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามประสบการณ์การบริหาร โดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีการเผยแพร่เกี่ยวกับวิสัยทัศน์ในการทำงานที่มุ่งเน้นผลสำเร็จของงาน มองภาพองค์การในอนาคตรวมกันกับบุคลากร ปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลง สร้างศักยภาพใหม่ ๆ ให้แก่ตนเอง และส่งเสริม สนับสนุนบุคลากรให้ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง</p> พิชญาภา แผลงศร, สรรฤดี ดีปู่ Copyright (c) 2024 วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/272677 Thu, 27 Jun 2024 00:00:00 +0700 ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ที่มีต่อความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/273129 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1 เปรียบเทียบความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD 2 เปรียบเทียบความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ และ 3 ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD จำนวน 9 แผน รวม 18 ชั่วโมง 2) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ จำนวน 9 แผน รวม 18 ชั่วโมง 3) แบบทดสอบความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระต่อกัน</p> <p> ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) ความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD สูงกว่าความสามารถก่อนเรียนอย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ. 05 2) ความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค STAD สูงกว่าความสามารถของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD อยู่ในระดับมากที่สุด</p> พระมหาวราลงกรณ์ ชำนาญยิ่ง, วรรณประภา สุขสวัสดิ์, ศิตา เยี่ยมขันติถาวร Copyright (c) 2024 วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/273129 Thu, 27 Jun 2024 00:00:00 +0700 การจัดการศึกษาฐานสมรรถนะระดับสถานศึกษา https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/273797 <p>สถานศึกษาเป็นหน่วยงานสำคัญที่มีผลอย่างมากต่อคุณภาพการศึกษา เนื่องจากสถานศึกษาทำหน้าที่ในการพัฒนาผู้เรียนโดยตรง การจัดการศึกษาฐานสมรรถนะในระดับสถานศึกษาเป็นการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มีเป้าหมายสำคัญในการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน เป็นการจัดการศึกษาที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ โดยผู้เรียนได้มีโอกาสเรียนรู้ด้วยตนเอง ผู้เรียนแต่ละคนเรียนรู้แตกต่างกันตามความสนใจ ความถนัด ลีลาการเรียนรู้และความสามารถของตน ที่สำคัญคือเป็นการเรียนรู้อย่างมีความหมายเนื่องจากเป็นการเรียนรู้ที่ไม่ใช่เพียงการเรียนเพื่อรู้ แต่เป็นการเรียนรู้เพื่อการประยุกต์ใช้สิ่งที่เรียนรู้ในบริบทชีวิตจริง ในชุมชน สังคม วิถีวัฒนธรรม และวิถีชีวิต การจัดการศึกษาฐานสมรรถนะในระดับสถานศึกษาดำเนินการอย่างสัมพันธ์และความสอดคล้องกันตลอดแนว ทั้งการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะ การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ ที่ดำเนินการควบคู่ไปกับการประเมินผลฐานสมรรถนะ การจัดการศึกษาฐานสมรรถนะระดับสถานศึกษามีขั้นตอนสำคัญ 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ขั้นตอนการเตรียมความพร้อม 2) ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะ และ 3) ขั้นตอนการใช้หลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะ การปรับปรุง และการจัดระบบกลไกรองรับ การจัดการศึกษาฐานสมรรถนะจำเป็นต้องจัดให้มีการบริหารเชิงวิชาการ และการจัดระบบกลไกรองรับโดยเฉพาะ1) ระบบกลไก ด้านการเสริมสร้างแรงจูงใจ ความรู้และทักษะสำคัญแก่บุคลากร 2) ระบบกลไกด้านการสนับสนุนทรัพยากรสำคัญ 3) ระบบกลไกด้านการสร้างเครือข่ายและหุ้นส่วนการเรียนรู้ และ 4) ระบบกลไกด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้</p> บังอร เสรีรัตน์ Copyright (c) 2024 วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/273797 Fri, 21 Jun 2024 00:00:00 +0700 Mathematics Instruction and Tasks in a PLC at Work®, Second Edition https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/273799 <p>การพัฒนาหลักสูตรอิงมาตรฐานสำหรับการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเป็นแนวทางสำคัญของการนำไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียนในปัจจุบัน ซึ่งถือว่าเป็นกิจกรรมหรืองานที่ท้าทายของผู้สอนที่จะร่วมกันพัฒนาผู้เรียนให้เป็นไปตามเป้าหมายของกรอบหลักสูตรที่วางไว้ ซึ่งแนวทางหนึ่งที่ผู้สอนจะร่วมกันออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ตามหลักสูตรคือการใช้ ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community (PLC)) &nbsp;เพื่อให้ได้กลยุทธ์ในการออกแบบบทเรียนและวิธีการจัดการเรียนการสอนในวิชาคณิตศาสตร์อย่างมีประสิทธิภาพ</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;โดยหนังสือ Mathematics Instruction and Tasks in a PLC at Work®, Second Edition เขียนโดย Mona Toncheff, Timothy D. Kanold, Sarah Schuhl, Bill Barnes, Jennifer Deinhart, Jessica Kanold-McIntyre และ Matthew R. Larson เป็นหนังสือที่นำเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนผ่านการทำกิจกรรมและบทเรียนที่มีมาตรฐาน โดยมุ่งเน้นการสร้างสมรรถนะของผู้สอนและส่งเสริมความคิดเชิงคณิตศาสตร์ของผู้เรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ที่เกิดจากการสร้างชุมชนทางวิชาชีพในการร่วมกันออกแบบบทเรียนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน โดยภายในหนังสือเป็นการแนะนำวิธีการเสริมสร้างกลยุทธ์และวิธีการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับผู้สอนคณิตศาสตร์ระดับปฐมวัยและการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีการระบุมาตรฐานและมโนทัศน์สำคัญทางคณิตศาสตร์ที่ผู้เรียนได้เรียนรู้ในแต่ละบทเรียน เพื่อทำความเข้าใจและให้เห็นถึงความสำคัญของมาตรฐานการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ที่มีต่อผู้เรียน ทำให้เกิดความสะดวกในการวางแผนและออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนที่เหมาะสม และสามารถออกแบบชิ้นงานงานคณิตศาสตร์ในการสอนแต่ละมโนทัศน์ตามมาตรฐานในระหว่างดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อสร้างความสมดุลระหว่างกิจกรรมการเรียนการสอนและภาระงานทางคณิตศาสตร์ที่เหมาะสม ซึ่งจำเป็นต่อการพัฒนาความเข้าใจในมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ควบคู่กับการพัฒนาทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ การออกแบบงานให้ผู้เรียนอย่างเป็นระบบและสัมพันธ์กันทำให้ผู้เรียนเกิดความมั่นใจในการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้รับทั้งหมดในระหว่างการจัดการเรียนการสอน</p> กฤษฎา วรพิน Copyright (c) 2024 วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/273799 Fri, 21 Jun 2024 00:00:00 +0700