https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sujthai/issue/feedSilpakorn University e-Journal (Social Sciences, Humanities, and Arts)2024-12-11T11:37:44+07:00อาจารย์ ดร.พิภู บุษบกjournals.surdi@gmail.comOpen Journal Systems<p> </p> <p> </p> <h1>Silpakorn University e-Journal<br />(Social Sciences, Humanities, and Arts)</h1> <p>ชื่อเดิม "วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร" ISSN (เดิม) 2586-8489 (Online) </p> <p>ปรับชื่อใหม่เป็น "Silpakorn University e-Journal (Social Sciences, Humanities, and Arts)" ISSN 2985-2536 (Online) ทั้งนี้ ตั้งแต่ ปีที่ 43 ฉบับที่ 5 (กันยายน - ตุลาคม) พ.ศ. 2566 เป็นต้นไป</p> <p>เป็นวารสารที่เผยแพร่ผลงานทางวิชาการในสาขาวิชาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปะ ของนักวิชาการทั้งภายใน และภายนอกมหาวิทยาลัย เป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการ และส่งเสริมให้นักวิชาการและผู้สนใจได้นำเสนอผลงานทางวิชาการในรูปแบบของบทความวิจัยและบทความวิชาการที่มีคุณภาพ</p> <p><strong>ISSN 2985-2536 (Online)</strong><br /><strong>ภาษา: ภาษาไทย</strong><br /><strong>จำนวนฉบับต่อปี: 6 ฉบับต่อปี (ฉบับที่ 1 มกราคม - กุมภาพันธ์, ฉบับที่ 2 มีนาคม - เมษายน, ฉบับที่ 3 พฤษภาคม - มิถุนายน, ฉบับที่ 4 กรกฎาคม - สิงหาคม, ฉบับที่ 5 กันยายน - ตุลาคม, ฉบับที่ 6 พฤศจิกายน - ธันวาคม)</strong></p> <h1>Silpakorn University e-Journal<br />(Social Sciences, Humanities, and Arts)</h1> <p>Former name "Silpakorn University Journal" ISSN 2586-8489 (Online) </p> <p>The title was changed to "Silpakorn University e-Journal (Social Sciences, Humanities, and Arts)" ISSN 2985-2536 (Online) Since volume 43 issue 5 (September - October) of the year 2023 onwards.</p> <p>The journal features articles and research note/articles in the fields of Social Sciences, Humanities and Arts. lts aim to encourage and disseminate scholarly contributions by the University's faculty member and researchers. Well researched, innovative works by other scholars are welcome. Our mission is to promote awareness of and compatibility with the dynamics of study area among researchers, academicians and professors.</p> <p><strong>ISSN 2985-2536 (Online)</strong><br /><strong>Language: Thai </strong><br /><strong>Issue per year: 6 </strong><strong>Issues (Issue 1 January - February, Issue 2 March - April, Issue 3 May - June, Issue 4 </strong><strong>July - August, Issue 5 September - October, Issue 6 November - December)</strong></p> <p> </p>https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sujthai/article/view/258667ผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินโครงการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชุมชน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 2024-07-10T14:50:29+07:00ศุภฤกษ์ โออินทร์ (Supharerk O-in)supharerk_oin@hotmail.comอภิเศก ปั้นสุวรรณ (Apisek Punsuwan)apisekpan@yahoo.comอริศา จิระศิริโชติ (Arisa Jirasirichote)ajirasirichote@gmail.comกมลพร อุปการแก้ว (Kamonporn Upakankaew)oin_s@su.ac.thสมคิด ภูมิโคกรักษ์ (Somkid Phumkokrux)phumkokrux@hotmail.com<p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามและประเมินผลที่เกิดกับชุมชนจากการดำเนินโครงการจำเป็นเร่งด่วน ภายใต้โครงการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชุมชน ตามแผนพัฒนาชนบทเชิงพื้นที่ประยุกต์ตามแนวพระราชดำริ (โครงการปิดทองหลังพระ) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกควบคู่กับแนวคิดและทฤษฎีการประเมินผลโครงการ กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ทั้งหมด 72 รายผลการศึกษาพบว่า โครงการที่ดำเนินงานในพื้นที่ 8 จังหวัด สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ดี โดยเฉพาะด้านการปรับปรุงสภาพแวดล้อมและคุณภาพชีวิต เช่น การจัดการน้ำในพื้นที่และการส่งเสริมความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้โครงการยังสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างกว้างขวาง อย่างไรก็ตาม มีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับความจำเป็นในการสนับสนุนงบประมาณและการขยายผลโครงการให้ครอบคลุมพื้นที่เพิ่มขึ้นและพื้นที่ต่อเนื่อง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการพัฒนาอย่างยั่งยืน การศึกษานี้ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนากลยุทธ์การดำเนินงานโครงการที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในอนาคต และเป็นแนวทางสำหรับการปรับปรุงกระบวนการพัฒนาในระดับชุมชนที่สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน</p> <p>This study aimed to monitor and evaluate the impacts of urgent projects implemented under the Natural Resources and Community Environmental Management Program, aligned with the Applied Rural Area Development Plan under the Royal Initiative (Pid Thong Laung Phra Foundation), during fiscal year 2020. Utilizing in-depth interviews guided by project evaluation theories, the sample comprised 72 stakeholders and relevant officials. The study found that projects implemented in eight provinces effectively addressed community needs, particularly by improving environmental conditions and quality of life. Initiatives such as water management and environmental education were highlighted, and the projects also encouraged broad community participation. However, recommendations include the need for increased funding and expanding project coverage to additional and adjacent areas, critical for sustainable development. The study can inform strategies to align future project implementation with community needs and serve as a guideline for improving sustainable community development processes.</p>2024-12-20T00:00:00+07:00Copyright (c) 2024 Silpakorn University e-Journal (Social Sciences, Humanities, and Arts)https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sujthai/article/view/266745วิถีชีวิตดิจิทัล: พฤติกรรมของผู้ฟังรายการพอดแคสต์ในประเทศไทย (Digital lifestyle and behaviors of Podcast listeners in Thailand)2024-09-16T13:55:34+07:00อ้อมใจ บุษบง (Ormchai Bugsabong)ormmylove@hotmail.comกุลทิพย์ ศาสตระรุจิ (Kullatip Sartararuji)kullatip@gmail.com<p>สื่อพอดแคสต์ (Podcast) เป็นสื่อดิจิทัลที่สอดรับกับพฤติกรรมของวิถีชีวิตของผู้คนในยุคปัจจุบัน ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลและระบบอินเทอร์เน็ตที่เอื้อต่อการเข้าถึงอุปกรณ์สื่อสาร งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิถีชีวิตดิจิทัล พฤติกรรมของผู้ฟังรายการพอดแคสต์ในประเทศไทย ด้วยการใช้แบบสอบถามทางออนไลน์กับผู้ฟังรายการพอดแคสต์ที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง โดยกำหนดให้ต้องเป็นผู้ฟังรายการพอดแคสต์ที่มีประสบการณ์ในการฟังต่อเนื่อง 3 เดือน จำนวน 400 ตัวอย่าง ผลการวิจัยพบว่า ผู้ฟังรายการพอดแคสต์เป็นผู้ที่มีการศึกษาในระดับปริญญาตรีและสูงกว่าระดับปริญญาตรีขึ้นไป โดยส่วนใหญ่อาศัยในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล เป็นกลุ่ม Generation Y ที่มีพฤติกรรมรับฟังรายการพอดแคสต์ในระยะเวลาสั้น โดยรับฟังขณะเดินทาง หรือช่วงพักจากการทำงาน ส่วนในด้านพฤติกรรมและรูปแบบการดำเนินชีวิตแบบดิจิทัลของผู้ฟังพอดแคสต์ในประเทศไทย พบว่า การมีเทคโนโลยีสื่อสังคมออนไลน์ มีผลต่อการรับรู้และเข้าถึงของผู้รับชมจำนวนมาก ส่วนผู้จัดรายการพอดแคสต์ที่มีประสิทธิภาพนั้น มีส่วนในด้านความสนใจ ทำให้รายการเกิดความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น และประเด็นหรือหัวข้อที่น่าสนใจมีส่วนกับความคิดเห็นต่อการรับฟังรายการพอดแคสต์เป็นอย่างมาก ผลการศึกษาในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ผลิตรายการพอดแคสต์ ทำให้เข้าใจพฤติกรรมและบริบทของผู้ฟังสื่อที่เปลี่ยนแปลงไป ด้วยวิถีชีวิตดิจิทัลที่มีเทคโนโลยีเข้ามามีผลต่อการบริโภคสื่อมากยิ่งขึ้น และวิถีชีวิตของผู้ฟังเองก็ต้องการใช้ประโยชน์จากการรับฟังเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง</p> <p>Podcast is a digital media that is significantly in line with behaviors of people’s lifestyle in this modern day by using digital technology and internet systems in favor of the accessibility of communication device. Accordingly, this research aimed at studying digital lifestyle and behaviors of Podcast listeners living in Thailand. Meanwhile, The online data collection sample group consists of 400 Podcast listeners who used to have experience in listening to Podcast for 3 consecutive months. According to research finding, it appeared that Podcast listeners at bachelor’s degree and higher education levels who mostly resided in Bangkok and vicinity were categorized into Generation Y. In addition, behaviors in listening to Podcast programs within a short time especially while they were travelling or taking a break from work. Meanwhile, the results of the study found that the components of digital lifestyle and behaviors of Podcast listeners in Thailand as Perception on Podcast media usage activities indicating that social media technology. The aspect of interest in the use of Podcast media managed by potential organizers was responsible for increasing more interest and the aspect about opinions towards listening to Podcast programs finding that the issues in organizing Podcast programs contributed to more interests Overall, this research is supposed to benefit the program producers who however need to understand behaviors and the changing context of media listeners with digital lifestyle of which technology helps to increase media consumption. As a result, the listeners find to take advantage of this listening so as to improve self-learning. </p> <p> </p>2024-12-20T00:00:00+07:00Copyright (c) 2024 Silpakorn University e-Journal (Social Sciences, Humanities, and Arts)