Silpakorn University e-Journal (Social Sciences, Humanities, and Arts) https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sujthai <p> </p> <p> </p> <h1>Silpakorn University e-Journal<br />(Social Sciences, Humanities, and Arts)</h1> <p>ชื่อเดิม "วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร" ISSN (เดิม) 2586-8489 (Online) </p> <p>ปรับชื่อใหม่เป็น "Silpakorn University e-Journal (Social Sciences, Humanities, and Arts)" ISSN 2985-2536 (Online) ทั้งนี้ ตั้งแต่ ปีที่ 43 ฉบับที่ 5 (กันยายน - ตุลาคม) พ.ศ. 2566 เป็นต้นไป</p> <p>เป็นวารสารที่เผยแพร่ผลงานทางวิชาการในสาขาวิชาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปะ ของนักวิชาการทั้งภายใน และภายนอกมหาวิทยาลัย เป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการ และส่งเสริมให้นักวิชาการและผู้สนใจได้นำเสนอผลงานทางวิชาการในรูปแบบของบทความวิจัยและบทความวิชาการที่มีคุณภาพ</p> <p><strong>ISSN 2985-2536 (Online)</strong><br /><strong>ภาษา: ภาษาไทย</strong><br /><strong>จำนวนฉบับต่อปี: 6 ฉบับต่อปี (ฉบับที่ 1 มกราคม - กุมภาพันธ์, ฉบับที่ 2 มีนาคม - เมษายน, ฉบับที่ 3 พฤษภาคม - มิถุนายน, ฉบับที่ 4 กรกฎาคม - สิงหาคม, ฉบับที่ 5 กันยายน - ตุลาคม, ฉบับที่ 6 พฤศจิกายน - ธันวาคม)</strong></p> <h1>Silpakorn University e-Journal<br />(Social Sciences, Humanities, and Arts)</h1> <p>Former name "Silpakorn University Journal" ISSN 2586-8489 (Online) </p> <p>The title was changed to "Silpakorn University e-Journal (Social Sciences, Humanities, and Arts)" ISSN 2985-2536 (Online) Since volume 43 issue 5 (September - October) of the year 2023 onwards.</p> <p>The journal features articles and research note/articles in the fields of Social Sciences, Humanities and Arts. lts aim to encourage and disseminate scholarly contributions by the University's faculty member and researchers. Well researched, innovative works by other scholars are welcome. Our mission is to promote awareness of and compatibility with the dynamics of study area among researchers, academicians and professors.</p> <p><strong>ISSN 2985-2536 (Online)</strong><br /><strong>Language: Thai </strong><br /><strong>Issue per year: 6 </strong><strong>Issues (Issue 1 January - February, Issue 2 March - April, Issue 3 May - June, Issue 4 </strong><strong>July - August, Issue 5 September - October, Issue 6 November - December)</strong></p> <p> </p> สำนักงานบริหารการวิจัย นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศิลปากร en-US Silpakorn University e-Journal (Social Sciences, Humanities, and Arts) 2985-2536 แนวทางการแก้ไขปัญหาการเข้าใช้พื้นที่ “ถนนคนเดินเขมราฐ” ภายใต้การกำกับดูแลของเทศบาลตำบลเขมราฐ อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี (Approaches to resolving space utilization issues at the “Khemarat Walking Street” under the Governance of the Khemarat Subdistrict Municipal Authority, Khemarat District, Ubon Ratchathani Province) https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sujthai/article/view/271635 <p>การศึกษาวิจัยนี้เริ่มต้นจากการทบทวนสถานการณ์และปัญหาการเข้าใช้พื้นที่ถนนคนเดินเขมราฐ ประกอบกับการทำความเข้าใจถึงบทบาทของเทศบาลที่มีภารกิจในการสนับสนุนเศรษฐกิจท้องถิ่นและการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมซึ่งมีความท้าทายต่อการปรับตัวให้เข้ากับความต้องการร่วมสมัย โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพในการสัมภาษณ์กับผู้บริหาร ผู้จำหน่ายสินค้าและนักท่องเที่ยวที่เข้ามาร่วมกิจกรรมในพื้นที่ จำนวน 25 คน เพื่อนำมาวิเคราะห์เชิงพรรณนาตามข้อเท็จจริงเชิงตรรกะ ผลการวิจัยพบว่า แม้ตลาดถนนคนเดินเขมราฐจะประสบความสำเร็จในการส่งเสริมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจท้องถิ่น ดังที่เห็นได้จากกระบวนการส่งต่อองค์ความรู้ทางภูมิปัญญาจากรุ่นหนึ่งสู่รุ่นหนึ่ง แต่ยังมีช่องว่างในการมีส่วนร่วมของประชาชนที่จำเป็นต้องพิจารณาถึงบทบาทของเทศบาล โดยมุ่งเน้นถึงการดึงศักยภาพของคนในชุมชนออกมาเพื่อจัดการกับปัญหาที่มีอยู่ในพื้นที่ร่วมกัน ทั้งนี้ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย คือ ภาครัฐควรสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีกรอบในการจัดการพื้นที่สาธารณะเพื่อนำไปสู่แนวทางการปฏิบัติที่ยั่งยืน ส่วนข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติ คือ เทศบาลตำบลเขมราฐควรเพิ่มกระบวนการมีส่วนร่วมสาธารณะผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนมีความรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของพื้นที่ร่วมกัน ตลอดจนมีการเปิดตัวโครงการขยะยั่งยืนเพื่อลดปริมาณขยะจากการดำเนินกิจกรรมในพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม ผลการศึกษาที่ได้จะเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาให้กับพื้นที่อื่น ๆ ต่อไป</p> <p>This study examined the situation and issues surrounding the utilization of Khemarat Walking Street, exploring the role of municipalities tasked with supporting the local economy and preserving cultural heritage amid challenges in adapting to contemporary needs. Qualitative research methods were employed, involving interviews with executives, product sellers, and tourists engaged in activities in the area, totaling 25 participants. The data were subjected to descriptive analysis grounded in factual evidence. The research findings indicate that while Khemarat Walking Street has succeeded in promoting local culture and economy, as evidenced by the transmission of intellectual knowledge across generations, there are still gaps in public participation that warrant consideration of the role of municipalities. Emphasis was placed on mobilizing community members to collectively address area-specific issues. Regarding policy recommendations, the government should assist local administrative organizations by providing a framework for managing public spaces to ensure sustainable practices. Practically, the Khemarat Subdistrict Municipality should enhance public participation through digital platforms to foster a sense of ownership among residents. Additionally, launching a sustainable waste management project would effectively reduce waste generated from activities in the area. The result of the study will serve as guidelines for addressing problems in other areas in the future.</p> บุษบาบัญ โอบอ้อม (Busababan Aopaom) ภูริพัฒน์ ลิ้มจิตรกร (Poolipat Limchittakorn) รุ่งศิริกานต์ ฝ่ายดี (Rungsirikan Faidee) กัญญาพร นาหนองตูม (Kanyaporn Nanongtoom) ชีพชนก พงษ์พยุหะ (Cheepchanok Phongphayuha) กิตติพงษ์ เพียรพิทักษ์ (Kittipong Pearnpitak) Copyright (c) 2024 Silpakorn University e-Journal (Social Sciences, Humanities, and Arts) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-25 2024-06-25 1 13 บทบาทของผู้ประกอบการรุ่นใหม่ในการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG รองรับเชียงรายเมืองท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (The role of new generation entrepreneurs in developing the BCG economy to support Chiang Rai as a creative tourism city) https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sujthai/article/view/271797 <p>การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบาทของผู้ประกอบการรุ่นใหม่ในการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG 2) ถอดบทเรียนบทบาทของผู้ประกอบการรุ่นใหม่ในการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG รองรับเชียงรายเมืองท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพในผู้ให้ข้อมูลหลัก 25 คน ด้วยการสัมภาษณ์ การสังเกต และสนทนากลุ่ม วิเคราะห์อุปนัยเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) บทบาทของผู้ประกอบการรุ่นใหม่ในการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG จังหวัดเชียงราย ประกอบด้วยหน้าที่การผลิต บริการ และกระบวนการ มีบทบาทในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG สามารถก่อให้เกิดการสร้างธุรกิจใหม่เป็นกิจกรรมสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สร้างรายได้ สร้างการเปลี่ยนแปลง และมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม 2) การถอดบทเรียนบทบาทของผู้ประกอบการรุ่นใหม่ในการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG รองรับเชียงรายเมืองท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ มีความเชื่อมโยงของลักษณะเมืองท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และการดำเนินธุรกิจจากบทบาทของผู้ประกอบการรุ่นใหม่ในการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG ข้อเสนอแนะจากการวิจัยสามารถนำไปต่อยอดเพื่อการดำเนินงานส่งเสริมผู้ประกอบการอย่างเป็นระบบเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำผลวิจัยไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป</p> <p>The research has the following objectives: 1) to study the role of new generation entrepreneurs in developing the BCG economy, and 2) to extract lessons from the role of new generation entrepreneurs in developing the BCG economy to support Chiang Rai as a creative tourism city. A qualitative methodology was employed, involving 25 key informants through interviews, observation, focus group discussions, and inductive content analysis. The results of the research found that: 1) The role of new generation entrepreneurs in the economic development of the BCG in Chiang Rai Province includes duties related to production, services, and processes that drive the BCG economy. These entrepreneurs play a crucial role in creating new businesses, which are important activities for driving the economy, generating income, creating change, and participating in social development. 2) Lessons learned from the role of new generation entrepreneurs in BCG economic development to support Chiang Rai as a creative tourism city show a connection between characteristics of a creative tourism city and business operations driven by new generation entrepreneurs in BCG economic development. Research recommendations include systematically promoting entrepreneurs to develop knowledge, skills, and experience. Relevant agencies can apply these research results to enhance their effort.</p> จามรี พระสุนิล (Jamaree Prasunin) ต้องรัก จิตรบรรเทา (Tongrak Jitbantao) Copyright (c) 2024 Silpakorn University e-Journal (Social Sciences, Humanities, and Arts) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-27 2024-06-27 14 25 การพัฒนารูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงกีฬาและสุขภาพด้วยกิจกรรมกีฬาเรือประเภทกระดานยืนพายอย่างยั่งยืน (The development of a sports and health tourism management model through sustainable Stand-Up Paddle Board (SUP) activities) https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sujthai/article/view/271542 <p>การพัฒนารูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงกีฬาและสุขภาพด้วยกิจกรรมกีฬาเรือประเภทกระดานยืนพายอย่างยั่งยืนมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินรูปแบบและเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการจัดการท่องเที่ยวเชิงกีฬาและสุขภาพด้วยกิจกรรมเรือประเภทกระดานยืนพายอย่างยั่งยืน กลุ่มเป้าหมายแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญสำหรับการพัฒนารูปแบบ 2) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ 3) กลุ่มผู้นำรูปแบบไปจัดโครงการฯ และ 4) กลุ่มนักท่องเที่ยวเชิงกีฬาและสุขภาพที่เข้าร่วมกิจกรรมการแข่งขันกีฬาเรือประเภทกระดานยืนพาย เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบประเมินค่า 5 ระดับ เป็นแบบประเมินความพึงพอใจ และแบบประเมินความสำเร็จของโครงการ ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านการพัฒนารูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงกีฬาและสุขภาพด้วยกิจกรรมกีฬาเรือประเภทกระดานยืนพายอย่างยั่งยืน มีความเหมาะสมและมีค่าความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.90-1.00 2) ด้านการประเมินรูปแบบโดยประเมินความสำเร็จของการจัดโครงการการแข่งขันกีฬาเรือกระดานยืนพาย รายการ KU-SUP for Fun พบว่า โครงการบรรลุผลสำเร็จทุกตัวชี้วัด ด้านปริมาณ พบว่า มีผู้เข้าร่วมโครงการคิดเป็นร้อยละ 90 และด้านคุณภาพ พบว่า ผลประเมินความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน ความสำเร็จทุกด้านของโครงการอยู่ในระดับสูง และส่งผลให้มีการดำเนินงานการจัดทำความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และสมาคมกีฬาเรือพายแห่งประเทศไทย ซึ่งสามารถนำรูปแบบไปเป็นแนวทางการจัดโครงการและกิจกรรมเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงกีฬาและสุขภาพด้วยกระดานยืนพายต่อไปได้</p> <p>The objective of developing a sports and health tourism management model through sustainable Stand-Up Paddle Board (SUP) activities was to develop and evaluate the model and establish a network of cooperation in sports and health tourism management through sustainable SUP activities. The target population was divided into four groups: 1) a group of experts for developing the model, 2) a group of experts for verifying the quality of the research instruments, 3) a group of people using the model to organize projects, and 4) a group of sports and health tourists participating in stand-up paddle board competitions. The research instruments include a 5-level evaluation comprising a satisfaction survey and a project success evaluation form. The research finding revealed that: 1) the development of a sports and health tourism management model through sustainable stand-up paddle board sports activities is appropriate, with an IOC ranging between 0.90-1.00. 2) In evaluating the model by assessing the success of the KU-SUP for Fun project, it was found that every project indicator was achieved. In terms of quantity, 90 percent of participants joined the project, and in terms of quality, the overall satisfaction evaluation was at the highest level in every aspect. The success in every aspect of the project was at a high level. This led to the establishment of a collaboration effort between Kasetsart University and the Rowing and Canoeing Association of Thailand. Therefore, the model can serve as a guideline for organizing projects and activities to promote sports and health tourism with stand-up paddle boards.</p> อำนวย ตันพานิชย์ (Amnuay Tanphanich) ธีรนันท์ ตันพานิชย์ (Theeranan Tanphanich) ต่อศักดิ์ แก้วจรัสวิไล (Torsak Kawjaratwilai) ธารินทร์ ก้านเหลือง (Tharin Kanlueng) สมบัติ อ่อนศิริ (Sombat Onsiri) Copyright (c) 2024 Silpakorn University e-Journal (Social Sciences, Humanities, and Arts) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-29 2024-06-29 26 39 ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอุดมการณ์การท่องเที่ยวเพื่อ “แสวงบุญ” ในบริบทสังคมพุทธศาสนาของไทย (The relationship between language and the ideology of “Pilgrimage” tourism in the context of Thai Buddhist society) https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sujthai/article/view/270976 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอุดมการณ์เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเพื่อ “แสวงบุญ” ในสังคมไทย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยตามแนววาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ เก็บข้อมูลตัวบทจากบทสัมภาษณ์พระภิกษุสงฆ์และผู้ดำริสร้างประติมากรรมเทพศักดิ์สิทธิ์ในวัดพุทธเถรวาทในพื้นที่ปริมณฑล จำนวน 10 วัด ผลการวิจัยพบว่า การวิเคราะห์ตัวบทพบกลวิธีทางภาษาที่สื่ออุดมการณ์ “แสวงบุญ” จำแนกได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลวิธีทางภาษาด้านการใช้คำและความเปรียบ 2) กลวิธีทางภาษาด้านการแสดงเหตุผล และ 3) กลวิธีทางภาษาด้านสหบท ในด้านวิถีปฏิบัติทางวาทกรรม พบว่า กระบวนการผลิตตัวบทเป็นกลไกจากพระสงฆ์ในฐานะผู้ธำรงและสืบทอดอายุพระพุทธศาสนา ส่วนกระบวนการแพร่กระจายตัวบทเป็นกลไกที่เกิดขึ้นจาก “สื่อใหม่” ซึ่งพุทธศาสนิกชนสามารถเข้าถึงได้โดยง่าย ในด้านวิถีปฏิบัติทางสังคมและวิถีปฏิบัติทางวัฒนธรรม พบว่า ความคิดในสังคมและวัฒนธรรมไทยที่มีอิทธิพลต่ออุดมการณ์การท่องเที่ยวเพื่อ “แสวงบุญ” สามารถจำแนกออกได้เป็น 4 ประเด็น ได้แก่ 1) ความคิดเรื่องทุกข์ที่สัมพันธ์กับอุดมการณ์ “แสวงบุญ” 2) ความคิดเรื่องบุญที่สัมพันธ์กับอุดมการณ์ “แสวงบุญ” 3) ความคิดเรื่องกรรมที่สัมพันธ์กับอุดมการณ์ “แสวงบุญ” และ 4) ความคิดเรื่อง “เทวดานุสติ” ที่สัมพันธ์กับอุดมการณ์ “แสวงบุญ” เป็นประเด็นที่เชื่อมโยงเรื่อง “ทุกข์” “บุญ” และ “กรรม” เข้าด้วยกัน งานวิจัยนี้เป็นแนวทางการศึกษาที่บูรณาการระหว่างศาสตร์ทางด้านคติชนวิทยา สายมานุษยวิทยาภาคสนามกับศาสตร์ทางด้านการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร เพื่อสะท้อนให้เห็นได้ว่าความเชื่อเกี่ยวกับเทพศักดิ์สิทธิ์ไม่สามารถเกิดขึ้นเองในสังคม แต่เกิดจากการประกอบสร้างชุดความเชื่อในวัฒนธรรมไทย โดยอาจมีการวางรากฐานและปลูกฝังผ่านกระบวนการทางสังคม ทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจจนกระทั่งมีลักษณะเป็นสัญลักษณ์ทางอัตลักษณ์ของพื้นที่ท้องถิ่นของไทย</p> <p>This research article investigates the interconnection between language and ideology within the context of “pilgrimage” tourism in Thai society, employing a methodological framework grounded in Critical Discourse Analysis. Data were sourced from interviews conducted with monks and those responsible for crafting sacred deities’ sculptures across 10 Theravada Buddhist temples in the area adjacent to Bangkok. The study’s findings reveal that the discursive strategies used to articulate the ideology of “pilgrimage” can be categorized into three distinct groups: 1) linguistic strategies involving the use of specific terminology and analogies, 2) linguistic strategies related to articulating rationales, and 3) intertextuality linguistic strategies. Regarding discourse practices, the research identified the script creation process as a mechanism facilitated by monks, who act as custodians and transmitters of Buddhist teachings. The dissemination of these scripts is further augmented by “new media,” enabling Buddhists to access these texts readily. In examining the socio-cultural practices, the study delineates four primary societal and cultural notions influencing the “pilgrimage” tourism ideology: 1) the concept of suffering, 2) the concept of merit, 3) the concept of karma, and 4) the concept of “Devatanusati.” These concepts are intricately linked, collectively shaping the ideological framework of “pilgrimage” within Thai society, intertwining notions of suffering, merit, and karma. This research integrates the study of folklore studies with field anthropology and language use in communication to reflect that beliefs concerning sacred deities do not arise spontaneously in society but are constructed through Thai cultural belief systems. These beliefs are likely established and ingrained through both intentional and unintentional social processes, eventually becoming symbolic identities of local Thai communities.</p> ประเสริฐ รุนรา (Prasirt Runra) สุนทรี โชติดิลก (Suntaree Chotidilok) Copyright (c) 2024 Silpakorn University e-Journal (Social Sciences, Humanities, and Arts) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-25 2024-06-25 40 53 ข้อเสนอเชิงนโยบายแบบมีส่วนร่วมการจัดการสถานบันเทิงแบบครบวงจรที่ส่งผลต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทย (Proposed participatory policy for entertainment complex management impacting the development of Thailand’s tourism industry) https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sujthai/article/view/271615 <p>การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัย ปัญหาและอุปสรรคในการจัดทำแผนข้อเสนอเชิงนโยบายแบบมีส่วนร่วม 2) พัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายแบบมีส่วนร่วม และ 3) ประเมินและนำเสนอข้อเสนอเชิงนโยบายแบบมีส่วนร่วม ใช้วิธีวิจัยและพัฒนา แบ่งการวิจัยออกเป็น 4 ขั้นตอน ขั้นตอนแรกเป็นการวิเคราะห์ปัจจัย ปัญหาและอุปสรรค ด้วยวิธีการวิเคราะห์เอกสาร และการสนทนากลุ่ม จำนวน 15 คน ขั้นตอนที่สอง จัดทำร่างข้อเสนอเชิงนโยบายแบบมีส่วนร่วมและสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 7 คน ขั้นตอนที่สาม การนำเสนอข้อเสนอเชิงนโยบายแบบมีส่วนร่วมและทดสอบด้วยการประชาพิจารณ์ จำนวน 110 คน และขั้นตอนสุดท้าย การตรวจสอบและยืนยันด้วยการประชุมสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 11 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินเพื่อรับรองข้อเสนอเชิงนโยบายแบบมีส่วนร่วม ผลการวิจัยพบว่า สถานบันเทิงแบบครบวงจรมีจุดแข็ง คือ สามารถสร้างงานและรายได้ให้กับประชาชน พัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และส่งเสริมภาพลักษณ์การท่องเที่ยวที่หลากหลาย แต่ควรระวังปัญหาที่อาจส่งผลกระทบต่อสังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม การพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบาย มีจำนวน 6 องค์ประกอบ โดยใช้ชื่อว่า TEMPIG ประกอบด้วย 1) การจัดการท่องเที่ยวและเครือข่ายความร่วมมือ 2) การพัฒนาศักยภาพสถานบันเทิงแบบครบวงจร 3) การบริหารจัดการสถานบันเทิงแบบครบวงจร 4) การพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์และชุมชน 5) การพัฒนาศักยภาพโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก และ 6) การสนับสนุนจากภาครัฐ สำหรับผลการตรวจสอบและรับรองข้อเสนอเชิงนโยบายด้านความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความสอดคล้อง และความเป็นประโยชน์ พบว่าอยู่ในระดับมาก โดยข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการสถานบันเทิงแบบครบวงจรที่ได้จะสามารถเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทยเพื่อสร้างรายได้นำมาพัฒนาประเทศในด้านอื่น ๆ ต่อไป</p> <p>This research aimed to achieve the following objectives: 1) to study the situation, factors, problems, and obstacles in the preparation of participatory policy proposals, 2) to develop a proposed participatory policy, and 3) to evaluate and present the proposed participatory policy. This research utilized a research and development methodology and was divided into four stages. The first stage involved analyzing the factors, problems, and obstacles through document analysis and focus group discussions with a group of 15 experts. In the second stage, a draft of the proposed participatory policy was prepared, and interviews were conducted with 7 key informants. The third stage involved presenting the proposed participatory policy and testing them through public hearings with 110 participants. Finally, the proposals were reviewed and evaluated in connoisseurship meetings with 11 experts. The research instruments were questionnaires, interviews, and assessments used to validate the proposed participatory policy. The research findings revealed that comprehensive entertainment complexes have strengths that can create jobs and generate income for the people, thereby contributing to the country’s economic development and promoting a diverse tourism image. However, there is also an acknowledgement of potential issues that could affect society, culture, and the environment. The development of proposed participatory policy comprises six components under the name TEMPIG, including 1) Tourism management and partnership, 2) Entertainment complex development, 3) Management, 4) Human resource and community development, 5) Infrastructure and amenities development, and 6) Government support. Experts agreed that the proposed participatory policy was appropriate, feasible, compatible, and beneficial at a high level. The resulting comprehensive policy for entertainment complex management will be able to contribute significantly to the development of Thailand’s tourism industry by utilizing the revenue generated for the country’s overall development. </p> พรรษพล คำไล้ (Patsaphon Khamlai) โรม วงศ์ประเสริฐ (Rome Wongprasert) คณิต เขียววิชัย (Kanit Kheovichai) Copyright (c) 2024 Silpakorn University e-Journal (Social Sciences, Humanities, and Arts) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-25 2024-06-25 54 65 ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมเป็นฐานร่วมกับเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมความเป็นนวัตกรและผลงานสร้างสรรค์สำหรับนักเรียน (The effect of using an activity-based learning model combined with technology to promote innovation and creative work for students) https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sujthai/article/view/263590 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิผลรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมเป็นฐานร่วมกับเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมความเป็นนวัตกรและผลงานสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ได้แก่ 1) ความเป็นนวัตกร 2) ผลงานสร้างสรรค์ และ 3) ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมเป็นฐานร่วมกับเทคโนโลยี โดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยศิลปากร ทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 89 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมเป็นฐานร่วมกับเทคโนโลยีฯ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบฯ 3) แบบประเมินความเป็นนวัตกรของนักเรียน 4) แบบประเมินผลงานสร้างสรรค์ของนักเรียน และ 5) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) ความเป็นนวัตกรของนักเรียนส่วนใหญ่อยู่ในระดับดีมาก โดยมีคะแนนระหว่าง 18-20 คะแนน จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน จำนวน 54 คน คิดเป็นร้อยละ 60.67 2) ผลงานสร้างสรรค์ของนักเรียนในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก และ 3) ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมเป็นฐานร่วมกับเทคโนโลยีของครู พบว่านักเรียนทุกระดับชั้นทั้งระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มีความคิดเห็นว่าเหมาะสมมาก ผลการวิจัยนี้จะเป็นแนวทางให้โรงเรียนได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่โรงเรียนต้องการพัฒนาคุณลักษณะของนักเรียนให้มีความเป็นนวัตกรและสร้างสรรค์ผลงานโดยการใช้เทคโนโลยี</p> <p>This research aims to evaluate the effectiveness of an activity-based learning (ABL) model integrated with technology to promote innovation and creative work among elementary and high school students. The research focuses on three key areas: 1) nurtured innovators, 2) creative work, and 3) student perceptions of ABL with technology. The research and development process was used. The target groups consisted of 89 students from both elementary and secondary levels at Silpakorn University Demonstration School during the second semester of the 2020 academic year. The research tools were: 1) the ABL model integrated with technology, 2) lesson plans based on this model, 3) an innovation assessment form for students, 4) a creative work assessment form for students, and 5) a student opinion questionnaire. The statistics used in the research included percentages, mean, standard deviation, and content analysis. The research findings were as follows: 1) The majority of students scored very high on the innovation assessment, with 54 students (60.67%) scoring between 18-20 out of a possible 20 points. 2) Overall, the students’ creative work was rated as very good. 3) Students’ opinions on the ABL model combined with technology showed that students across all levels—elementary, middle, and high school—found it to be highly appropriate. These research findings provide a guideline for schools to design learning activities aimed at developing students’ innovative characteristics and creative work through the use of technology.</p> <p> </p> ชนสิทธิ์ สิทธิ์สูงเนิน (Chanasith Sithsungnoen) สุวิมล สพฤกษ์ศรี (Suwimon Saphuksri) บุญรอด ชาติยานนท์ (Boonrod Chatiyanon) เอกสิทธิ์ ชนินทรภูมิ (Akesit Chanintarapum) เสกสรร สุขเสนา (Seksan Sooksena) เอกชัย ภูมิระรื่น (Akkachai Poomraruen) สราญจิต อ้นพา (Saranjit Aonpa) Copyright (c) 2024 Silpakorn University e-Journal (Social Sciences, Humanities, and Arts) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-27 2024-06-27 66 75 ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาใหม่: ความท้าทายและความซับซ้อนทางบริบทของความเป็นผู้นำในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (Leadership of novice principals: Challenges and contextual complexities of leadership in basic education schools) https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sujthai/article/view/268666 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาใหม่ 2) กระบวนการแก้ไขปัญหาการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาใหม่ และ 3) ข้อเสนอแนะในการพัฒนาความเป็นผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาใหม่ท่ามกลางความท้าทายและความซับซ้อนทางบริบทของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาใหม่ จำนวน 9 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแนวคำถามการสนทนากลุ่มและวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) ผู้บริหารสถานศึกษาใหม่มีความรู้และทักษะจากศาสตร์ทางการบริหารและสามารถนำความรู้มาบูรณาการสู่การปฏิบัติจริงได้ ส่วนใหญ่ผ่านการดำรงตำแหน่งบริหารมาแล้ว ในขณะที่บางส่วนรู้สึกท้อแท้ โดดเดี่ยว มีความกดดัน รวมทั้งพยายามบริหารงานเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ปกครองและชุมชนทุกคนได้รับการพัฒนาอย่างเป็นทางการจากต้นสังกัด แต่ยังขาดการนิเทศ ติดตามผลการพัฒนา และการปรับตัวของผู้บริหารต้องใช้การบริหารเวลาที่มีประสิทธิภาพ 2) กระบวนการแก้ไขปัญหาการบริหารสถานศึกษา เริ่มจากการวิเคราะห์สภาพปัญหาร่วมกันกับครูและชุมชน วางแผนการแก้ไขปัญหาและกำหนดกลยุทธ์การทำงานร่วมกัน ลงมือแก้ไขปัญหาตามลำดับความสำคัญ และมีการทบทวน ตรวจสอบผลการแก้ไขปัญหานั้น ๆ และ 3) ข้อเสนอแนะในการพัฒนาความเป็นผู้นำ พบว่า ควรพัฒนาระบบและกลไกการเลื่อนไหลการเข้าสู่ตำแหน่งจากครูเป็นตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ การจัดให้มีโปรแกรมปฐมนิเทศอย่างเป็นทางการ การพัฒนาวิชาชีพ การสนับสนุนและการให้คำปรึกษา การจัดตั้งสถาบันความเป็นผู้นำอย่างเป็นทางการ และการจัดให้มีระบบการนิเทศ ติดตามผลการพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาใหม่อย่างเป็นระบบ จริงจัง และต่อเนื่อง ซึ่งผลจากการวิจัยจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการบริหารสถานศึกษารวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำข้อเสนอแนะไปใช้ในการพัฒนาความเป็นผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาใหม่ท่ามกลางความท้าทายและความซับซ้อนทางบริบทของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน</p> <p>The objectives of this research were to study 1) the leadership condition of novice principals, 2) the problem-solving processes in school administration employed by novice principals, and 3) recommendations for developing the leadership of novice principals amid the challenges and contextual complexities of basic education schools. Key informants included nine novice principals and seven experts. The research tools used were two focus group discussion forms, and data were analyzed through content analysis. The research findings were as follows: 1) Novice principals possess knowledge and skills in management sciences and can integrate this knowledge into practical application. Most have previously held administrative positions, though some feel discouraged, isolated, and pressured. They strive to meet the needs of parents and the community. All have received official development from their respective organizations but lack supervision, follow-up on their development, and effective time management, which is necessary for their adjustment. 2) The process of solving administration problems begins with analyzing the problem situation together with teachers and the community, planning and strategizing collaboratively, addressing problems based on priority, and reviewing and assessing the outcomes of these solutions. 3) Recommendations for developing leadership suggest that there should be a systematic and efficient mechanism for the transition from teacher to school administrator positions, official induction programs, professional development, support, and mentoring. Establishing formal leadership institutes and implementing a structured, serious, and continuous system for supervising and following up on the development of novice principals is also recommended. The research findings will benefit school administration, and relevant agencies can use the recommendations to develop the leadership of novice principals amid the challenges and contextual complexities of basic education schools.</p> กุลชลี จงเจริญ (Koolchalee Chongcharoen) Copyright (c) 2024 Silpakorn University e-Journal (Social Sciences, Humanities, and Arts) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-27 2024-06-27 76 89 สภาพการณ์การดำเนินความต่อเนื่องทางธุรกิจภัตตาคารของผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมขนาดใหญ่ในประเทศไทย (The situation of business continuity practices for restaurants operated by large hotel businesses in Thailand) https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sujthai/article/view/271812 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการณ์การดำเนินความต่อเนื่องทางธุรกิจภัตตาคารของผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมขนาดใหญ่ในประเทศไทย การดำเนินการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ประกอบการธุรกิจร่วมกับการรวบรวมเอกสารและการสังเกตแบบมีส่วนร่วมในพื้นที่ จากผลการศึกษาพบว่า การดำเนินความต่อเนื่องทางธุรกิจภัตตาคารของผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมขนาดใหญ่ในประเทศไทยนั้น มีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ 1) การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ 2) การให้ความสำคัญกับทรัพยากรมนุษย์ 3) การบริการที่น่าประทับใจ 4) การมีภาพลักษณ์และมรดกทางตราสินค้าที่ดี 5) การมีนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เหมาะสม 6) การมองไปยังเป้าหมายแห่งความสำเร็จของธุรกิจภัตตาคารและแนวโน้มของธุรกิจภัตตาคาร ซึ่งจะเป็นแนวทางเพื่อการศึกษาที่เป็นประโยชน์ในด้านวิชาการและด้านธุรกิจในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายภาคหน้า การพัฒนาเพื่อขยายกลุ่มเป้าหมาย รู้จักการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการสร้างโอกาสทางธุรกิจ การวางแผนและการแก้ปัญหา นำไปเป็นแนวทางปฏิบัติหรือนำแนวคิดทฤษฎีที่ได้ไปพัฒนาต่อยอดเพื่อสร้างความเติบโตและความยั่งยืนให้กับองค์กรสืบไป</p> <p>This research aims to study the current state of business continuity management practices for restaurants operated by large hotel businesses in Thailand. The study employs a qualitative research approach, utilizing in-dept interviews with business owners, document analysis, and participatory observation conducted at the restaurant premises. The findings reveal that effective business continuity management for restaurants in large hotel businesses in Thailand includes six key elements: 1) business continuity management, 2) human resource focus, 3) exceptional customer service, 4) strong brand image and heritage, 5) appropriate innovation and technology, and 6) vision for restaurant success and industry trends. These findings offer valuable contributions to both academic and business fields, driving economic growth in the future. They provide insights for expanding target markets, leveraging technology to create business opportunities, and enhancing planning and problem-solving skills. These findings can be applied directly or used to develop theoretical frameworks for further research, ultimately promoting organizational growth and sustainability. </p> สถิรา มะลาสิน (Sathira Malasin) พิทักษ์ ศิริวงศ์ (Pitak Siriwong) ระชานนท์ ทวีผล (Rachanon Taweephol) Copyright (c) 2024 Silpakorn University e-Journal (Social Sciences, Humanities, and Arts) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-29 2024-06-29 90 101