Silpakorn University e-Journal (Social Sciences, Humanities, and Arts) https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sujthai <p> </p> <p> </p> <h1>Silpakorn University e-Journal<br />(Social Sciences, Humanities, and Arts)</h1> <p>ชื่อเดิม "วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร" ISSN (เดิม) 2586-8489 (Online) </p> <p>ปรับชื่อใหม่เป็น "Silpakorn University e-Journal (Social Sciences, Humanities, and Arts)" ISSN 2985-2536 (Online) ทั้งนี้ ตั้งแต่ ปีที่ 43 ฉบับที่ 5 (กันยายน - ตุลาคม) พ.ศ. 2566 เป็นต้นไป</p> <p>เป็นวารสารที่เผยแพร่ผลงานทางวิชาการในสาขาวิชาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปะ ของนักวิชาการทั้งภายใน และภายนอกมหาวิทยาลัย เป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการ และส่งเสริมให้นักวิชาการและผู้สนใจได้นำเสนอผลงานทางวิชาการในรูปแบบของบทความวิจัยและบทความวิชาการที่มีคุณภาพ</p> <p><strong>ISSN 2985-2536 (Online)</strong><br /><strong>ภาษา: ภาษาไทย</strong><br /><strong>จำนวนฉบับต่อปี: 6 ฉบับต่อปี (ฉบับที่ 1 มกราคม - กุมภาพันธ์, ฉบับที่ 2 มีนาคม - เมษายน, ฉบับที่ 3 พฤษภาคม - มิถุนายน, ฉบับที่ 4 กรกฎาคม - สิงหาคม, ฉบับที่ 5 กันยายน - ตุลาคม, ฉบับที่ 6 พฤศจิกายน - ธันวาคม)</strong></p> <h1>Silpakorn University e-Journal<br />(Social Sciences, Humanities, and Arts)</h1> <p>Former name "Silpakorn University Journal" ISSN 2586-8489 (Online) </p> <p>The title was changed to "Silpakorn University e-Journal (Social Sciences, Humanities, and Arts)" ISSN 2985-2536 (Online) Since volume 43 issue 5 (September - October) of the year 2023 onwards.</p> <p>The journal features articles and research note/articles in the fields of Social Sciences, Humanities and Arts. lts aim to encourage and disseminate scholarly contributions by the University's faculty member and researchers. Well researched, innovative works by other scholars are welcome. Our mission is to promote awareness of and compatibility with the dynamics of study area among researchers, academicians and professors.</p> <p><strong>ISSN 2985-2536 (Online)</strong><br /><strong>Language: Thai </strong><br /><strong>Issue per year: 6 </strong><strong>Issues (Issue 1 January - February, Issue 2 March - April, Issue 3 May - June, Issue 4 </strong><strong>July - August, Issue 5 September - October, Issue 6 November - December)</strong></p> <p> </p> en-US journals.surdi@gmail.com (อาจารย์ ดร.พิภู บุษบก) suj.manager@su.ac.th (จิราพัชร ตรีเดชา) Mon, 21 Oct 2024 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 รูปแบบฟังก์ชันของสื่อสังคมออนไลน์ประเภทวิดีโอสั้นที่มีผลต่อการสร้างสรรค์เนื้อหาโดยผู้ใช้งาน (Function format of short-form video social media that influences user-generated content) https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sujthai/article/view/272024 <p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฟังก์ชันพื้นฐานที่ควรมีในสื่อสังคมออนไลน์ประเภทวิดีโอสั้น และนำเสนอแนวทางพัฒนาฟังก์ชันของสื่อสังคมออนไลน์ประเภทวิดีโอสั้นเพื่อให้เกิดการสร้างสรรค์เนื้อหาโดยผู้ใช้งาน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การศึกษาองค์ประกอบฟังก์ชันของสื่อสังคมออนไลน์ประเภทวิดีโอสั้น และการสนทนากลุ่มกับผู้พัฒนาฟังก์ชันของสื่อสังคมออนไลน์ประเภทวิดีโอสั้นโดยใช้วิธีเดลฟายเพื่อเป็นการพยากรณ์แนวโน้มฟังก์ชันที่ควรมีในอนาคต ซึ่งพบผลการวิจัยใน 3 ประเด็น คือ ประเด็นแรก ด้านฟังก์ชันพื้นฐานที่ควรมีในสื่อสังคมออนไลน์ประเภทวิดีโอสั้นประกอบไปด้วยความสามารถ 7 อย่าง ซึ่งล้วนแต่เป็นความสามารถที่อำนวยความสะดวกให้กับผู้สร้างสรรค์เนื้อหาและผู้ใช้งาน รวมถึงประโยชน์ในด้านการส่งเสริมการตลาดออนไลน์ ประเด็นที่สอง ด้านแนวทางพัฒนาฟังก์ชันของสื่อสังคมออนไลน์ประเภทวิดีโอสั้นเพื่อให้เกิดการสร้างสรรค์เนื้อหาโดยผู้ใช้งาน มีปัจจัยในการคาดการณ์ได้หลายรูปแบบ แต่ปัจจัยที่สำคัญที่สุด คือ ผู้ใช้งาน ฉะนั้น แนวทางในการพัฒนาฟังก์ชันสื่อสังคมออนไลน์ประเภทวิดีโอสั้นต้องมีพื้นฐานที่สำคัญ คือ สามารถสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้งานได้ เพิ่มประโยชน์ให้กับผู้ใช้งานได้ สามารถแบ่งปันข้อมูล และสามารถสร้างตัวตนบนสื่อสังคมออนไลน์ได้ นอกจากนี้ยังพบประเด็นสำคัญที่ได้จากงานวิจัยเป็นประเด็นที่สาม คือ ด้านวิธีการพัฒนาสื่อสังคมออนไลน์ภายใต้แนวคิดการเชื่อมต่อสิ่งใหม่ในขณะที่ยังรักษาสิ่งเดิม สามารถกล่าวได้ว่าองค์ประกอบในการพัฒนาสื่อสังคมออนไลน์มีสิ่งสำคัญ คือ การพัฒนาต้องมีประโยชน์ในด้านการตลาดออนไลน์และต้องเข้าใจพฤติกรรมผู้ใช้งานด้วย โดยผลจากการศึกษาเรื่องนี้สามารถเป็นแนวทางในการปรับปรุงเนื้อหาด้านเทคโนโลยีการสื่อสารในเชิงวิชาการ เพื่อใช้ประโยชน์ในการพัฒนาโซเชียลมีเดียขององค์กรในเชิงวิชาชีพ และแนวคิดวิธีการพัฒนาสื่อสังคมออนไลน์ภายใต้แนวคิดการเชื่อมต่อสิ่งใหม่ในขณะที่ยังรักษาสิ่งเดิมยังเป็นแนวคิดที่สามารถนำไปต่อยอดเพิ่มเติมสำหรับการศึกษาด้านเทคโนโลยีการสื่อสารในอนาคต</p> <p>The purpose of this research is to study the fundamental functions that should be available in short-form video social media and to present guidelines for developing these functions to enable user-generated content creation. This study utilized a qualitative research methodology, which included an analysis of the functional components of short-form video social media and group discussions with developers of these functions, using the Delphi method to predict future trends in functionality. The research can be summarized in three key areas. Firstly, regarding the essential functions that should be present in short-form video social media, seven capabilities were identified. These capabilities facilitate both content creators and users, providing benefits in enhancing online marketing efforts. Secondly, the research outlines development guidelines for short-form video social media functions aimed at enabling user-generated content creation. While various factors can be anticipated, the most crucial aspect is the user. Consequently, the fundamental guidelines for developing short-form video social media functions include fostering user interaction, enhancing user benefits, facilitating information sharing, and enabling the creation of a distinct identity on social media platforms. Finally, the finding from this research indicate that social media development methodologies adhere to the principle of connecting novelty with tradition. In other words, significant components in social media development must serve the dual purpose of facilitating online marketing and comprehending user behavior. This research offers insights for enhancing communication technology content in academia and practical applications for organizational social media development. Additionally, the concept of integrating new and existing elements in social media development provides a solid foundation for future studies in communication technology.</p> กรวิชญ์ ไทยฉาย (Korrawit Thaichay) Copyright (c) 2024 Silpakorn University e-Journal (Social Sciences, Humanities, and Arts) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sujthai/article/view/272024 Mon, 21 Oct 2024 00:00:00 +0700 ออกแบบพิพิธภัณฑ์การจัดการทรัพยากรน้ำตามแนวพระราชดำริฯ ด้วยวิธีการออกแบบปรากฏการณ์น้ำ (Designing a water resources management museum based on the royal initiative using water phenomenon design methods) https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sujthai/article/view/272419 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและทดลองออกแบบพิพิธภัณฑ์การจัดการทรัพยากรน้ำตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ด้วยวิธีการออกแบบปรากฏการณ์น้ำในงานสถาปัตยกรรม ด้วยความเชื่อที่ว่า “พิพิธภัณฑ์น้ำควรใช้น้ำในการสื่อสารเรื่องราวมากกว่าการเรียนรู้น้ำจากบอร์ดนิทรรศการ” โดยมีขั้นตอนในการศึกษา คือ 1) ศึกษาแนวพระราชดำริฯ ตีความและนำเสนอหัวข้อการจัดแสดง (content) และการเล่าเรื่อง (storytelling) 2) ศึกษาการออกแบบปรากฏการณ์น้ำเพื่อนำเสนอแนวทางในการออกแบบพื้นที่ (approach) 3) วิเคราะห์สถานที่ตั้ง กลุ่มผู้ใช้งาน บทบาทหน้าที่ กิจกรรม ความต้องการพื้นที่ใช้สอยและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำเสนอรายละเอียดในการออกแบบ (programming) และ 4) กำหนดแนวคิด สร้างกระบวนการออกแบบเพื่อนำเสนอพิพิธภัณฑ์การจัดการทรัพยากรน้ำฯ ในรูปแบบสถาปัตยกรรมไทยร่วมสมัยในพื้นที่บริเวณด้านทิศตะวันออกของอ่างเก็บน้ำคลองโบด ตำบลเขาพระ อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก ผลลัพธ์ที่ได้ คือ พิพิธภัณฑ์ที่สร้างการรับรู้น้ำในมิติต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับสาระสำคัญของโครงการและมีความสัมพันธ์กับบริบทของสถานที่ เป็นพื้นที่ให้บริการที่เป็นส่วนหนึ่งของชุมชน การศึกษานี้จึงเป็นการทดลองเพื่อแสดงให้เห็นทางเลือกในการพัฒนาการออกแบบพิพิธภัณฑ์ให้ขยายคุณค่าไปมากกว่าการเป็นสถานที่ให้ความรู้ แต่ยังสามารถเป็นสถานที่สร้างแรงบันดาลใจและสร้างประสบการณ์พิเศษให้แก่ผู้ใช้งาน</p> <p>The purpose of this research is to study and experiment with the design of a water resources management museum based on the royal initiative of His Majesty King Rama IX. This study employs methods for designing water phenomena in architecture, operating under the belief that a “Water Museum” should utilize water to communicate stories rather than relying solely on exhibition boards for educational purposes. The research process is structured into four steps: 1) Study of Royal Initiatives, which involves interpreting and presenting exhibition content and storytelling techniques; 2) Study of the Design of Water Phenomena, focusing on guidelines for designing spatial environments that effectively convey the intended messages; 3) Contextual Analysis, where the location, user groups, roles, activities, spatial requirements, and relevant regulations are analyzed to inform design details; and 4) Conceptualization and Design Process, aimed at creating a design for a water resources management museum that reflects contemporary Thai architecture in the eastern area of the Klong Bod Reservoir, Khau Phra Subdistrict, Mueang District, Nakhon Nayok Province. The result of the research is a museum that fosters multidimensional perceptions of water, aligning with the project’s essence and the context of its location. The study thus serves as an experiment to demonstrate options for developing museum design that extend its value beyond merely being a place of knowledge, but can also be a source of inspiration and create special experiences for users. </p> วราภรณ์ แก้วศรี (Waraporn Kaewsri), ประติมา นิ่มเสมอ (Pratima Nimsamer) Copyright (c) 2024 Silpakorn University e-Journal (Social Sciences, Humanities, and Arts) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sujthai/article/view/272419 Mon, 21 Oct 2024 00:00:00 +0700 การเติบโตของเมืองนครปฐมผ่านบทบาทของชาวจีน (The growth of Nakhon Pathom City through the role of the Chinese) https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sujthai/article/view/272991 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเข้ามามีบทบาทของชาวจีนที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเมืองนครปฐมโดยใช้วิธีการศึกษาแบบวิเคราะห์ผ่านเอกสารชั้นต้นและเอกสารชั้นรอง ด้วยหลักระเบียบวิธีวิจัยทางประวัติศาสตร์ ผลการศึกษา พบว่า ชุมชนเมืองนครปฐมเติบโตไปพร้อมกับชุมชนชาวจีนที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ ผ่านการเข้ามาเป็นแรงงานรับจ้างในการบูรณะองค์พระปฐมเจดีย์และรับจ้างขุดคลองเจดีย์บูชา ตั้งแต่ พ.ศ. 2396 เมื่องานทั้งสองเสร็จสิ้นใน พ.ศ. 2405 แรงงานชาวจีนเหล่านี้ก็ปักหลักอยู่อาศัยในเขตเมืองนครปฐม โดยเฉพาะบริเวณริมคลองเจดีย์บูชา ซึ่งเป็นคลองเชื่อมต่อไปยังกรุงเทพฯ และด้วยความสะดวกในการติดต่อกับเมืองหลวงนี้เอง ที่เอื้ออำนวยต่อการเกิดเส้นทางการค้า ส่งผลให้เกิดครัวเรือนของพ่อค้าชาวจีนจำนวนมากในเมืองนครปฐม และเมื่อนานเข้าก็ขยายตัวเป็นชุมชนการค้าขนาดใหญ่ในตัวเมือง ต่อมาเมื่อมีการขยายเส้นทางรถไฟเข้ามาถึงตัวเมืองนครปฐมใน พ.ศ. 2447 ก็ยิ่งทำให้เมืองเติบโตมากยิ่งขึ้น พร้อมกันนั้นรัฐบาลได้มีคำสั่งให้ย้ายที่ว่าการมณฑล ที่แต่เดิมตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำนครชัยศรี มาตั้งอยู่ที่ใหม่บริเวณองค์พระปฐมเจดีย์ใน พ.ศ. 2447 และท้ายที่สุด นครปฐมจึงได้รับการยกระดับอย่างเป็นทางการให้เป็นเมืองเอกของมณฑลนครชัยศรี ในปี พ.ศ. 2456 และได้รับการพัฒนาขึ้นเป็นจังหวัดนครปฐมในเวลาต่อมา ทั้งนี้ ตลอดช่วงเวลาแห่งการเติบโตของเมืองนครปฐมนั้น ชาวจีนมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่ง จนอาจกล่าวได้ว่า ถ้าไม่มีชาวจีน เมืองนครปฐมก็มิอาจเติบโตขึ้นได้อย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ โดยผู้วิจัยคาดหวังว่าบทความนี้จะช่วยส่งเสริมให้เข้าใจถึงการเติบโตของเมืองนครปฐมและกระตุ้นให้ผู้อ่านเกิดความสนใจศึกษาเรื่องราวของเมืองนครปฐมมากยิ่งขึ้น</p> <p>This research article aims to study the role of the Chinese people in the growth of Nakhon Pathom City by employing an analytical approach through primary and secondary documents, utilizing historical research methodology. The findings reveal that the Nakhon Pathom community grew alongside the Chinese community that settled in the area, beginning with their involvement as laborers in the restoration of the Phra Pathom Chedi and in excavating the Chedi Bucha Canal since 1853. Once the projects were completed in 1862, the Chinese laborers established their residences in the Nakhon Pathom urban area, particularly along the banks of Chedi Bucha Canal, which connects to Bangkok. The ease of communication with the capital facilitated the emergence of trade routes, resulting in a significant number of Chinese merchant households in Nakhon Pathom. Over time, this developed into a large trading community within the city. Subsequently, when the railway was expanded to reach Nakhon Pathom City in 1904, the city experienced even greater growth. In conjunction with this, the government ordered the relocation of the provincial administration, which was originally situated along the Nakhon Chai Si River, to a new location near the Phra Pathom Chedi in 1904. Ultimately, Nakhon Pathom was officially elevated to become the capital of Nakhon Chai Si Province in 1913 and later developed into Nakhon Pathom Province. Throughout the period of Nakhon Pathom’s growth, the Chinese played a crucial role, to the extent that it can be said that without the Chinese, Nakhon Pathom would not have developed as it has today. The researcher hopes that this article will promote an understanding of the growth of Nakhon Pathom City and stimulate readers’ interest in further studying the history of Nakhon Pathom.</p> ศิวพล เจริญกิตติยศ (Siwapol Jaroenkittiyos) Copyright (c) 2024 Silpakorn University e-Journal (Social Sciences, Humanities, and Arts) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sujthai/article/view/272991 Mon, 21 Oct 2024 00:00:00 +0700 สลากย้อม : จินตภาพใหม่สู่ศิลปะร่วมสมัย (Salak Yom: New imaginary images towards contemporary art) https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sujthai/article/view/273098 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทของประเพณีสลากย้อมในเนื้อหาเกี่ยวข้องกับประวัติความเป็นมา ตำนานเรื่องเล่า และแนวความคิด คติความเชื่อ และรูปแบบ ตลอดจนสภาวการณ์ปัจจุบันของประเพณีสลากย้อม 2) เพื่อนำองค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับประเพณีสลากย้อมมาเป็นแรงบันดาลใจสู่การสร้างสรรค์ศิลปะร่วมสมัย เพื่อสะท้อนคุณค่าทางวัฒนธรรมภายในประเพณีสลากย้อม โดยการศึกษาเอกสาร แนวคิด ทฤษฎี งานวิจัย และผลงานศิลปะที่เกี่ยวข้อง ในบริบทที่เกี่ยวกับประวัติความเป็นมา ตำนานเรื่องเล่า คติความเชื่อ ตลอดจนรูปแบบของประเพณีสลากย้อม พื้นที่วิจัย คือ ตำบลริมปิง ตำบลประตูป่า อำเภอเมืองลำพูน และงานประเพณีสลากย้อมที่จัดขึ้นช่วงปี พ.ศ. 2561-2566 ภายในวัดพระธาตุหริภุญไชย จังหวัดลำพูน ผลการศึกษาพบว่า 1) ประเพณีสลากย้อมมีบทบาทสำคัญต่อชุมชนท้องถิ่น ตั้งแต่อดีตจัดว่าเป็นประเพณีเฉพาะหญิงสาวชาวไทยอง แต่ด้วยโลกของทุนนิยมวัฒนธรรมถูกปรับเปลี่ยนกลายเป็นสินค้าสร้างความเชื่อมโยงกับผู้คน ในปัจจุบันจึงกลายเป็นประเพณีที่ส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวให้เป็นที่รู้จักของผู้คนภายนอกชุมชน สร้างการมีส่วนร่วมของบุคคลทุกเพศทุกวัย อันยังคงคุณค่าทางวัฒนธรรมและบทบาทประเพณีส่วนหนึ่งไว้ โดยนำหลักคุณค่าทางพุทธศาสนา ความศรัทธามาเชื่อมโยงกับกิจกรรมตามยุคสมัยใหม่ 2) ผู้วิจัยได้สร้างสรรค์งานศิลปะร่วมสมัยจากคติความเชื่อเกี่ยวกับประเพณีสลากย้อม เพื่อสะท้อนคุณค่าทางวัฒนธรรมด้วยเทคนิคคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ผู้ชมได้รับสุนทรียภาพและเข้าถึงภาพจินตนาการของเหตุการณ์จำลองที่สร้างสรรค์ในรูปแบบสามมิติ จากการสร้างสรรค์งานศิลปะร่วมสมัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ข้อสังเกตที่สำคัญ คือ ความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างชิ้นงานศิลปะกับผู้รับชม สร้างความสัมพันธ์แบบที่เรียกว่า สัมพันธบท ผลที่ได้สามารถต่อยอดการสร้างสรรค์ผลงาน การสร้างสรรค์รูปแบบสื่อนวัตกรรมใหม่ ๆ และการเผยแพร่สื่อสมัยใหม่เพื่อสร้างสุนทรียภาพในการสื่อสารกับผู้รับสารต่อไปในอนาคต</p> <p>This research article aims to 1) study the context of the Salak Yom tradition, including its historical background, legends, ideologies, beliefs, and forms, as well as its current status, and 2) use the knowledge gained from studying the Salak Yom tradition to inspire the creation of contemporary art that reflects the cultural values of this tradition. The study involved reviewing documents, concepts, theories, research, and artworks related to the historical background, legends, beliefs, and forms of the Salak Yom tradition. The research area includes the subdistricts of Rim Ping and Pratu Pa in Mueang Lamphun District and the Salak Yom events held between 2018 and 2023 at Wat Phra That Hariphunchai in Lamphun Province. The study findings reveal that 1) the tradition of Salak Yom has played a significant role in local communities. Historically, it was an exclusive tradition practiced by young women of the Thai Yong ethnic group. However, influenced by consumer culture, this tradition has evolved into a commercialized practice that connects people through cultural products. Today, Salak Yom has become a tradition that promotes tourism, gaining recognition beyond the local community. It now involves people of all genders and ages while preserving its cultural values and traditional essence. By integrating Buddhist principles and faith with contemporary activities, Salak Yom remains a relevant and dynamic tradition. 2) The researcher created contemporary artworks based on the beliefs associated with the Salak Yom tradition. By employing computer techniques, the goal was to reflect cultural values and provide viewers with an aesthetic experience and access to a three-dimensional simulation of imaginative events. Through this contemporary art creation, the researcher observed a significant relationship between the artwork and the viewers, establishing a dialogue. This outcome has the potential to further innovative creations, the development of new media formats, and the dissemination of contemporary media to foster aesthetic communication with audiences in the future.</p> สุเมธ จันทร์เพ็ญ (Sumet Chanpen), ฉลองเดช คูภานุมาต (Chalongdej Khuphanumat) Copyright (c) 2024 Silpakorn University e-Journal (Social Sciences, Humanities, and Arts) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sujthai/article/view/273098 Mon, 21 Oct 2024 00:00:00 +0700 จากเมืองพระบางสู่เมืองนครสวรรค์ในมุมมองหลักฐานทางประวัติศาสตร์ (Transition from Prabang to Nakhon Sawan: A historical evidence perspective) https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sujthai/article/view/274686 <p>การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาและรวบรวมหลักฐานทางประวัติศาสตร์เมืองนครสวรรค์มาอธิบายความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของเมืองนครสวรรค์ เพื่อสร้างองค์ความรู้ท้องถิ่นนครสวรรค์ โดยนำแนวคิดประวัติศาสตร์ท้องถิ่นมาใช้ในการรวบรวมหลักฐานลายลักษณ์อักษรที่บันทึกร่วมสมัย หลักฐานชั้นต้นที่ผ่านการปริวรรต และการลงพื้นที่เพื่อสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมในพื้นที่เมืองนครสวรรค์ ร่วมกับการใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ในการตีความหลักฐานทางโบราณคดีตำนานท้องถิ่น ผลการศึกษาพบชื่อเมืองพระบางในหลักฐานจารึกสมัยสุโขทัย ตำนานในล้านนา และได้เปลี่ยนชื่อเป็นเมืองนครสวรรค์ในสมัยอยุธยา ด้วยทำเลที่อยู่ในจุดบรรจบของแม่น้ำปิงและแม่น้ำน่านกับแม่น้ำเจ้าพระยาจึงมีสถานะรัฐกึ่งกลาง มีความสำคัญต่อศูนย์กลางอำนาจรัฐ 3 ด้านในสมัยอยุธยา คือ รัฐกึ่งกลาง เมืองประชุมพล และเมืองชุมทางการค้า เกิดการย้ายตำแหน่งเมืองจากบริเวณเขากบซึ่งเป็นที่ดอนริมฝั่งแม่น้ำปิงสมัยสุโขทัยลงมายังพื้นที่ต้นแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณวัดนครสวรรค์สมัยอยุธยา เพื่อใช้ประโยชน์จากแม่น้ำเจ้าพระยาในการเป็นชุมทางการค้า การคมนาคม ทั้งนี้ ผลการศึกษาที่ได้ทำให้เกิดการเชื่อมโยงความรู้เดิมกับการนำหลักฐานทางโบราณคดีและตำนานมาขยายองค์ความรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นนครสวรรค์ สามารถนำไปใช้จัดการสอนประวัติศาสตร์ท้องถิ่น และเป็นแนวทางให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ในจังหวัดนครสวรรค์ต่อไป</p> <p>The objective of this research is to study and compile historical evidence regarding Nakhon Sawan to explain its historical significance and contribute to local knowledge of the city. Using local historical concepts, this study gathers primary written evidence, contemporary records, and observations made through non-participatory fieldwork in the Nakhon Sawan area while employing historical methods to interpret archaeological evidence and local legends. The research finds that the name Muang Prabang appears in inscriptions from the Sukhothai period and in legends from Lanna, with the city being renamed Muang Nakhon Sawan during the Ayutthaya period. Its strategic location at the confluence of the Ping, Nan, and Chao Phraya Rivers gave it a central status, significant to the three pillars of power in the Ayutthaya period: as a central state, a gathering city, and a trade crossroads. The city’s location shifted from the highland area near Khao Kob along the Ping River in the Sukhothai period to the upper Chao Phraya River near Wat Nakhon Sawan during the Ayutthaya period, leveraging the Chao Phraya River as a hub for trade and transportation. The study integrates previous knowledge with archaeological evidence and local legends to enhance local historical understanding of Nakhon Sawan, facilitating local history education and providing a framework for agencies to develop historical tourism in Nakhon Sawan Province.</p> พิมพ์อุมา ธัญธนกุล (Pim-u-ma Thanthanakul), ศิรินุช ครุฑธกะ (Sirinut Krutaka) Copyright (c) 2024 Silpakorn University e-Journal (Social Sciences, Humanities, and Arts) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sujthai/article/view/274686 Mon, 21 Oct 2024 00:00:00 +0700 แนวคิดอหลักฐานนิยมของ วิลเลียม เจมส์ : ข้อวิพากษ์ทางปรัชญา (William James ’s non-evidentialism: A philosophical critique) https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sujthai/article/view/273524 <p>บทความนี้มีจุดหมายที่จะสำรวจและประเมินแนวคิด<em>อหลักฐานนิยม</em> ของ วิลเลียม เจมส์ ผ่านการวิพากษ์ทางปรัชญา ซึ่งการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและเป็นการวิจัยระดับพื้นฐานอันเป็นการวิจัยเอกสาร โดยจะสำรวจงานเขียนทางปรัชญาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องแนวคิด<em>อหลักฐานนิยม</em> ในทัศนะของ วิลเลียม เจมส์ เป็นหลัก และนำการวิพากษ์ทางปรัชญามาโต้แย้งแนวคิดดังกล่าว เพื่อประเมินว่าแนวคิด<em>อหลักฐานนิยม</em> ของ วิลเลียม เจมส์ สามารถใช้เป็นการอ้างเหตุผลสนับสนุนความเชื่อได้หรือไม่ ผลการวิจัยพบว่า แนวคิด<em>อหลักฐานนิยม</em> ของ วิลเลียม เจมส์ นั้น มีข้อบกพร่อง จึงไม่สามารถใช้เป็นเกณฑ์สำหรับการอ้างเหตุผลสนับสนุนความเชื่อได้ และจากข้อค้นพบนี้สามารถช่วยให้เราพิจารณาคำตอบที่เป็นปมปัญหาในจริยศาสตร์ของความเชื่อในขั้นต่อไปได้</p> <p>This article aims to examine William James’s non-evidentialism through philosophical critique. This qualitative research employs documentary analysis to investigate philosophical writings related to non-evidentialism with in William James’s ideas. By using philosophical critique, the article analyzes and challenges James’s ideas to assess their viability in justifying beliefs. The findings reveal that William James’s concept of non-evidentialism has several flaws, indicating that it cannot serve as a reliable criterion for justifying beliefs. These findings assist in addressing problematic issues in the ethics of belief at a deeper level.</p> พิพัฒน์ สุยะ (Pipat Suya), เทพทวี โชควศิน (Theptawee Chokvasin), ธีรัตม์ แสงแก้ว (Teerat Saengkaew) Copyright (c) 2024 Silpakorn University e-Journal (Social Sciences, Humanities, and Arts) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sujthai/article/view/273524 Mon, 21 Oct 2024 00:00:00 +0700 สมอง เรียน รู้ สู่พัฒนาการของเด็กทุกช่วงวัย (Brain development and learning experiences across childhood stages) https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sujthai/article/view/267078 <p>บทความวิชาการเรื่องนี้ได้ศึกษาและเรียบเรียงขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมอง ซึ่งสมองเป็นหนึ่งในอวัยวะที่ร่างกายเกิดการพัฒนาเป็นอันดับต้น ๆ ตั้งแต่ในครรภ์มารดาและยังถูกพัฒนาต่อเนื่องหลังจากคลอดออกมาเป็นทารกจนถึงอายุ 12 ปี การพัฒนานี้จะเป็นการพัฒนาในด้านกายภาพเพียงเท่านั้นหากเด็กไม่ได้ถูกกระตุ้นหรือรับข้อมูลที่ถูกต้องตามลำดับขั้นตอนที่เหมาะสมในแต่ละช่วงวัยตามพัฒนาการในแต่ละด้านรวมไปถึงการส่งเสริมให้เด็กได้รับการพัฒนาทักษะการคิด วิเคราะห์ คิดวางแผน และการคิดสร้างสรรค์ ทำให้เด็กเป็นคนที่มีเหตุมีผล นำไปสู่การส่งเสริมให้เด็กมีวุฒิภาวะที่สูงขึ้น สามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้ จำเป็นที่เด็กจะต้องได้รับการกระตุ้นจากพ่อแม่ ครูและผู้ฝึกสอนที่มีความรู้ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้สอดคล้องกับพัฒนาการในแต่ละช่วงวัยตามความแตกต่างระหว่างบุคคล เพื่อเป้าหมายในการสร้างทรัพยากรบุคคลที่ต้องเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต</p> <p>This article aims to highlight the importance of creating learning experiences that support brain development. The brain is one of the first organs to begin developing in the body, starting in the womb and continuing after birth until approximately age 12. However, this development will remain purely physical if children are not stimulated or do not receive information appropriately tailored to each stage of development. Proper sequencing and stimulation in each developmental phase are essential, including fostering children’s skills in critical thinking, analysis, planning, and creativity. This support helps children develop into rational individuals, promoting their emotional maturity and ability to function in society. It is crucial for children to receive stimulation from knowledgeable parents, teachers, and trainers who can provide learning experiences aligned with the appropriate developmental stages for each individual. The goal is to create human resources that will grow into quality adults in the future.</p> ฮาดีย์ เปาะมา (Hadee Pohma), ธีรนันท์ ตันพานิชย์ (Theeranan Tanphanich), อำนวย ตันพานิชย์ (Amnuay Tanphanich) Copyright (c) 2024 Silpakorn University e-Journal (Social Sciences, Humanities, and Arts) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sujthai/article/view/267078 Mon, 21 Oct 2024 00:00:00 +0700 “ตัวตน” ใน “1984” ของจอร์จ ออร์เวลล์ (“Self” in George Orwell’s 1984) https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sujthai/article/view/272154 <p>บทความเรื่องนี้ ผู้เขียนพยายามเชื่อมโยงหลักการลดละตัวตนทางปรัชญาและศาสนากับแนวคิดการสละประโยชน์ส่วนตัวเพื่อประโยชน์ของส่วนรวมตามทฤษฎีสังคมนิยม ด้วยการพิจารณา “ตัวตน” ของตัวละครจากนวนิยายที่ต่อต้านระบอบสังคมนิยม เรื่อง “1984” ในแง่ที่หมายถึงปัจเจกบุคคลอันประกอบด้วยร่างกาย จิตใจ และมีสติสัมปชัญญะอย่างสมบูรณ์พร้อมรัฐเผด็จการใน “1984” ได้วางกลไก “การสร้างตัวตน” และ “การทำลายตัวตน” ไปพร้อม ๆ กัน กระบวนการสร้างตัวตนมีขึ้นกับตัวละครพี่เบิ้มในฐานะผู้นำสูงสุดและโกลด์สไตน์ที่เป็นศัตรูหมายเลขหนึ่ง โดยใช้หลักการเดียวกัน คือ “การข่ม”และ “การขู่” เพื่อให้รู้สึกกลัว ส่วนการทำลายตัวตนใช้สองแบบ แบบแรกเป็นการทำให้บุคคลระเหยหายไปจากสังคม เกิดขึ้นกับพ่อแม่ของวินสตันและปู่ของจูเลีย ที่เป็นตัวละครเอก สหายวิธเธอรส์ ไซมฺ และแอมเพิลฟอร์ธ ซึ่งเป็นสมาชิกพรรค ส่วนแบบที่สองใช้การทำให้บุคคลปราศจากความหมายต่อสังคมขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ โดยเกิดขึ้นกับวินสตัน สมาชิกพรรคที่มีความคิดนอกรีต ลักษณะเด่นของกลไกการทำลายตัวตน คือ “การกด” และ “การข่มเหง” เพื่อให้ปัจเจกบุคคลรู้สึกต่ำต้อยด้อยค่า บทความเรื่องนี้ทำให้เห็นถึงความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดระหว่างวรรณกรรมกับบริบททางการเมืองและสังคม และสามารถใช้เป็นแนวทางในการศึกษาวรรณกรรมของต่างประเทศต่อไปได้</p> <p>This article attempts to relate the concepts of self-effacement in philosophy and religion with the socialist theory of sacrificing personal interests for the collective good. The focus is on examining the “self” as it pertains to the individual in the anti-socialist novel 1984. This includes the body, mind, and total consciousness of the individual. The totalitarian state in 1984 has implemented mechanisms for both “self-creation” and “self-destruction” simultaneously. The self-creation process is seen in the figures of Big Brother, the supreme leader, and Goldstein, the number one enemy, using the same strategy – to “suppress” and “threaten” individuals into state of fear. There are two ways in which “self” can be destroyed. The first type causes the individual to disappear from society, as happens to Winston’s parents, Julia’s grandfather, and Party members like Comrades Withers, Syme, and Ampleforth. The second type renders individuals meaningless to society while they are still alive, as happened to Winston, an unorthodox Party member. The process of self-destruction typically involves “pressing” and “persecuting” individuals to make them feel worthless and inferior. This article reveals a close relationship between literature and its social and political contexts and can serve as a framework for further studies in foreign literature.</p> <p> </p> เจือง ถิ หั่ง (Truong Thi Hang) Copyright (c) 2024 Silpakorn University e-Journal (Social Sciences, Humanities, and Arts) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sujthai/article/view/272154 Mon, 21 Oct 2024 00:00:00 +0700