@article{ภิรมย์อนุกูล_2019, title={สมเด็จพระนครินทราธิราช ในหมิงสือลู่}, volume={6}, url={https://so05.tci-thaijo.org/index.php/thammasat_history/article/view/115073}, DOI={10.14456/thammasat-history.2019.1}, abstractNote={<p>บทความนี้นำเสนอบันทึกเกี่ยวกับสมเด็จพระนครินทราธิราช ซึ่งเป็นพระราชโอรสองค์โตในสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) ที่ปรากฏในหมิงสือลู่ ก่อนที่สมเด็จพระนครินทราธิราชจะขึ้นเสวยราชสมบัติ พระองค์ทรงดำรงตำแหน่งเจ้านครอินทร์ครองเมืองสุพรรณบุรี ในพ.ศ. 1914 และได้ตามหลู่จงจิ้นไปเข้าเฝ้าพระจักรพรรดิหมิงไท่จู่ที่เมืองนานกิง  ทำให้ราชวงศ์หมิงรับสถานภาพของวงศ์สุพรรณภูมิเป็นอย่างมาก ในพ.ศ. 1939 เจ้านครอินทร์ส่งข่าวการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) ไปแจ้งแก่จักรพรรดิหมิงไท่จู่ ซึ่งล่าช้ากว่าในพระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ ฯ ถึง 8 ปี ทั้งนี้เพราะ  พระองค์ถูกสมเด็จพระราเมศวรควบคุมตัว</p> <p>เมื่อจักรพรรดิหมิงไท่จู่ทราบข่าวการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1(ขุนหลวงพะงั่ว) กลับไม่ส่งมหาขันทีเข้ามาประกาศโองการตั้งเจ้านครอินทร์ขึ้นเป็นกษัตริย์  จนกระทั่งในพ.ศ. 1945  จักรพรรดิหมิงเฉิงจู่จึงยอมรับว่าสมเด็จพระนครินทราธิราชเป็นกษัตริย์</p> <p>ในพ.ศ. 1951 สมเด็จพระนครินทราธิราชได้เสด็จเข้ามายึดอำนาจที่กรุงศรีอยุธยา  และในหมิงสือลู่ได้บันทึกว่า ในพ.ศ. 1959 ทางราชวงศ์หมิงได้รับข่าวการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระนครินทราธิราช ซึ่งเป็นเวลาที่ใกล้เคียงกับที่ปรากฏในพระราชพงศาวดารฉบับพระจักรพรรดิพงศ์(จาด)</p>}, number={1}, journal={วารสารประวัติศาสตร์ ธรรมศาสตร์}, author={ภิรมย์อนุกูล รุ่งโรจน์}, year={2019}, month={มิ.ย.}, pages={15–56} }