@article{ดิลกวิทยรัตน์_2019, title={ทฤษฎีการเขียนประวัติศาสตร์ของเฮย์เดน ไวต์}, volume={6}, url={https://so05.tci-thaijo.org/index.php/thammasat_history/article/view/199706}, DOI={10.14456/thammasat-history.2019.4}, abstractNote={<p>วัตถุประสงค์ของบทความวิจัยนี้ คือการศึกษาทฤษฎีการเขียนประวัติศาสตร์ของเฮย์เดน ไวต์ ด้วยการสังเคราะห์จากงานเขียนของเขาตั้งแต่ทศวรรษ 1960 จนถึงทศวรรษ 2010 ผลจากการศึกษา พบว่าสาระสำคัญของทฤษฎีการเขียนประวัติศาสตร์ของเฮย์เดน ไวต์ สามารถสรุปได้เป็นข้อเสนอหลัก 3 ประการประการที่หนึ่ง งานเขียนทางประวัติศาสตร์เป็นงานประพันธ์รูปแบบหนึ่ง ประการที่สอง วิธีวิทยาของการศึกษาประวัติศาสตร์ไม่ใช่การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อสร้างสมมติฐานในแบบวิทยาศาสตร์กายภาพ แต่เป็นการคิดเชื่อมโยงแบบโวหารภาพพจน์ (figurative thinking) เพื่อให้นักประวัติศาสตร์สามารถตีความข้อเท็จจริงจากอดีตให้กลายเป็นเรื่องเล่าที่มีความหมาย และประการที่สาม กลวิธีในการประพันธ์เป็นเครื่องมือสำคัญของการเขียนประวัติศาสตร์ นักประวัติศาสตร์จึงไม่ควรพยายามลดทอนองค์ประกอบของความเป็นงานประพันธ์ในงานเขียนของตน แต่ควรเรียนรู้เครื่องมือในการประพันธ์จากนักเขียนเพื่อนำไปใช้ในการตีความข้อเท็จจริงและนำเสนอภาพแทนเหตุการณ์ในอดีต</p>}, number={1}, journal={วารสารประวัติศาสตร์ ธรรมศาสตร์}, author={ดิลกวิทยรัตน์ ตามไท}, year={2019}, month={มิ.ย.}, pages={129–166} }