@article{ใจจริง_2020, title={คณะราษฎรเยือนแดนซากุระ: การแสวงหาตัวแบบการ “สร้างชาติ” ภายหลังการปฏิวัติ 2475}, volume={7}, url={https://so05.tci-thaijo.org/index.php/thammasat_history/article/view/240655}, DOI={10.14456/thammasat-history.2020.7}, abstractNote={<p>การศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างไทย-ญี่ปุ่นภายหลังการปฏิวัติ 2475 ที่ผ่านมามักถูกบดบังอยู่ภายใต้บรรยากาศของสงครามโลกครั้งที่ 2 อันเต็มไปด้วยเรื่องราวของความคลั่งชาติ และนโยบายก้าวร้าวของรัฐบาลไทยขณะนั้น ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-ญี่ปุ่นมีความแนบแน่นอย่างไม่เคยมีมาก่อนเกิดขึ้นก่อนสงครามโลกครั้ง 2 เป็นเวลานานถึงเกือบหนึ่งทศวรรษในยุครัฐบาลคณะราษฎร พวกเขามีความต้องการสร้างประเทศไทยขึ้นใหม่อย่างรวดเร็วเพื่อทดแทนการเสียโอกาสการพัฒนาประเทศในยุคมหาอำนาจตะวันตกเข้าครอบงำไทย ดังนั้น การศึกษาครั้งนี้จึงเป็นการตรวจสอบซ้ำถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทย-ญี่ปุ่นในช่วง พ.ศ. 2475-2484 ผ่านกลุ่มเอกสารใหม่ เช่น หนังสือการเมืองเล่มเล็ก และบันทึกความทรงจำของสมาชิกคณะราษฎรที่เดินทางไปดูการพัฒนาประเทศญี่ปุ่นในช่วงเวลานั้น เพื่อเติมเต็มองค์ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่นในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 และความเป็นมาของการพัฒนาประเทศไทยในสมัยรัฐบาลคณะราษฎรที่หายไปจากประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทย</p>}, number={2}, journal={วารสารประวัติศาสตร์ ธรรมศาสตร์}, author={ใจจริง ณัฐพล}, year={2020}, month={ธ.ค.}, pages={1–33} }