@article{ใจสุวรรณ์_2022, title={พุ่มพวง ดวงจันทร์ กับการเปลี่ยน (ไม่) ผ่านของเพลงลูกทุ่ง (กลางทศวรรษ 2520 - กลางทศวรรษ 2540)}, volume={9}, url={https://so05.tci-thaijo.org/index.php/thammasat_history/article/view/254846}, DOI={10.14456/thammasat-history.2022.4}, abstractNote={<p>ความสำเร็จของ พุ่มพวง ดวงจันทร์ ในช่วงกลางทศวรรษ 2520 จนถึงกลางทศวรรษ 2540 โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลงานของเธอในปี พ.ศ. 2528 ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ให้กับวงการเพลงลูกทุ่งด้วยการผสมผสานเพลงลูกทุ่งกับเพลงสตริง อีกทั้งยังปรับภาพลักษณ์ให้เท่าทันแฟชั่นสมัยใหม่ทั้งในและต่างประเทศ ความสำเร็จของพุ่มพวงนับเป็นการก้าวเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ของเพลงลูกทุ่ง แต่กระนั้นกลับพบว่าเพลงลูกทุ่งปลายทศวรรษ 2530 เป็นต้นมาจำนวนมากที่ยึดเอาความสำเร็จของพุ่มพวงเป็นแม่แบบกลับถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่มี “ความเป็นเพลงลูกทุ่ง” จากการศึกษาพบว่า การจัดงานอนุรักษ์เพลงลูกทุ่งที่เกิดขึ้นตลอดทศวรรษ 2530 นับเป็นการปฏิเสธความเปลี่ยนแปลงสู่ยุคสมัยใหม่ของเพลงลูกทุ่ง ความสำเร็จของการจัดงานดังกล่าวส่งผลต่อผลงานเพลงของพุ่มพวงในช่วง 3 ปีสุดท้ายของชีวิตไปจนถึงตลาดเพลงลูกทุ่งโดยภาพรวม นอกจากนี้ยังเป็นการแช่แข็งอัตลักษณ์ของเพลงลูกทุ่งให้หยุดนิ่งและยึดโยงกับความเป็นไทยและความเป็นชนบทในอุดมคติ อันนำมาซึ่งการที่คนส่วนหนึ่งไม่ยอมรับเพลงลูกทุ่งร่วมสมัยจนเกิดเป็นวิวาทะเรื่องความเป็น-ไม่เป็นเพลงลูกทุ่งที่ยังคงเป็นปัญหาสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน</p>}, number={1}, journal={วารสารประวัติศาสตร์ ธรรมศาสตร์}, author={ใจสุวรรณ์ ปรกเกศ}, year={2022}, month={มิ.ย.}, pages={92–124} }