TY - JOUR AU - Zackari, Karin PY - 2017/02/27 Y2 - 2024/03/29 TI - Writing Rights into Thailand’s History with Photography JF - วารสารประวัติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ JA - TU J HIST VL - 2 IS - 1 SE - บทความวิชาการ DO - 10.14456/thammasat-history.2015.5 UR - https://so05.tci-thaijo.org/index.php/thammasat_history/article/view/78480 SP - 201-247 AB - <p>ภาพถ่ายเป็นสื่อกลางที่ได้รับการยอมรับในการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับความโหดร้ายและสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน ตัวแสดงทางการเมืองและขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมยังใช้ภาพถ่ายในการสร้างภาพลักษณ์และจุดมุ่งหมายของตนอย่างแพร่หลายอีกด้วย ศักยภาพทางการเมืองของภาพถ่ายเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับบทบาทของการมองเห๋นในที่สาธารณะ ภาษาของภาพถ่ายเป็นภาษาเชิงสัญลักษณ์และภาษาเชิงข้อเท็จจรืงในเวลาเดียวกัน ทำให้ภาพถ่ายกลายเป็นวัตถุพยานที่สร้างปัญหาสำหรับการศึกษาประวัตศาสตร์ &nbsp;นอกจากนี้ภาพถ่ายยยัง เป็นได้ทั้งพื้นที่ของความทรงจำส่วนตัวและความทรงจำสาธารณะ เนื่องจากความหมายของภาพถ่ายขึ้นอยู่กับการตีความของผู้ชม หาได้ขึ้นอยู่กับเจตนาของผู้ถ่าย สิ่งที่ถูกถ่าย หรือผู้เผยแพร่ภาพถ่ายเหล่านั้นไม่ สื่อทัศน์ทำให้ผู้ชม<br>สามารถเข้าถึงเวลาและสถานที่ที่แตกต่างกันได้อย่างรวดเร็ว ทั้งยังสร้างความเป็นไปได้ในการเชื่อมต่อกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่อาจขาดหายไปในบันทึกประวัติศาสตร์ โวหารทางสายตา อาทิ บทบาททางเพศสภาพ คู่ตรงข้ามระหว่างตัวเอกกับผู้ร้าย และสำนึกที่ผู้คนมีร่วมกัน ทำให้ภาพถ่ายกลายเป็นส่วนประกอบสำคัญในการสร้างประวัติศาสตร์ที่ครอบคลุม บทความชิ้นนี้ศึกษาการใช้ภาพถ่ายจากเหตุการณ์ทางการเมืองต่างๆ ในประวัติศาสตร์ไทยในการเขียนประวัติศาสตร์ภายใต้กรอบสิทธิมนุษยชน บทความเริ่มต้นจากช่วงกลางทศวรรษ 2510 เมื่อขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมในการเมืองระดับกว้างในประเทศไทยหันมาใช้ภาษาด้านสิทธิมนุษยชน รวมถึงเริ่มใช้ประโยชน์จากภาพถ่ายในการเขียนประวัติศาสตร์ของตนเองในขอบเขตที่กว้างขวางกว่าแต่ก่อน</p> ER -