TY - JOUR AU - กอเซ็ม, สมัคร์ PY - 2017/06/30 Y2 - 2024/03/29 TI - ปอแนใต้ปอเนาะ: ชาติพันธุ์วรรณาย้อนมองดูตัวเองของ “เควียร์มุสลิม” และความทรงจำวัยเด็กในโรงเรียนสอนศาสนา JF - วารสารประวัติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ JA - TU J HIST VL - 4 IS - 1 SE - บทความประจำฉบับ DO - 10.14456/thammasat-history.2017.4 UR - https://so05.tci-thaijo.org/index.php/thammasat_history/article/view/92273 SP - 160-206 AB - <p class="BodyA">งานศึกษานี้ต้องการเริ่มต้นบทสนทนาเกี่ยวกับประเด็นเรื่องรักร่วมเพศในศาสนาอิสลามผ่านเส้นแบ่งทางเพศที่ปรากฏชัดในโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามผ่านความคิดว่าด้วย“ความเป็นพี่น้อง” กันในอิสลามซึ่งนำไปสู่ความสัมพันธ์แบบรักเพศเดียวกันโดยยังคงนิยามตัวเองในหลากหลายลักษณะเช่นชายแท้เกย์และกะเทยของวัยรุ่นชายมุสลิมเพราะการสัมผัสกายของผู้ชายด้วยกันเองทำให้เกิดความรู้สึกสบายใจระหว่างกันเพราะศาสนาบัญญัติห้ามไม่ให้แตะเนื้อต้องตัวเพศตรงข้ามและช่วยหันเหความรู้สึกผิดบาปของตนต่อความคิดทางศาสนาพวกเขาจึงตีความหลักการทางศาสนาที่เกี่ยวกับเรื่องร่างกายและเพศวิถีใหม่เพื่อรองรับแรงปราถนาทางเพศของตัวเอง บทความนี้จึงสะท้อนความพร่าเลือนการนิยามความสัมพันธ์แบบชายกับชายในโรงเรียนที่ศาสนามีบทบาทและอิทธิพลต่อการกำหนดความสัมพันธ์ทางสังคมและทางเพศ วัฒนธรรมรุ่นพี่รุ่นน้องที่เอื้อให้เพศวิถีลื่นไหลและนิยามไปหลายรูปแบบ งานศึกษานี้ใช้วิธีวิทยาแบบชาติพันธุ์วรรณาเชิงสะท้อนย้อนคิดจากประวัติชีวิตของตัวผู้ศึกษาเอง งานชิ้นนี้จึงมีส่วนสำคัญต่อการรื้อฟื้นเอาความทรงจำทางเพศขึ้นมาเพื่อตอบคำถามประเด็นเรื่อง“รักร่วมเพศในศาสนาอิสลาม” การตีตราบาปการสำนึกผิดการกดทับอารมณ์ความใคร่และการสูญเสียตัวตนจากการถูกนิยามทางศาสนาโดยเฉพาะเรื่องร่างกายและเพศสภาพ โดยเฉพาะวิธีการที่ศาสนาเข้ามาจัดการกับร่างกายและเพศสภาพจากการตีความจากตัวบทหลักการทั้งจากในคัมภีร์และคำสอนอิสลามร่างกายกับเพศสภาพที่ถูกสร้างบรรทัดฐานท้ายที่สุดกลายเป็นเพียง“พวกผิดเพศที่ถูกสาปแช่ง” และการถูกผลิตซ้ำด้วยความคิดขั้วตรงข้ามจากวาทกรรมทางศาสนาว่าด้วยร่างกายบทความใช้แนวคิดหลักเรื่อง “homosociality” พยายามสะท้อนการทำงานเชิงโครงสร้างของศาสนาที่มีต่อเพศวิถีและร่างกายการใช้คำอธิบายที่ตีความเรื่องความสัมพันธ์ทางเพศของผู้ปฏิบัติการการเปิดเสียงให้เล่าเรื่องที่สังคมมุสลิมมักไม่ยอมรับว่าเกิดขึ้น มีตัวตนและถูกทำให้เป็นความพร่าเลือนเมื่อเอ่ยถึงเพศที่สามในบริบทของศาสนาอิสลามและต้องการเสนอถึงความลักลั่นยอกย้อนของความคิดรากฐานนิยมอิสลามต่อเรื่องเพศสภาพในปัจจุบัน</p> ER -