https://so05.tci-thaijo.org/index.php/thammasat_history/issue/feed วารสารประวัติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ 2024-06-26T08:05:16+07:00 กองบรรณาธิการวารสารประวัติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ hist_journal@arts.tu.ac.th Open Journal Systems <p>วารสารประวัติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ เป็นวารสารวิชาการราย 6 เดือน (ปีละ 2 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - มิถุนายน ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม - ธันวาคม) มีกำหนดการตีพิมพ์ 2 รูปแบบ ทั้งรูปแบบตีพิมพ์ (Print) และรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Online) ทั้งนี้ตั้งแต่ พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป เปลี่ยนแปลงรูปแบบการตีพิมพ์เหลือเพียงแบบเดียวคือ รูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Online) วารสารประวัติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ของภาควิชาประวัติศาสตร์ ปรัชญา และวรรณคดีอังกฤษ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีวัตถุประสงค์ในการเผยแพร่ผลงานวิชาการ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้และความก้าวหน้าในทางวิชาการ โดยเปิดรับบทความที่มีการศึกษาอย่างมีมิติทางประวัติศาสตร์ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ<br /><br />วารสารประวัติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์เผยแพร่บทความจากผู้เขียน</p> https://so05.tci-thaijo.org/index.php/thammasat_history/article/view/273878 กองบรรณาธิการ 2024-06-23T12:56:28+07:00 กองบรรณาธิการ วารสารประวัติศาสตร์ มธ hist_journal@arts.tu.ac.th 2024-06-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/thammasat_history/article/view/273879 บทบรรณาธิการ 2024-06-23T12:57:57+07:00 จุฬาพร เอื้อรักสกุล euarukskul@gmail.com 2024-06-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/thammasat_history/article/view/273880 สารบัญ 2024-06-23T12:59:34+07:00 กองบรรณาธิการ วารสารประวัติศาสตร์ มธ hist_journal@arts.tu.ac.th <p>-</p> 2024-06-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/thammasat_history/article/view/269553 The Role of the Probation Services in the Development of England and Wales’ Nineteenth-Century Criminal Justice System 2024-01-24T10:30:40+07:00 Suphat Phoophanichjaroenkul suphatfu@gmail.com <p>The article studies the historical evolution of England and Wales’ criminal justice system during the 19th century, focusing on the pivotal role of probation services. Initially entrenched in retributive justice with severe punishments like executions and imprisonment, the system gradually shifted toward a more rehabilitative approach. It explores the roots of probation in common law and the early initiatives that paved the way for probation, including the involvement of religious organizations and the legislation allowing the release of offenders under recognizance. During this period, societal changes brought about by the industrial revolution led to a surge in crime, prompting the need for an improved punishment system. Probation emerged as an alternative to excessive imprisonment for minor offenses, emphasizing offender rehabilitation and reintegration into society. Despite its initial informal structure and reliance on volunteer missionaries, the 19th-century probation system significantly reduced recidivism rates. It served as the precursor to the Probation of Offenders Act in 1907. The article also discusses the challenges and limitations faced by early probation efforts, such as societal stigma towards offenders and the ambiguity of legislative provisions. Despite these challenges, the probation system’s emphasis on assisting, befriending, and rehabilitating offenders yielded positive outcomes, reducing the prison population and aiding in offender reintegration. Overall, the 19th-century probation system laid the groundwork for a shift in criminal justice philosophy, moving away from harsh retribution towards a more rehabilitative approach, setting the stage for the modern probation system.</p> 2024-06-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 Suphat Phoophanichjaroenkul https://so05.tci-thaijo.org/index.php/thammasat_history/article/view/272250 รามคำแหงนิพนธ์ : การประกอบสร้างประวัติศาสตร์นิพนธ์เรื่องพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ตั้งแต่ พ.ศ. 2376 ถึง พ.ศ. 2535 2024-04-08T12:43:25+07:00 อรรถวิทย์ เพชรรัตน์ sherlocklaufeyson210@gmail.com <p>บทความวิชาการนี้ต้องการศึกษาการประกอบสร้างและการผลิตซ้ำประวัติศาสตร์นิพนธ์เรื่อง พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ตั้งแต่การค้นพบหลักศิลาจารึกหลักที่ 1 ในสมัยปลายรัชกาลที่ 3 จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของ “ประวัติศาสตร์ชาติ” ในสมัยรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นต้นมา โดยมีข้อค้นพบสำคัญ ตั้งแต่ 1) การค้นพบหลักศิลาจารึกหลักที่ 1 เป็นเสมือนการตอบคำถามถึงการมีอยู่ของอดีตที่ชนชั้นนำสยามตามหา สอดรับต่อสำนึกทางประวัติศาสตร์และโลกทัศน์แบบใหม่ของชนชั้นนำสยาม ทั้งยังเป็นอดีตที่มีความสืบเนื่องกับปัจจุบันที่กำลังเปลี่ยนไปสู่สมัยใหม่ เนื่องด้วยบทบาทของพ่อขุนรามคำแหงนั้นสะท้อนภาพลักษณ์ “กษัตริย์สาธารณะ” ซึ่งเป็นรูปแบบกษัตริย์สมัยใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 4 จนมีสถานะเป็น “ประวัติศาสตร์” ใน พ.ศ. 2450 2) ด้วยภาพลักษณ์ของพ่อขุนรามคำแหงที่สอดคล้องต่ออุดมการณ์แต่ละยุคสมัย ทำให้ประวัติศาสตร์นิพนธ์เรื่อง พ่อขุนรามคำแหงมหาราช เป็นประวัติศาสตร์นิพนธ์ที่เปลี่ยนผ่านจากประวัติศาสตร์กษัตริย์นิยม ไปสู่ประวัติศาสตร์ชาตินิยมวีรบุรุษ ในฐานะต้นแบบ “ผู้นำแบบไทย” ของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ก่อนจะกลับมายึดโยงกับประวัติศาสตร์ราชาชาตินิยมอีกครั้ง ในฐานะต้นแบบ “กษัตริย์ผู้เป็นพ่อและนิยมประชาธิปไตย” ของสถาบันกษัตริย์รัชกาลที่ 9 ใน พ.ศ. 2535</p> 2024-06-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 อรรถวิทย์ เพชรรัตน์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/thammasat_history/article/view/272189 ประวัติศาสตร์นิพนธ์เมืองศรีสะเกษตั้งแต่ทศวรรษ 2370 จนถึงปัจจุบัน 2024-04-03T22:11:10+07:00 วุฒิชัย นาคเขียว n.wuttichai1991@gmail.com <p>บทความนี้ต้องการศึกษาประวัติศาสตร์นิพนธ์เมืองศรีสะเกษตั้งแต่ทศวรรษ 2370 จนถึงปัจจุบัน จากข้อมูลและข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ที่ถูกนำเสนอในงานเขียนของนักประวัติศาสตร์ โดยมีวัตถุประสงค์ของการศึกษาที่สำคัญสามประการ คือ ประการแรก ปัญหาในงานเขียนประวัติศาสตร์เมืองศรีสะเกษ ประการที่สอง สถานภาพองค์ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์เมืองศรีสะเกษตั้งแต่ทศวรรษ 2370 จนถึงปัจจุบัน และประการสุดท้าย โครงเรื่องและเรื่องเล่าหลักที่ถูกนำเสนอในงานเขียนของนักประวัติศาสตร์ จากการศึกษาพบว่า ประวัติศาสตร์เมืองศรีสะเกษใช้ข้อมูลและข้อเท็จจริงจากหลักฐาน <em>พงษาวดารมณฑลหัวเมืองอิสาณ</em> ของหม่อมอมรวงศ์วิจิตรที่ตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2458 เป็นแม่แบบของการเรียบเรียงเนื้อหาและอธิบายเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ นอกจากนี้ ยังนิยมผูกโยงเรื่องเล่าของตนเองกับประวัติศาสตร์กระแสหลัก และความเจริญทางวัฒนธรรมที่เหนือกว่า โดยเฉพาะวัฒนธรรมเขมรโบราณ อำนาจรัฐบรรณาการของกษัตริย์สมัยกรุงศรีอยุธยา และอำนาจทางการเมืองของรัฐไทยสมัยรัตนโกสินทร์ ข้อค้นพบเหล่านี้ยืนยันปัญหาของการศึกษาประวัติศาสตร์เมืองศรีสะเกษที่ยังผูกพันอยู่กับการศึกษาประวัติศาสตร์แบบชาตินิยม อันเป็นผลมาจากการรับอิทธิพลแนวความคิดท้องถิ่นนิยมและความเป็นไทยที่มีพลังต่อการอธิบายประวัติศาสตร์ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 24 เป็นต้นมา</p> 2024-06-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วุฒิชัย นาคเขียว https://so05.tci-thaijo.org/index.php/thammasat_history/article/view/271934 ผูกมิตรกับเปียงยาง : การทูตเชิงรุกของไทยต่อเกาหลีเหนือช่วง ค.ศ. 2000-2006 2024-04-08T17:37:51+07:00 สิทธิพล เครือรัฐติกาล ajarnko@tu.ac.th <p>บทความนี้ชี้ให้เห็นถึงการทูตเชิงรุกของไทยต่อเกาหลีเหนือช่วง ค.ศ. 2000-2006 ซึ่งตรงกับรัฐบาลนายชวน หลีกภัย และนายทักษิณ ชินวัตร ดังจะเห็นได้จากการนำเกาหลีเหนือเข้าสู่การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และความพยายามคลี่คลายวิกฤตการณ์นิวเคลียร์ อย่างไรก็ตาม ไทยกลับไม่ประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเกาหลีเหนือ อีกทั้งยังต้องเผชิญสภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกระหว่างการถนอมความสัมพันธ์ทวิภาคีกับการจัดการประเด็นมนุษยธรรม</p> 2024-06-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สิทธิพล เครือรัฐติกาล