วารสารประวัติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/thammasat_history <p>วารสารประวัติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ เป็นวารสารวิชาการราย 6 เดือน (ปีละ 2 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - มิถุนายน ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม - ธันวาคม) มีกำหนดการตีพิมพ์ 2 รูปแบบ ทั้งรูปแบบตีพิมพ์ (Print) และรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Online)&nbsp; ทั้งนี้ตั้งแต่ พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป เปลี่ยนแปลงรูปแบบการตีพิมพ์เหลือเพียงแบบเดียวคือ รูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Online) วารสารประวัติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ของภาควิชาประวัติศาสตร์ ปรัชญา และวรรณคดีอังกฤษ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีวัตถุประสงค์ในการเผยแพร่ผลงานวิชาการ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้และความก้าวหน้าในทางวิชาการ โดยเปิดรับบทความที่มีการศึกษาอย่างมีมิติทางประวัติศาสตร์ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ</p> <p>&nbsp;</p> <p>วารสารประวัติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ผ่านการรับรองคุณภาพและอยู่ในฐานข้อมูลของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย - TCI</p> th-TH <p>ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนและสงวนสิทธิ์ตามกฎหมาย&nbsp;</p> <p>ข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารนี้เป็นของผู้เขียน คณะกรรมการวารสาร ภาควิชาประวัติศาสตร์ฯ กองบรรณาธิการ ตลอดจนกรรมการกลั่นกรองประจำฉบับ ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องกับข้อคิดเห็นเหล่านั้น</p> [email protected] (กองบรรณาธิการวารสารประวัติศาสตร์ ธรรมศาสตร์) [email protected] (รัฐนันท์ วิจิตรกฤตพงศ์) Tue, 26 Dec 2023 13:40:15 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 บทบรรณาธิการ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/thammasat_history/article/view/269818 จุฬาพร เอื้อรักสกุล Copyright (c) 2023 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/thammasat_history/article/view/269818 Tue, 26 Dec 2023 00:00:00 +0700 สารบัญ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/thammasat_history/article/view/269820 <p>-</p> กองบรรณาธิการ วารสารประวัติศาสตร์ มธ Copyright (c) 2023 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/thammasat_history/article/view/269820 Tue, 26 Dec 2023 00:00:00 +0700 อุบลวัณณา : ผู้หญิงในประวัติศาสตร์เปลี่ยนผ่านของยุคสมัย https://so05.tci-thaijo.org/index.php/thammasat_history/article/view/265658 <p>การศึกษาชีวประวัติของอุบลวัณณา ผู้หญิงที่มีชีวิตอยู่ในห้วงเวลาสำคัญทางประวัติศาสตร์ มีจุดประสงค์ที่จะอธิบายความเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ ในช่วงที่สยามขยายอำนาจเข้าสู่ล้านนา ผ่านเรื่องราวของบุคคล โดยอาศัยจุลประวัติศาสตร์เป็นวิธีวิทยาในการทำความเข้าใจเรื่องนี้ และใช้ชีวประวัติเป็นหลักฐานสำคัญเพื่อแสดงให้เห็นว่า ความทรงจำและเรื่องราวที่ผู้คนเขียนถึงบุคคลในประวัติศาสตร์นั้น สามารถขยายขอบเขตการทำความเข้าใจประวัติศาสตร์ออกไปได้อย่างกว้างขวาง และไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับคำอธิบายที่มีอยู่ก่อนหน้า ชีวประวัติของอุบลวัณณาก็ประกอบสร้างขึ้นจากบุคคลที่มีชีวิตร่วมสมัย บ้างมีโอกาสพบปะ สนทนา แลกเปลี่ยนความคิดในเรื่องต่าง ๆ พ้นไปจากบันทึกและความสัมพันธ์ส่วนตัว ประวัติของเธอยังปรากฏในเอกสารราชการของสยาม ซ่อนตัวอยู่ในหมวดหมู่หัวข้อต่าง ๆ ของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ผลการศึกษาทำให้พบว่าบุคคลซึ่งมีชีวิตอยู่ในห้วงเวลาสำคัญทางประวัติศาสตร์ ได้ปฏิสัมพันธ์อยู่กับบริบทที่ล้านนาติดต่อกับชาวต่างชาติและสนใจเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจอาณานิคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านพม่าภายใต้การจัดการปกครองของอังกฤษ ขณะเดียวกันก็อยู่ในช่วงที่สยามกำลังเร่งเข้ามาปรับเปลี่ยนโครงสร้างการเมืองภายในของล้านนา เพื่อแสดงให้อังกฤษเห็นว่าล้านนาเป็นส่วนหนึ่งของสยาม ภายใต้บริบทของการกำหนดกติกาอย่างใหม่ การเมืองวัฒนธรรมได้ทำงานอย่างเข้มข้น ทั้งผ่านพิธีกรรม ความเชื่อ การรักษาพยาบาล การต่อสู้กันของความรู้ใหม่เก่า การซุบซิบนินทา ไปจนถึงระบบราชการที่สยามนำเข้ามาใช้และปะทะขัดแย้งกับการเมืองวัฒนธรรมถิ่น อุบลวัณณาคือผู้หญิงคนหนึ่งที่มีชีวิตอยู่ท่ามกลางความไม่เข้ารูปเข้ารอยเหล่านี้จนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต และเรื่องราวของเธอได้กลายเป็นภาพแทนของตัวตนที่สร้างความไม่สบายใจให้กับทั้งเครือญาติและสยาม กระทั่งเมื่อความตายมาปิดฉากความกระอักกระอ่วนนี้ลงและคล้ายเป็นสัญญาณให้สยามเร่งปฏิรูปการเมืองการปกครองให้สำเร็จลงได้</p> วราภรณ์ เรืองศรี Copyright (c) 2023 วราภรณ์ เรืองศรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/thammasat_history/article/view/265658 Tue, 26 Dec 2023 00:00:00 +0700 “วัดเทียนถวาย” : ภูมิทัศน์วัฒนธรรม และแนวทางการพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อการเรียนรู้ชุมชนริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี https://so05.tci-thaijo.org/index.php/thammasat_history/article/view/265198 <p>วัดเทียนถวาย และชุมชนใกล้เคียงในตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี เป็นพื้นที่ที่มีภูมิทัศน์วัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ และสามารถพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชนริมแม่น้ำเจ้าพระยาได้ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ได้แก่ เพื่อศึกษาบริบททั่วไปเชิงพื้นที่ ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น บทบาทหน้าที่ของวัดเทียนถวาย และชุมชนใกล้เคียง เพื่อศึกษาภูมิทัศน์วัฒนธรรม และเพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนาวัดเทียนถวาย และพื้นที่ใกล้เคียงในตำบลบ้านใหม่ให้เป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อการเรียนรู้ของชุมชนริมแม่น้ำเจ้าพระยา จังหวัดปทุมธานี โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่า วัด และชุมชน มีความสัมพันธ์กับแม่น้ำเจ้าพระยามาตั้งแต่อดีต ผ่านตำนานเรื่องเล่าพระเจ้าอู่ทองหนีโรคห่า ในสมัยพระเจ้าอู่ทอง ด้วยที่ตั้งที่อยู่ติดแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้ปรากฏภูมิทัศน์วัฒนธรรมของการปรับตัว การควบคุม และการต่อสู้กับสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ดังนั้นวัดเทียนถวายจึงสามารถใช้ภูมิทัศน์วัฒนธรรมให้เป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อการเรียนรู้ชุมชนริมแม่น้ำเจ้าพระยาได้</p> ทรงชัย ทองปาน, สุปาณี พัดทอง Copyright (c) 2023 ทรงชัย ทองปาน, สุปาณี พัดทอง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/thammasat_history/article/view/265198 Tue, 26 Dec 2023 00:00:00 +0700 บทบาทของประชาชนในประวัติศาสตร์การพัฒนาเมือง กรณีศึกษา อำเภอบางขุนเทียนระหว่างทศวรรษ 2480-2520 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/thammasat_history/article/view/268070 <p>บทความวิจัยนี้มุ่งเน้นศึกษาบทบาทของประชาชนในประวัติศาสตร์การพัฒนาเมือง กรณีศึกษาอำเภอบางขุนเทียนระหว่างทศวรรษ 2480-2520 โดยการพัฒนาเมืองที่เกิดขึ้นก่อนทศวรรษ 2480 ล้วนมาจากนโยบายหรือผลประโยชน์ของภาคราชการและรัฐบาลเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นการพัฒนาที่ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ ทำให้การพัฒนาที่เกิดขึ้นไม่สอดคล้องกับความต้องการของคนในพื้นที่และสภาพแวดล้อม จากการศึกษาพบว่า ประชาชนในอำเภอบางขุนเทียนเริ่มมีส่วนร่วมในการพัฒนาเมืองตั้งแต่หลัง พ.ศ. 2475 จากการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ได้รับการศึกษาสมัยใหม่ ทำให้ประชาชนในท้องที่อำเภอบางขุนเทียนเริ่มสนใจการพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง ต่อมาเมื่อล่วงเข้าทศวรรษ 2500 ยุคสมัยแห่งการพัฒนาประเทศไทย ประชาชนบางขุนเทียนก็ตอบสนองเข้ากับยุคสมัย ด้วยการพัฒนาบ้านเกิดของตนผ่านการสร้างถนน การสร้างสถานที่ราชการใหม่ เพื่อยกระดับชีวิตและโอกาสทางเศรษฐกิจมากขึ้น</p> ธนกร ศิริสุขวัฒนา, โดม ไกรปกรณ์ Copyright (c) 2023 ธนกร ศิริสุขวัฒนา, โดม ไกรปกรณ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/thammasat_history/article/view/268070 Tue, 26 Dec 2023 00:00:00 +0700 สำนักงานปุ๋ย เทศบาลนครกรุงเทพ : ประวัติศาสตร์การจัดการขยะมูลฝอยในกรุงเทพ ปลายทศวรรษ 2490 ถึงทศวรรษ 2510 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/thammasat_history/article/view/263572 <p>บทความชิ้นนี้ศึกษาพัฒนาการของสำนักงานปุ๋ย เทศบาลนครกรุงเทพ ช่วงปลายทศวรรษ 2490 ถึงทศวรรษ 2510 เพื่อทำความเข้าใจพัฒนาการของการจัดการขยะมูลฝอยในกรุงเทพโดยอาศัยเทคโนโลยี จากการศึกษาพบว่า สำนักงานปุ๋ย เทศบาลนครกรุงเทพ มีจุดแรกเริ่มมาจากความพยายามแก้ปัญหาขยะมูลฝอยที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนในเขตเมืองที่ขยายมาแวดล้อมสถานที่เทขยะของเทศบาลนครกรุงเทพ การร้องเรียนจากประชาชนมีส่วนกระตุ้นให้เกิดการแก้ปัญหาขยะมูลฝอยโดยอาศัยเทคโนโลยี ด้วยการมองขยะมูลฝอยเป็นทรัพยากร และได้รับแรกผลักดันจากรัฐบาลที่ตระหนักถึงแรงกดดันจากประชาชนในปลายทศวรรษ 2490 จนมีโครงการทดลองและก่อสร้างโรงงานขนาดใหญ่ขึ้น อย่างไรก็ตาม โรงงานดังกล่าวไม่สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้ข้อจำกัดทางเทคโนโลยี องค์ประกอบของขยะมูลฝอยในกรุงเทพ และที่สำคัญคือ ปัจจัยทางการเมืองในทศวรรษ 2500 ได้ส่งผลให้เกิดการแทรกแซงการบริหารงานเทศบาล และกระทบต่อการดำเนินการของโรงงานปุ๋ยนำไปสู่ความล้มเหลวของโครงการดังกล่าว</p> วิภพ หุยากรณ์ Copyright (c) 2023 วิภพ หุยากรณ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/thammasat_history/article/view/263572 Tue, 26 Dec 2023 00:00:00 +0700 กองบรรณาธิการ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/thammasat_history/article/view/269817 <p>-</p> กองบรรณาธิการ วารสารประวัติศาสตร์ มธ Copyright (c) 2023 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/thammasat_history/article/view/269817 Tue, 26 Dec 2023 00:00:00 +0700