วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/tulawjournal <p><strong>วัตถุประสงค์</strong></p> <p>คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดพิมพ์ “วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์” ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการด้านนิติศาสตร์หรือความรู้ที่เกี่ยวข้องกับทางนิติศาสตร์ซึ่งมีเนื้อหาสาระที่น่าสนใจและ มีคุณค่าทั้งในด้านทฤษฎีและปฏิบัติ ในรูปแบบของวารสารทางวิชาการ อีกทั้งเป็นการส่งเสริมให้บุคคล ทั้งภายในและภายนอกสามารถนำเสนอผลงานทางวิชาการเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่สู่สาธารณะได้อีกด้วย</p> <p><strong>กำหนดการตีพิมพ์</strong></p> <p>การจัดพิมพ์วารสารนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์จะจัดพิมพ์ปีละ 4 ครั้ง ราย 3 เดือน ดังนี้</p> <p>ฉบับที่ 1 เดือน มกราคม - มีนาคม<br />ฉบับที่ 2 เดือน เมษายน - มิถุนายน<br />ฉบับที่ 3 เดือน กรกฎาคม - กันยายน<br />ฉบับที่ 4 เดือน ตุลาคม - ธันวาคม</p> คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ th-TH วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2985-2633 <p>ผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และวารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สงวนสิทธิในการเผยแพร่ผลงานที่ตีพิมพ์ในแบบรูปเล่มและทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นใด<br>บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารนิติศาสตร์เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนโดยเฉพาะ&nbsp; คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ</p> ส่วนหน้า https://so05.tci-thaijo.org/index.php/tulawjournal/article/view/274062 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ Copyright (c) 2024 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 53 2 (เมษายน - มิถุนายน 2567) ข้อสังเกตเกี่ยวกับแหล่งที่มาของบทกฎหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/tulawjournal/article/view/270600 ไชยพัฒน์ ธรรมชุตินันท์ Copyright (c) 2024 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 53 2 (เมษายน - มิถุนายน 2567) 668 695 การทำให้รัฐประหารหมดไปด้วยมาตรการทางกฎหมายและการเปลี่ยนบรรทัดฐานของศาลไทย https://so05.tci-thaijo.org/index.php/tulawjournal/article/view/268891 <p>“การยึดอำนาจเป็นสิ่งที่ทำได้ ถ้าทำสำเร็จ” เป็นกติกาที่ประเทศไทยใช้มาตั้งแต่สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้น เป็น “รัฐธรรมนูญจารีต” หรือรัฐธรรมนูญที่ไม่ได้บัญญัติ (uncodified constitution) ของประเทศไทย ซึ่งต้องสิ้นสภาพบังคับไปเมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรหรือรัฐธรรมนูญบัญญัติ (codified constitution) ทว่าแม้ประเทศไทยจะได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรในปี พ.ศ. 2475 แล้ว รัฐธรรมนูญจารีตที่กำหนดว่า การยึดอำนาจเป็นสิ่งที่ทำได้ ถ้าทำสำเร็จ กลับยังคงมีสถานะบังคับใช้ในประเทศไทยมาจนปัจจุบัน ทำให้มีรัฐประหารถึง 13 ครั้ง และมีรัฐธรรมนูญมากถึง 20 ฉบับ และการทำรัฐประหารจะไม่หมดไปจากประเทศไทยตราบใดที่รัฐธรรมนูญจารีตฉบับนี้ยังใช้บังคับอยู่</p> <p>เพื่อยกเลิกรัฐธรรมนูญจารีตฉบับนี้ สิ่งที่ต้องเปลี่ยนคือบรรทัดฐานของศาลฎีกาที่ได้ตัดสินไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2496 ว่าการรัฐประหารสามารถ “ทำได้” หาก “ทำสำเร็จ” แต่ลำพังเพียงเรียกร้องให้ศาลเปลี่ยนบรรทัดฐาน มิใช่แนวทางที่จะได้ผล เนื่องจากคณะรัฐประหารได้พัฒนาวิธีการรับรองการยึดอำนาจให้ชอบด้วยกฎหมายมากขึ้นเรื่อย ๆ จึงจำเป็นต้องแยกแยะสถานะความชอบด้วยกฎหมายของประกาศและคำสั่งคณะรัฐประหารคณะต่าง ๆ เสียก่อน ซึ่งสรุปได้ว่า มีเฉพาะการทำรัฐประหารครั้งล่าสุดคือ รัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 เท่านั้น ที่รัฐธรรมนูญที่รับรองยังใช้บังคับอยู่ และโดยที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 279 รับรองเพียงประกาศ คำสั่ง และการกระทำของ คสช. หาได้รับรองการทำรัฐประหารก่อนหน้านี้ไม่ รัฐประหารก่อนหน้านี้จึงไม่มีรัฐธรรมนูญรองรับอีกต่อไป ดังนั้น หากมีคดีในศาลที่ใช้ประกาศหรือคำสั่งคณะรัฐประหารก่อนหน้า คสช. บังคับแก่คดี ศาลย่อมสามารถวินิจฉัยให้ประกาศและคำสั่งคณะรัฐประหารเหล่านั้นสิ้นสภาพบังคับได้ทันที ซึ่งจะเปลี่ยนบรรทัดฐานของศาล<br />ที่จะไม่ยอมรับการทำรัฐประหารอีกต่อไป โดยต้องทำ <em>ก่อน</em> รัฐประหารครั้งต่อไป เพื่อป้องกันไม่ให้มีรัฐประหารอีก สำหรับประกาศและคำสั่งของ คสช. นั้น ต้องถือว่ารัฐธรรมนูญรับรองในทาง <em>รูปแบบ </em>ว่าเป็นกฎหมาย แต่มิได้เป็นการรับรองโดยอัตโนมัติว่า <em>เนื้อหา</em> ชอบด้วยรัฐธรรมนูญด้วย ดังนั้น ประกาศและคำสั่งของ คสช. ก็อาจมีเนื้อหาที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือขัดต่อกฎหมายที่อยู่ในอำนาจ<br />ฝ่ายตุลาการที่จะวินิจฉัยได้</p> <p>พร้อมกันนี้ยังต้องมีมาตรการอื่น ๆ ไปพร้อมกันด้วยคือ ยกเลิกมาตรา 279 และการทำให้ประกาศและคำสั่งของคณะรัฐประหารทั้งหมดที่ยังใช้บังคับอยู่หมดไปจากระบบกฎหมายของประเทศไทย นอกจากนี้ยังต้องมีบทบัญญัติป้องกันการรัฐประหารที่ได้ผลอย่างแท้จริง รวมถึงควรต้องสร้างรัฐธรรมนูญจารีตฉบับใหม่ไปพร้อมกันด้วยว่า การทำรัฐประหารและการรับรองการรัฐประหารเป็นสิ่งที่ทำไม่ได้ในประเทศไทยอีกต่อไป โดยใช้กระบวนการ “สัญญาประชาคม” ของฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง การทำรัฐประหารจึงจะหมดไปจากประเทศไทยได้</p> ปริญญา เทวานฤมิตรกุล Copyright (c) 2024 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 53 2 (เมษายน - มิถุนายน 2567) 359 400 การกำหนดให้มีมาตรการพิเศษสำหรับการสอบปากคำผู้เสียหายที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาในประเทศไทย : กรณีศึกษาจากพัฒนาการทางกฎหมายของสหราชอาณาจักร (อังกฤษและเวลส์) และประเทศนอร์เวย์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/tulawjournal/article/view/269384 <p>บทความวิจัยฉบับนี้มุ่งศึกษาเรื่องการสอบปากคำผู้เสียหายที่เป็นผู้ที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ปัจจุบัน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของประเทศไทยไม่ได้กำหนดให้มีมาตรการพิเศษสำหรับการสอบปากคำของผู้เสียหายที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาไว้เป็นพิเศษ อย่างไรก็ดี ประเทศไทยมีการกำหนดมาตรการพิเศษสำหรับการสอบปากคำผู้เสียหายที่เป็นเด็กและสตรี</p> <p>ดังนั้น วัตถุประสงค์หลักของบทความวิจัยนี้คือการเสนอกฎหมายและแนวปฏิบัติสำหรับการกำหนดมาตรการพิเศษสำหรับการสอบปากคำของผู้เสียหายที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาในประเทศไทย โดยการวิเคราะห์เปรียบเทียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับมาตรการพิเศษสำหรับการสอบปากคำของผู้เสียหายที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา รวมถึงนโยบายและแนวปฏิบัติในสหราชอาณาจักร (อังกฤษและเวลส์) และประเทศนอร์เวย์ โดย บทความวิจัยฉบับนี้เสนอให้มี<br />การบัญญัติ มาตรา 133 จตุ ขึ้น ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์สำหรับการสอบปากคำของผู้เสียหายที่มีความบกพร่องทางสติปัญญารวมถึงเงื่อนไขในการใช้มาตรการพิเศษฯ ดังกล่าว</p> ญาดา เดชชัย เธียรประสิทธิ์ Copyright (c) 2024 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 53 2 (เมษายน - มิถุนายน 2567) 401 439 ความสอดคล้องของมาตรการคว่ำบาตรบริษัทอัญมณีจากสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาของสหรัฐอเมริกาภายใต้พันธกรณีขององค์การการค้าโลก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/tulawjournal/article/view/269832 <p>บทความนี้เป็นการสรุปผลส่วนหนึ่งจากงานวิจัยในเชิงนิติเศรษฐศาสตร์ เรื่อง ความสอดคล้องของมาตรการคว่ำบาตรบริษัทอัญมณีจากสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาของสหรัฐอเมริกา ภายใต้พันธกรณีขององค์การการค้าโลก : นัยต่อการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับจากไทยไปยังสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลการศึกษาเกี่ยวกับมาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ ต่อบริษัทอัญมณีจากสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย และเน้นการวิเคราะห์ความสอดคล้องของมาตรการดังกล่าว ภายใต้กรอบพันธกรณีขององค์การการค้าโลก (World Trade Organization)</p> <p>จากการศึกษาพบว่า มาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ มีแนวโน้มขัดต่อพันธกรณีภายใต้ความตกลงทั่วไป ว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า (GATT) เนื่องจากเป็นการเลือกประติบัติ (discrimination) ที่ขัดกับหลักการชาติ ที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่ง (MFN Principle) และมีผลเป็นมาตรการจำกัดปริมาณ ซึ่งขัดกับพันธกรณีในมาตรา XI ของความตกลง GATT แต่สหรัฐฯ อาจอ้างข้อยกเว้นว่าด้วยมาตรการที่จำเป็นต่อการปกป้องผลประโยชน์ด้านความมั่นคงของชาติ (National security) ได้ ดังนั้นสหรัฐฯ จึงมีแนวโน้มที่จะคงไว้ซึ่งมาตรการคว่ำบาตรดังกล่าวต่อไป </p> <p>เมื่อเป็นเช่นนี้ รัฐบาลไทยควรเจรจากับสหรัฐฯ เพื่อชี้ให้เห็นว่า แม้มาตรการดังกล่าวจะมีความสอดคล้องกับพันธกรณีขององค์การการค้าโลก ทว่ามาตรการดังกล่าวได้ก่อให้เกิดอุปสรรคทางการค้าโดยไม่จำเป็นต่อประเทศไทยมากกว่าสร้างแรงกดดันต่อรัฐบาลทหารเมียนมาซึ่งเป็นวัตถุประสงค์หลักของมาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ และในขณะเดียวกันรัฐบาลและผู้ประกอบการไทยควรดำเนินการในลักษณะอื่น ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาในระยะยาวไปพร้อม ๆ กันด้วย</p> จารุประภา รักพงษ์ Copyright (c) 2024 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 53 2 (เมษายน - มิถุนายน 2567) 440 469 หลักเกณฑ์การพิจารณาเหตุอันมีสภาพร้ายแรงอันอาจทำให้การพิจารณาทางปกครองไม่เป็นกลาง https://so05.tci-thaijo.org/index.php/tulawjournal/article/view/265971 <p>การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และหลักกฎหมายเกี่ยวกับหลักความเป็นกลางในฐานะหลักกฎหมายทั่วไป ในกรณีเหตุอันมีสภาพร้ายแรงอันอาจทำให้การพิจารณาทางปกครองไม่เป็นกลางในระบบกฎหมายไทย ระบบกฎหมายอังกฤษ ระบบกฎหมายฝรั่งเศส ระบบกฎหมายเยอรมัน โดยทำการสังเคราะห์การตีความและการวินิจฉัยเหตุอันมีสภาพร้ายแรงอันอาจทำให้การพิจารณาทางปกครองไม่เป็นกลางตามคำพิพากษาของศาล ความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา และความเห็นของคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเสนอหลักเกณฑ์และแนวทางการพิจารณาเหตุอันมีสภาพร้ายแรง อันอาจทำให้การพิจารณาทางปกครองของเจ้าหน้าที่และกรรมการในคณะกรรมการที่มีอำนาจพิจารณาทางปกครองไม่เป็นกลาง</p> <p>ผลการศึกษาพบลักษณะของเหตุอันมีสภาพร้ายแรงอันอาจทำให้การพิจารณาทางปกครองไม่เป็นกลางใน 7 ลักษณะ ได้แก่ 1) กรณีเจ้าหน้าที่เป็นผู้ที่มีทัศนะเป็นปฏิปักษ์กับเรื่องที่จะทำการพิจารณาหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง 2) กรณีเจ้าหน้าที่กำลังมีหรือเคยมีคดีพิพาทหรือข้อขัดแย้งกับคู่กรณี 3) กรณีเจ้าหน้าที่เคยแสดงความคิดเห็นต่อสาธารณชนในเรื่องที่จะทำการพิจารณา 4) กรณีเจ้าหน้าที่ซึ่งมีส่วนร่วมพิจารณาทางปกครองในหลายขั้นตอน 5) กรณีเจ้าหน้าที่เป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการกระทำที่เป็นข้อเท็จจริงที่ใช้ในการพิจารณาทางปกครองนั้น 6) กรณีเจ้าหน้าที่รับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากคู่กรณี และ 7) กรณีเจ้าหน้าที่มีความขัดแย้งกันในอำนาจหน้าที่หรือขัดแย้งกันในบทบาทหน้าที่ ดังนั้น เพื่อความชัดเจนในการปฏิบัติราชการของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองจึงควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 โดยกำหนดบทนิยามคำว่า “เหตุอันมีสภาพร้ายแรงอันอาจทำให้การพิจารณาทางปกครองไม่เป็นกลาง” เป็นความในวรรคสี่ ของมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 โดยให้หมายความรวมถึงลักษณะของเหตุอันมีสภาพร้ายแรงอันอาจทำให้การพิจารณาทางปกครองไม่เป็นกลางทั้ง 7 ลักษณะข้างต้น รวมทั้งแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติมาตราดังกล่าวให้สามารถตราพระราชกฤษฎีกาตามข้อเสนอของคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาเหตุอันมีสภาพร้ายแรงอันอาจทำให้การพิจารณาทางปกครองทั้ง 7 ลักษณะสำหรับเป็นแนวทางที่เป็นรูปธรรมในการปฏิบัติราชการของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง และในบทบัญญัติดังกล่าวควรให้อำนาจในการตราพระราชกฤษฎีกาตามข้อเสนอของคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองเพื่อกำหนดลักษณะของเหตุอันมีสภาพร้ายแรงอันอาจทำให้การพิจารณาทางปกครองไม่เป็นกลางเพิ่มเติมจาก 7 ลักษณะดังกล่าวได้ด้วย ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาหลักกฎหมายว่าด้วยความไม่เป็นกลางทางอัตตะวิสัยอย่างต่อเนื่อง และสอดคล้องกับบริบททางสังคมวิทยากฎหมายของประเทศไทย</p> ปภาณภณ ปภังกรภูรินท์ Copyright (c) 2024 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 53 2 (เมษายน - มิถุนายน 2567) 470 518 หลักหน้าที่และอำนาจทั่วไปขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเทศฝรั่งเศส และแนวทางการปรับใช้ในประเทศไทย https://so05.tci-thaijo.org/index.php/tulawjournal/article/view/269639 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักหน้าที่และอำนาจทั่วไปขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของประเทศฝรั่งเศส เป็นงานศึกษาเชิงเอกสาร ผ่านการค้นคว้าทั้งเอกสารปฐมภูมิทางกฎหมาย ได้แก่ บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส รัฐบัญญัติ รวมถึงกฎหมายลำดับรองที่เกี่ยวข้อง และเอกสารทุติยภูมิทางกฎหมายทั้งของต่างประเทศและของไทย ได้แก่ คำวินิจฉัยของศาล หนังสือและตำราทางนิติศาสตร์ และรายงานของหน่วยงานราชการ รวมถึงองค์กรระหว่างประเทศ เพื่อวิเคราะห์ความสำคัญของหลักหน้าที่และอำนาจทั่วไปที่มีต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของประเทศฝรั่งเศส เพื่อนำไปสู่การให้ข้อเสนอแนะบางประการในการนำหลักการดังกล่าวมาปรับใช้ในระบบกฎหมายไทย การศึกษาพบว่า หลักการดังกล่าวทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจในการดำเนินการจัดทำบริการสาธารณะภายในพื้นที่รับผิดชอบได้ แม้จะไม่มีกฎหมายระบุให้อำนาจไว้เป็นการเฉพาะ อันจะทำให้การจัดทำบริการสาธารณะมีความสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น ปัจจุบันระบบกฎหมายของประเทศฝรั่งเศสกำหนดให้เทศบาลเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบเดียวที่มีหลักหน้าที่และอำนาจทั่วไป นอกจากนี้ศาลปกครองฝรั่งเศสได้กำหนดกรอบเงื่อนไขในการใช้หลักการดังกล่าว ทั้งนี้การใช้หลักหน้าที่และอำนาจทั่วไปจะต้องตอบสนองต่อประโยชน์สาธารณะของท้องถิ่น ไม่เป็นการก้าวล่วงการจัดทำบริการสาธารณะของหน่วยงานของรัฐอื่น หน้าที่และอำนาจอยู่ในเขตพื้นที่ของท้องถิ่น มีความเป็นกลาง และเคารพเสรีภาพในการดำเนินธุรกิจและอุตสาหกรรมของเอกชน ในกรณีของประเทศไทยร่องรอยข้อความคิดว่าด้วยหน้าที่และอำนาจทั่วไปขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นปรากฏทั้งในงานวิชาการ บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญในอดีต รวมถึงในคำพิพากษาของศาล ดังนั้น เพื่อแก้ไขปัญหาช่องว่างทางกฎหมายเกี่ยวกับการจัดทำบริการสาธารณะโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ยืดหยุ่นและเหมาะสม จึงเสนอให้มีการเพิ่มเติมหลักหน้าที่และอำนาจทั่วไปขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยรับรองให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในระดับที่เล็กหรือใกล้ชิดกับประชาชนที่สุดมีหน้าที่และอำนาจทั่วไปในการจัดทำบริการสาธารณะในพื้นที่นั้น</p> ณัฐวุฒิ คล้ายขำ อริย์ธัช บุญถึง Copyright (c) 2024 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 53 2 (เมษายน - มิถุนายน 2567) 519 548 ความสัมพันธ์ทางทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสภายใต้กฎหมายครอบครัวของประเทศไทยกับหลักกฎหมายของคณะกรรมาธิการกฎหมายครอบครัวยุโรป https://so05.tci-thaijo.org/index.php/tulawjournal/article/view/269746 <p>โดยทั่วไป ความสัมพันธ์ทางทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสย่อมเป็นไปตามระบบทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสภายใต้กฎหมายครอบครัว แต่คู่สมรสอาจทำสัญญาเพื่อกำหนดความสัมพันธ์ทางทรัพย์สินระหว่างกันได้ ความสัมพันธ์ทางทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสจึงมีบ่อเกิดจากกฎหมายและสัญญา กฎหมายครอบครัวแต่ละประเทศได้กำหนดหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องโดยคำนึงถึงระบบกฎหมายและปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องซึ่งส่งผลให้เกิดความแตกต่างของหลักเกณฑ์ดังกล่าว คณะกรรมาธิการกฎหมายครอบครัวยุโรปจึงจัดทำหลักกฎหมายครอบครัวเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสเพื่อแสดงให้เห็นถึงจุดร่วมกันและแนวทางที่เหมาะสมสำหรับการกำหนดความสัมพันธ์ทางทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส เมื่อพิจารณาจากกระบวนการร่างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของประเทศไทย บรรพ 5 จะพบว่าระบบทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสของประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากหลายประเทศในยุโรป หลักกฎหมายครอบครัวเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสของคณะกรรมาธิการกฎหมายครอบครัวยุโรป (the Commission on European Family Law) จึงเป็นหลักกฎหมายที่มีความเหมาะสมเพื่อเปรียบเทียบและใช้เป็นแนวทางในการกำหนดความสัมพันธ์ทางทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสของประเทศไทยในอนาคต</p> วิมพัทธ์ ราชประดิษฐ์ Copyright (c) 2024 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 53 2 (เมษายน - มิถุนายน 2567) 549 577 การพัฒนาพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 เพื่อความมั่นคงทางพลังงานและการมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/tulawjournal/article/view/269923 <p>เนื่องจากพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 ยังมีข้อจำกัดในการสร้างความมั่นคงทางพลังงานของประเทศเพราะมีบทบัญญัติซึ่งจำกัดการต่อระยะเวลาการผลิตปิโตรเลียม รวมทั้งขาดบทบัญญัติเพื่อป้องกันการหยุดชะงักของการผลิตหากมีการเปลี่ยนตัวผู้ประกอบกิจการ ขาดบทบัญญัติเพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการปิโตรเลียมเข้าถึงพื้นที่เพื่อประกอบกิจการปิโตรเลียมได้โดยสะดวก ขาดบทบัญญัติเพื่อสร้างแรงจูงใจและส่งเสริมการลงทุนในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมเพราะความไม่ชัดเจนในการลดหย่อนค่าภาคหลวงในบางกรณี รวมทั้งยังขาดบทบัญญัติเพื่อช่วยให้การประกอบกิจการมีต้นทุนต่ำลงด้วยการใช้สิ่งติดตั้งของผู้ประกอบกิจการรายอื่น กับทั้งยังมีบทบัญญัติที่ขาดความชัดเจนในการเรียกเก็บค่าตอบแทนการเข้าถึงพื้นที่ จึงเป็นภาระแก่ผู้ประกอบกิจการปิโตรเลียมมากเกินสมควร นอกจากนี้ การที่กฎหมายกำหนดให้ผู้ประกอบกิจการปิโตรเลียมต้องวางหลักประกันการรื้อถอนสิ่งติดตั้งในช่วงท้ายของการประกอบกิจการโดยมิได้หักเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อคำนวณภาระภาษีตามพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 ได้ย่อมเป็นภาระแก่ผู้ประกอบการและมีความเสี่ยงที่ผู้ประกอบกิจการจะไม่วางหลักประกัน นอกจากนี้ ยังขาดฐานทางกฎหมายที่ชัดเจนในการออกมาตรการบังคับทางปกครอง และมีระวางโทษทางอาญาที่ไม่อาจป้องปรามการกระทำความผิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงไม่มีบทบัญญัติสำหรับการกำกับดูแลการประกอบกิจการสำรวจเพื่อค้นหาแหล่งกักเก็บคาร์บอนและการอัดคาร์บอนลงในโครงสร้างกักเก็บทางธรณีวิทยา ดังนั้น เพื่อแก้ไขข้อจำกัดดังกล่าวคณะผู้วิจัยจึงได้จัดทำข้อเสนอในการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 ขึ้นโดยมีสาระสำคัญตามประเด็นดังต่อไปนี้ ได้แก่ การสร้างความต่อเนื่องในการประกอบกิจการปิโตรเลียม การบูรณาการในการใช้อำนาจกำกับดูแลเพื่อให้เข้าถึงพื้นที่ในการประกอบกิจการปิโตรเลียม การส่งเสริมการลงทุนเพื่อสำรวจและผลิตปิโตรเลียม การจัดให้มีบัญชีเพื่อการรื้อถอนสิ่งติดตั้งเพื่อประกอบกิจการปิโตรเลียม การปรับปรุงและยกเลิกบทกำหนดโทษทางอาญา และการกำกับดูและการประกอบกิจการสำรวจเพื่อค้นหาแหล่งกักเก็บคาร์บอนและอัดคาร์บอนลงในแหล่งกักเก็บซึ่งเป็นโครงสร้างทางธรณีวิทยา</p> ปิติ เอี่ยมจำรูญลาภ ณัชพล จิตติรัตน์ บุญญภัทร์ ชูเกียรติ Copyright (c) 2024 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 53 2 (เมษายน - มิถุนายน 2567) 578 622 มุมมองใหม่ต่อการกระทำทางรัฐบาลในประเทศไทย : ศึกษาผ่านประวัติศาสตร์กฎหมายรัฐธรรมนูญ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/tulawjournal/article/view/270159 <p>บทความฉบับนี้มุ่งนำเสนอให้เห็นถึงความไม่สอดคล้องกันระหว่างทฤษฎีการกระทำทางรัฐบาลซึ่งนำเสนอโดยนักวิชาการและการปรับใช้ทฤษฎีดังกล่าวโดยศาลรัฐธรรมนูญและศาลปกครองของประเทศไทย ความไม่สอดคล้องที่เกิดขึ้นนี้ก่อให้เกิดปัญหาความไม่แน่นอนในการปรับใช้หลักกฎหมาย บทความนี้ยังมุ่งอาศัยความไม่สอดคล้องที่ได้กล่าวมาเพื่อแสดงให้เห็นถึงข้อจำกัดของวิธีการศึกษาการกระทำทางรัฐบาลแบบปทัสถานนิยม โดยเฉพาะปัญหาความเป็นอพลวัต สืบเนื่องจากข้อจำกัดเช่นว่า ผู้เขียนจักอาศัยวิธีการวิจัยแบบรัฐธรรมนูญเปรียบเทียบเพื่อนำเสนอมุมมองใหม่่ของการกระทำทางรัฐบาลที่สอดคล้องกับภูมิทัศน์ทางรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของไทยที่แปรเปลี่ยนไปจากอดีตบนพื้นฐานของแนวคิด “ขั้นบันไดทางรัฐธรรมนูญ”</p> รวินท์ ลีละพัฒนะ ชมพูนุท ตั้งถาวร Copyright (c) 2024 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 53 2 (เมษายน - มิถุนายน 2567) 623 667