วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/tulawjournal <p><strong>วัตถุประสงค์</strong></p> <p>คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดพิมพ์ “วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์” ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการด้านนิติศาสตร์หรือความรู้ที่เกี่ยวข้องกับทางนิติศาสตร์ซึ่งมีเนื้อหาสาระที่น่าสนใจและ มีคุณค่าทั้งในด้านทฤษฎีและปฏิบัติ ในรูปแบบของวารสารทางวิชาการ อีกทั้งเป็นการส่งเสริมให้บุคคล ทั้งภายในและภายนอกสามารถนำเสนอผลงานทางวิชาการเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่สู่สาธารณะได้อีกด้วย</p> <p><strong>กำหนดการตีพิมพ์</strong></p> <p>การจัดพิมพ์วารสารนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์จะจัดพิมพ์ปีละ 4 ครั้ง ราย 3 เดือน ดังนี้</p> <p>ฉบับที่ 1 เดือน มกราคม - มีนาคม<br />ฉบับที่ 2 เดือน เมษายน - มิถุนายน<br />ฉบับที่ 3 เดือน กรกฎาคม - กันยายน<br />ฉบับที่ 4 เดือน ตุลาคม - ธันวาคม</p> th-TH <p>ผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และวารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สงวนสิทธิในการเผยแพร่ผลงานที่ตีพิมพ์ในแบบรูปเล่มและทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นใด<br>บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารนิติศาสตร์เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนโดยเฉพาะ&nbsp; คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ</p> tu.lawjournal@tu.ac.th (กัลยรัตน์ ม้วนทอง) tu.lawjournal@tu.ac.th (กัลยรัตน์ ม้วนทอง) Mon, 30 Sep 2024 19:06:25 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1378/2564 (สิทธิของบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองโดยพฤตินัยที่ดีกว่าบุตรชอบด้วยกฎหมาย) https://so05.tci-thaijo.org/index.php/tulawjournal/article/view/269005 ไชยพัฒน์ ธรรมชุตินันท์ Copyright (c) 2024 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/tulawjournal/article/view/269005 Mon, 30 Sep 2024 00:00:00 +0700 ส่วนหน้า https://so05.tci-thaijo.org/index.php/tulawjournal/article/view/275916 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ Copyright (c) 2024 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/tulawjournal/article/view/275916 Mon, 30 Sep 2024 00:00:00 +0700 ความหมายการรวมธุรกิจตามพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/tulawjournal/article/view/263073 <p>การรวมธุรกิจเป็นหนึ่งในพฤติกรรมที่ถูกควบคุมเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการผูกขาดและการค้าที่ไม่เป็นธรรมภายใต้พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอข้อสังเกตและปัญหาการตีความความหมายของการรวมธุรกิจตามพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 รวมทั้งได้เสนอแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว</p> กมลชัย เวทีบูรณะ Copyright (c) 2024 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/tulawjournal/article/view/263073 Mon, 30 Sep 2024 00:00:00 +0700 การแจ้งเตือนญาติผู้ป่วยเกี่ยวกับความผิดปกติทางพันธุกรรมของผู้ป่วย https://so05.tci-thaijo.org/index.php/tulawjournal/article/view/270835 <p>บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่รายงานการวิจัยที่กล่าวถึงข้อยกเว้นของหน้าที่ในการรักษาความลับสำหรับข้อมูลเกี่ยวกับความผิดปกติทางพันธุกรรมของผู้ป่วย &nbsp;&nbsp;โดยปกติแล้ว ข้อมูลเหล่านี้ไม่ควรถูกเปิดเผยเพื่อรักษาความเป็นส่วนตัวและป้องกันการตีตราผู้ป่วย หรือถูกเปิดเผยก็ต่อเมื่อผู้ป่วยให้ความยินยอม &nbsp;&nbsp;อย่างไรก็ตาม เนื่องจากข้อมูลทางพันธุกรรมของผู้ป่วยเชื่อมโยงกับผู้ที่มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิตกับผู้ป่วย ข้อมูลเหล่านี้จึงสามารถบ่งบอกถึงความเสี่ยงที่ญาติผู้ป่วยจะมีความผิดปกติทางพันธุกรรม&nbsp;&nbsp; ในมุมหนึ่ง การนำข้อมูลเหล่านี้ไปแจ้งเตือนญาติผู้ป่วยอาจเป็นประโยชน์ต่อญาติผู้ป่วย โดยเฉพาะในกรณีที่มีมาตรการในการป้องกันหรือบรรเทาอาการของความผิดปกตินั้น&nbsp;&nbsp; แต่ในทางกลับกัน การแจ้งเตือนในลักษณะนี้นอกจากจะรุกล้ำความเป็นส่วนตัวของผู้ป่วยแล้ว ยังอาจส่งผลกระทบทางลบต่อญาติผู้ป่วยด้วย โดยเฉพาะในกรณีที่ญาติผู้ป่วยไม่ต้องการรู้หรือไม่มีมาตรการในการรับมือกับความผิดปกตินั้น&nbsp;&nbsp; จึงเกิดคำถามว่า การแจ้งเตือนในลักษณะนี้ควรเกิดขึ้นหรือไม่หากผู้ป่วยมิได้ให้ความยินยอม การแจ้งเตือนในลักษณะนี้ควรเกิดขึ้นภายใต้เงื่อนไขอะไร และกฎหมายควรมีบทบาทในเรื่องนี้หรือไม่&nbsp;&nbsp; คำถามสำคัญของงานวิจัยฉบับนี้ คือ กฎเกณฑ์สำหรับการแจ้งเตือนญาติผู้ป่วยเกี่ยวกับความผิดปกติทางพันธุกรรมของผู้ป่วยควรมีลักษณะอย่างไรในประเทศไทย</p> <p>บทความนี้นำเนื้อหาส่วนใหญ่ของรายงานการวิจัยฉบับนี้มานำเสนอ โดยเลือกหัวข้อที่ผู้เขียนเห็นว่ามีประโยชน์สำหรับผู้อ่านในวงกว้างและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในทางปฏิบัติ&nbsp;&nbsp; บทความนี้แบ่งออกเป็น 3 ส่วน &nbsp;&nbsp;ส่วนแรกอธิบายข้อพิจารณาที่มักถูกนำมาใช้เพื่อตัดสินใจในการแจ้งเตือนญาติผู้ป่วยเกี่ยวกับความผิดปกติทางพันธุกรรมของผู้ป่วย &nbsp;&nbsp;ส่วนที่สองอธิบายกฎเกณฑ์ในเรื่องนี้ของต่างประเทศ โดยนำเสนอกฎเกณฑ์ทางกฎหมายของสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ประเทศออสเตรเลีย และประเทศฝรั่งเศส&nbsp;&nbsp; ส่วนสุดท้ายกล่าวถึงข้อเสนอของงานวิจัยฉบับนี้ โดยอธิบายว่ากฎเกณฑ์ในเรื่องนี้ควรมีลักษณะอย่างไรจึงเหมาะสมสำหรับประเทศไทย</p> <p>ส่วนสุดท้ายของบทความนี้อธิบายว่า สำหรับประเทศไทย การรักษาความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และผู้ป่วยมีความสำคัญ กฎเกณฑ์ในเรื่องนี้จึงควรอยู่บนพื้นฐานของการให้ความเคารพต่อผู้ป่วยด้วยการกำหนดให้ผู้ป่วยเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะมีการแจ้งเตือนญาติผู้ป่วยหรือไม่ &nbsp;&nbsp;แต่มีข้อยกเว้นว่า หากประโยชน์ที่ผู้ป่วยได้รับจากการแจ้งเตือนมีน้ำหนักมากกว่าการให้ความเคารพต่อผู้ป่วย การแจ้งเตือนญาติผู้ป่วยก็อาจเกิดขึ้นโดยปราศจากความยินยอมของผู้ป่วย &nbsp;&nbsp;จากแนวคิดพื้นฐานข้างต้น งานวิจัยฉบับนี้เสนอแนะว่ากฎเกณฑ์ของประเทศไทยควรกำหนดหน้าที่ทางกฎหมาย 3 ส่วน&nbsp; &nbsp;ส่วนแรกคือหน้าที่ในการบอกกล่าวผู้ป่วยก่อนที่ผู้ป่วยจะเข้ารับการทดสอบทางพันธุกรรมเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของการแจ้งเตือนญาติผู้ป่วย &nbsp;&nbsp;ส่วนที่สองคือหน้าที่ในการสนับสนุนให้ผู้ป่วยแจ้งเตือนญาติผู้ป่วยด้วยตนเอง เมื่อหน้าที่ทางกฎหมายในการแจ้งเตือนยังมิได้เกิดขึ้นแต่การแจ้งเตือนเป็นประโยชน์สำหรับญาติผู้ป่วย &nbsp;&nbsp;ส่วนสุดท้ายคือหน้าที่ในการแจ้งเตือนญาติผู้ป่วย ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อประโยชน์ที่ญาติผู้ป่วยได้รับจากการแจ้งเตือนมีมากและชัดเจนจนมีน้ำหนักมากกว่าผลกระทบทางลบที่เกิดจากการแจ้งเตือน</p> ตามพงศ์ ชอบอิสระ Copyright (c) 2024 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/tulawjournal/article/view/270835 Mon, 30 Sep 2024 00:00:00 +0700 ก้าวสำคัญในการพัฒนากฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคในการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย https://so05.tci-thaijo.org/index.php/tulawjournal/article/view/272290 <p>การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเพราะช่วยให้การเข้าถึงสินค้าและบริการเป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว และหลากหลาย ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิตของคนไทยไปอย่างสิ้นเชิงดังเช่นที่เกิดขึ้นทั่วโลก ทว่าบนโลกออนไลน์ ที่ไร้พรมแดนนี้ปัญหาต่าง ๆ มีเกิดขึ้นตามมาเป็นเงาตามตัว โดยเฉพาะปัญหาจากการที่ผู้บริโภคไทย ยังไม่ได้รับความคุ้มครองที่เหมาะสมและมีประสิทธิผล ดังนั้นประเทศไทยจึงจำเป็นจะต้องพัฒนากฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคในการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นการเฉพาะอย่างเร่งด่วน บทความวิจัยฉบับนี้ใช้การศึกษาทางเอกสารเพื่อศึกษากฎหมายไทยและปัญหาในทางปฏิบัติสาหรับการคุ้มครองผู้บริโภคในการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เปรียบเทียบกับหลักกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคตั้งแต่ระดับระหว่างประเทศทั้งองค์การสหประชาชาติและองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา ในระดับภูมิภาคทั้งสหภาพยุโรปและอาเซียน และในระดับประเทศ ได้แก่ ประเทศจีน ประเทศเกาหลีใต้ และประเทศญี่ปุ่น อีกทั้งได้วิเคราะห์และเสนอแนวทางที่ประเทศไทยควรเลือกดำเนินการต่อไป อันได้แก่การบัญญัติกฎหมายให้สิทธิผู้บริโภคในการได้รับข้อมูลก่อนเข้าทำสัญญาและสิทธิผู้บริโภค ในการบอกเลิกสัญญาเพื่อให้ผู้บริโภคไทยได้รับความคุ้มครองอย่างเป็นระบบและชัดเจน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ</p> จุฑามาศ ถิระวัฒน์ Copyright (c) 2024 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/tulawjournal/article/view/272290 Mon, 30 Sep 2024 00:00:00 +0700 ปัญหาวาทกรรม “ข่าวปลอม” กับการแพร่กระจายข้อมูลข่าวสารเท็จในสื่อออนไลน์ : มาตรการทางกฎหมายเพื่อควบคุมจัดการ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/tulawjournal/article/view/272742 <p>กระแสข่าวปลอม (Fake News) ยุคใหม่ที่มีจุดเริ่มมาจากการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาเมื่อปี ค.ศ. 2016 ทำให้นานาประเทศตระหนักว่าการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเท็จไม่ได้ส่งผลกระทบเพียงกับปัจเจกชนคนใดคนหนึ่งเช่นในอดีต หากแต่สามารถส่งผลต่อสังคม ระบบเศรษฐกิจ การเมือง ไปจนถึงระบอบประชาธิปไตยได้ และปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดผลลัพธ์นี้ก็คืออินเทอร์เน็ต และสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ที่ทำให้การส่งต่อและแบ่งปันข้อมูลข่าวสารทำได้รวดเร็วและกว้างขวางขึ้น ประเทศทั้งหลายต่างเร่งหามาตรการต่าง ๆ เพื่อจัดการกับการแพร่กระจายนี้ ซึ่งหมายรวมถึงมาตรการทางกฎหมาย ประเทศไทยเองก็ประสบปัญหานี้เช่นกัน โดยที่ผ่านมานอกจากการตั้งศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมโดยรัฐ และการสร้างเครือข่ายเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง (Fact Checking) โดยภาคประชาชนแล้ว ยังมีกระบวนการสร้างความรู้เท่าทันสื่อ (Media Literacy) ให้ประชาชนที่จัดขึ้นโดยองค์กรต่าง ๆ ด้วย อย่างไรก็ตาม ในแง่ของมาตรการทางกฎหมาย ยังคงมีปัญหาว่าประเทศไทยมีกฎหมายที่ใช้จัดการกับการแพร่กระจายของข้อมูลเท็จในสื่อออนไลน์โดยเฉพาะหรือไม่ อย่างไร ถ้ามีอยู่แล้ว กฎหมายนั้นมีประสิทธิภาพเพียงใด หรือมีประเด็นใดที่รัฐต้องคำนึงถึง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าการบังคับใช้กฎหมายนั้นอาจกระทบสิทธิเสรีภาพของประชาชน และเสรีภาพสื่อในการเสนอข่าวสารบนสื่อออนไลน์</p> <p>จากการศึกษาพบว่า หลายประเทศยังคงเลือกใช้มาตรการทางวิชาชีพในการสร้างมาตรฐานเพื่อ “กำกับดูแลกันเอง” “เครือข่ายตรวจสอบข้อเท็จจริง” หรือการสร้าง “ความรู้เท่าทันสื่อ” มากกว่าการใช้กฎหมายที่เข้มข้นแต่คลุมเครือ แต่ก็มีบางประเทศที่ตรากฎหมายใหม่หรือแก้ไขกฎหมายเดิมเพื่อการณ์นี้ โดยนอกจากกำหนดให้ผู้เผยแพร่ข้อมูลเท็จและผู้เกี่ยวข้องมีความรับผิดแล้ว ยังมีวิธีจัดการข้อมูลที่หลากหลายทั้งการปิดกั้นการเข้าถึง กำหนดให้ผู้ให้บริการลบข้อมูล ระงับการใช้บัญชีออนไลน์ กระทั่งการประกาศเตือนผู้ใช้ว่าพื้นที่ใดมีการเผยแพร่ข้อมูลเท็จบ่อยครั้ง สำหรับประเทศไทยนั้น ปัจจุบัน พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มีข้อบทเพื่อจัดการข้อมูลเท็จในสื่อออนไลน์บัญญัติไว้อยู่แล้ว แต่ยังมีปัญหาหลายประการ อาทิ ไม่มีนิยามคำว่าข้อมูลเท็จ วิธีการจัดการไม่หลากหลาย รวมทั้งความไม่สมดุลระหว่างการควบคุมข้อมูลเท็จกับการคุ้มครองเสรีภาพประชาชน ซึ่งควรได้รับการปรับปรุงแก้ไขตั้งแต่การกาหนดกรอบการตีความ คาว่าข้อมูลเท็จ เพิ่มเติมหรือปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการกับข้อมูลเหล่านั้น ไปจนถึงการบัญญัติข้อบทเพื่อจัดการข้อมูลเท็จไว้ในกฎหมายเฉพาะเรื่องแทนที่จะจัดการข้อมูลเท็จทุกเรื่องด้วยกฎหมายฉบับเดียวแบบปัจจุบัน ซึ่งสุ่มเสี่ยงต่อการถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง หรือละเมิดเสรีภาพของประชาชนมากเกินไป</p> สาวตรี สุขศรี Copyright (c) 2024 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/tulawjournal/article/view/272742 Mon, 30 Sep 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาเปรียบเทียบการพิจารณาปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหาข้อกฎหมายในกฎหมายไทยและกฎหมายฝรั่งเศส https://so05.tci-thaijo.org/index.php/tulawjournal/article/view/269408 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเปรียบเทียบการพิจารณาปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหาข้อกฎหมายในกฎหมายไทยและกฎหมายฝรั่งเศส ปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหาข้อกฎหมายสำคัญยิ่งในกระบวนการพิจารณาคดี ประการแรก เพราะเป็นตัวกำหนดภาระในการพิสูจน์พยานหลักฐานในคดี หากเป็นปัญหาข้อเท็จจริงคู่ความจะมีหน้าที่ในการนำพยานหลักฐานเข้าพิสูจน์ต่อศาล แต่หากเป็นปัญหาข้อกฎหมายศาลจะเป็นผู้หยิบยกประเด็นขึ้นมาว่ากล่าวในศาลแม้คู่ความจะมิได้ร้องขอเพราะถือว่าเป็นหน้าที่ของผู้พิพากษา อย่างไรก็ดี กฎหมายกำหนดให้ในบางกรณีผู้พิพากษาสามารถหยิบยกประเด็นใด ๆ ขึ้นมาพิจารณาได้เองแม้ว่าคู่ความมิได้ร้องขอโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกฎหมายฝรั่งเศส เพราะว่าปัญหาข้อกฎหมายถือว่าเป็นอำนาจของศาล นอกจากนี้ ในบางกรณีแม้ว่าข้อพิพาทจะเป็นปัญหาข้อเท็จจริงกฎหมายก็กำหนดว่าผู้พิพากษาสามารถหยิบยกประเด็นขึ้นมาพิจารณาได้แม้ว่าคู่ความจะไม่ได้ร้องขอโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกฎหมายฝรั่งเศส สิ่งที่สำคัญที่ควรเน้น คือ เรื่องของเส้นแบ่งระหว่างการที่กฎหมายห้ามมิให้ผู้พิพากษาพิจารณาเกินคำขอและการใช้อำนาจในกรณียกเว้นหรือในกรณีที่จำเป็นซึ่งกฎหมายกำหนดว่าผู้พิพากษาอาจใช้อำนาจหยิบยกบางประเด็นขึ้นมาพิจารณาเองได้แม้คู่ความมิได้ร้องขอ การศึกษานี้ช่วยให้ทราบถึงเกณฑ์ในการพิจารณาปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหาข้อกฎหมายทั้งในระบบกฎหมายไทยและฝรั่งเศส</p> <p>ประการที่สอง การศึกษาเปรียบเทียบการพิจารณาปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหาข้อกฎหมายมีความสำคัญอย่างยิ่งเพราะเป็นตัวกำหนดว่าข้อพิพาทจะสามารถอุทธรณ์ต่อศาลสูงได้หรือไม่ ในกฎหมายฝรั่งเศสเฉพาะปัญหาข้อกฎหมายเท่านั้นที่จะสามารถอุทธรณ์ต่อศาลสูงสุดได้ ส่วนกฎหมายไทยในปัจจุบันหลังจากมีการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จากระบบสิทธิเป็นระบบอนุญาต ทำให้มีความเข้มงวดในการคัดกรองคดีขึ้นสู่ศาลฎีกามากขึ้นโดยจะเน้นเฉพาะปัญหาข้อกฎหมายที่สามารถฎีกาได้ การแยกแยะระหว่างปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายอาจทำได้ง่ายในกรณีทั่วไป แต่ในบางกรณีการแยะแยกกลับทำได้ยากโดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่ประเด็นข้อพิพาทนั้นเป็นได้ทั้งปัญหาข้อกฎหมายและปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งในกรณีเช่นนี้กฎหมายฝรั่งเศสมีแนวคิดที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการศึกษาสำหรับนักกฎหมายไทย</p> ศุภกัญญา แข็งแรง Copyright (c) 2024 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/tulawjournal/article/view/269408 Mon, 30 Sep 2024 00:00:00 +0700 การเรียกเงินคืนตามหลักกรรมสิทธิ์ : ชาติพันธุ์วรรณาสะท้อนความกระอักกระอ่วนของสภาวะก่อนสมัยใหม่ของสยามภายใต้กฎหมายเอกชนสมัยใหม่ของไทย https://so05.tci-thaijo.org/index.php/tulawjournal/article/view/269533 <p>ชาติพันธุ์วรรณาฉบับนี้ต้องการอธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมที่ศาลยุติธรรมใช้หลักกรรมสิทธิ์ในการเรียกเงินคืนจากผู้ที่ไม่มีสิทธิได้รับเงินนั้นแทนที่จะใช้หลักลาภมิควรได้ นักกฎหมายสายวิชาการกลุ่มหนึ่งพยายามแสวงหาคำอธิบายในทางหลักการของกฎหมายมาอธิบายเพื่อรองรับการตัดสินเช่นนี้ของศาล แต่คำตอบไม่น่าพึงพอใจ คำถามตั้งต้นของงานวิชาการชิ้นนี้ คือ “เหตุใดศาลยุติธรรมจึงใช้หลักกรรมสิทธิ์ในการเรียกเงินคืน” งานวิชาการนี้เสนอคำตอบสองคำตอบ คือ (1) เป็นอิทธิพลของพุทธศาสนาเถรวาทหรือราชนิติธรรมที่เข้ามามีบทบาทแทรกแซงกฎหมายสมัยใหม่ และ (2) เป็นผลมาจากการแข่งขันกันระหว่างนักกฎหมายสายวิชาการและนักกฎหมายสายปฏิบัติที่ต้องการผูกขาดอำนาจในการตีความกฎหมายและช่วงชิงผู้เชื่อให้เป็นของตนเองแต่ไม่ว่าคำตอบจะเป็นเช่นใด กระบวนการยุติธรรมของไทยก็ถูกเบี่ยงให้ตกไปจากนิติศาสตร์แบบบรรทัดฐานไปแล้ว ปรากฏการณ์ทางสังคมนี้ ก่อให้เกิดผลกระทบที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ นั่นคือ นักกฎหมายชักชวน หว่านล้อมลูกความของตนให้หันไปพึ่งพากระบวนการระงับข้อพิพาททางเลือกหรือการระงับข้อพิพาทนอกศาลแทนที่การขึ้นศาลในฐานะที่เป็นทางรอดเพียงหนทางเดียว</p> ตรีวัฒน์ ชมดี Copyright (c) 2024 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/tulawjournal/article/view/269533 Mon, 30 Sep 2024 00:00:00 +0700 การเกิดขึ้นและการสิ้นสุดลงของการนำทฤษฎีนิติกรรมทางปกครองที่อาจแยกฟ้องได้ (l’acte détachable) มาใช้ในคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองในประเทศฝรั่งเศส https://so05.tci-thaijo.org/index.php/tulawjournal/article/view/270297 <p>กฎหมายฝรั่งเศสเป็นถือปฏิบัติมาอย่างยาวนานว่าสัญญาทางปกครองเป็นความสัมพันธ์ระหว่างคู่สัญญาเสมือนหนึ่งว่าเป็นกฎหมายที่ต้องให้ความเคารพ บุคคลที่จะสามารถฟ้องโต้แย้งความชอบด้วยกฎหมายของสัญญาหรือการปฏิบัติตามสัญญาจึงต้องเป็นคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น หากเป็นบุคคลภายนอกสัญญาย่อมเป็นผู้ที่ไม่มีสิทธิจะฟ้องโต้แย้งตามสัญญาได้ จนกระทั่งมีการกลับแนวคำพิพากษาในคำพิพากษาของสภาแห่งรัฐ ในคดีบรรทัดฐาน (ประชุมใหญ่) คดี Martin ค.ศ. 1905 ที่สภาแห่งรัฐวางหลักให้บุคคลภายนอกสามารถฟ้องขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนนิติกรรมทางปกครองที่แยกออกมาจากสัญญาได้ (acte détachable) อย่างไรก็ตาม <br />คำพิพากษาบรรทัดฐานดังกล่าวได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ถึงความเป็นธรรมและประสิทธิภาพของคำพิพากษา<br />ในการยุติข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองในทางปฏิบัติ จนนำมาสู่การกลับแนวคำพิพากษาของสภาแห่งรัฐ (ประชุมใหญ่) ในคดี Département du Tarn-et-Garonne ลงวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 2014 ซึ่งเปิดช่องให้บุคคลภายนอกที่มีส่วนได้เสียกับคดีสามารถฟ้องเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองได้เช่นเดียวกับคู่สัญญา คำพิพากษาบรรทัดฐานนี้ถือเป็นการสิ้นสุดลงของการใช้ทฤษฎีนิติกรรมทางปกครองที่อาจแยกฟ้องได้ในคดีสัญญาทางปกครองตามกฎหมายฝรั่งเศส บทความนี้จะทำการศึกษาพัฒนาการของทฤษฎีนิติกรรม<br />ทางปกครองที่อาจแยกฟ้องได้ในคดีสัญญาทางปกครอง แนวคำพิพากษาของศาลที่เกี่ยวข้อง ข้อสนับสนุนและข้อวิจารณ์ของนักวิชาการตั้งแต่อดีตในช่วงที่เริ่มมีการสร้างทฤษฎีมาจนถึงปัจจุบันที่ได้มีการยกเลิกการปรับใช้ทฤษฎีดังกล่าวในศาลปกครองฝรั่งเศส</p> อานันท์ กระบวนศรี Copyright (c) 2024 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/tulawjournal/article/view/270297 Mon, 30 Sep 2024 00:00:00 +0700 การสนับสนุนด้านจิตสังคมแก่ผู้เสียหายที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา: ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายเยอรมันและกฎหมายไทย https://so05.tci-thaijo.org/index.php/tulawjournal/article/view/273356 <div><span lang="TH">ในกรณีที่ผู้บกพร่องทางสติปัญญาตกเป็นเหยื่อจากอาชญากรรมและต้องเข้ามามีส่วนร่วมในคดีอาญาในฐานะพยานผู้เสียหาย พบปัญหาในเรื่องดังกล่าวด้วยกัน </span><span lang="DE">2 </span><span lang="TH">ประการ ได้แก่ </span><span style="font-size: 14px;">การตกเป็นเหยื่อโดยอ้อม และความน่าเชื่อถือของถ้อยคำของผู้มีความบกพร่องทางสติปัญญาในฐานะพยานผู้เสียหาย&nbsp;&nbsp; เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว จึงเห็นควรนำการสนับสนุนด้านจิตสังคมในการดำเนินคดีอาญามาใช้</span></div> กรรภิรมย์ โกมลารชุน Copyright (c) 2024 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/tulawjournal/article/view/273356 Mon, 30 Sep 2024 00:00:00 +0700 Non-Audit Products: นวัตกรรมใหม่ขององค์กรตรวจเงินแผ่นดินในประเทศไทย https://so05.tci-thaijo.org/index.php/tulawjournal/article/view/273984 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ในการประชุมสมัชชาองค์การสถาบันการตรวจสอบสูงสุดระหว่างประเทศ (INCOSAI) ครั้งที่ 23 ณ กรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย ประเทศสมาชิกได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาขีดความสามารถของสถาบันการตรวจสอบสูงสุด (Supreme Audit Institutions: SAIs) ซึ่งหนึ่งในนั้นคือการเพิ่มคุณค่าของการตรวจสอบสาธารณะโดยการให้คำแนะนำบนพื้นฐานของการตรวจสอบ (Audit-Based Advice) ในประเด็นสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ต่อรัฐสภา รัฐบาล และการบริหารราชการ ดังที่ปรากฏอยู่ในปฏิญญามอสโก (Moscow Declaration) ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของผลผลิตของงานชนิดใหม่ที่เรียกว่า Non-Audit Products</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ประเทศไทยแม้ว่าพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2561 จะมีการประกาศใช้ก่อนปฏิญญามอสโก โดยมีบทบัญญัติในหลายมาตราที่รองรับในเรื่องของ Non-Audit Products อย่างไรก็ตาม ในเรื่องของ Non-Audit Products นั้น ยังนับว่าเป็นเรื่องใหม่สำหรับประเทศไทยที่ยังมีความเห็นและความเข้าใจที่ไม่ตรงกันอยู่ ทำให้ในปัจจุบันประเทศไทยยังไม่สามารถเริ่มก้าวแรกที่จะดำเนินการในเรื่องดังกล่าวได้อย่างเต็มที่</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; นอกจากนี้ การนำมโนทัศน์ในเรื่องของ Non-Audit Products ที่ปรากฏอยู่ในปฏิญญามอสโกมาใช้ในประเทศไทยนั้น จำเป็นต้องศึกษาบทบัญญัติแห่งกฎหมายของไทย ซึ่งในที่นี้คือพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2561 ประกอบด้วยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวบัญญัติหน้าที่และอำนาจไว้ครอบคลุมกรณีของ Non-Audit Products มากหรือน้อยเพียงใด เพื่อให้การรับแนวทางในเรื่องของ Non-Audit Products เข้ามาปรับใช้ในประเทศไทยนั้น ถูกต้องสอดคล้องและไม่เกินเลยไปจากบทบัญญัติที่กฎหมายของประเทศไทยได้บัญญัติไว้</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ตลอดจนการศึกษา Non-Audit Products เปรียบเทียบกับหน้าที่และอำนาจที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2561 กำหนดไว้ ว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างกันในสาระสำคัญหรือไม่ ประการใด เพื่อนำไปสู่การพัฒนาปรับปรุงแก้ไขกฎหมายต่อไปในอนาคต</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การทำความเข้าใจในเรื่องของ Non-Audit Products ให้ถูกต้องตรงกันจึงนับว่ามีความสำคัญในการพัฒนาศักยภาพของสถาบันการตรวจสอบสูงสุดของประเทศ ซึ่งหมายถึงสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของปฏิญญามอสโก และเป็นไปเพื่อประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติได้ต่อไป</p> นนทกร เกรียงศิริ Copyright (c) 2024 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/tulawjournal/article/view/273984 Mon, 30 Sep 2024 00:00:00 +0700