ผลการใช้ชุดกิจกรรมการรับความรู้สึกทรงตัวและการเคลื่อนไหวเพื่อพัฒนาการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ในบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น ระดับปฐมวัย

Main Article Content

วิชิตา เกศะรักษ์

Abstract

ผลการใช้ชุดกิจกรรมการรับความรู้สึกทรงตัวและการเคลื่อนไหวเพื่อพัฒนาการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ในบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็นระดับปฐมวัย ปีการศึกษา 2560 กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนบกพร่องทางการเห็น ระดับปฐมวัย โรงเรียนสอนคนตาบอดภาคเหนือในพระบรมราชินูปถัมภ์ จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ของบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็นโดยใช้ชุดกิจกรรมการรับความรู้สึกทรงตัวและการเคลื่อนไหว  ผู้เข้าร่วมศึกษาจำนวน 3 คน  ดำเนินการฝึกรายบุคคลเป็นเวลา 7 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ คือ ชุดกิจกรรมการรับความรู้สึกทรงตัวและการเคลื่อนไหว จำนวน 12 กิจกรรม และแบบทดสอบทักษะกล้ามเนื้อมัดใหญ่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ค่าร้อยละ และสถิติ


           จากการศึกษา พบว่า ผลการการใช้ชุดกิจกรรมการรับความรู้สึกทรงตัวและการเคลื่อนไหวเพื่อพัฒนาการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ในบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น ระดับปฐมวัย โรงเรียนสอนคนตาบอดภาคเหนือในพระบรมราชินูปถัมภ์ จังหวัดเชียงใหม่ ภาคเรียนที่  2 ปีการศึกษา 2560  พบว่านักเรียนมีผลการพัฒนาทักษะกล้ามเนื้อมัดใหญ่ดีขึ้น  โดยมีทักษะกล้ามเนื้อมัดใหญ่ก่อนการพัฒนาอยู่ในระดับปรับปรุง 3 คน หลังการพัฒนา นักเรียนมีทักษะกล้ามเนื้อมัดใหญ่อยู่ในระดับดีทั้ง 3 คน  โดยมีพัฒนาการเพิ่มขึ้น 0.77  คิดเป็นร้อยละ 77 โดยมีค่าร้อยละความก้าวหน้าเฉลี่ย 56.47

Article Details

How to Cite
เกศะรักษ์ ว. . (2020). ผลการใช้ชุดกิจกรรมการรับความรู้สึกทรงตัวและการเคลื่อนไหวเพื่อพัฒนาการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ในบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น ระดับปฐมวัย. Sikkhana, 6(7), 91–108. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JSikkhana/article/view/240995
Section
Research Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภาลาดพร้าว.
กระทรวงศึกษาธิการ (2550). กฎกระทรวงการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้คนพิการมีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา พ.ศ.2550. กรุงเทพ: กระทรวงศึกษาธิการ.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับแก้ไข) พ.ศ 2545 ราชกิจจานุเบกษา. ราชกิจจานุเบกษา หน้า 1 เล่ม 116 ตอนที่ 74 ก.
กระทรวงศึกษาธิการ (2551). พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาเพื่อคนพิการ พ.ศ.2551. กรุงเทพฯ.กระทรวงศึกษาธิการ.
กระทรวงศึกษาธิการ (2552). ประกาศกำหนดประเภทและหลักเกณฑ์ของคนพิการทางการศึกษา พ.ศ. 2552. กรุงเทพ: กระทรวงศึกษาธิการ.
กระทรวงศึกษาธิการ (2553). นโยบายการปฏิรูปการศึกษาในศตวรรษที่สอง. กรุงเทพ: กระทรวงศึกษาธิการ.
นันทณี เสถียรศักดิ์พงศ์ (2549). แบบประเมิน Short sensory profile ฉบับภาษาไทย.เอกสารอัดสำเนา.
นภเนตร ธรรมบวร (2544). การประเมินผลพัฒนาการเด็กปฐมวัย. กรุงเทพ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรพิไล เลิศวิชา (2550). สมองเรียนรู้อย่างไร. กรุงเทพ: ศาลาแดง. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(2560). ราชกิจจานุเบกษา. หน้า 1 เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก.
โรงเรียนสอนคนตาบอดภาคเหนือฯ (2554). หลักสูตรการศึกษาระดับปฐมวัย พุทธศักราช 2551 (ฉบับแก้ไขปรับปรุง 2554). เชียงใหม่. โรงเรียนสอนคนตาบอดภาคเหนือฯ.
ละไม สีหาอาจ. (2551). การส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายของเด็กปฐมวัยโดยการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวเชิงสร้างสรรค์. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การศึกษาปฐมวัย). กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วรรณิภา เที่ยงธรรม (2557). ผลของการจัดกิจกรรมนอกห้องเรียนโดยใช้ของเล่นพื้นบ้านตามแนวคิดการประมวลข้อมูลการรับความรู้สึกเพื่อส่งเสริมทักษะการเคลื่อนไหวของเด็กอนุบาล. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา. ฉบับที่ 9(1): 472-486
สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์ (2553). การวัดและประเมินแนวใหม่เด็กปฐมวัย.กรุงเทพ: ดอกหญ้าวิชาการ.
Aryes, A.J. (2005). Sensory Integration and the child: Understanding Hidden
Sensory Challenges: Los Angeles: Western Psychological services.
Degangi A. G. (1994). Documenting sensorimotor progress: A therapist's guide. Tucson, AZ: Therapy Skill Builders.
Lechelt C.E., Hall L.D. (2001). The impact of vision loss on the development of children from birth to 12 years: A literature review: The Canadian Institute for the blind.
Roley, SS., Blanche, E.I., Schaaf, R.C. (2001). Understanding the nature of sensory integration with Diverse population: A Harcourt Health Sciences Company
Sheikh M, Safania M.A. Afshari J. (2011). Effect of selected motor skills on motor
development of both gender aged 5 and 6 years old. Procidia social and behavioral sciences. (15):1723- 1725. Online. Available: http://www. scienedirect.com.
Strickling, C. (1998). Impact of vision loss on motor development: Taxas school of the blind and visually impaired.