ผลการใช้ตัวแบบสัญลักษณ์ในการส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ ทางสังคมของนักศึกษาออทิสติกระดับปริญญาตรี

Main Article Content

หนึ่งฤทัย ชัยชนะ
รัชนีกร ทองสุขดี
สุภาพร ชินชัย

Abstract

การค้นคว้าแบบอิสระมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างตัวแบบสัญลักษณ์ในการส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของนักศึกษาออทิสติกระดับปริญญาตรี และศึกษาผลการใช้ตัวแบบสัญลักษณ์ในการส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของนักศึกษาออทิสติกระดับปริญญาตรี กรณีศึกษาได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็น        ออทิสติก ประเภทความพิการ (High Function) เพศชาย อายุ 22 ปี จำนวน 1 คน ปัจจุบันเป็นนักศึกษาโครงการพิเศษ ระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาศิลปศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้ศึกษาทำการศึกษาพบว่า กรณีศึกษามักมีพฤติกรรมชอบเลียนแบบจากหนังสือ การ์ตูนที่ชอบอ่าน ผู้ศึกษาจึงสนใจที่จะศึกษาการเรียนรู้โดยการสังเกต (Observational Learning)หรือการเลียนแบบ (Modeling) สิ่งแวดล้อม เพราะคนเรามีปฏิสัมพันธ์(Interact) กับสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบๆตัวเราอยู่เสมอ การเรียนรู้เกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและสิ่งแวดล้อมซึ่งทั้งผู้เรียนและสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อกันและกัน พฤติกรรมของคนเราส่วนมากจะเป็นการเรียนรู้โดยการสังเกต (Observational Learning) หรือการเลียนแบบจากตัวแบบ(Modeling)  ผู้ศึกษาเลือกที่จะศึกษาเรื่องทักษะทางสังคมเพราะมีความสำคัญในการช่วยให้บุคคลอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข ช่วยในการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างกันได้อย่างเหมาะสม โดยใช้แผนการวิจัย แบบ  Single Subject Design รูปแบบ ABA Design โดยวิธีเลือก กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ 1. สตอรี่บอร์ดที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น มีเนื้อหาเกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์สังคมด้านการแสดงออกกับเพื่อนที่เหมาะสมจำนวน 1 เรื่อง ได้แก่ การ์ตูน เรื่องไม่ยากถ้าอยากสนิท ซึ่งเนื้อหาประกอบด้วยปฏิสัมพันธ์สังคมเกี่ยวกับการสัมผัสตัวเพื่อนผู้หญิงการนั่งใกล้เพื่อนผู้หญิงมากเกินไปและการพูดเรื่องเดิมซ้ำหลายครั้ง 2. แบบสำรวจพฤติกรรมก่อน ระหว่าง และหลังการทดลองจากเพื่อนสนิทของกรณีศึกษาโดยเลือกแบบเจาะจง จำนวน 5 คน 3. แผนการสอนเฉพาะบุคคลจำนวน 5 แผน และ 4. เครื่องบันทึกวีดิทัศน์ทําการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาและกราฟเส้นดูการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมเป้าหมายก่อนและหลังการให้กิจกรรมตัวแบบสัญลักษณ์ในการส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของนักศึกษาออทิสติกระดับปริญญาตรีโดยใช้สถิติ The Split Middle Method

Article Details

How to Cite
ชัยชนะ ห. . ., ทองสุขดี ร. ., & ชินชัย ส. (2019). ผลการใช้ตัวแบบสัญลักษณ์ในการส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ ทางสังคมของนักศึกษาออทิสติกระดับปริญญาตรี. Sikkhana, 6(7), 129–150. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JSikkhana/article/view/240997
Section
Research Articles

References

ไกรสร ขันทจร. (2553). ผลของโปรแกรมพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็กและเยาวชนชายผู้กระทำความผิดในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน
ดุสิต ลิขนะพิชิตกูล. (2545). พัฒนาการบำบัดสับหรับเด็กออทิสติกตามแนวป้าหมอเพ็ญแข. กรุงเทพฯ : แปลนพับลิชิ่งจำกัด.
ประเทือง ภูมิภัทราคม. (2540). การปรับพฤติกรรม :ทฤษฏีและการประยุกต์. นครสวรรค์ : ภาควิชาจิตวิทยาและ การแนะแนว คณะครุศาสตร์สถาบันราชภัฏนครสวรรค์.
พฤหัส แสสันกลาง. (2549). การปรับพฤติกรรมการเข้า-ออกห้องเรียนโดยไม่ขออนุญาตของเด็กออทิสติกที่มีอาการไม่รุนแรงโดยใช้เทคนิคการเสริมแรง .วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วงเดือน เดชะรินทร์. (2551). พ่อแม่มือใหม่ ใส่ใจลูกออทิสติก. กรุงเทพฯ : เพื่อนอักษร.
สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. (2549). ทฤษฏีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เอื้อพร ยั่งยืน. (2550). การพัฒนาทักษะการอ่านคำโดยใช้วิธีการสอนแบบ มุ่งประสบการณ์ภาษาสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับเรียนได้ โรงเรียนชุมชนบ้านช่างเคิ่ง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่.
Dollman, L. et al. (2007). Improving social skills through the use of cooperative learning. Chicago: Saint Xavier University.
Gray, C. (2004). Social story the morning news creative ideas in practice. Jenison MI: Jenison Public Schools
Jalongo, M.R. (2006). Social skills and young children. Early Childhood Today (Scholastic), (20)7.
Rogers, M., & Myles, B.S. (2001). Using social stories and comic strip conversations to interpret social situations for an adolescent with asperger’s syndrome. Intervention in School and Clinic, 36, 316–313.
Special Child Center. (2552). “การประมวลผลการรับความรู้สึก (Sensory Integration : SI)” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา (http://www.specialchild.co.th/knowledge.asp?article=8.