แนวทางการพัฒนาทางการศึกษาเด็กพิการซ้อนในพื้นที่ห่างไกล
Main Article Content
Abstract
การพัฒนาทางการศึกษาเด็กพิการซ้อน โดยผ่านการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยชุมชน ตำบลวาวี มีการให้บริการที่ครอบคลุมในรูปแบบของเครือข่ายมหามิตร ทั้งในด้านการศึกษาด้านการแพทย์ ด้านสังคมสงเคราะห์ ด้านสวัสดิการสังคม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่งผลให้เด็กพิการซ้อนได้รับบริการทางการศึกษาเกิดการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพแบบบูรณาการ โดยศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดเชียงรายเป็นผู้ให้บริการด้านการศึกษาเป็นหลัก ทำให้เด็กพิการได้รับการยกระดับคุณภาพชีวิตทั้งครอบครัว ผ่านกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่พ่อ แม่ เด็กพิการอย่างต่อเนื่อง การให้ความรู้ในการจัดทำสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ การปรับสภาพบ้าน ที่เน้นการออกแบบอารยสถาปัตย์หรือการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล อบรมทักษะอาชีพ การสนับสนุนทุนประกอบอาชีพให้คนพิการ ทั้งนี้เน้นการทำงานจะเน้นในรูปแบบสหวิชาชีพ โดยมีการกำหนดบทบาทของหน่วยงานเครือข่ายอย่างชัดเจน มีการประชุมเพื่อถอดบทเรียนรวมถึงประชุมประชาคมเพื่อวางแผนการทำกิจกรรมร่วมกัน การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการทุกคน ทั้งการเยี่ยมบ้าน การสอนที่บ้าน การส่งต่อโรงเรียนเรียนรวมหรือโรงเรียนเฉพาะความพิการ
Article Details
References
มยุรี ผิวสุวรรณและคณะ. (2556). CBR Guidelines ขององค์การอนามัยโลก ฉบับภาษาไทย (Community Based Rehabilitation). กรุงเทพฯ: พรีเมี่ยม เอ็กซ์เพรส.
มิวเซียมไทยแลนด์. (มปป). จีนยูนนาน บนดอยวาวี. สืบค้นเมื่อ 8 ธันวาคม, 2561, จาก http://www.museumthailand.com/th/1461/storytelling/ดอยวาวี.
ยุพาวรรณ ศรีศักดา. (2556). สังคมชุมชนกับแนวโน้มการพัฒนา. สืบค้นเมื่อ 8 ธันวาคม, 2561, จาก http://sdgroup1.blogspot.com/2013/01/53242360.html.
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง. (2561). ข้อมูลพื้นฐานโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงวาวี. สืบค้นเมื่อ 8 ธันวาคม, 2561, จาก https://www.hrdi.or.th/public/files/Areas-Profile/15-vav.pdf.
สิริอร วิชชาวุธ.(2554). จิตวิทยาการเรียนรู้. กรุงเทพฯ :มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.