การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าบาติกด้วยเทคนิคผสมโดยใช้สีธรรมชาติ
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าบาติกด้วยเทคนิคผสมโดยใช้สีธรรมชาติมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่นิยมของผู้บริโภคและเพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ผ้าบาติกด้วยเทคนิคผสมโดยใช้สีธรรมชาติผลการศึกษาการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าบาติกด้วยเทคนิคผสมโดยใช้สีธรรมชาติ ทำการสร้างลวดลายต้นแบบ 5 รูปแบบ และคัดเลือกสารสีธรรมชาติจากพืชจำนวน 15 ชนิด ทำการประเมินเพื่อหาลวดลายและสีธรรมชาติที่เหมาะสมผู้เชี่ยวชาญได้เลือกลวดลายแบบที่ 5 และเลือกสารสีธรรมชาติจากพืช 7 ชนิด ได้แก่ ครั่ง ใบหูกวาง ดอกกระเจี๊ยบ แก่นฝางเสน เปลือกผลเงาะ ขมิ้นและดอกกรรณิการ์สร้างผลิตภัณฑ์ที่นอนเอนกประสงค์ผ้าบาติกต้นแบบด้วยเทคนิคผสมโดยใช้สีธรรมชาตินำมาประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ในกลุ่มตัวอย่างำนวน 50 คนโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา พบว่า ด้านความสวยงามที่ได้จากเนื้อสีธรรมชาติ ผู้บริโภคมีความพึงพอใจสีที่ได้จากครั่งมากที่สุด (x = 4.20) ด้านลวดลาย ผู้บริโภคมีความพึงพอใจลวดลายกุหลาบมีความเหมาะสมกับชิ้นงานมากที่สุด (x = 4.20) ด้านเนื้อผ้า ผู้บริโภคมีความพึงพอใจผ้าไหมมีความเหมาะสมกับผ้าบาติกมากที่สุด (x = 4.08) ด้านวัสดุผู้บริโภคมีความพึงพอใจการทรงตัวของผ้ามีความเหมาะสมมากที่สุด (x = 3.42) และด้านประโยชน์ใช้สอย ผู้บริโภคมีความพึงพอใจทำความสะอาดง่ายมากที่สุด (x = 4.20)
The Product Development of Batik using Natural Dyes Mixing Technique
This research aimed to study consumer desire in Batik cloth, to develop the Batik cloth made by mixed-method using natural dyes, and to evaluate the consumer satisfaction toward the Batik cloth. n = 50 Descriptive Statisties. The result showed that the five pattern of Batik cloth were designed. The dyes were extracted from 15 species of plant. The 5 pattern No. five was selected by the specialist. The suitable natural dye were obtained from shellacs, Indian almond leaves, roselle flowers, sappan woods, rambutan shells, turmerics and night blooming jasmine flowers. The mattress prototype from Batik cloth made by mixed-method using natural dyes was made. The consumer satisfaction on Batik cloth was evaluated. The average satisfaction score on the aspect of 1) the beauty obtained from the natural dye, the customer satisfied from shellacs (x = 4.20). 2) The pattern, the rose pattern gained highest satisfaction from the customer (x = 4.20). 3) The Fabric, the suitable fabric for Batik was silk (x = 4.08) and 4) The usage, the customer satisfied that the batik was easy to clean (x = 4.20).