การส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากสะระแหน่สำหรับ ชาวบ้านท่าขอนยาง ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

นํ้าทิพย์ คำแร่
พรนิภา ตูมโฮม
สุภาณี ฝ้ายสีงาม

Abstract

       การวิจัยนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อศึกษาสภาพการใช้ประโยชน์จากสะระแหน่ของชาวบ้าน เพื่อส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากสะระแหน่ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความรู้และทัศนคติก่อนและหลังการส่งเสริม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษา คือ ชาวบ้านท่าขอนยางจำนวน 83 คน และกลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมฝึกอบรม คือ ชาวบ้าน จำนวน 30 คน ได้จากการสมัครใจเข้าร่วม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ คู่มือ แผ่นพับ แบบสอบถามสภาพการใช้ประโยชน์จากสะระแหน่ แบบสอบถามความรู้ และแบบวัดทัศนคติสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบเชิงอนุมานสมมติฐาน (Paired t-test) ผลการวิจัยพบว่า ชาวบ้าน ใช้ประโยชน์จากสะระแหน่ที่ปลูกเองมากกว่าซื้อจากตลาด ส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์จากสะระแหน่ในด้านการประกอบอาหาร รองลงมา คือ ด้านสรรพคุณทางยา และด้านการแปรรปู เป็นผลิตภัณฑ ์ ซึ่งนำมาทำเป็นชาสมุนไพร ผลการเปรยีบเทียบคะแนนเฉลี่ย ความรู้และทัศนคติต่อการใช้ประโยชน์จากสะระแหน่ก่อนและหลังการส่งเสริม พบว่า เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัย ความรู้และทัศนคติหลังการส่งเสริมสูงกว่าก่อนการส่ง เสริมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

The Promotion of Kitchen Mint Utilization for People in Thakhonyang, Tambon Thakhonyang, Amphur Kantharawichai MahaSarakam Province

         The purposes of this research were to study of state using the kitchen mint to promote the kitchen mint utilization, to study and compare the knowledge and attitudes before and after the promotion using of kitchen mint utilization. The sample were 83 people in Thakhonyang and the sample used for promotion are 30 people. The tools used in the research were knowledge questionnaire, attitude, training manual and brochure. The statistics used in the analysis were frequency, percentage, means, standard deviation and Paired t-test statistical hypothesis. The research found that people toke advantage from their grown kitchen mint over than buying from the market. The most people used kitchen mint to cooking, followed by the properties of the medicine by using as a herbal drink to relieve the fatigue and transform it into the product which being used to make herbal tea. The comparison of mean scores of knowledge and attitude towards the kitchen mint utilization before and after the promotion found that knowledge and attitudes after promotion is higher than before training on the statistical significance level .05

Article Details

Section
Articles (บทความ)
Author Biographies

นํ้าทิพย์ คำแร่, อาจารย์ สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Lecturer in Environmental Education, Faculty of Environment and Resource Studies Mahasarakham University

พรนิภา ตูมโฮม, อาจารย์ สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Lecturer in Environmental Education, Faculty of Environment and Resource Studies Mahasarakham University

สุภาณี ฝ้ายสีงาม, นิสิตสาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Studentin Environmental Education, Faculty of Environment and Resource Studies Mahasarakham University