ความคาดหวังของผู้ปกครองของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2559 ต่อหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
Main Article Content
Abstract
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความคาดหวังของผู้ปกครองของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2559 ต่อหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดใน 3 ด้าน ได้แก่ด้านความคาดหวังต่อระบบการเรียนการสอน ด้านความคาดหวังต่อผู้สอน และด้านความคาดหวังต่อการสำเร็จการศึกษา 2) เพื่อประเมินความคาดหวังของผู้ปกครองของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2559 ต่อหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดตามตัวชี้วัดร้อยละของระดับความคาดหวังกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ปกครองของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาคณิตศาสตร์ จำนวน 62 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามผลการวิจัยมีดังนี้ภาพรวมความคาดหวังของผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยความคาดหวังอยู่ในระดับคาดหวังมากเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ผู้ปกครองมีความคาดหวังด้านผู้สอนมากที่สุดผลการประเมินรายประเด็น พบว่า ด้านความคาดหวังต่อผู้สอนมีความคาดหวังสูงสุด คือ การดูแลให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาจนจบการศึกษา ด้านความคาดหวังต่อระบบการจัดการเรียนการสอนมีความคาดหวังสูงสุด คือ การมีกระบวนการเรียนการสอนที่หล่อหลอมให้นักศึกษาเป็นคนดี และด้านความคาดหวังต่อการสำเร็จการศึกษามีความคาดหวังสูงสุด คือสำเร็จตามระยะเวลาในหลักสูตรและมีความภาคภูมิใจต่อสถาบันที่จบการศึกษาการตอบคำถามปลายเปิด พบว่า มีข้อคิดเห็นด้านการจัดการเรียนการสอนมากที่สุด
Expectation of the First-year Students Parents in the 2016 Academic Year Towards the Bachelor of Education Program in Mathematics Faculty of Education, Roi-Et Rajabhat University
The objectives of this research were as follows : 1) to investigate expectation of the first-year students’ parents in the 2016 academic year towards the Bachelor of Education Program in Mathematics, Faculty of Education, Roi-Et Rajabhat University into 3 areas : the expectations towards learning and teaching, the expectations for the instructor, and the expectation to graduate. 2) to assess the expectation of the first-year students’ parents in the 2016 academic year towards the Bachelor of Education Program in Mathematics, Faculty of Education, Roi-Et Rajabhat University by the indicators of the expectation level. The random sample included 62 parents of first-year students. The research tools were questionnaires developed by the researcher. The results of the research showed that, the parents had high expectationsof the students’ progress graduation success. With regard to each issue, the highest expectation was the instructor issue. The assessment of each issue found that the instructor issue had the highest parents’ expectations about care in advising students until graduation; for the expectation towards learning and teaching, the highest parents’ expectation was about the teaching process to teach students to be good for the students and for the expectation to graduate the highest parents’ expectation was to complete the course of study within the five years and for the parents to be proud of the graduates. The parents’ answers in the open-ended questions found the most frequent remark was the expectation towards learning and teaching.