ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน ตำบลสงเปลือย อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์

Main Article Content

อนุชา คำไสว
ธวัชวงศ์ชัย ไตรทิพย์
ชาญชัยณรงค์ ทรงคาศรี

Abstract

       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลของโปรมแกรมส่งเสริมสุขภาพในผู้ป่วยเบาหวานต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน ตำบลสงเปลือย อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ 2) เปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ 3) เปรียบเทียบการปฏิบัติตัวในการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน ก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพเป็นการวิจัยกึ่งทดลองในกลุ่มเดียวประชากรคือผู้ป่วยเบาหวานปี 2557 จำนวน 113 คน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 60 คน คัดเลือกแบบเจาะจงเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบทดสอบ แบบวัดพฤติกรรม และโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและเชิงอนุมาน นำเสนอค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแตกต่างของความรู้ และการปฏิบัติตัวใช้สถิติทดสอบ Paired Sample t-test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า ด้านความรู้ก่อนการทดสอบอยู่ในระดับตำ ค่าเฉลี่ย 11.66 (S.D. = 1.99) ซึ่งน้อยกว่าหลังการทดสอบที่อยู่ในระดับสูง ค่าเฉลี่ย 18.60 (S.D. = 1.88) มีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ด้านพฤติกรรมพบว่าก่อนการเข้าร่วมในโปรแกรมการปฏิบัติตัวอยู่ในระดับไม่ดีค่าเฉลี่ย 1.20 (S.D. = 0.40) ซึ่งน้อยกว่าหลังการเข้าร่วมโปรแกรมที่มีการปฏิบัติตัวในการดูแลสุขภาพตนเองอยู่ในระดับปานกลางค่าเฉลี่ย 2.11(S.D. = 0.32) ซึ่งสูงกว่าก่อนการเข้าร่วมในโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001)

 

Effectiveness of Health Promotion Program on Diabetes Patients in Self-care Behaviors in Songpluay Sub-District Na Mon District, Kalasin Province

      This research aims. 1) to study the effects of the Effects of Health Promotion Program on self-care Diabetes patients’ Behaviors in Songpluay Sub-District, Na Mon District, Kalasin Province. 2) to compare the knowledge about diabetes both pre and post program health promotion. 3) to compare the performance of their patients’ health care both pre and post health promotion program. The Quasi experimental group (Quasi-Experimental Research; One Group Pre-Post Test Design) is a diabetic people in 2014 of 113 samples, 60 people were selected purposively. The tool for the behavior test and health promotion program Data were analyzed using descriptive statistics and inferential through the frequency, percentage, average, standard deviation and different knowledge analysis. And the practice uses test paire sample t-test with significant level at 0.05.The study indicated that the average knowledge before the test is 11.66 (S.D. = 1.99) being lower than the post test, averaging 18.60 (S.D. = 1.88) were statistically significant (p <0.001) behavior discover that was before participating the practice program is low average 1.20 (S.D. = 0.40), which is less than the post program averaging 2.11 (S.D. = 0.32), being higher than they atattended a health promotion program is a statistically significant (p <0.001).

Article Details

Section
Articles (บทความ)
Author Biographies

อนุชา คำไสว, นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาการจัดการสุขภาพท้องถิ่นและชุมชน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

Graduate student Department of Health Management and Local Communities Kalasin University

ธวัชวงศ์ชัย ไตรทิพย์, อาจารย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

Lecturer, Department of Health Management and Local Communities Kalasin University

ชาญชัยณรงค์ ทรงคาศรี, อาจารย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

Lecturer, Department of Health Management and Local Communities Kalasin University