การศึกษาผลการใช้คู่มือฝึกประสบการณ์วิชาชีพสิ่งแวดล้อมศึกษา

Main Article Content

วันเพ็ญ กันพล
ประยูร วงศ์จันทรา

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาการใช้คู่มือฝึกประสบการณ์วิชาชีพสิ่งแวดล้อมศึกษา และหาค่าดัชนีประสิทธิผลของคู่มือ 2) เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความรู้ ทัศนคติ และทักษะในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพสิ่งแวดล้อมศึกษา ก่อนและหลังการฝึกประสบการณ์วิชาชีพสิ่งแวดล้อมศึกษา 3) ประเมินมาตรฐานผลการเรียนรู้การฝึกประสบการณ์วิชาชีพสิ่งแวดล้อมศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตปริญญาตรี ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน58 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ คู่มือฝึกประสบการณ์วิชาชีพสิ่งแวดล้อมศึกษา แบบทดสอบความรู้ แบบวัดทัศนคติ แบบวัดทักษะ และแบบประเมินมาตรฐานผลการเรียนรู้การฝึกประสบการณ์วิชาชีพสิ่งแวดล้อมศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ t-test  ผลการศึกษา พบว่า คู่มือฝึกประสบการณ์วิชาชีพสิ่งแวดล้อมศึกษา มีความเหมาะสมระดับมากที่สุด และมีส่วนดัชนีประสิทธิผลเพิ่มเป็นร้อยละ 59.40 นิสิตกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ ทัศนคติ และทักษะหลังการฝึกประสบการณ์วิชาชีพสิ่งแวดล้อมศึกษาสูงกว่าก่อนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพสิ่งแวดล้อมศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลการประเมินมาตรฐานผลการเรียนรู้การฝึกประสบการณ์วิชาชีพสิ่งแวดล้อมศึกษาหลังการฝึกประสบการณ์วิชาชีพสิ่งแวดล้อมศึกษาอยู่ในระดับมาก


The Study of Using Environmental Education Professional Training Manual


The purposes of this research were 1) To study using environmental education professional training manual 2) To study effectiveness index of manual and compare the knowledge, attitudes and skills in professional environmental education before and after professional environmental education 3) To evaluate standard of learning outcomes of professional environmental education. The sample were 58 undergraduate students in year 3 of environmental education program, Faculty of Environment and Resource studies, Mahasarakham University being selected by purposvie sampling. The research instruments were the professional training manual on environmental education, knowledge test, attitude test, skills test and standard test of learning outcomes of professional environmental education. The data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, and hypothesis testing using  t-test.  The results revealed that the professional training manual on environmental education was at the most appropriate level, the index Effectiveness was equal to 59.40 % The sample group students had mean scores of knowledge attitude and skills after training of professional environmental education are higher than before training of professional environmental education at level of statistical significance .05 and standard of learning outcomes of professional environmental education before professional environmental education was  at high level.

Article Details

Section
Articles (บทความ)
Author Biographies

วันเพ็ญ กันพล, Master Student,Faculty of Environment and Resource Studies, Mahasarakham University

Master Student,Faculty of Environment and Resource Studies, Mahasarakham University

ประยูร วงศ์จันทรา, Assistant Professor, Faculty of Environment and Resource studies, Mahasarakham University

Assistant Professor, Faculty of Environment and Resource studies, Mahasarakham University