การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ SCTAC MODEL เพื่อเสริมสร้างทักษะปฏิบัติและความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

ติรยา นามวงษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ SCTAC MODEL เพื่อเสริมสร้างทักษะปฏิบัติและความคิดสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) พัฒนารูปแบบ SCTAC MODEL 3) ทดลองใช้รูปแบบ SCTAC MODEL 4) ประเมินรูปแบบ SCTAC MODEL ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพประชากร คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนบ้านดินจี่ 60 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการสุ่มแบบ Cluster Random Sampling 30 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบทดสอบ แบบประเมิน และ แบบสอบถามสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และ t-test ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการเรียนรู้แบบ SCTAC MODEL มีองค์ประกอบ 5 ประการ คือ Stimulate : S Constructive Learning : C Transfer of Learning : T Active Learning : A Cooperative Learning : C มีขั้นตอนการสอน 6 ขั้น คือ 1) สนใจปัญหา 2) ระดมสมองศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูล 3) ออกแบบและปฏิบัติ 4) ตรวจสอบผล 5) ปรับปรุงแก้ไข 6) รูปแบบ SCTAC MODEL มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\fn_phv&space;\bar{\times&space;} = 4.29) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลการประเมินทักษะการปฏิบัติงานโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\fn_phv&space;\bar{\times&space;} = 4.62) ผลการประเมินรูปแบบการเรียนรู้แบบ SCTAC MODEL โดยรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\fn_phv&space;\bar{\times&space;} = 4.43)

Article Details

บท
Articles (บทความ)

References

กรมวิชาการ. (2551). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์บางกอกใหญ่.

ทิศนา แขมมณี. (2554). ศาสตร์การสอน (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และคณะ. (2549). “คู่มือครูพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงของนิสิต นักศึกษาระดับปริญญาตรีสำหรับหลักสูตรครุศาสตร์: การบูรณาการทักษะกระบวนการคิดในการเรียนการสอนเนื้อหาสาระ”. โครงการวิจัย เรื่อง การนำเสนอรูปแบบเสริมสร้างทักษะการคิดขั้นสูงของนิสิตนักศึกษาครู ระดับปริญญาตรี สำหรับหลักสูตรครุศาสตร์. ศึกษาศาสตร์. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพรฑูรย์ สุขศรีงาม. (2545).“การศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณภาพ”ใน เอกสารประกอบการเรียนสัมมนาหลักสูตรและการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. หน้า 4. มหาสารคาม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2543). การเรียนรู้สู่ครูมืออาชีพ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ที.พี.พริ้นท์.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2556).รายงานการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ. 2554-2558).

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

อารยา ช่ออังชัญ. (2553). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่5.วิทยานิพนธ์ปริญญา ดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อารี พันธ์มณี. (2543). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สู่ความเป็นเลิศ. กรุงเทพฯ: ภาควิชาการแนะแนวและจิตวิทยาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

______. (2545). ฝึกให้คิดเป็น คิดให้สร้างสรรค์.กรุงเทพฯ: ใยไหม.

American Diploma Project. (2015). ADP Benchmarks [Online]. Retrieved February 16, 2015, from www.achieve.org

Craig, R. (2015). Thinking Skills in Education. [Online]. Retrieved February 16, 2015, from http://www.asa3.org/ ASA/education/think/skills.htm

Davies, I.K. (1971). The management of Learning. Lodon: McGraw-Hill.

Maslow, Abraham Harold. (1970). Motivation and Personality. (2nd ed.). New York: Haper and Row Inc.

Harrow. A. (1972). A taxonomy of the Psychomotor do man: A guide for developing behavioral Objective: New York: Longman.

Hergenhahn, B.R. & Olson, M.H. (1993). An introduction to theories of learning. (4thed.). Engle wood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall.

Torrance, E.P. (1965). Rewarding Creative behavior. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.