การเปลี่ยนแปลงทางสังคมกับการก่อเกิด “สำนึกท้องถิ่นนิยม” ของคนอีสาน พ.ศ. 2475 ถึง พ.ศ. 2500 Social Changes and Origin on “Localism Consciousness” of Isan People between 1932 and 1957

Main Article Content

อนุชิต สิงห์สุวรรณ

Abstract

บทความนี้เป็นการศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างบริบททางสังคมที่ส่งผลต่อการเกิด “สำนึกท้องถิ่นนิยม” ของคนอีสานในช่วงปี พ.ศ. 2475 ถึง พ.ศ. 2500 ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ทำให้คนอีสานมีแนวคิดภูมิภาคนิยม มีอยู่ 3 ประการคือ 1) การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม ตั้งแต่การปฎิรูปมณฑลเทศาภิบาลในสมัยรัชกาลที่ 5 การขยายตัวทางการค้าในภูมิภาคทำให้ชาวบ้านประกอบอาชีพค้าขาย บางส่วนได้เข้ารับราชการโดยผ่านระบบการศึกษาสมัยใหม่ ทำให้เกิดชนชั้นนำกลุ่มใหม่ที่มีบทบาทในการพัฒนาท้องถิ่น 2) การเมืองในระบอบประชาธิปไตยภายหลังปี 2475 ได้กระตุ้นให้คนอีสานเข้าไปมีส่วนร่วมใน “พื้นที่ทางการเมืองระดับชาติ”ดังจะเห็นได้จากการเคลื่อนไหวของกลุ่ม ส.ส.อีสานที่เรียกร้องให้รัฐบาลกลางพัฒนาท้องถิ่นของตน และ 3) การขยายตัวของความคิด “ชาตินิยม” อันเป็นผลมาจากนโยบายของรัฐไทยและรัฐลาวในช่วงทศวรรษที่ 2480 ได้กระตุ้นให้คนอีสานให้ความสำคัญประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของตน ด้วยปัจจัยเหล่านี้ ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวทางสังคมขึ้นในหมู่คนอีสาน ภายใต้“สำนึกท้องถิ่นนิยม”

 

This research presents a correlation of social processes that influenced a “Localism Consciousness” of Isan people in the period between 1932 and 1957. Findings revealed that there were three factors that gave Isan people the perception of regionalism: 1) Economic and social change, Municipal regional reform from the era of King Rama V encouraged commercial expansion in the region and influenced villagers to trade. Thanks to a new educational system, some of the villagers graduated to become civil servants resulting in a group of modern leaders who played roles in local development; 2) Politics and democracy after 1932 stimulated Isan people to participate in the “national politics areas.” Members of the House of Representatives for the Isan region requested the central government develop locals, and 3) Thought expansion advocating “Nationalism” resulting from the state policies of Thailand and Lao (PDR) in 1937s motivated Isan people to focus on the importance of their history and culture. These factors influenced social changes among Isan people under the concept of “Localism Consciousness”.

Article Details

Section
บทความวิชาการ (Academic Articles)